เส้นผมของทุกคนย่อมมีการหลุดร่วงอยู่เสมอ แต่ผมร่วงแบบไหนที่ผิดปกติบ้าง? ผมร่วงเป็นวงเล็ก ๆ น่ากลัวไหม? มารู้จักกับโรคผมร่วงเป็นหย่อม ผมร่วงเป็นหย่อมสาเหตุเกิดจากอะไร? อาการผมร่วงเป็นหย่อมเป็นอย่างไร? และวิธีการรักษามีอะไรบ้าง? มาดูกัน
โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันนำไปสู่การหลุดร่วงของเส้นผม เกิดการหลุดร่วงเป็นหย่อมเล็ก ๆ อาจมีไม่กี่หย่อมและสามารถขยายวงกว้างขึ้นได้ หากอาการรุนแรงขึ้นอาจเกิดผมร่วงทั้งหัว (Alopecia Totalis) และเส้นขนทั่วร่างกายหลุดร่วง (Alopecia Universalis) ร่วมด้วย
อาการที่เด่นชัดที่สุดของโรคผมร่วงเป็นหย่อม คือ ผมร่วงเป็นกระจุกขนาดเท่ากับเหรียญ ส่วนใหญ่จะเป็นผมบนหนังศีรษะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมรวมไปถึงหนวดเคราและขนตา อาการผมร่วงเป็นหย่อมอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันสามารถเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่วันหรือภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์
เริ่มจากมีอาการคันและอาการแสบบริเวณที่กำลังจะเกิดผมหลุดเป็นกระจุก แต่รูขุมขนไม่ได้ถูกทำลาย ดังนั้นเส้นผมจึงสามารถงอกใหม่ได้ เมื่อรักษาการอักเสบให้ทุเลาลง ทั้งนี้ผู้ที่มีอาการผมร่วงเป็นหย่อมที่ไม่รุนแรงสามารถเป็นและหายได้เอง โดยไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ
ประมาณร้อยละ 10 ของผู้คนจะเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อม ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ที่เป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อมจะมีอาการที่รุนแรงขึ้น ผมหลุดเป็นกระจุกมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือกลายเป็นวงจรผมร่วงเป็นหย่อมและขึ้นใหม่เองวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ และประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคผมร่วงเป็นหย่อมจะหายภายใน 1 ปี แต่หลายคนอาจเป็นมากกว่า 1 ครั้ง
อาการผมร่วงเป็นหย่อมอาจส่งผลต่อเล็บมือเล็บเท้าได้ โดยมีสัญญาณแรกเริ่มบ่งบอก ดังนี้
อาการผมร่วงเป็นหย่อมอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้
สาเหตุผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากสภาวะทางเพศหรือไม่? ผมร่วงเป็นหย่อม ผู้หญิง เกิดจากอะไร โรคผมร่วงเป็นหย่อมสาเหตุเกิดจากภาวะผิดปกติของภูมิคุ้มกันเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเพศว่า เพศไหนมีลักษณะผมอย่างไร ผมสั้น ผมยาว แล้วจึงจะทำให้เกิดผมร่วงได้ง่าย ปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันจะปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เป็นต้น แต่เมื่อภูมิคุ้มกันมองเห็นรูขุมขนเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงโจมตีรูขุมขน เมื่อรูขุมขนเล็กลงและหยุดสร้างขน ทำให้เส้นขนหยุดการเจริญเติบโต เกิดผมหลุดเป็นกระจุกได้
ส่วนสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอาการข้างต้นนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด มีการระบุปัจจัยบางประการ ดังนี้
โรคที่มักพบร่วมกันหรือสัมพันธ์กับอาการผมร่วงเป็นหย่อม มักเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่
โรคผมร่วงเป็นหย่อมเป็นโรคที่สามารถพบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิงเท่าๆ กัน โดยส่วนมากมักพบในคนอายุเฉลี่ย 30 ปี
โรคผมร่วงเป็นหย่อมและเชื้อราบนหนังศีรษะผมร่วงเป็นหย่อมมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย แต่มีความแตกต่างกัน คือ โรคผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากภูมิคุ้มกันภายใน โรคผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อราเกิดจากปัจจัยภายนอกคือตัวเชื้อรานั่นเอง โดยเชื้อราทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมแดง คัน เกิดสะเก็ด มีขุยสีขาว อาการอักเสบนี้เองทำให้ผมร่วงเป็นกระจุกได้เช่นกัน ส่วนโรคผมร่วงเป็นหย่อมนั้นจะไม่มีการบวมแดง ไม่คัน ไม่มีขุยสีขาว ไม่มีสะเก็ด
ดังนั้นผมร่วงเป็นหย่อมเชื้อราวิธีรักษาย่อมแตกต่างกัน คือต้องกำจัดเชื้อราด้วยการรับประทานยาและทายาร่วมกัน เมื่อเชื้อราหายไปแล้วจะทิ้งรอยแผลไว้ เส้นผมจึงงอกใหม่ในบริเวณนั้นไม่ได้ ส่วนโรคผมร่วงเป็นหย่อมนั้น เมื่อรักษาหายแล้ว ผมจะสามารถงอกใหม่ได้เหมือนเดิม
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคผมร่วงเป็นหย่อมได้ง่ายด้วยการตรวจดูอาการ ปริมาณของผมร่วงและใช้
กล้องจุลทรรศน์ตรวจสอบดูรายละเอียดของเส้นผมที่มาจากบริเวณผมร่วง หากตรวจดูเบื้องต้นแล้ว ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงจะนำชิ้นเนื้อบนหนังศีรษะไปตรวจเพื่อทำการวิเคราะห์ว่ามีสาเหตุมาจากเรื่องอื่นไหม เช่น เชื้อรา เป็นต้น และหากต้องการคัดกรองโรคภูมิแพ้ตัวเอง สามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาแอนติบอดี้ที่ผิดปกติ หรือปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ หรือแม้กระทั่งความไม่สมดุลของฮอร์โมน ทั้งนี้อาการผมร่วงเป็นหย่อมนั้นมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะ จึงสามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วและตรงไปตรงมา
ผมร่วงเป็นหย่อม หรือ Alopecia Areata รักษาอย่างไร? ผมร่วงเป็นหย่อมวิธีรักษานั้นไม่ยาก โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรอผมขึ้นใหม่เองตามธรรมชาติในระยะเวลา 6-12 เดือน ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยผมร่วงเป็นหย่อมหายเองได้ และวิธีรักษาแบบอื่น ได้แก่
การรักษาทางการแพทย์
การรักษาแบบธรรมชาติและการรักษาแบบทางเลือก
การรักษาแบบธรรมชาติไม่ได้ผ่านการทดสอบและไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการรักษาแบบนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่งเช่นกัน ได้แก่
โรคผมร่วงเป็นหย่อมเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โจมตีรูขุมขน ทำให้เส้นผมหลุดร่วงและขยายเป็นวงกว้าง สามารถเกิดกับเส้นผมรวมถึงขนทั่วร่างกาย ไม่ใช่โรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อ จึงสามารถหายได้เอง แต่ก็มีวิธีการรักษาที่หลากหลายในทางการแพทย์และแพทย์ทางเลือก
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที