วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 672194 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


อัลตราซาวด์ (Ultrasound) นวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทำให้คุณได้เห็นหน้าลูกตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์

อัลตราซาวด์

การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) นั้น เป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีความถี่สูงกว่า 20,000  Hz  สูงเกินความสามารถที่หูมนุษย์จะได้ยิน คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ นี้ ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือแพทย์  ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่าง ๆ รวมทั้งการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์  บทความนี้ จะพาทุกคนไปรู้จักกับการอัลตราซาวด์มีวิธีการตรวจอย่างไร ตรวจอะไรได้บ้าง มีข้อดี ข้อจำกัด และเหมาะสมกับใครมาดูกันเลย


การอัลตราซาวด์ (Ultrasound) คืออะไร

อัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นวิธีตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ไม่ปวดและไม่อันตราย เป็นการตรวจโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (สูงกว่า 20,000 รอบต่อวินาที) เพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในร่างกาย คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อจะหักเหสะท้อนกลับมาสู่หัวตรวจต่างกันไปตามแต่ชนิดของเนื้อเยื่อ 

จากนั้น เครื่องอัลตราซาวด์จะนำคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับนี้แปลงเป็นภาพ 2 มิติหรือ 3 มิติบนจอมอนิเตอร์ การตรวจอัลตราซาวด์มักนำมาใช้ตรวจสุขภาพทั้งของคนทั่วไปและซาวด์ท้องในสตรีมีครรภ์ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กในท้อง


อัลตราซาวด์ใช้ทำอะไรได้บ้าง

วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ ซึ่งใช้ในวงการแพทย์ สะดวก รวดเร็ว รู้ผลชัดเจนแม่นยำ มาดูกันเลยว่าใช้ในเรื่องใดบ้าง

1. อัลตราซาวด์เพื่อตรวจครรภ์ 

การอัลตราซาวด์เพื่อตรวจครรภ์ ใช้ตรวจความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกายทารกในครรภ์และโครงสร้างหลัก ได้แก่ รก สายสะดือ น้ำคร่ำ กะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง แขน ขา ช่องอก เนื้อปอด หัวใจ ผนังหน้าท้อง และอวัยวะหลักภายในช่องท้อง การวัดขนาดของทารกจากการตรวจอัลตราซาวด์  ยังช่วยในการยืนยันอายุครรภ์ และคำนวณวันคลอด ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการดูแลรักษาในช่วงใกล้คลอด ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์เกินกำหนด ซึ่งอาจมีผลเสียต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้

นอกจากนี้ พ่อแม่หลายคนที่ต้องการรู้ว่าเพศของลูกเป็นหญิงหรือชาย การตรวจอัลตราซาวด์สามารถบอกได้ ส่วนในภาวะคลอดก่อนกำหนด แพทย์ยังอาจใช้เครื่องมือนี้ช่วยประเมินน้ำหนักตัวของทารกได้ด้วย

2. อัลตราซาวด์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค

การตรวจสุขภาพเพื่อวินิจฉัยโรคด้วยอัลตราซาวด์ในร่างกายทั้งส่วนบนและส่วนล่างว่าแต่ละแบบนั้น มีข้อดี และสามารถช่วยสแกนโรคที่แตกต่างกันได้ โดยเป็นการตรวจอัลตราชาวด์เช็กความผิดปกติ

การอัลตราซาวด์ (Ultrasound) คือการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เกิดภาพ ซึ่งสามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เห็นได้ถึงความผิดปกติบางชนิด ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคของแพทย์ได้ โดยการตรวจสุขภาพส่วนใหญ่จะมีการอัลตราซาวด์อยู่ 2 ส่วน คือ

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง มักจะตรวจกันมากในกลุ่มผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มที่ปวดท้องประจำเดือนเป็นประจำ หรือประจำเดือนมาผิดปกติ แต่ก็มีข้อจำกัดต่อการวินิจฉัยบริเวณกระดูกที่มีความหนาแน่นหรือส่วนของร่างกายที่อาจประกอบด้วยอากาศหรือแก๊ส อาจทำได้ไม่ดีนัก เช่น สมอง กระดูกสันหลัง ลำไส้

3. อัลตราซาวด์เพื่อในกระบวนการทางการแพทย์

การใช้ในกระบวนการทางการแพทย์ กระบวนการต่าง ๆ เช่น การตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจ อาจต้องใช้เครื่องอัลตราซาวด์เข้าช่วย เนื่องจากในกระบวนการนี้เป็นการตัดเนื้อเยื่อจากพื้นที่ที่ต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ การอัลตราซาวด์จะช่วยให้แพทย์เห็นภาพอวัยวะบริเวณนั้น ๆ และดำเนินการได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น


การตรวจอัลตราซาวด์ มีกี่ประเภท

การตรวจอัลตราซาวด์ สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้อย่างหลากหลาย ดังนั้น จึงมีการตรวจอัลตราซาวด์หลากหลายประเภท โดยแยกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. อัลตราซาวด์ 2 มิติ

อัลตราซาวด์ 2 มิติ

ขอบคุณภาพจาก https://beyondivf.com/pregnancy-ultrasound/

การอัลตราซาวด์ 2 มิติเป็นการส่งคลื่นเสียงที่ทำให้ภาพแสดงออกมาในแนวราบ หรือตามแนวขวาง ไม่มีความลึกที่บ่งบอกลักษณะของด้านอื่น ๆ และยังไม่สามารถเก็บภาพต่อเนื่องได้ และทำให้เราสามารถเห็นการเจริญเติบโต การเต้นของหัวใจ ตำแหน่งของรก สายสะดือ เพศของทารกในครรภ์ ซึ่งภาพที่เห็นจะเป็นภาพเคลื่อนไหวสีขาวดำ

2. อัลตราซาวด์ 3 มิติ

อัลตราซาวด์ 3 มิติ

ขอบคุณภาพจาก https://beyondivf.com/pregnancy-ultrasound/

การตรวจอัลตราซาวด์ 3 มิติ มีขั้นตอนที่ซับซ้อนขึ้นจากการตรวจอัลตราซาวด์ 2 มิติ ใช้เทคโนโลยีระดับสูงกว่ากันมากเพื่อให้ได้ภาพละเอียดและชัดเจน จะแสดงความกว้าง ความสูง และความลึก โดยหัวตรวจจะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงที่ส่งผ่านมาในมุมที่แตกต่างกัน แล้วรับสัญญาณคลื่นเสียงสะท้อนกลับออกมา ทำการประมวลวิเคราะห์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แปลงข้อมูลเป็นภาพ 3 มิติ 

ซึ่งภาพที่ได้ออกมาจะเป็นภาพพื้นผิวของทารก หรือเป็นภาพอวัยวะภายในทารก ทั้งรูปร่างและรูปทรงของทารกชัดเจนคล้ายกับรูปถ่ายในชีวิตจริง รวมทั้งเห็นใบหน้าและรายละเอียดของลูกน้อยชัดเจนกว่าภาพถ่าย 2 มิติ

3. อัลตราซาวด์ 4 มิติ

อัลตราซาวด์ 4 มิติ

ขอบคุณภาพจาก https://beyondivf.com/pregnancy-ultrasound/

การอัลตราซาวด์ 4 มิติ หลักการคล้ายคลึงกับอัลตราซาวด์ 3 มิติ มีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องและซับซ้อน เครื่องตรวจอัลตราซาวด์ 4 มิติจะนำภาพ 3 มิติมาแสดงผลเรียงต่อกันกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยใช้คลื่นเสียง เหมือนกับเราได้เห็นทารกในครรภ์แบบ Real Time 

ซึ่งการอัลตราซาวด์ 4 มิติสามารถเห็นพฤติกรรมต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ได้ เช่น การหาว ดูดนิ้ว อ้าปาก ขยับนิ้ว หรือการยิ้ม ได้อย่างชัดเจน เสมือนจริงอีกด้วย และยังได้ข้อมูลรายละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของความผิดปกติที่พื้นผิว เช่น ปากแหว่ง หรือเนื้องอกที่ผิวบางชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยความผิดปกติบางอย่างได้

แม้ว่าการตรวจอัลตราซาวด์จะมีให้เลือกหลายแบบ แต่ทุกแบบก็บอกได้ในสิ่งเดียวกัน คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ ความสมบูรณ์ รวมถึงความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าต้องการเห็นทารกในครรภ์อย่างชัดเจนแบบภาพเคลื่อนไหวการทำอัลตราซาวด์ 4 มิติ ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด


การตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์ มีข้อดี ข้อจำกัด อย่างไร

ข้อดีการตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์

ในการตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์ (Ultrasound) โดยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การตรวจดูความผิดปกติ ซึ่งถือเป็นข้อดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ แต่เราก็ต้องทราบข้อจำกัดของการตรวจแบบนี้ด้วยเช่นกัน โดยเราสรุปข้อดีและข้อจำกัดไว้ ดังนี้

ข้อดีของการตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์

ข้อจำกัดของการตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์


ตรวจอัลตราซาวด์ระหว่างการตั้งครรภ์ มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของการตรวจอัลตราซาวด์ท้อง ในระหว่างที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ สามารถแยกเป็นข้อ ๆ ให้เห็นประโยชน์ ได้ชัดเจนขึ้น ดังต่อไปนี้


การอัลตราซาวด์ในแต่ละไตรมาส สามารถบอกอะไรได้บ้าง

การอัลตราซาวด์ในแต่ละไตรมาส

การอัลตราซาวด์ ใช้ในการตรวจสุขภาพครรภ์ ทั้งสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ด้วย หากทราบว่าตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ 18 - 22 ของการตั้งครรภ์ โดยอาจจะเริ่มอัลตราซาวด์ 6 สัปดาห์ ก็สามารถเริ่มตรวจได้

และทางที่ดี ควรตรวจอัลตราซาวด์อย่างน้อย 1 ครั้งในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ เพื่อประเมินสุขภาพและติดตามพัฒนาการของทารกในแต่ละระยะ ดังนั้น การอัลตราซาวด์ทั้งหมดควรตรวจ 3 ครั้ง ซึ่งเป็นการตรวจทุกไตรมาส ได้แก่

ไตรมาสที่ 1 (อายุครรภ์ 0-14 สัปดาห์)

การอัลตราซาวด์ในไตรมาสที่ 1 (ช่วงสัปดาห์ที่ 6-14 หรือช่วงเดือนที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์) เป็นการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของการตั้งครรภ์ และยืนยันจำนวนทารกในครรภ์ คัดกรองโรคทางพันธุกรรมบางโรค ทั้งยังใช้คำนวณอายุครรภ์และวันกำหนดคลอดที่แน่นอนในมารดาที่ประจำเดือนไม่มา  

และหากพบว่าไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิและกลายเป็นทารกแล้วไม่ได้ฝังตัวที่ผนังมดลูก แต่กลับไปฝังตัวที่บริเวณอื่น เช่น ท่อนำไข่ หรือที่เรียกว่าภาวะท้องนอกมดลูก แพทย์จำเป็นต้องนำทารกออกมาเนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพแม่ได้

ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 14-28 สัปดาห์)

การอัลตราซาวด์ในไตรมาสที่ 2 (ช่วงสัปดาห์ที่ 18 - 22 หรือช่วงเดือนที่ 4 - 6 ของการตั้งครรภ์) มักใช้วิธีอัลตราซาวด์ทางหน้าท้องเพื่อตรวจสอบพัฒนาการและโครงสร้างร่างกายของทารกในท้อง เช่น กระดูกสันหลัง แขน ขา สมอง อวัยวะภายใน และใช้เพื่อตรวจขนาดและตำแหน่งของรก ปริมาณน้ำคร่ำ อีกทั้งยังสามารถตรวจการไหลเวียนโลหิตของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกซึ่งเชื่อมต่อมายังทารก 

ซึ่งหากพบความผิดปกติ ก็อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์หรือครรภ์เป็นพิษ ในกรณีที่มารดามีประวัติคลอดก่อนกำหนดในครรภ์มาก่อน ก็สามารถวัดความยาวของปากมดลูกในช่วงอายุครรภ์นี้ เพื่อทำนายโอกาสในการที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนดซ้ำ เพื่อให้การป้องกันภาวะดังกล่าว การอัลตราซาวด์ในระยะนี้ สามารถอัลตราซาวด์ดูเพศของทารกในท้องได้ด้วย

ไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 28 สัปดาห์จนถึงคลอด)

การอัลตราซาวด์ในไตรมาสที่ 3 (ช่วงสัปดาห์ที่ 28 หรือช่วงเดือนที่ 7-9 ของการตั้งครรภ์) เพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ ที่สำคัญสามารถตรวจดูอัตราการเจริญเติบโตของทารก โดยปกติภาวะทารกเติบโตช้าจะเกิดในช่วงนี้ และตรวจติดตามน้ำหนักของทารกเมื่อเทียบกับอายุครรภ์ หากมีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นจะได้วินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีก่อนจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของรวมถึงประเมินท่าของทารก เพื่อพิจารณาวางแผนสำหรับการคลอดต่อไป


ขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวด์

ขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวด์

การตรวจครรภ์ด้วยการอัลตราซาวด์ (Ultrasound) มีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่ การตรวจอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง และการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด โดยแต่ละวิธีมีขั้นตอนดังนี้

การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องท้อง

  1. ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าที่โรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ เพื่อความสะดวกในการตรวจของคุณหมอ
  2. เริ่มต้นจากการให้คุณแม่นอนบนเตียง ทำความสะอาดบริเวณหน้าท้องให้สะอาด 
  3. คุณหมอจะทาเจลบนบริเวณหน้าท้องที่สำหรับตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อช่วยให้คลื่นเสียงความถี่สูงสามารถผ่านได้ดียิ่งขึ้น 
  4. แพทย์เริ่มแตะหัวตรวจของเครื่องอัลตราซาวด์บนหน้าท้อง แล้วค่อยๆ เลื่อนหัวตรวจไปตามตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจจะต้องเปลี่ยนท่าทางและการหายใจตามคำสั่งให้ตรงกับตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของทารก
  5. คลื่นเสียงที่ส่งผ่านหัวตรวจจะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับและแปลผลเป็นภาพบนหน้าจอให้เห็นทันที 
  6. แพทย์ผู้ตรวจจะคอยอธิบายภาพที่เห็น บอกผล และให้คำแนะนำกับคุณแม่ หากคุณแม่มีข้อสงสัยอะไร สามารถสอบถามแพทย์ได้ตลอดการตรวจ เมื่อตรวจเสร็จแพทย์จะเช็ด เจลออกจากบริเวณหน้าท้อง 
  7. โดยปกติแล้ววิธีนี้จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง

การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด

การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด ต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจดังนี้

เมื่อพร้อมคุณแม่นอนบนเตียงแพทย์จะทำการตรวจโดยการสอดอุปกรณ์ส่งคลื่นอัลตราโซนิกในรูปแบบแท่งที่เรียกว่า หัวตรวจทางช่องคลอดเข้าไปในช่องคลอด จะใช้ในการตั้งครรภ์ระยะแรกประมาณ 7 - 12 สัปดาห์ การสอดเข้าไปในช่องคลอดจะช่วยให้เห็นมดลูกในตำแหน่งที่ใกล้กับลูกในครรภ์มากกว่า จึงสามารถได้ภาพที่ละเอียด และไม่เพียงแต่ได้ตรวจสภาพของทารกเท่านั้น 

แต่ยังสามารถอัลตราซาวด์ตรวจสภาพความแข็งแรงของมดลูกและรังไข่ของแม่ได้อีกด้วย หากเข้ารับการตรวจอย่างผ่อนคลาย จะไม่รู้สึกเจ็บ แต่หากเครียดและฝืน อาจจะทำให้รู้สึกเจ็บในตอนที่สอดเข้าไป ซึ่งในเวลาดังกล่าว ขอให้บอกคุณหมอตรง ๆ หัวตรวจจะมีการฆ่าเชื้อ และใส่ถุงยางอนามัยเฉพาะทางให้ทุกครั้ง จึงมีความสะอาดมาก


วิธีอ่านค่าอัลตราซาวด์

เมื่อคุณแม่ได้รับใบผลอัลตราซาวด์จะเห็นภาษาอังกฤษเป็นอักษรย่อต่าง ๆ บางคนอาจสงสัยคืออะไร มีความหมายว่าอย่างไรและมีตัวเลขค่าต่างๆ ทั้งหมดนี้บอกอะไรถึงลูกของเรา วันนี้มาเรียนรู้กันเลย

วิธีอ่านค่าอัลตราซาวด์

  1. CRL = การวัดความยาวของทารก
  2. BPD = การวัดความกว้างของศีรษะทารก
  3. HC = การวัดเส้นรอบวงศีรษะ
  4. AC = การวัดเส้นรอบท้อง
  5. FL = การวัดความยาวกระดูกต้นขา
  6. NT= การวัดความหนาของเนื้อเยื่อต้นคอทารก เป็นการตรวจคัดกรองทารกดาวน์
  7. AFI = การวัดน้ำคร่ำ
  8. EFW = การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ Single คือครรภ์เดี่ยว multiple คือครรภ์แฝด

-EFW1 (HAD-1) = น้ำหนักโดยประมาณที่ได้มาจากสูตรที่ชื่อ Haddlock

-EFW2 (SHEPARD) = น้ำหนักโดยประมาณที่ได้มาจากสูตรที่ชื่อ Shepard

  1. LMP = วันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย
  2. EDD หรือ EDC = วันครบกำหนดคลอดที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ คำนวณจาก LMP
  3. FHS=การตรวจคลื่นเสียงเห็นการเต้นของหัวใจทารก
  4. GA = อายุครรภ์

คำศัพท์ที่พบบ่อยในใบตรวจอัลตราซาวด์

  1. Gestational sac คือ ถุงการตั้งครรภ์
  2. Fetal cardiac pulsation คือ อัตราการเต้นของหัวใจทารก
  3. Placental site คือ ตำแหน่งรก
  4. Placental grading คือ ลักษณะเนื้อรก
  5. Quickening คือ ประวัติเด็กดิ้นครั้งแรก
  6. Presentation คือ ท่าของทารกในครรภ์

การตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์ อันตรายไหม

การตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์ไม่อันตราย

การตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกและมารดา แม้ว่าจะมีการตรวจซ้ำหลายครั้งก็ตาม แต่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยความผิดปกติของทารก และช่วยในการตรวจติดตามการเจริญเติบโต และความผิดปกติของอวัยวะที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้ ทำให้แพทย์สามารถทำการตัดสินใจในการให้การรักษาได้ดีขึ้น ดังนั้นการตรวจอัลตราซาวด์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน 


FAQs อัลตราซาวด์

คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านอาจจะยังมีข้อคำถามมากมายเกี่ยวกับการตรวจอัลตราซาวด์ โดยเราได้สรุปคำถามที่หลายคนสงสัยมาตอบไว้ให้ตรงนี้แล้ว

อัลตราซาวด์อายุครรภ์ 1 เดือน จำเป็นไหม

การอัลตราซาวด์ อายุครรภ์ 1 เดือน อาจไม่จำเป็นมากนัก เนื่องจากอายุครรภ์ยังน้อยเกินไป โดยปกติการนิยมตรวจครั้งแรกทำได้เมื่อมีอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอายุครรภ์ที่มองเห็นทารกผ่านเครื่องอัลตราซาวด์ได้ แต่ถ้าตรวจดูเร็วกว่านั้น เครื่องอาจไม่สามารถตรวจจับได้อย่างชัดเจน แต่ในกรณีที่คุณแม่มีความเสี่ยงบางประการ เช่นมีประวัติการตั้งครรภ์นอกมดลูกก็สามารถอัลตราซาวด์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยได้

ผลตรวจอัลตราซาวด์ผิดพลาดได้หรือไม่

การตรวจอัลตราซาวด์มีความผิดพลาดไหม คำตอบคือ อาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ จากสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

  1. อวัยวะของทารกไม่ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่ในครรภ์ ความผิดปกติจึงอาจเกิดตอนหลังคลอดก็เป็นได้
  2. อวัยวะบางอย่างมีขนาดเล็กมากบางอย่างมองไม่เห็นอย่างเช่นนิ้วถ้าเด็กไม่กางแพทย์อาจมองไม่เห็น หรือกรณีถ้าหัวใจเล็กกว่าครึ่งเซนติเมตร แพทย์อาจมองไม่ชัดเจนเช่นกัน
  3. อวัยวะของทารกในครรภ์กับนอกครรภ์ไม่เหมือนกัน การดูผ่านอัลตราซาวด์เป็นการดูโครงสร้างโดยรวม ไม่ได้ดูการทำงานของอวัยวะนั้นๆ เช่น ถ้าตรวจพบกระเพาะปัสสาวะของทารกก็แสดงว่าไตมีการทำงานถึงมีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
  4. ท่าทางของเด็ก อาจบดบังการมองเห็นภาพอวัยวะต่าง ๆ ทำให้การวินิจฉัยผิดพลาดได้
  5. การวินิจฉัยผิดพลาดอาจขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของแพทย์แต่ละคนด้วย

ตรวจอัลตราซาวด์แค่ช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ได้ไหม

การตรวจช่วงนี้ มีหลายคนเข้าใจผิด คิดอยากประหยัด มาตรวจอัลตราซาวด์ครั้งเดียวตอนอายุ 28 สัปดาห์ เพราะทารกส่วนใหญ่หลัง 22 สัปดาห์กระดูกจะหนา ทำให้ดูอวัยวะยากขึ้น ดังนั้น ควรให้มาตรวจทันทีที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ หรือมาก่อนอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ เพื่อมาตรวจดูอายุครรภ์ที่แน่นอน เพราะผู้หญิงบางคนประจำเดือนมาไม่แน่นอน ทำให้นับวันกำหนดคลอดไม่ได้ และตรวจดาวน์ซินโดรม หลังจากนั้น ถ้าปกติดี อายุครรภ์ 18 - 22 สัปดาห์ ก็มาตรวจดูอวัยวะครบไหม ถ้าอวัยวะครบดี ก็สามารถมาตรวจอีกครั้งตอนอายุครรภ์ 28 - 32 สัปดาห์ การเจริญเติบโตเป็นอย่างไร มาตรวจความผิดปกติของกระดูก เป็นต้น


ข้อสรุป

การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ทุกรูปแบบเป็นกระบวนการตรวจสแกนแบบพื้นฐาน ไม่เจ็บปวดและไม่เสี่ยงอันตราย เป็นการตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านร่างกายและแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ป่วยสามารถเห็นภาพได้ชัดเจน โดยเฉพาะคุณแม่ที่สามารถคอยตรวจความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ เพราะหากเกิดอะไรขึ้น ก็สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที