วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 661132 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


เลือกเพศลูกได้หรือไม่ วิธีธรรมชาติหรือวิธีเทคโนโลยี วิธีไหนดีกว่ากัน

เลือกเพศลูก

ใครที่กำลังอยากได้ลูกสาว หรืออยากได้ลูกชาย คงกำลังมองหาวิธีเลือกเพศลูกกันอยู่ แต่ทำไมบางคนก็บอกว่า เลือกเพศลูก ผิดกฎหมายนะ เราไม่สามารถทำได้ แต่ทำไมบางคนจึงทำได้ วันนี้ บทความของเรามีคำตอบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเพศลูกด้วยวิธีธรรมชาติ หรือการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ จะผิดกฎหมายจริงหรือไม่ เราไปหาคำตอบกัน


การเลือกเพศลูก 

หลาย ๆ คน เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว ก็ล้วนตั้งใจที่จะมีลูกน้อยมาเป็นโซ่ทองคล้องใจ แต่ด้วยบริบทหรือปัจจัยต่าง ๆ ของครอบครัวที่อยากจะมีลูกตามที่ตั้งใจ โดยอยากจะเลือกเพศลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวเชื้อสายจีนที่ต้องการให้ลูกคนแรกเป็นผู้ชาย หรือครอบครัวที่มีแต่ลูกชายก็อยากจะได้ลูกสาวบ้าง ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น พ่อแม่หลาย ๆ คนก็ล้วนแต่เลือกเพศลูกไว้ในใจแล้วเสมอ

โดยการที่เราจะเลือกเพศลูกนั้น มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับครอบครัวที่มีพ่อแม่หรือบรรพบุรุษมีโรคทางพันธุกรรมบางอย่างที่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกเฉพาะเพศใดเพศหนึ่งได้ เช่น โรคสังข์ทอง (Anhidrotic Ectodermal Dysplasia), โรคเลือด G6PD, โรคดาวน์ซินโดรมบางประเภท, โรคผิวหนังบางประเภท (Sex-linked Ichthyosis) ฯลฯ ทำให้บางครอบครัวจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงการมีลูกในเพศนั้น ๆ แทน

ซึ่งในกรณีเหล่านี้ จะต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ โดยอาจจะใช้วิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ IVF/ICSI ในการรักษาพร้อมตรวจคัดกรองตัวอ่อน ด้วยวิธีตรวจ NGS โครโมโซมตัวอ่อน เพื่อเลือกเพศลูก ก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป


ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดเพศของลูกน้อย

เลือกเพศลูกได้ไหม

ก่อนที่เราจะไปถึงคำถามที่ว่า “เลือกเพศลูกได้ไหม” เราต้องมาเข้าใจสาเหตุของการเกิดเป็นเพศชายและเพศหญิงเสียก่อน สิ่งที่จะเป็นการกำหนดเลือกเพศลูกนั้น คือ โครโมโซม (Chromosome) หรือแท่งพันธุกรรมที่อยู่ภายในเซลล์หรืออณูของร่างกายมนุษย์ โดยมีอยู่ 23 คู่ หรือ 46 แท่ง แบ่งเป็นส่วนแรก คือ 22 คู่ หรือ 44 แท่ง เป็นแท่งพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ หน้าตา ความสูง ความเตี้ย สีผม สีผิวหนัง ฯลฯ และอีก 1 คู่ หรือ 2 แท่ง จะเป็นแท่งพันธุกรรมที่เป็นตัวกำหนดเพศ หรือที่เราเรียกกันว่า “โครโมโซมเพศ”

ซึ่งโครโมโซมเพศนี่แหละที่จะเป็นตัวกำหนดว่า เด็กที่เกิดมานั้นจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง โดยในคุณแม่จะมีโครโมโซมเพศเป็น XX ส่วนคุณพ่อจะมีโครโมโซมเพศเป็น XY ดังนั้น จึงหมายความว่า ในน้ำอสุจิของคุณพ่อ จะมีตัวอสุจิอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ อสุจิที่มีโครโมโซม X ที่เป็นตัวกำหนดให้เป็นลูกสาว และโครโมโซม Y ที่เป็นตัวกำหนดให้เป็นลูกชาย ส่วนเซลล์ไข่ของคุณแม่นั้น จะมีโครโมโซมเพศแบบเดียว คือ โครโมโซม X 

ซึ่งในเวลาที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ จำนวนโครโมโซมจะลดลงครึ่งหนึ่งเหลือเพียง 23 แท่ง ซึ่งประกอบด้วยโครโมโซมเพศ X หรือ Y อย่างใดอย่างหนึ่ง และเมื่อเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและของแม่เกิดการปฏิสนธิรวมกัน จึงเกิดเป็นทารกที่ได้รับผลรวมทางพันธุกรรมของพ่อและแม่มาอย่างละครึ่ง โดยมีอัตราส่วนของอสุจิที่มีโครโมโซม X ต่ออสุจิที่มีโครโมโซม Y จะอยู่ที่ประมาณ 50% ต่อ 50% ดังนั้น ในทางธรรมชาติแล้ว โอกาสที่จะได้ลูกชายหรือลูกสาวนั้น จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 

กล่าวได้ว่า การที่จะเลือกเพศลูกนั้น ขึ้นอยู่กับอสุจิของคุณพ่อว่า อสุจิที่มีโครโมโซม X หรือ Y ที่จะเข้าไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ของคุณแม่ก่อนกัน โดยในแต่ละเพศ เราสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ ดังนี้

เพศหญิง

สำหรับลูกน้อยเพศหญิงเกิดจากอสุจิที่มีโครโมโซม X ปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ X โดยคุณสมบัติของอสุจิที่มีโครโมโซม X คือ

เพศชาย

ส่วนลูกน้อยเพศชายเกิดจากอสุจิที่มีโครโมโซม Y ปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ X โดยคุณสมบัติของอสุจิที่มีโครโมโซม Y คือ


สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการเลือกเพศลูก

ตามที่ทราบว่า การเลือกเพศลูกนั้น เหมาะสำหรับการรักษาสำหรับครอบครัวที่มีโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การฉีดเชื้อผสมเทียมร่วมกับการคัดอสุจิ การทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนการฝังตัว (PGD) เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้ จะมีข้อบ่งชี้ที่บ่งบอกถึงโรคทางพันธุกรรม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบเพศของตัวอ่อนก่อน ซึ่งถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และยังไม่เคยมีบุตรมาก่อน ไม่แนะนำให้ทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับ PGD เพื่อคัดเพศ


การเลือกเพศลูก ผิดกฎหมายหรือไม่

อีก 1 คำถามที่คาใจพ่อแม่หลาย ๆ คน คือ เลือกเพศลูก ผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งในปัจจุบัน ถือว่า การเลือกเพศลูกเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล 2541 และตามประกาศแพทยสภา ในเรื่องมาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งมีข้อกำหนดว่า “การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อน ก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก จะทำได้เฉพาะการตรวจวินิจฉัยโรคตามความจำเป็น และต้องไม่กระทำในลักษณะการเลือกเพศ โดยสถานพยาบาลและแพทย์ผู้ให้บริการต้องได้รับหนังสือรับรองจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถทำได้”

ด้วยเพราะมองว่า การเลือกเพศลูกเป็นเรื่องที่ผิดหลักมนุษยธรรมและไม่มีความจำเป็น รวมถึงการขายไข่และการอุ้มบุญด้วย ยกเว้นแต่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ระบุว่า เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกเพศลูก


วิธีเลือกเพศลูก มีอะไรบ้าง

อยากได้ลูกสาว

แต่อยากที่ทราบกันว่า การเลือกเพศลูกก็ยังคงเป็นความต้องการของใครหลาย ๆ คน ถึงแม้ว่า มันจะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่เราก็สามารถที่จะเลือกเพศลูกได้ 2 วิธี คือ วิธีธรรมชาติกับการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยในแต่ละวิธีก็จะมีขั้นตอนและรายละเอียดที่แตกต่างกันไป ซึ่งบทความนี้ จะมาแนะนำวิธีการเลือกเพศลูกทั้ง 2 แบบให้ได้อ่านและทำความเข้าใจกัน


การเลือกเพศลูกด้วยวิธีทางธรรมชาติ

เลือกเพศลูก ธรรมชาติ

สำหรับการเลือกเพศลูกด้วยวิธีทางธรรมชาติ (Shettles Method) เป็นวิธีที่ขึ้นอยู่กับอสุจิที่มีโครโมโซม X หรือ Y ของคุณพ่อ ซึ่งเราจะต้องเข้าใจคุณสมบัติและความแตกต่างของ 2 ชนิดนี้ก่อน และเมื่อเราเข้าใจคุณสมบัติและธรรมชาติของมันแล้ว ก็จะช่วยให้เราสามารถเลือกเพศลูกได้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ด้วยการเสริมปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ตรงกับเพศของลูกน้อยที่เราต้องการ

วิธีที่ 1 การเลือกทานอาหาร

การเลือกทานอาหารก็ช่วยให้เราสามารถเลือกเพศลูกได้ด้วย ตามวิธีของนายแพทย์ Stoloski ที่อ้างว่าได้ผลถึงร้อยละ 10 โดยอาศัยหลักการที่ว่าอาหารบางอย่างทำให้ภาวะในช่องคลอดมีความเป็นกรดหรือด่างได้ตามต้องการ

และที่สำคัญ คือ จะต้องรับประทานอาหารดังกล่าว อย่างน้อยสองเดือนครึ่งจึงจะได้ผล โดยในระหว่างนี้ จะต้องมีการคุมกำเนิดไว้ก่อน และไม่ควรกินยาใด ๆ แม้ว่าจะมีอาการเป็นไข้หรือเป็นหวัด เพราะการกินยาบางประเภท เช่น โซเดียมไบคาบอเนต ในช่วงระยะเวลาที่ไข่ตก เพื่อให้ภาวะในช่องคลอดเป็นด่าง ก็เชื่อว่าจะทำให้ได้ลูกชายเช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็เป็นทฤษฎี อาจจะไม่ได้ผล 100% ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของคุณพ่อคุณแม่ด้วยเช่นกัน

วิธีที่ 2 วันที่ควรมีเพศสัมพันธ์

อีกวิธีการเลือกเพศลูกที่สำคัญ คือ การดูวันที่ตกไข่ของคุณแม่ เพราะในช่วงวันที่ตกไข่ รวมถึงสภาพช่องคลอดที่จะมีสภาพความเป็นด่าง ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการเคลื่อนที่ของอสุจิบางประเภท

วิธีที่ 3 ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์

นอกจากการคำนวณวันที่ไข่ตกแล้ว ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ก็ช่วยเลือกเพศลูกได้เช่นกัน เพราะการมีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ จะทำให้อสุจิตัว Y มีจำนวนลดลง ส่งผลให้ได้ลูกสาวมากขึ้น โดยอธิบายได้ ดังนี้

แต่ทั้งนี้ สำหรับเรื่องความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์เป็นทฤษฎีเท่านั้น ยังไม่ได้มีการรับรองว่า จะสามารถเลือกเพศลูกได้จริง ๆ 

วิธีที่ 4 การถึงจุดสุดยอด

การถึงจุดสุดยอดก็เป็นอีกวิธีของการเลือกเพศลูก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเลือกเพศลูกด้วยวิธีทางธรรมชาติทั้ง 4 วิธีที่กล่าวมา เป็นแนวทางการปฏิบัติตามทฤษฎีเท่านั้น ซึ่งการที่จะประสบความสำเร็จ 100% จะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่น สุขภาพร่างกาย การรับประทานอาหาร อาการเจ็บป่วย เป็นต้น


การเลือกเพศลูกโดยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

การเลือกเพศลูก เทคโนโลยี

นอกจากวิธีธรรมชาติแล้ว อีกทางหนึ่งของการเลือกเพศลูก เทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยคุณได้ ซึ่งถือว่า เป็นวิธีที่คนนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และมีหลากหลายวิธี และแต่ละเทคโนโลยีในการเลือกเพศลูก ค่าใช้จ่ายก็แตกต่างกัน ดังนี้

การฉีดเชื้อผสมเทียมในโพรงมดลูก (IUI)

การฉีดเชื้อผสมเทียมในโพรงมดลูก (Intrauterine Insemination – IUI) หรือที่เรียกว่า การคัดเลือกเชื้ออสุจิ เป็นวิธีที่ไม่สามารถตรวจโครโมโซมอสุจิได้ ทำได้เพียงคัดกรองเชื้ออสุจิก่อนฉีดเข้าสู่โพรงมดลูก โดยพิจารณาจากรูปร่างสมบูรณ์ อัตราการเคลื่อนที่ และอัตราการรอดชีวิต ซึ่งถือว่า มีความคล้ายกับการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติ ทำให้อัตราการเลือกเพศลูกนั้น มี 50:50 เท่ากัน ทั้งเพศชายและเพศหญิง

สำหรับการฉีดเชื้อผสมเทียมในโพรงมดลูก (IUI) ในการเลือกเพศลูก ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 22,600 - 34,000 บาท ขึ้นอยู่กับยาที่ต้องใช้ จำนวนครั้งที่ต้องเข้าพบแพทย์ และบริการอื่น ๆ ของสถานพยาบาล

การทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI

ในการเลือกเพศลูกอีกวิธี คือ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF or ICSI) และการคัดเพศด้วยการตรวจ PGD (Preimplantation Genetic Diagnosis) เป็นการนำไข่กับอสุจิมาผสมกันภายนอกร่างกาย เพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อน ซึ่งจะมีการดูดเซลล์รกและนำไปตรวจโครโมโซม เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรม ซึ่งเป็นการคัดกรองหาความผิดปกติทางพันธุกรรมจากโครโมโซมทั้ง 23 แท่งภายในครั้งเดียว ทำให้ผลพลอยได้ คือ สามารถตรวจวิเคราะห์เพศของตัวอ่อนได้อีกด้วย

โดยเลือกเพศลูก IVF หรือ ICSI จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 150,000 – 200,000 บาทขึ้นไป ต่อรอบ แต่ทั้งนี้ ในการเลือกเพศลูกด้วยวิธีการนี้ เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น เพราะการเลือกเพศลูกโดยตรง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องพันธุกรรม ถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายของประเทศไทยที่ไม่สามารถกระทำได้


ข้อสรุป

การเลือกเพศลูกอาจจะเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอยากจะทำให้ได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองและครอบครัว แต่ด้วยในปัจจุบัน ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายของประเทศไทย โดยจะสามารถทำได้เฉพาะในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น แต่เราก็ยังสามารถเลือกเพศลูกด้วยวิธีธรรมชาติ แม้ว่าจะไม่ได้ผล 100% แต่เราก็จะได้ลูกน้อยที่มีสุขภาพดีมาเติมเต็มครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที