วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 660877 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


ถอนฟัน เรื่องสำคัญที่ถ้ารู้แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป

ถอนฟัน

การถอนฟันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งบางครั้งอาจมีปัญหาสุขภาพฟัน หรือด้วยเหตุผลต่าง ๆ หลายประการ ทำให้มีความจำเป็นต้องถอน หลาย ๆ คนกลัวการถอนฟัน เนื่องจากการถอนฟันทำให้เกิดการเจ็บปวดและมีแผลถอนฟัน อีกทั้งทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน 

เรามาดูสาเหตุของการถอนฟัน จะได้รู้วิธีป้องกันและหากต้องทำการรักษาจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง และดูแลตัวเองหลังถอนฟันอย่างไร รวมถึงทราบว่า ถอนฟันราคาเท่าไร และคำถามคาใจหลายประการ อย่างถอนฟันกรามเจ็บมากไหม เราสรุปข้อมูลมาแล้ว เพื่อให้คุณได้เข้าใจการถอนฟันมากยิ่งขึ้น


การถอนฟัน คืออะไร 

การถอนฟัน (Tooth extraction) คือ การถอนฟันออกจากถุงลมในกระดูกถุง ถือเป็นการศัลยกรรมช่องปากขั้นพื้นฐาน การถอนฟันจะดำเนินการด้วยเหตุผลหลายประการ โดยจะถอนฟันที่ไม่สามารถรักษาได้ เนื่องจากฟันผุ โรคปริทันต์ หรือฟันที่ได้รับการบาดเจ็บจากเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือฟันที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตออก โดยจะต้องทำภายใต้การดูแลของทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์เท่านั้น อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการ ถอนฟัน ทำฟัน ได้ที่ คลิก!


สาเหตุที่ต้องถอนฟัน 

สาเหตุที่ต้องถอนฟัน

การถอนฟันเป็นการรักษาที่ทันตแพทย์วางแผนการรักษาเป็นวิธีสุดท้าย ถ้าฟันยังสามารถรักษาด้วยการรักษาวิธีอื่น ๆ ได้ ก็จะเลือกวิธีการรักษานั้นก่อน เพราะการถอนฟัน คือ การสูญเสียฟันธรรมชาติไปอย่างถาวร และอาจจะสร้างปัญหาให้ฟันซี่ข้างเคียงให้เกิดการเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่เปลี่ยนไปจากเดิม สาเหตุที่ต้องถอนฟันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  1. ฟันผุมากและไม่ได้รับการรักษาในระยะเวลานานจะทำให้คราบจุลินทรีย์ทำลายไปถึงเข้าถึงโพรงประสาทฟัน จนไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟันหรือรักษารากฟัน มีอาการปวดฟันอย่างรุนแรง ซึ่งหากปล่อยไว้อาจลุกลามไปยังฟันซี่ข้างเคียง
  2. โรคเหงือก หรือโรคปริทันต์มีปัญหาโรคเหงือกอย่างรุนแรง (gum disease) เนื่องจากโรคเหงือกอักเสบจะมีอาการเหงือกบวมแดง ถ้าเป็นในระยะที่รุนแรงจะทำให้กระดูกรองรับฟันละลาย และฟันโยกได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้ฟันหลุด หรือต้องถอนฟัน 
  3. ฟันหัก หรือเกิดอุบัติเหตุ ในลักษณะฟันหักหรือขากรรไกรหักผ่านฟัน ซึ่งทันตแพทย์พิจารณาแล้ว ไม่สามารถเก็บไว้ได้ เนื่องจากเนื้อฟันเหลือน้อยเกินไป จนไม่สามารถแก้ไขด้วยการอุดฟัน รักษารากฟัน หรือครอบฟันได้
  4. ฟันคุดหรือฟันเกินที่ขึ้นมาในลักษณะที่ไม่เป็นระเบียบ และฟันลักษณะอื่นๆ เช่น ฟันที่มีรูปร่างผิดปกติหรือฟันที่ขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติที่ไม่ได้ใช้งาน
  5. ฟันที่มีพยาธิสภาพของกระดูกรอบ ๆ รากฟัน เช่น cyst, tumor, osteomyelitis หรือ bone necrosis
  6. การจัดฟัน เป็นการเตรียมก่อนเข้ารับการจัดฟัน ทันตแพทย์จัดฟันจะเป็นผู้วางแผนการรักษาว่าจะต้องถอนฟันซี่ไหนบ้าง เพื่อให้เกิดช่องว่างและการเรียงตัวของฟันใหม่ ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันของผู้ที่จะจัดฟันแต่ละคน

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนถอนฟัน

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนถอนฟัน

ก่อนจะทำการถอนฟัน ทุกคนจะต้องมีการเตรียมตัวก่อน เพื่อให้การถอนฟันจะได้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น มาดูกันเลยว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง

  1. ก่อนถอนฟันเตรียมร่างกายให้พร้อม เช่น พักผ่อนหลับนอนให้เต็มที่
  2. การถอนฟันเป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก คนไข้อาจทานอาหารก่อนมาพบทันตแพทย์ เพื่อที่เวลาถอนฟันเสร็จแล้ว คนไข้จะรู้สึกชา เมื่อหายชาอาจมีอาการเจ็บและไม่อยากรับประทานอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาภายหลังถอนฟันได้ เช่น ทางเดินหายใจอุดตันจากการสำลักอาหารซึ่งเป็นปัญหาแทรกซ้อนได้
  3. ให้ประวัติสุขภาพของตนเองแก่ทันตแพทย์ตามความจริงและครบถ้วน เพราะการถอนฟันเป็นการรักษาที่ต้องฉีดยาชาเฉพาะที่ อีกทั้งยังมีเลือดออกขณะและหลังถอนฟัน รวมถึงบางคนทันตแพทย์จะสั่งยาแก้ปวดและยาปฎิชีวนะร่วมด้วย เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบหลังจากถอนฟัน ดังนั้นควรแจ้งทันตแพทย์ให้ครบถ้วน
  4. หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดัน โรคตับ โรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้นหรือมียาที่รับประทานเป็นประจำ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ เพื่อให้ทันตแพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ขั้นตอนการถอนฟัน 

เมื่อเราเตรียมตัวมาเรียบร้อย ทีนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องถอนฟัน ก่อนอื่น เราต้องรู้เสียก่อนว่า การถอนฟันนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ถามประวัติก่อนถอนฟัน

  1. ก่อนที่จะทำการถอนฟัน ทันตแพทย์จะตรวจประวัติทางการแพทย์และประวัติทางทันตกรรมของคนไข้อย่างถี่ถ้วน 

ความจำเป็นในการถอนฟัน

  1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน ในบางกรณีจำเป็นต้องถ่าย X-Ray เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ซึ่ง X-ray สามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้ และทำการวัดความดัน

ทำการถอนฟัน

  1. ก่อนทำการถอนฟัน ทันตแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณรอบๆ ฟันที่จะทำการถอน เมื่อคนไข้รู้สึกชาเต็มที่แล้ว ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องแซะในการทำให้ฟันหลวมจากเหงือก จากนั้นทันตแพทย์จะถอนฟันออกมาด้วยคีมถอนฟัน จนฟันหลุดออกมา

หลังการถอนฟัน

  1. หลังจากถอนฟันแล้ว ให้กัดผ้าก๊อชที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ประมาณ 30-60 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน

ข้อปฏิบัติหลังถอนฟัน

ข้อปฏิบัติหลังถอนฟัน

หลังจากที่ถอนฟันออกแล้ว ทันตแพทย์มักจะบอกกับคนไข้เสมอ ให้ทำตัวตามสบาย ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ พยายามพักผ่อนเยอะ ๆ และอย่านอนราบ เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหล แน่นอนว่า คำแนะนำพื้นฐานเหล่านี้ เราต้องปฏิบัติตาม แต่ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่าง ที่คนถอนฟันต้องปฏิบัติหลังจากถอนฟัน ดังนี้


ปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการถอนฟัน

ปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการถอนฟัน

ปัญหาเลือดออกหรือเลือดออกไหลไม่หยุด (Hemorrhage)

เลือดไหลออกมาปริมาณมาก มีสาเหตุจากการไม่กัดผ้าก๊อซให้แน่นและนานพอ หรือบ้วนปากแรง ๆ หรือมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับแข็งตัวของเลือดและรับประทานยาที่มีผลกับการแข็งตัวของเลือด สามารถแก้ไขโดยการให้กัดผ้าก๊อซผืนใหม่แล้วรีบไปพบทันตแพทย์

ติดเชื้อหลังถอนฟัน (Post operative infection) 

สาเหตุเกิดจากเกิด Trauma มากขณะ ผ่าตัดหรือถอนฟัน หรือเกิดจากผู้ป่วยมีความต้านทานต่อการติดเชื้อน้อย (ผู้ป่วยโรคเบาหวาน) การวินิจฉัยและการรักษาตามลักษณะของการติดเชื้อที่เกิด ให้ antibiotics ตามความเหมาะสม

ปัญหาเลือดออกหรือเลือดออกไหลไม่หยุด (Hemorrhage)

หากคุณเกิดปัญหาถอนฟันแล้วเลือดไหลไม่หยุด เราควรกัดผ้าก๊อซไว้ให้แน่น อย่างน้อย 30 นาที งดการสูบบุหรี่ บ้วนปาก แต่ถ้ายังไม่หยุด ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน โดยอาจจะเย็บแผลเพื่อให้เลือดหยุดเร็วขึ้น อาจจะต้องพิจารณาใช้สารห้ามเลือด เช่น Gel foam หรือ Surgicel (Oxidised cellulose) pack เข้าไปในเบ้าฟันร่วมกับการเย็บแผลเพื่อห้ามเลือด

ปัญหาฟกช้ำหลังถอนฟัน (Ecchymosis)

เกิดจากการมีเลือดซึมในชั้นใต้เยื่อเมือก (submucosa) หรือ ในชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous) เห็นเป็นสีคล้ำ ๆ ในผู้ป่วยสูงอายุเกิดได้ง่าย พบได้บ่อยหลังการผ่าตัดที่ ต้องเปิด flap กว้าง ๆ และการหยุดเลือดหลังผ่าตัดไม่ดี ภาวะฟกช้ำไม่มีอันตราย สามารถประคบด้วยน้ำอุ่น โดยทำเหมือนกันกับการประคบเย็น (ห้ามใช้น้ำเดือด หรือ ประคบถุงอุ่นโดยตรงกับผิวหนัง ให้ห่อด้วยผ้าทุกครั้ง)ทุกอย่างจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง

ปัญหาบวม (Edema) 

ปกติการบวมเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อภยันตราย (trauma) ที่เกิดขึ้น ยิ่งเกิด trauma มากเท่าใด การบวมจะมากขึ้นเท่านั้น กรณีที่ถอนฟันโดยวิธีการ ผ่าตัด มีโอกาสเกิดการบวม อาการบวมจะมากที่สุดในเวลา 48-72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ถ้าการบวม เกิดขึ้นหลังวันที่ 3 ของการผ่าตัด ควรนึกถึงภาวะติดเชื้อมากกว่าจะเป็นการบวมจากการผ่าตัด การใช้ น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบข้างแก้มบริเวณที่ทำผ่าตัดทันทีในวันแรกที่ทำผ่าตัดจะช่วยให้บวมน้อยลง

ปัญหาอ้าปากได้จำกัด กัด (Trismus) อาการอ้าปากได้จำกัดเกิดจากการอักเสบของ กล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยว ซึ่งมักพบได้บ่อยในการผ่าตัดฟันกรามล่างซี่ที่ 3 หรือ อาจเกิดจากฟันที่ถอนยากหรือใช้เวลาผ่าตัดนานๆ การรักษาให้ผู้ป่วยพยายามอ้าปาก ใช้นิ้วมือหรือไม้กดลิ้นง้างปากบ่อย ๆ ร่วมกับการใช้น้ำอุ่นประคบ

ปัญหาเจ็บปวดและไม่สบายหลังผ่าตัด (Pain and Discomfort) 

ความเจ็บปวดหลังการ ถอนฟัน หรือหลังผ่าตัด นอกจากเกิดจากแผลแล้วยังขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของ ผู้ป่วยด้วย โดยทั่วไปความเจ็บปวดหลังถอนฟันจะไม่รุนแรงจะปวดอยู่ ประมาณ 12 ชั่วโมงหลังถอนฟันและลดระดับลงเรื่อย ๆ และปวดนานเกิน 2 วันหลังจากถอนฟัน การแก้อาการปวดให้กินยาแก้ปวดตามอาการ

ถอนฟันแล้วเป็นหนอง

เมื่อเกิดหนองขึ้นในบริเวณที่ถอนฟัน อาจเกิดจากมีเศษอาหารตกลงไปในรูแผล จนเกิดการหมักหมม ทำให้ติดเชื้อเป็นแผลอักเสบ และกลายเป็นหนองได้ง่าย ดังนั้น เราควรบ้วนปาก และไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ หากแผลมีปัญหา จะได้จัดการได้ตรงจุด โดยอาจมีการล้างแผล และจ่ายยารักษา


กลุ่มโรคที่ต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อนถอนฟัน

บางคนที่มีโรคประจำตัวหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงก็ควรจะต้องแจ้งทันตแพทย์เสียก่อน เพื่อปรึกษาและป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากถอนฟันไปแล้ว แล้วกลุ่มคนเหล่านี้มีใครบ้าง เรามาดูกัน

บุคคลเหล่านี้จึงจำเป็นต้องแจ้งและปรึกษากับทันตแพทย์ก่อนทุกครั้งที่จะถอนฟัน เพื่อความปลอดภัยของตัวคนไข้เอง


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการถอนฟัน 

ถอนฟันเจ็บไหม?

การถอนฟันนั้นหลีกเลี่ยงอาการเจ็บปวดไม่ได้ แต่ทันตแพทย์จะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่แบบป้ายก่อน เพื่อให้เนื้อเยื่อบริเวณที่จะฉีดยามีอาการชา จากนั้นจะฉีดยาชาบริเวณที่จะถอนฟัน เพื่อบรรเทาอาการปวด ทำให้ขณะถอนฟันเราจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย หลังจากยาชาหมดฤทธิ์ จะรู้สึกเจ็บปวดบ้าง ทันตแพทย์อาจจะจ่ายยาแก้ปวดให้เพื่อลดอาการปวด

หลังถอนฟันกินข้าวได้ตอนไหน?

หากต้องการรับประทานอาหารควรจะรอให้เลือดหยุดไหลแล้ว และแนะนำให้รับประทานอาหารอาหารรสจัดอ่อนและนิ่มก่อน ควรงดในช่วง 2 – 3 วันแรก

ถอนฟันกรามซี่ในสุดอันตรายไหม?

การถอนฟันกราม หรือแม้แต่ฟันธรรมดา ส่วนใหญ่มีความปลอดภัย ผลข้างเคียงไม่มาก แต่ตัวผู้ป่วยเองต้องบอกความจริงเกี่ยวกับประวัติ และโรคที่เป็นหรือปัญหาอื่น ๆ กับทันตแพทย์อย่างละเอียด แต่บางกรณีอาจเกิดการติดเชื้อ หรือมีสัญญาณอันตรายอื่นๆ ได้ หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาทันตแพทย์โดยทันที 

ถอนฟันห้ามใช้หลอดกี่วัน?

การใช้หลอดดูดเป็นการสร้างแรงดันภายในช่องปาก ซึ่งอาจจะผลักให้เกล็ดเลือดที่มารวมตัวบริเวณแผลถอนฟันหลุดจากบริเวณเบ้าฟันได้ ก็จะทำให้แผลอาจหายช้าหรือเลือดไหลไม่หยุด และถ้าหากเป็นการถอนฟันบนในบริเวณฟันกรามน้อยถึงฟันกราม เบ้าฟันจะอยู่ใกล้โพรงไซนัส การใช้หลอดดูดน้ำอาจมีแรงดัน ทำให้เบ้าฟันมีรูเชื่อมกับโพรงไซนัสได้


ข้อสรุป

สรุปการถอนฟัน

โดยสรุปแล้ว การถอนฟันอาจเป็นได้ทั้งการรักษา หรือเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการรักษาประเภทอื่นก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้รับการรักษา การถอนฟันใช้เวลาไม่นาน แผลหายไว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เกือบปกติ เพียงแต่ควรดูแลรักษาความสะอาดให้ดี และเคร่งครัดกับคำแนะนำของทันตแพทย์


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที