วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 672205 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


ตรวจปัสสาวะ ตรวจทำไม สามารถบอกอะไรได้บ้าง?

ตรวจปัสสาวะเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามและสามารถช่วยบ่งบอกสุขภาพของคุณได้มากกว่าที่คิด ตรวจปัสสาวะบอกอะไรได้บ้าง อ่านได้ในบทความนี้

 

ตรวจปัสสาวะ


ปกติแล้วร่างกายเราจะขับของเสียในหลาย ๆ รูปแบบ หนึ่งในนั้นคือปัสสาวะ ซึ่งปัสสาวะนั้นคือของเสียในรูปแบบของเหลวที่มีองค์ประกอบของวิตามิน เกลือแร่ สารเคมีที่เป็นส่วนเกินในร่างกาย โดยของเสียส่วนเกินเหล่านี้ถูกลำเลียงอยู่ภายในเลือด และทำการกรองผ่านไต ก่อนออกมาในรูปแบบปัสสาวะ 


ปกติแล้วสิ่งที่ผ่านการกรองจากไตจะค่อนข้างจำเพาะ แต่หากไตหรือระบบในร่างกายมีปัญหาก็มักจะเจอสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ควรพบในปัสสาวะ ปะปนมาในน้ำปัสสาวะด้วย ดังนั้นการตรวจปัสสาวะจึงสามารถบอกถึงความผิดปกติของร่างกายได้ แล้วประโยชน์ของการปัสสาวะมีอะไรอีกบ้าง วิธีตรวจปัสสาวะเป็นอย่างไร ตรวจปัสสาวะ กี่นาทีจึงจะทราบผล ในบทความนี้จะมาให้ข้อมูลที่เกียวข้องกับการตรวจปัสสาวะฉบับเข้าใจง่าย


การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)

ก่อนอื่นต้องขอเล่าถึงปัสสาวะว่าคืออะไรกันก่อน เพื่อให้เข้าใจถึงการตรวจปัสสาวะได้ง่ายขึ้น


ปัสสาวะ (Urine) เป็นของเสียในรูปแบบของเหลว ซึ่งเป็นของเสียที่อยู่ภายในเลือด และเลือดนั้นจะถูกกรองผ่านไต ภายในไตนั้นจะมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ทำให้ของเสียที่ถูกกรองออกจากเลือดเหลือเพียงเฉพาะของเสียส่วนเกินที่ร่างกายกำจัดทิ้ง เช่น วิตามิน แร่ธาตุ ยา สารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น ของเสียส่วนเกินนี้จะถูกรวบรวมไปที่กระเพาะปัสสาวะ เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็มก็จะส่งสัญญาณไปยังสมอง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกปวดปัสสาวะ และทำการขับปัสสาวะออกไปนั่นเอง 


การตรวจฉี่ หรือ การตรวจปัสสาวะ (UA หรือ Urinalysis) คือ การวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ เช่น สี กลิ่น ความใสความขุ่น รวมทั้งองค์ประกอบของน้ำปัสสาวะ หรือใช้การส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาความผิดปกติ และสามารถคัดกรองและประเมินโรคได้ในเบื้องต้น 

นอกจากการตรวจปัสสาวะแล้วยังมีการตรวจแบบไหนอีกบ้าง

นอกจากการตรวจปัสสาวะ(Urine Analysis) แล้วยังมีการตรวจปัสสาวะรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถตรวจสอบความผิดปกติที่พบเจอในปัสสาวะ และสามารถคาดการณ์โรคที่เป็นอยู่ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งวิธีตรวจปัสสาวะแต่ละรูปแบบก็จะมีวิธีดำเนินการตรวจ จุดประสงค์และเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนี้


การเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการ (Urine Culture)

การเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัตการเป็นการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในปัสสาวะ โดยจะนำตัวอย่างของปัสสาวะผู้ป่วยมาเพาะเลี้ยงบนอาหารเพาะเชื้อจำเพาะ เพื่อตรวจนับจำนวนโคโลนี(culture) หรือนำปัสสาวะไปตรวจดูความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ(sensitivity test)


การส่องกล้องตรวจสอบภายในกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy)

การส่องกล้อง Cystoscope เป็นการส่องกล้องเพื่อตรวจสอบลักษณะท่อปัสสาวะและเยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะเพื่อตรวจสอบ ติดตาม และรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ โดยจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Cystoscope ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาว ๆ มีกล้องพร้อมไฟส่องติดอยู่ที่ปลายท่อ สอดบริเวณท่อปัสสาวะเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ


การตรวจสอบภายในกระเพาะปัสสาวะด้วยวิธีส่องกล้อง (Cystoscope for Pus Culture)

การส่องกล้อง Cystoscope for Pus Culture เป็นการนำกล้องมาส่องเพื่อตรวจสอบภายในกระเพาะปัสสาวะเช่นเดียวกันกับวิธี Cystoscopy แต่โดยปกติแล้วจะใช้วิธีนี้ตรวจสอบในกรณีที่ทางเดินปัสสาวะมีอาการอักเสบเรื้อรัง

ความแตกต่างระหว่าง urinalysis กับ urine culture

การตรวจปัสสาวะ Urinalysis เป็นการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อนำมาดูถึงลักษณะทางกายภาพและทางเคมีทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำมาตรวจหาความผิดปกติของปัสสาวะและคัดกรองโรค 

ส่วนการตรวจปัสสาวะ Urine culture เป็นการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อนำมาเพาะเชื้อไว้ และทำการตรวจหาเชื้อที่ปะปนในปัสสาวะสำหรับการตรวจโรคติดเชื้อ ทั้งนี้ ทั้งสองวิธีต่างเป็นการตรวจวิเคราะห์เพื่อคัดกรองโรคที่สามารถพบเจอได้ในปัสสาวะเช่นเดียวกัน แต่จะมีความต่างกันในส่วนของวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์เท่านั้น 


ประโยชน์ของการตรวจปัสสาวะ

ประโยชน์ตรวจปัสสาวะ


การตรวจปัสสาวะนั้นนับเป็นการตรวจร่างกายขั้นพื้นฐานที่นิยมใช้ในการตรวจสุขภาพประจำปี หรือการตรวจเพื่อหาข้อบ่งชี้สำหรับก่อนการตรวจหาโรคด้วยวิธีอื่น ๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ผู้ป่วยไม่ต้องถูกเจาะหรือสอดใส่เครื่องมือแต่อย่างใด รวมทั้งยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพได้อีกด้วย  ในหัวข้อนี้จะขอยกตัวอย่างประโยชน์ของการตรวจปัสสาวะที่เด่น ๆ สัก 3 ข้อใหญ่ ดังนี้

1. ตรวจสุขภาพโดยรวม

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าปัสสาวะนั้นเป็นวิธีการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เนื่องจากหากระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น จะสามารถพบความผิดปกติผ่านปัสสาวะได้เลย และความผิดปกติเหล่านี้ยังสามารถพาแพทย์ไปพบถึงรอยโรคได้ง่ายขึ้น จึงทำให้แพทย์สามารถส่งตรวจและวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

 

นอกจากนี้การตรวจปัสสาวะจะสามารถพบถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น ในหญิงตั้งครรภ์ มักจะพบฮอร์โมน hCG ปะปนอยู่ในปัสสาวะ หรือการใช้สารเสพติด ก็สามารถตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดในร่างกายได้เช่นกัน

2. ตรวจวินิจฉัยโรค

ในปัสสาวะควรจะมีเพียงน้ำของเสียส่วนเกินที่ถูกขับออกจากเลือดผ่านไตเท่านั้น หากตรวจพบสิ่งอื่นปะปนมาในน้ำปัสสาวะ นั่นแสดงว่าระบบปัสสาวะหรือระบบอื่น ๆ ในร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น 


ยกตัวอย่าง เช่น หากตรวจพบน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ คีโตนในปัสสาวะ อาจหมายความว่าเป็นโรคเบาหวาน หรือหากพบโปรตีนในปัสสาวะ อาจหมายถึงโรคไต ซึ่งสิ่งที่พบในปัสสาวะเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์สามารถนำมาประกอบคำวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น

3. ติดตามผลการรักษา

สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นตอนระหว่างการรักษา การตรวจปัสสาวะจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถชี้ได้ว่าคนไข้มีแนวโน้มอาการของโรคที่ดีขึ้นหรือแย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ 


ทำไมถึงต้องตรวจปัสสาวะ

อย่างที่หลายคนสงสัยว่าทำไมถึงต้องตรวจปัสสาวะ ตรวจปัสสาวะมีประโยชน์อะไรบ้าง? เพราะโดยส่วนมากแล้วในการตรวจสุขภาพประจำปีก็มักจะมีตรวจปัสสาวะอยู่ในลิตส์ด้วยเช่นกัน ซึ่งการตรวจปัสสาวะจะช่วยในเรื่องของการตรวจสอบสภาพร่างกายในปัจจุบันว่ามีความปกติดี มีสุขภาพแข็งแรงหรือไม่ 


รวมถึงยังสามารถนำปัสสาวะมาใช้ในการสืบหาวินิจฉัยโรคเบื้องต้นที่มีอยู่ได้ โดยแพทย์จะนำของเสียที่ถูกขับออกจากร่างกายในรูปแบบของปัสสาวะมาใช้วิเคราะห์หาสาเหตุ ในกรณีที่ปัสสาวะมีสิ่งที่ผิดปกติปนอยู่อย่างเช่น เลือด โปรตีน นั่นก็จะเป็นสาเหตุบ่งบอกว่าอวัยวะภายในร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งแพทย์จะนำปัสสาวะที่มีสิ่งผิดปกติเจือปนไปวิเคราะห์หาสาเหตุความเป็นไปได้ของโรคที่เป็นต่อไป


นอกจากนี้แล้วการตรวจปัสสาวะยังเป็นการตรวจที่ใช้ในการติดตามแนวโน้มอาการของโรคได้ว่ามีอาการไปในทางที่ดีขึ้นหรืออาการอาจจะทรุดลงได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเวลาไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการของโรคนั้นจะมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะอยู่บ่อยครั้ง


ซึ่งในการตรวจปัสสาวะนั้นจะช่วยทำให้ผู้ตรวจทราบถึงสภาพร่างกายของตัวเองได้ดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นถ้าเป็นไปได้จึงควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อติดตามถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกายของตนเองอยู่เสมอ อีกทั้งยังสามารถนำผลตรวจปัสสาวะมาปรับปรุงพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตประจำวันเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอได้  


แต่ในกรณีที่ตรวจปัสสาวะแล้วพบเจอสิ่งผิดปกติเจือปนอยู่ ก็จะได้เข้ารับการรักษากับทางแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคได้ไวมากขึ้น และเข้ารับการรักษาตามอาการของโรคให้หายเป็นปกติได้อย่างทันท่วงที


ตรวจปัสสาวะต้องตรวจวินิจฉัยอะไรบ้าง

1. การตรวจดูลักษณะทางกายภาพทั่วไป (Visual Examination)

ตรวจปัสสาวะทั่วไป


การตรวจปัสสาวะด้วยการดูลักษณะทางกายภาพนั้นจะเป็นเพียงการสังเกตลักษณะของปัสสาวะจากภายนอกด้วยตาเปล่า ซึ่งลักษณะถึงสี กลิ่น ความใสของน้ำปัสสาวะนั้นสามารถบอกถึงความผิดปกติหรือพฤติกรรมบางอย่างของคนไข้ได้ 

ปกติแล้วปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อน แต่หากคนไข้มีพฤติกรรมดื่มน้ำน้อยเกินไปจะทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม และหากคนไข้มีพฤติกรรมดื่มน้ำมากจะทำให้ปัสสาวะออกมาสีอ่อนมากหรือใส แต่สีของปัสสาวะที่ผิดปกตินั้นอาจเกิดจากการรับประทานยาหรืออาหารบางชนิด หรืออาจเป็นร่องรอยของโรคได้ ดังนี้


กลิ่นของปัสสาวะที่ปกติจะมีกินแอมโมเนียจาง ๆ หรืออาจไม่มีกลิ่น หรืออาจมีกลิ่นตามอาหารที่รับประทานบ่อย ๆ กลิ่นปัสสาวะที่ผิดปกติอาจได้กลิ่นหวานจากโรคเบาหวาน หรือกลิ่นเหม็นเน่าจากการติดเชื้อ เป็นต้น

ปกติแล้วปัสสาวะที่ถูกขับถ่ายออกมาใหม่ ๆ จะมีความใส แต่อาจขุ่นได้บ้างเล็กน้อยจากการปนเปื้อนสารคัดหลั่งของอวัยวะเพศ สิ่งเจือปนอย่างโลชั่นและแป้ง แต่ความขุ่นที่ผิดปกติก็สามารถบอกถึงโรคได้ ดังนี้

2. การตรวจวิเคราะห์ทางเคมี (Chemical Examination)

ตรวจปัสสาวะเคมี


การตรวจวิเคราะห์ทางเคมีสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติได้อย่างเจาะจงมากขึ้น โดยในห้องปฏิบัติการมักนิยมใช้แผ่นตรวจสำเร็จรูป หรือ Dipstick และนำแผนตรวจนี้ไปอ่านผลด้วยเครื่องอ่านผลอัตโนมัติ ทำให้ทราบถึงปริมาณของสารที่พบในน้ำปัสสาวะได้ โดยปกติแล้วสามารถตรวจสารเคมีในปัสสาวะได้หลากหลายชนิดมาก แต่โดยทั่วไปจะนิยมตรวจสารเคมีเพียงบางตัวและรายงานผลดังนี้

ปกติปัสสาวะจะมีความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 4.6-8.0 หากค่าพีเอชต่ำหรือเป็นกรดสูง อาจเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์มาก หรืออาหารที่มีความเป็นกรด ภาวะขาดน้ำ โรคขาดอาการ เลือดเป็นกรดจากระบบหายใจ การติดเชื้อ เป็นต้น หากค่าพีเอชสูงหรือเป็นด่างสูง อาจเกิดจากการรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตต่ำและรับประทานผักมาก ๆ โรคท่อปัสสาวะอักเสบ การได้รับยาบางชนิด เป็นต้น

เป็นการตรวจความหนาแน่นของน้ำปัสสาวะเมื่อเทียบกับน้ำบริสุทธิ์ในอัตราส่วนเดียวกัน หากค่าต่ำกว่าปกติอาจหมายถึงดื่มน้ำมาก หรือเป็นโรคเบาจืด โรคไตอักเสบ ไตเรื้อรัง เป็นต้น หากค่าสูงกว่าปกติอาจหมายถึงดื่มน้ำน้อยหรือขาดน้ำ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดไตตีบ ตับวาย เป็นต้น

โดยปกติแล้วจะไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ แต่หากตรวจโปรตีนในปัสสาวะพบแปลว่าการทำงานของไตอาจเกิดปัญหา หรืออวัยวะอื่นมีปัญหาจนส่งผลมาที่ไต

ปกติแล้วจะไม่พบกลูโคสในปัสสาวะ หรือพบได้น้อยมาก หากตรวจกลูโคสในปัสสาวะพบแปลว่าอาจเป็นโรคเบาหวาน 

ปกติแล้วจะไม่พบคีโตนในปัสสาวะ แต่ก็อาจตรวจพบคีโตนในหญิงตั้งครรภ์บางคนได้ แต่หากไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ตรวจคีโตนในปัสสาวะ แล้วผลคือค่าคีโตนในปัสสาวะสูง อาจเกิดจากโรคคลั่งผอม โรคล้วงขอ การกินอาหารทุพโภชนา (ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ) โรคเบาหวาน การออกกำลังกายอย่างหนัก เป็นต้น 

ปกติจะไม่พบไนไตรท์ในปัสสาวะ แต่หากตรวจพบอาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

ปกติจะไม่พบบิลิรูบินในปัสสาวะ แต่หากตรวจพบอาจเกิดจากภาวะตับอักเสบ การอุดตันของท่อน้ำดี หรือการใช้ยาที่ส่งผลให้น้ำดีไหลช้ากว่าปกติ

ปกติจะไม่พบยูโรบิลิโนเจนในปัสสาวะ หรือพบในระดับต่ำมาก แตรหากตรวจพบอาจเกิดจากเม็ดเลือดแดงแตก ตับแข็ง ตับอักเสบ

การตรวจเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะจะใช้การตรวจหาเอนไซม์ลิวโคไซต์เอสเทอเรสที่สามารถพบได้ในเม็ดเลือดขาว โดยปกติจะต้องไม่พบเอนไซม์นี้ในปัสสาวะ หากตรวจพบแสดงว่าอาจมีการติดเชื้อ

การตรวจเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะจะใช้การตรวจหาปฏิกิริยาเพอร์ออกซิเดสที่สามารถพบได้ในเม็ดเลือดแดง แทนการตรวจเม็ดเลือดแดงตรง ๆ เนื่องจากในปัสสาวะปกติมักจะมีเม็ดเลือดแดงปะปนมาบ้าง แต่จะไม่เกิดปฏิกิริยาเพอร์ออกซิเดส หากตรวจพบปฏิกิริยานี้ในปัสสาวะ แสดงถึงความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือระบบอื่น ๆ ในร่างกาย

3. การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Examination)

ตรวจปัสสาวะด้วยกล้องจุลทรรศน์


เป็นอีกหนึ่งในการตรวจปัสสาวะที่ให้ข้อมูลลักษณะของปัสสาวะได้ โดยในจะนำปัสสาวะไปปั่นเหวี่ยงและเกิดการตกตะกอน และนำตะกอนนี้ไปหยดในสไลด์เพื่อส่องกล้องจุลทรรศน์ ทำให้สามารถมองเห็นถึงเซลล์หรือผลึกต่าง ๆ ได้


โรคหรือภาวะที่พบได้จากการตรวจปัสสาวะ

หากตรวจพบสิ่งผิดปกติในปัสสาวะ สิ่งผิดปกตินั้นสามารถบ่งชี้ถึงโรคและภาวะต่าง ๆ ได้ดังนี้


การตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด

การตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดสามารถตรวจจากการวัดค่าสารเคมีจากยาเสพติดที่เข้าไปอยู่ในกระแสเลือด เมื่อเลือดถูกกรองผ่านไตและกลายเป็นปัสสาวะ สารเคมีเหล่านี้ก็จะหลุดมาปะปนในปัสสาวะด้วย


วิธีการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดมักจะตรวจหาค่าสารเคมีเช่น แอมเฟตามีน (Amphetamine) เบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) บาร์บิเชอริต (Barbicherit) กัญชา (Marijuana) โคเคน (Cocaine) เฟนไซคลิดีน (Phencyclidine) และเมทาโดน (Methadone)


ใครที่ควรเข้ารับการตรวจปัสสาวะ


การเตรียมตัวก่อนตรวจปัสสาวะ

เพื่อให้ผลตรวจปัสสาวะออกมาอย่างถูกต้องตรงความเป็นจริงมากที่สุด ควรปฏิบัติตนก่อนเข้ารับการตรวจปัสสาวะดังนี้


ขั้นตอนและวิธีเก็บตัวอย่างปัสสาวะที่ถูกต้อง

ขั้นตอนตรวจปัสสาวะ


  1. แพทย์จัดอุปกรณ์ในการเก็บปัสสาวะให้ผู้ป่วย
  2. ล้างมือและทำความสะอาดอวัยวะเพศให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า เพื่อลดสิ่งปนเปื้อนในปัสสาวะ
  3. ตัวอย่างปัสสาวะที่เหมาะสมในการส่งตรวจคือปัสสาวะช่วงกลาง เริ่มต้นในปัสสาวะช่วงต้นทิ้งไปเล็กน้อย เพื่อล้างสิ่งปนเปื้อนออกไป
  4. เมื่อปัสสาวะช่วงต้นทิ้งไปแล้ว ให้ทำการปัสสาวะช่วงกลางใส่อุปกรณ์สำหรับเก็บปัสสาวะในปริมาณ 30-60 มิลลิลิตร
  5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสปากถ้วยเก็บปัสสาวะกับอวัยวะเพศ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ส่งผลให้ผลตรวจปัสสาวะคลาดเคลื่อนได้
  6. ปิดฝาถ้วยเก็บปัสสาวะ และนำส่งคืนให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อนำไปตรวจปัสสาวะต่อไป

โดยปกติแล้ววิธีตรวจปัสสาวะ วิธีเก็บปัสสาวะนี้แพทย์จะให้คำแนะนำก่อนให้คนไข้เก็บตัวอย่างปัสสาวะ และในห้องน้ำตามโรงพยาบาลมักจะมีวิธีเก็บตัวอย่างปัสสาวะที่ถูกต้องให้ผู้ป่วย เพื่อให้ผลตรวจปัสสาวะออกมาได้ถูกต้องแม่นยำที่สุด



การติดตามผลหลังการตรวจปัสสาวะ

ตรวจปัสสาวะ รอผลนานไหม? คำตอบคือโดยปกติแล้วการวิเคราะห์ปัสสาวะในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลาเพียงประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับคิวการแจ้งผลตรวจปัสสาวะของแพทย์ด้วย หากผลตรวจออกมาเป็นปกติ แพทย์ก็สามารถให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้เลย 


แต่หากผลตรวจปัสสาวะมีความผิดปกติ อาจจำเป็นต้องส่งตรวจปัสสาวะที่ละเอียดมากขึ้น และอาจเรียกให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจในขั้นตอนต่อไปเพื่อหาสาเหตุและนำผลไปประกอบคำวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง


ข้อสรุป

การตรวจปัสสาวะเป็นวิธีการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถบอกถึงปัญหาภายในร่างกายผ่านของเสียนี้ หากพบสิ่งผิดปกติในน้ำปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย สารโมเลกุลขนาดใหญ่อย่างโปรตีน หรือพบน้ำตาลกลูโคส คีโตน ซึ่งในปัสสาวะปกติไม่ควรพบ นั่นแสดงถึงความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะและระบบอื่น ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งเป็นการตรวจที่สามารถทำได้ง่ายและให้ผลค่อนข้างเร็ว จึงเป็นหนึ่งในวิธีการตรวจที่นิยมใช้

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที