วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 660940 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


หัวเข่ามีเสียง ลักษณะไหนอันตราย รีบสังเกตอาการก่อนจะแย่

เมื่อเกิดหัวเข่ามีเสียง อาการร่วมใดบ้างที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของข้อเข่า และมีวิธีรักษาอย่างไร บทความนี้จะช่วยตอบทุกข้อสงสัยของคุณ


หัวเข่ามีเสียงลักษณะไหนอันตราย


หลาย ๆ คนคงเคยได้เป็นกันมาก่อนใช่หรือไม่? ที่เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่การเปรียบท่าทางของร่างกายแล้วเกิดหัวเข่ามีเสียงดังกรอบแกรบ หรือเสียงดังก๊อกแก๊ก ก่อนที่จะคิดว่าการที่หัวเข่ามีเสียงเป็นเรื่องเล็กน้อย คงไม่เป็นอะไร ก็ควรที่จะสังเกตอาการร่วมต่าง ๆ ให้ดีเสียก่อน เพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงที


หัวเข่ามีเสียง (Knee Crepitus)

อาการหัวเข่ามีเสียงคือเมื่อการที่เราทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือมีการเปลี่ยนท่าทางร่างกาย แล้วเกิดมีเสียงลั่นบริเวณหัวเข่าดังกรอบแกรบ หรือเสียงดังก๊อกแก๊ก ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นลงบันได การลุกขึ้นยืนหลังจากที่นั่งพับเพียบ หรือนั่งยองเป็นเวลานาน


ซึ่งการเกิดหัวเข่ามีเสียงขึ้นนั้นถ้าหากไม่ได้มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยจะถือว่าไม่มีอะไรผิดปกติ แต่เมื่อใดที่หัวเข่ามีเสียงร่วมมากับอาการเจ็บปวดบริเวณหัวเข่า ก็อาจมาจากกระดูกข้อเข่าสึก หรือน้ำเลี้ยงในข้อเข่ามีปริมาณน้อย ซึ่งควรที่จะรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ในทันที ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมได้

หัวเข่ามีหน้าที่สำคัญอย่างไร หัวเข่ามีส่วนประกอบใดบ้าง

หัวเข่าเป็นข้อต่อระหว่างขาท่อนบน และท่อนล่าง เป็นข้อต่อที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดของร่างกายมนุษย์ หัวเข่ามีหน้าที่หลักในการรองรับน้ำหนักของร่างกายทำให้ร่างกาย เป็นข้อต่อที่สามารถพับ ยืด ซึ่งหากเกิดความผิดปกติอาจทำให้เกิดอาการหัวเข่ามีเสียงได้ โดยหัวเข่ามีส่วนประกอบหลักที่สำคัญคือ


หัวเข่ามีเสียงเกิดจากสาเหตุใด

หัวเข่ามีเสียงเกิดจากสาเหตุใด


ปกติทั่วไปแล้วหัวเข่าจะประกอบไปด้วยกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้า และกระดูกทั้ง 3 ส่วนนี้จะมีการเชื่อมต่อกันด้วยเส้นเอ็น โดยจะมีเซลล์ประสาท เยื่อบุข้อ และกระดูกอ่อนคลุมไว้อยู่ โดยที่ภายในข้อเข่านั้นจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าอยู่เพื่อช่วยกันการหล่อลื่น


โดยการที่จะเกิดหัวเข่ามีเสียงนั้นมีสาเหตุที่แตกต่างกันตามอาการร่วมที่มี ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่ หัวเข่ามีเสียงที่ไม่มีอาการเจ็บปวด และหัวเข่ามีเสียงที่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย

หัวเข่ามีเสียงที่ไม่มีอาการเจ็บปวด 


มีสาเหตุมาจากการเกิดฟองแก๊สในน้ำเลี้ยงบริเวณข้อเข่า และเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าทางตรงส่วนหัวเข่า ก็จะเกิดเสียงขึ้นจากการแตกตัวของฟองแก๊ส การที่เกิดหัวเข่ามีเสียงในลักษณะนี้ไม่เป็นอันตราย สามารถพบได้ทั่วไปจากการที่เข่าอยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน และได้มีการเปลี่ยนท่าทางเกิดขึ้น 

หัวเข่ามีเสียงที่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย

มีสาเหตุมาจากความผิดปกติต่าง ๆ ของข้อเข่า ไม่ว่าจะเป็นการที่กระดูกอ่อนเกิดการสึกกร่อน การเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า ไปจนถึงการที่ข้อเข่าเสื่อมได้ ซึ่งเมื่อหัวเข่ามีเสียงในลักษณะนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที 

ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดเสียงดังในเข่า

การเกิดหัวเข่ามีเสียงนั้นมีปัจจัยอยู่มากมายที่อาจทำให้เป็น ไม่ว่าจะเป็นที่ร่างกายของตัวเอง กิจกรรมต่างๆ ที่ทำในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม 


หัวเข่ามีเสียงและอาการที่มักเกิดร่วม

การที่หัวเข่ามีเสียงจะเกิดอาการร่วมใดบ้างนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ดังนี้ 


หัวเข่ามีเสียงและอาการที่มักเกิดร่วม

1. หัวเข่ามีเสียง เข่าลั่น แต่ไม่มีอาการเจ็บ

การที่เกิดหัวเข่ามีเสียงแต่ไม่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยนั้นสามารถพบเห็นได้ในบุคคลทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นเมื่อมีการนั่ง หรืองอข้อเข่า ในท่าใดท่าหนึ่งค้างเป็นระยะเวลานาน และได้มีการเปลี่ยนท่าทาง ก็จะมีเสียงดังจากบริเวณหัวเข่า


โดยการที่เกิดหัวเข่ามีเสียงในลักษณะนี้นั้นมีสาเหตุมาจากการสะสมของแก๊สรอบ ๆ ข้อเข่า จนเกิดเป็นฟองแก๊สในน้ำเลี้ยงข้อเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวจึงทำให้ฟองแก๊สแตกตัวและมีเสียงดังขึ้น ซึ่งไม่มีความอันตราย

2. หัวเข่ามีเสียง และมีอาการเจ็บ ปวดเข่าร่วมด้วย

การที่เกิดหัวเข่ามีเสียง ทั้งยังมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยนั้นอาจบ่งบอกได้ถึงความผิดปกติต่าง ๆ ที่ข้อเข่า ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของกระดูกอ่อน หมอนรองกระดูก น้ำเลี้ยงข้อต่อ หรือข้อเข่าเสื่อม 


โดยการที่เกิดหัวเข่ามีเสียงในลักษณะนี้ไม่ควรที่จะเพิกเฉย และรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพราะอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคตได้ 


หัวเข่ามีเสียงเป็นสัญญาณเตือนโรคใดได้บ้าง

หัวเข่ามีเสียงเป็นสัญญาณเตือนโรคใดบ้าง


การเกิดหัวเข่ามีเสียงโดยที่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยอย่าได้ปล่อยผ่านหรือละเลย เพราะอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคต่าง ๆ ก็เป็นได้ เช่น 

โรคข้อเข่าอักเสบเฉียบพลัน

เกิดจากการที่ยกของหนักเป็นประจำ หรือใช้งานเข่าและลงน้ำหนักผิดวิธี

อาการ : เจ็บปวดขึ้นมาทันที ซึ่งเกิดจากการอักเสบหรือเสื่อมสภาพของข้อเข่า

โรคข้อเข่าติดเชื้อ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทางกระแสเลือด ส่งผลให้ข้อเข่าเกิดการติดเชื้อ

อาการ : บริเวณหัวเข่ามีลักษณะบวมแดง มีอาการเจ็บปวดที่เข่า และมีไข้ร่วมด้วย 

โรคข้อเข่าเสื่อม

เกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเสื่อมลง หรือข้อต่อมีการสึกกร่อน มักเกิดในผู้สูงอายุ

อาการ : มีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อเข่า 

หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด

เกิดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกิดบริเวณหัวเข่า ซึ่งควรรีบเข้ารับการรักษาทันที

อาการ : มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงที่ข้อเข่า โดยจะมีอาการเมื่อต้องทิ้งน้ำหนักลงขณะเดิน 

การเกิดอุบัติเหตุบริเวณกระดูกอ่อน

เกิดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ หรือการออกกำลังกายที่ผิดวิธี 

อาการ : เจ็บลึกๆ อยู่ภายในข้อเข่า มีอาการเข่าบวม งอเข่าได้ไม่สุด และเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อต้องทิ้งน้ำหนักลงขณะเดิน


หัวเข่ามีเสียง..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

เมื่อเกิดหัวเข่ามีเสียงโดยมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เนื่องจากการที่หัวเข่ามีเสียงในลักษณะนี้อาจเป็นการบ่งบอกถึงโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณข้อเข่า 

เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการวินิจฉัยและรักษาอาการต่อไป เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จะยิ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเรา


หัวเข่ามีเสียง รักษาที่ไหนดี

การรับการรักษาอาการหัวเข่ามีเสียง ควรเลือกรักษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญในด้านโรคกระดูก และข้อโดยตรงเท่านั้น โดยผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทั้งโรงพยาบาลของหน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน และคลินิกรักษาโรคกระดูก และข้อ ที่มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกที่พร้อมให้การรักษา เพราะอาการหัวเข่ามีเสียงมีสาเหตุเกิดจากข้อกระดูกภายในหัวเข่า ซึ่งมีทั้งอาการที่ไม่เป็นอันตราย และเป็นอันตราย ในการรักษาจึงต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกโดยเฉพาะ เพื่อที่แพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการ และให้คำปรึกษา ในการรักษาได้อย่างถูกต้อง


การวินิจฉัยอาการหัวเข่ามีเสียง

ในขั้นแรกของการวินิจฉัยอาการหัวเข่ามีเสียงแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย เพื่อเป็นการวินิจฉัยเบื้องต้น และในขั้นต่อไปก็จะเป็นการตรวจร่างกาย ซึ่งจะเน้นไปที่การตรวจหัวเข่าเป็นหลัก และในขั้นสุดท้ายจะเป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ตรวจดูภายในของข้อเข่า 


แนวทางการรักษาเมื่อหัวเข่ามีเสียง

สำหรับอาการหัวเข่ามีเสียงนั้นจะมีแนวทางการรักษาอยู่หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งแต่ละวิธีจะใช้กับโรค หรือความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกันออกไป 

1. หมั่นออกกำลังกาย บริหารข้อเข่า

หมั่นออกกำลังกาย บริหารข้อเข่า


การออกกำลังกายโดยการบริหารกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง และบริหารข้อเข่าอยู่เสมอ จะช่วยลดการเกิดหัวเข่ามีเสียงขณะเคลื่อนไหวได้ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ผาดโผน หรือกีฬาที่มีแรงกระแทกต่อหัวเข่า เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายของข้อเข่า 


ผู้ที่เหมาะสมสำหรับวิธีนี้ : ผู้ที่เกิดหัวเข่ามีเสียง แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย

2. รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงข้อกระดูก

รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงข้อกระดูก


การเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงกระดูกและข้อต่อสามารถช่วยการเกิดหัวเข่ามีเสียงหรือความสึกกร่อนของข้อต่อกระดูกได้โดยตรง โดยชนิดของอาหารที่แนะนำมีดังนี้ 

และควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง ไม่ว่าจะเป็นขนมปัง ซีเรียล หรือพาสต้า เนื่องจากจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของข้อต่อได้ อีกทั้งยังควรงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะทำให้ร่างกายมีการขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ จนอาจทำให้ขาดความสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย

3. รักษาด้วยยาแก้ปวดและยาบำรุงข้อเข่า

รักษาด้วยยาแก้ปวดและยาบำรุงข้อเข่า


การรับประทานยาแก้อักเสบ หรือยาแก้ปวดข้อ สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของข้อเข่าได้ โดยยาที่นิยมใช้ได้แก่ แอสไพริน (Aspirin) เซเลค็อบสิบ (Celecoxib) ไอบูโฟรเฟน (Ibuprofen) ไดโคลฟีแน็ก (Diclofenac) นาพร็อกเซน (Naproxen) และเมล็อกซิแคม (Meloxicam)


ผู้ที่เหมาะสมสำหรับวิธีนี้ : ผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม หรือโรคข้ออักเสบต่าง ๆ 

4. การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า

 การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า


การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของข้อเข่าได้ และยังทำให้สามารถใช้งานเข่าได้มากขึ้น โดยการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าจะมีผลอยู่ประมาณ 3-6 เดือน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และการใช้งานข้อเข่า


ผู้ที่เหมาะสมสำหรับวิธีนี้ : ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกไปจนถึงระยะกลาง ผู้ที่ใช้วิธีการรักษาด้วยการรับประทานยาไม่ได้ผล ผู้ที่ยังไม่สามารถผ่าตัดข้อเข่าได้ และผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดมาแต่ต้องการใช้งานเข่าได้เร็วยิ่งขึ้น 

5. การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัด


ในการทำกายภาพบำบัดนั้นจะสามารถช่วยชะลอไม่ให้ข้อเกิดการเสื่อมเร็วขึ้น และไม่ให้เกิดข้อเสื่อมหนักมากขึ้น โดยการกายภาพบำบัดจะแบ่งออกเป็น การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ การขยับข้อต่อ และการใช้เครื่องมือในการกายภาพบำบัด 


ผู้ที่เหมาะสมสำหรับวิธีนี้ : ผู้ที่เกิดหัวเข่ามีเสียงร่วมกับอาการเจ็บปวดเล็กน้อย และผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก

6. การผ่าตัดข้อเข่า

การผ่าตัดข้อเข่า


การผ่าตัดเพื่อรักษาข้อเข่าในปัจจุบันนั้นจะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้เกิดบาดแผลไม่ใหญ่ มีความแม่นยำสูง มีความปลอดภัย และยังใช้เวลาในการพักฟื้นค่อนข้างน้อยอีกด้วย 


ผู้ที่เหมาะสมสำหรับวิธีนี้ : ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมาก 


วิธีดูแลป้องกันหัวเข่า

วิธีดูแลป้องกันหัวเข่า หลีกเลี่ยงการยกของหนัก


เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการหัวเข่ามีเสียง เราจะมีวิธีการต่าง ๆ มาแนะนำดังนี้ 


หัวเข่ามีเสียงอันตรายมากไหม

อาการหัวเข่ามีเสียง ถือว่าเป็นอาการที่ไม่มีอันตรายหากเป็นอาการที่มีเสียงดังในเข่าเพียงอย่างเดียว เป็นเพียงอาการ ขบกระทบของกระดูกอ่อน และเส้นเอ็น เป็นอาการปกติที่พบได้ทุกคน แต่ถ้ามีอาการเจ็บ ปวด หรือบวมบริเวณข้อเข่า จะถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าข้อเข่ามีความผิดปกติ อาจเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อเข่าได้ ถือเป็นอาการที่มีความอันตราย 


สำหรับผู้ที่มีอาการหัวเข่ามีเสียง แล้วมีอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ร่วมด้วย ในเบื้องต้นควรลดกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ข้อเข่า เช่น การออกกำลังกาย, การยกของหนัก, การยืน หรือการนั่งนาน ๆ เป็นต้น และควรเข้ารับคำปรึกษาแพทย์โรคกระดูกโดยตรง เพื่อรับคำแนะนำ หรือรับการรักษา เพื่อความปลอดภัยของข้อเข่า และลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเมื่อข้อเข่ามีปัญหาได้


และสำหรับผู้ที่มีอาการหัวเข่ามีเสียงแต่ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ยังไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอาการนี้มาก เพราะเป็นอาการที่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง โดยสามารถทำได้ตามแนวทางการรักษาอาการหัวเข่ามีเสียงได้ไม่ยาก แต่ถ้าหากอยากให้อาการหายไป ควรปรึกษาแพทย์โรคกระดูก และข้อ ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อรับคำปรึกษา และรับการรักษาได้จาก คลินิกรักษาโรคกระดูก และข้อ หรือโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่มีบริการรักษาโรคกระดูก และข้อโดยตรง

หากพบอาการหัวเข่ามีเสียง สามารถออกกำลังกายได้ไหม

สามารถออกกำลังกายได้ ถ้าหากเป็นอาการหัวเข่ามีเสียงเพียงอย่างเดียว โดยก่อนออกกำลังกาย ควรมีการเตรียมตัวเบื้องต้นก่อน 10-15 นาที และปฏิบัติตามขั้นตอนการออกกำลังกายด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อข้อเข่า ผู้ที่มีอาการหัวเข่ามีเสียงนั้น ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการใช้ข้อเข่าที่หนักเกินไป รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การนั่งผิดท่าเป็นเวลานาน, การยืนนานเกินไป, การยกของหนัก เป็นต้น


ข้อสรุป

เมื่อเกิดหัวเข่ามีเสียงขึ้น เราควรที่จะสังเกตอาการร่วมให้ดี ว่าเกิดอาการเจ็บปวด หรือบวมด้วยหรือไม่ เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาจทำให้อาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที