วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 669952 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


ตรวจสุขภาพประจำปี รู้ทันสุขภาพ ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ

เราควรตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับแต่ละช่วงอายุเป็นอย่างไร แล้วเราควรตรวจสุขภาพประจําปี ที่ไหนดี ที่นี่มีคำตอบ!!

 
เมื่อมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ก็จะทำให้มีสภาพจิตใจที่ดีตาม สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำทุกปี เนื่องจากการตรวจสุขภาพจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้รู้ว่าในปัจจุบันร่างกายเรามีสภาพเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหรือไม่ ถ้าตรวจพบความเสี่ยงก็จะได้เข้ารับการรักษาทันทีเพื่อรักษาหรือบรรเทาความรุนแรงของโรค
 

ตรวจสุขภาพประจำปี รู้ทันสุขภาพ


ตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นไหม

หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามการตรวจสุขภาพกายประจำปี เพราะคิดว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว ไม่มีความผิดปกติอะไร อีกทั้งยังมองว่าการตรวจสุขภาพจะทำให้เสียเงินโดยไม่จำเป็น แต่ที่จริงแล้ว การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมากที่ควรทำเป็นประจำทุกปี

ค้นหาโรคหรือสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย

โรคบางโรคจะไม่มีอาการที่แสดงออกให้เห็นในระยะแรก ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยทำให้มีโอกาสเจอโรคเหล่านั้นมากขึ้น

รักษาและลดความอันตรายของโรคหรือสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย

เมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพแล้วพบโรคหรือความผิดปกติในร่างกาย ก็จะทำให้สามารถวางแผนเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งการที่เข้ารับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้ความอันตรายของโรคที่เป็นลดลงอีกด้วย

ลดโอกาสการเกิดโรค

การตรวจสุขภาพประจำปีจะทำให้รู้ว่าปัจจุบันร่างกายมีสุขภาพเป็นอย่างไร หากพบว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค ก็จะได้ทำการวางแผนดูแลสุขภาพมากกว่าเดิมเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง


ตรวจสุขภาพประจำปี ต้องตรวจอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพประจำปี เพศ รวมถึงอายุของแต่ละช่วงวัย ก็จะมีส่วนที่ต้องตรวจเพิ่มต่างกัน เนื่องจาก เพศหญิงและเพศชายก็มีจุดที่ควรเฝ้าระวังต่างกัน อีกทั้งเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นตาม โดยควรเริ่มเข้ารับการตรวจประจำปีตั้งแต่อายุ 20 ปีเป็นต้นไป  

ตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี

โปรแกรม ตรวจสุขภาพ สำหรับช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ได้แก่

ตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี

ตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไป

สำหรับการตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไป เราสามารถแบ่งตามช่วงอายุได้ดังต่อไปนี้
 

1.อายุ 30 - 40 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ได้แก่

2.อายุ 40 - 50 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ได้แก่

3.อายุ 50 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง ได้แก่

ตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไป


ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง

ในการตรวจสุขภาพประจำปี มีรายละเอียดและวัตถุประสงค์ในการตรวจในแต่ละจุด ดังนี้

ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง

เป็นการตรวจโดยการถามประวัติของผู้เข้ารับการตรวจเพื่อประเมินสุขภาพร่างกายเบื้องต้น โดยแพทย์จะซักถามเกี่ยวกับครอบครัวว่ามีประวัติการป่วยอะไรบ้าง รวมถึงผู้เข้ารับการตรวจมีประวัติการใช้ยา หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงอะไรที่ส่งผลทำให้เกิดโรค เป็นต้น 

เป็นการตรวจดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต เพื่อประเมินสุขภาพร่างกายเบื้องต้นและยังเป็นการช่วยแยกโรคได้ในระดับหนึ่ง

เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติในส่วนประกอบของเลือด เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ความเข้มข้นของเลือด โดยการตรวจเหล่านี้จะช่วยทำให้รู้ถึงสภาพของร่างกายว่ามีจำนวนเกล็ดเลือดมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ รวมถึงมีภาวะโลหิตจาง ภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่

เป็นการตรวจโดยวัดระดับน้ำตาลในเลือดรวมถึงฮีโมลโกลบินเพื่อวัดและประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

เป็นการตรวจโดยวัดว่าร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์เท่าไหร่ รวมถึงตรวจไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดีและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี เพื่อประเมินว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจหรือไม่

เป็นการตรวจเพื่อวัดว่าร่างกายมีระดับกรดยูริกมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งในกรณีที่ร่างกายมีระดับกรดยูริกสูงเกิดไปก็จะทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์

เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับค่าครีเอตินินซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และค่า Blood Urea Nitrogen ซึ่งเป็นค่าของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน โดยการตรวจเหล่านี้จะช่วยทำให้รู้ถึงความสามารถของไตในการกรองและการขับของเสียในร่างกาย

เป็นการตรวจตับและทางเดินน้ำดี โดยจะทำตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่าง ๆ ในเลือดเพื่อเช็คว่าร่างกายมีความผิดปกติ มีภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ ภาวะดีซ่านหรือไม่

เป็นการตรวจเลือดว่าร่างกายมีส่วนประกอบของเปลือกเชื้อไวรัส(HBsAg) ซึ่งเชื้อ HBsAg จะทำให้รู้ว่าร่างกายมีภาวะไวรัสตับอักเสบหรือไม่

เป็นการตรวจปัสสาวะเพื่อหาโรคที่พบในระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น

เป็นการตรวจอุจจาระเพื่อหาโรคที่พบในระบบทางเดินอาหาร เช่น พยาธิ ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระ ริดสีดวง มะเร็งทางเดินอาหาร เป็นต้น

เป็นการตรวจประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก โดยการตรวจนี้จะทำให้ทราบถึงความผิดปกติในร่างกาย เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจมีการนำไฟฟ้าผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

เป็นการตรวจความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในช่วงทรวงอก โดยจะมีการวัดขนาดของหัวใจ รวมถึงตรวจว่ามีวัณโรคและโรคต่าง ๆ ของปอดหรือไม่

เป็นการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ตับ ตับอ่อน ไต ม้าม เส้นเลือดใหญ่ภายในช่องท้อง รวมถึงต่อมลูกหมากในผู้ชายและมดลูกและรังไข่ในผู้หญิง

เป็นการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น TSH และ Free T4 ว่ามีค่าที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการตรวจนี้จะทำให้ทราบว่าร่างกายมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ

เป็นการตรวจหัวใจด้วยการวิ่งสายพานเพื่อเช็คว่าในระหว่างการออกกำลังกาย หัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ หรือไม่ รวมถึงยังสามารถเช็คภาวะหัวใจตีบได้

เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงเพื่อตรวจสอบการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ โดยจะทำให้ทราบว่าร่ายกายมีโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ เป็นต้น

เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร และสารบ่งชี้มะเร็งตับในร่างกาย

เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี หรือไม่

เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ในร่างกาย

เป็นการตรวจร่างกายเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเพศชายเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูงมากขึ้น

เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ว่ามีความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ โดยเพศหญิงเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

เป็นการตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวน์เต้านมว่ามีความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ โดยเพศหญิงเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง รวมถึงคราบหินปูนหรือคราบไขมันที่เกาะอยู่ภายในหลอดเลือด โดยการตรวจเพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน

เป็นการตรวจโดยการส่องกล้องเพื่อตรวจสอบว่าในลำไส้ใหญ่มีติ่งเนื้อที่อาจจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ ซึ่งในกรณีที่พบ ถ้าทำการตัดสินใจตัดออกก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่ติ่งเนื้อนั้นอาจจะกลายเป็นเนื้อร้ายได้ โดยช่วงอายุที่แนะนำในการทำคืออายุ 45 ปีขึ้นไป


ต้องตรวจสุขภาพประจำปีบ่อยแค่ไหน

ตรวจสุขภาพ เตรียมตัว
 

โดยปกติ เราควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 - 2 ครั้ง แต่ถ้าหากเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังก็ควรเข้าตรวจสุขภาพตามคำแนะนำของแพทย์ ดังต่อไปนี้


ก่อนตรวจสุขภาพประจำปี เตรียมตัวอย่างไร

ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ควรมีการเตรียมร่างกายให้มีความพร้อมเข้ารับการตรวจ เพื่อให้ผลการตรวจเป็นไปได้อย่างแม่นยำ ดังนี้


ตรวจสุขภาพประจำปีที่ไหนดี

การเลือกสถานที่ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ควรศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการตรวจ เนื่องจากแต่ละสถานที่จะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการจัดโปรแกรมการตรวจ อีกทั้งยังควรคำนึงถึงการเดินทางด้วย ดังนั้น จึงควรเลือกสถานที่ที่ไม่ไกลจากที่พัก หรือ สถานที่ที่มีขนส่ง เดินทางสะดวก เป็นต้น

หมายเหตุ สำหรับผู้ที่มีประกันสังคม สามารถเข้าตรวจสุขภาพประจำปีตามสถานที่ที่ตัวเองรับสิทธิ

ตรวจสุขภาพประจำปีที่ไหนดี


ข้อสรุป

เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี โดยการตรวจสุขภาพจะช่วยทำให้ทราบว่าร่างกายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ รวมถึงมีโรคที่ไม่แสดงอาการหรือไม่ อีกทั้งการตรวจสุขภาพจะทำให้ทราบว่าควรวางแผนที่จะดูแลสุขภาพตนเองอย่างไรให้แข็งแรงอยู่เสมอ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านที่มีความสนใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที