วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 672193 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


สิวเกิดจากอะไร? วิธีลดสิวมีอะไรบ้าง? ขจัดปัญหากวนใจให้หมดไป

 สิว คือ การอุดตันของหน่วยรูขุมขนและต่อมไขมัน อาจเกิดการอักเสบจากแบคทีเรียหรือสารเคมี สามารถรักษาสิวได้หลายวิธี เช่น ทายา กินยา หรือเลเซอร์สิว เป็นต้น

สิว

 ไม่ว่าใครก็ต้องเคยประสบปัญหากวนใจที่มาจาก “สิว” ซึ่งอาจทำให้ความมั่นใจลดลง แม้ว่าจะรักษาความสะอาดแค่ไหนแต่สิวก็ไม่หายไป แล้วสิวเกิดจากอะไรกันแน่? หลายคนอาจสงสัยเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดสิว รวมถึงวิธีรักษาสิวที่ได้ผลลัพธ์ชัดเจน ดังนั้น ในบทความนี้จึงรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสิวที่ควรรู้เอาไว้แล้ว ไปดูกันเลย!


สิว (Acne)

สิวคืออะไร?

 

สิว (Acne) คือการอุดตันของหน่วยรูขุมขนและต่อมไขมัน อาจเกิดอาการอักเสบหากมีตัวกระตุ้นเพิ่ม เช่น แบคทีเรีย หรือ สารเคมี เป็นต้น โดยส่วนมากมักเกิดบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก หรือแผ่นหลัง 

 

คนที่อยู่ในวัยแตกเนื้อหนุ่มสาวจะปรากฏอาการสิวขึ้น และอาการจะค่อยๆ หายไปเมื่ออายุประมาณ 20-30 ปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ร่วมด้วย โดยสิวอาจส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอก ทำให้ความมั่นใจลดลงได้ และหากเกิดเป็นสิวอักเสบแล้ว อาจทิ้งรอยดำหรือรอยแดงไว้หลังหายอีกด้วย


ลักษณะระดับความรุนแรงสิว

สิวเล็กน้อย (Mild Acne)

เป็นสิวที่ไม่เกิดการอักเสบ หรือเรียกอีกอย่างว่าสิวอุดตัน (Comedones) หรือถ้าเกิดอาการอักเสบก็จะมีลักษณะเป็นสิวอักเสบขนาดเล็กๆ เช่น สิวตุ่มแดง (Papule) หรือ สิวหัวหนอง (Pustule) ไม่ถึง 10 จุด เป็นต้น

สิวปานกลาง (Moderate Acne)

ลักษณะเป็นสิวตุ่มแดง (Papule) หรือ สิวหัวหนอง (Pustule) เกิน 10 จุดขึ้นไป และอาจพบสิวอักเสบขนาดใหญ่ (Nodule) ปริมาณน้อย ไม่เกิน 5 จุด

สิวรุนแรง (Severe Acne)

อาการของสิวรุนแรงคือพบสิวขนาดเล็ก เช่น สิวตุ่มแดง (Papule) หรือ สิวหัวหนอง (Pustule) จำนวนมาก รวมถึงพบสิวอักเสบขนาดใหญ่ (Nodule) เกินกว่า 5-10 จุดขึ้นไป


ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว

สิวเกิดจากอะไร


เป็นสิวรักษายังไง? ก่อนอื่นต้องรู้ว่าสิวที่ตัวเองเป็นนั้นคือสิวเกิดจากอะไร โดยปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดสิวเห่อได้ มีดังนี้

ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดสิว

ในปัจจุบัน มีงานวิจัยว่าอาหารประเภทนมและน้ำตาลมีแนวโน้มเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดสิวในบางคน โดยอาหารเหล่านั้นคือ นมวัว, ขนมปังขาว, ข้าวขาว, ขนมหวาน, ช็อกโกแลต และชานมไข่มุก เป็นต้น

การใช้สารเคมีหรือยาบางชนิดก็สามารถทำให้เป็นสิวได้ โดยส่วนผสมที่อาจทำให้เกิดสิวได้คือ น้ำมันในสูตร (Oil phase) เนื่องจากเป็นน้ำมันที่ก่อให้เกิดสิวและการอุดตัน (Acnegenic, Comedogenic) ได้ง่าย

ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดสิว

พันธุกรรมเป็นอีกส่วนที่สามารถกำหนดอาการของสิวในแต่ละบุคคลได้ โดยสังเกตจากอาการของสิวจากคนในครอบครัวได้ หากคนในครอบครัวเป็นสิวรุนแรง เราก็อาจมีกรรมพันธุ์ที่จะเป็นสิวรุนแรงได้

ฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งได้แก่ testosterone และ dihydrotestosterone เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน เมื่อโตขึ้นแล้วฮอร์โมนสมดุลก็จะทำให้อาการสิวลดลง ส่วนผู้หญิงก็อาจมีอาการสิวเห่อก่อนรอบประจำเดือนเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน


สิวเกิดจากอะไร

1. ต่อมน้ำมันในรูขุมขนทำงานมากขึ้น

การทำงานของต่อมน้ำมันนั้นขึ้นอยู่กับฮอร์โมน ทั้งผู้ชายและผู้หญิงก็มีฮอร์โมนกลุ่มนี้เช่นกัน เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เกิดการขับไขมัน (Sebum) ออกมามากเกินไปจนเกิดสิวเห่อ

2. เซลล์ในรูขุมขนหนาตัวขึ้นผิดปกติ

ในกรณีนี้อาจเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ผิวในท่อรูขุมขนมากเกิน หรืออาจเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนก็เป็นได้ จากนั้นจึงกลายเป็นสิวอุดตัน (Comedones) ขึ้นมา โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการคือฮอร์โมนเพศชายหรือส่วนประกอบในเครื่องสำอางบางชนิด เป็นต้น

3. แบคทีเรีย C.acnes

แบคทีเรีย C.acnes หรือ Cutibacterium acnes เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในรูขุมขนของมนุษย์เป็นปกติ อาหารของแบคทีเรีย C.acnes คือน้ำมันบนผิวของเรา ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตมากขึ้น แต่หากแบคทีเรียชนิดนี้มีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดสิวอักเสบขึ้นมาได้ 

4. การอักเสบของรูขุมขน

การอักเสบของผิวหนังส่งผลให้สิวบวมแดงและเกิดหนอง  สาเหตุนี้เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่พยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกไป โดยอาจทำให้หน้าเป็นสิวและรู้สึกปวด ร้อนบริเวณที่อักเสบได้


 

สิวมีกี่ประเภท

สิวเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งอาจทำให้อาการของสิวแตกต่างกันออกไป โดยประเภทของสิวสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

1. สิวที่ไม่มีการอักเสบ

สิวที่ไม่มีการอักเสบ


สิวที่ไม่มีการอักเสบ หรือสิวอุดตัน (Comedone) คือสิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน โดยจะมีลักษณะเป็นเม็ดนูนหรือเป็นตุ่มกลมเล็กๆ ซึ่งจะไม่มีอาการแดง ไม่เจ็บ และไม่บวม สิวอุดตันจะสามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นหลายชนิด เช่น


มีลักษณะเป็นสิวอุดตันที่มีจุดดำอยู่ตรงรูเปิดของรูขุมขน โดยสิวอุดตันชนิดนี้อยู่ตื้นจนหัวสิวโผล่พ้นรูขุมขนมาสัมผัสอากาศจึงเปลี่ยนเป็นสีดำ

มีลักษณะเป็นสิวอุดตันเม็ดแข็งสีขาว สังเกตเห็นได้ยาก แต่จะเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อคลำหรือดึงผิวให้ตึง หากปล่อยเอาไว้ ไม่รักษา อาจกลายเป็นสิวอักเสบชนิดต่างๆ ได้

มีลักษณะเป็นตุ่มสิวที่เล็กมาก สิวชนิดนี้คือสิวอุดตันระยะแรกเริ่ม ซึ่งยังมีขนาดเล็กเกินกว่าจะกดด้วยเครื่องมือกดสิว 

2. สิวที่มีการอักเสบ

 สิวที่มีการอักเสบ


สิวที่มีการอักเสบ หรือสิวอักเสบ (Inflamed acne) คือสิวที่มีอาการอักเสบของผิวหนังหรือต่อมไขมันด้วย โดยอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยสามารถแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ เช่น

เป็นสิวอักเสบในระยะเริ่มแรก ลักษณะคือสิวสีแดงขนาดเล็ก ขนาดไม่เกิน 0.5 cm มีอาการอักเสบบนผิวหนังชั้นตื้น เริ่มมีความรู้สึกเจ็บเล็กน้อย

ลักษณะคือมีจุดสีขาวเหลืองอยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นหนองจากอาการอักเสบ โดยรอบจะเป็นสีแดง สิวชนิดนี้มีระดับการอักเสบมากกว่าสิวตุ่มแดง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ 

เป็นสิวที่อาการอักเสบรุนแรงจนถึงผิวหนังชั้นใน ลักษณะเป็นก้อนสีแดงภายในมีหนองป่นเลือดบางครั้งอาจเป็นหลายหัวติดกัน 

ลักษณะสิวจะเป็นก้อนนูนแข็ง เกิดจากการสะสมของหนองใต้ผิวหนัง รู้สึกคันและเจ็บปวดเมื่อสัมผัส


สิวขึ้นบริเวณไหนได้บ้าง

บริเวณที่สามารถเกิดสิว


1.บริเวณใบหน้า

สิวบริเวณคางมักเป็นสิวฮอร์โมน อาจเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงก่อนมีรอบเดือน พบได้บ่อยในผู้หญิงช่วงอายุ 20-40 ปี

อาการสิวบริเวณจมูกมักเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน มักมีลักษณะเป็นสิวเสี้ยน แต่หากฮอร์โมนสูงก็อาจกลายเป็นสิวอุดตันได้ พบได้บ่อยในคนอายุ 15-35 ปี

บริเวณหน้าผากเป็นบริเวณที่ผิวเริ่มมันก่อนในช่วงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จึงทำให้เกิดสิวอุดตันในกลุ่มวัยรุ่น 10-20 ปี หรืออีกสาเหตุคือสารเคมีจากแชมพูหรือสเปรย์ใส่ผมก็กระตุ้นให้หน้าสิวได้

มักเกิดจากการสะสมของแบคทีเรียและการอุดตันที่มาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การสัมผัสผิวหน้าด้วยมือที่ไม่สะอาด, การใช้เครื่องสำอางที่อาจทำให้เกิดการอุดตัน หรือการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เป็นต้น


2.บริเวณลำตัว

ส่วนใหญ่มักเกิดจากการทาเครื่องสำอางที่บริเวณคอซึ่งเป็นบริเวณที่ทำความสะอาดยาก ส่งผลให้เกิดการอุดตัน หรืออาจเกิดจากอาการแพ้ก็เป็นได้

อาจเกิดได้จากหลายกรณี เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อยีสต์ เชื้อรา หรือการอักเสบของผิวหนัง เป็นต้น 


วิธีรักษาสิว เป็นสิวรักษายังไง

วิธีลดสิวมีอะไรบ้าง? รักษาสิวที่หน้าอย่างไรถึงเห็นผล? ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าตัวเองเป็นสิวชนิดไหน เกิดจากอะไร จึงจะทำให้สามารถรักษาสิวได้อย่างถูกวิธี โดยวิธีที่จะสามารถรักษาสิวได้เบื้องต้น มีดังนี้

1. การใช้ยารักษาสิวชนิดทา

ทายารักษาสิว

 

การทายากรักษาสิวเป็นการรักษาสิวแบบไม่ต้องกดสิว ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ แต่ก็สามารถใช้ควบคู่กับการกดสิว เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการรักษาสิวที่ดียิ่งขึ้นได้เช่นกัน

2. การใช้ยารักษาสิวชนิดกิน

กินยารักษาสิว

 

ยารักษาสิวชนิดกินที่เป็นที่นิยมกันมีอยู่ 2 ชนิดคือ ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) และ ไอโซเตตริโนอิน (Isotretinoin) โดยทั้ง 2 ช่วยลดสิวโดยแก้ที่สาเหตุแตกต่างกันออกไป ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

3. การกดสิว

 การกดสิว

 

การกดสิวอักเสบควรทำกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะอาจทำให้การอักเสบรุนแรงขึ้นได้เมื่อทำด้วยตนเอง หากทำควบคู่กับการใช้ยาทา ยากิน หรือเลเซอร์ ก็จะทำให้อาการสิวหายดีมากยิ่งขึ้น

4. การเลเซอร์สิว

เลเซอร์สิว

 

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ใช้ในการเลเซอร์สิวหลากหลายด้วยกัน ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านั้นจะออกฤทธิ์ต่อกลไกการเกิดสิว 2 จุดด้วยกันคือ ออกฤทธิ์ต่อมน้ำมันใต้ผิว หรือออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว นอกจากนี้ เลเซอร์ยังสามารถช่วยลดรอยสิวที่เกิดหลังจากสิวอักเสบได้อีกด้วย ถือเป็นวิธีรักษารอยสิวที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน

5. การทำความสะอาดผิว

การทำความสะอาดผิวลดสิว

 

การทำความสะอาดผิวจะช่วยให้ไขมันบนใบหน้าลดลง ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย C.acnes ที่ทำให้เกิดสิว และนอกจากนี้ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อช่วยป้องกันอาการผิวแห้งลอก รวมถึงเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวอีกด้วย

6. การรักษาด้วยฮอร์โมน

 รักษาสิวด้วยฮอร์โมน


เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวจึงมักใช้ยากลุ่มฮอร์โมนเพศหญิงในการรักษาสิว ซึ่งจะใช้ยา เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral contraceptives) ในการรักษาคนไข้เพศหญิง แต่ทั้งนี้อาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ จึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น 

7. การคุมอาหาร

ควบคุมอาหารเพื่อรักษาสิว

 

อาหารบางชนิดสามารถทำให้เป็นสิว เช่น นมไขมันต่ำ ช็อกโกแลต เบเกอรี่ หรือของหวาน เป็นต้น จึงควรเลี่ยงอาหารดังกล่าวเพื่อช่วยให้อาการสิวดีขึ้น

8. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ปรึกษาแพทย์เรื่องสิว

 

หากทำการรักษาสิวเบื้องต้นแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์เพื่อที่จะสามารถวินิจฉัยอาการและสาเหตุของการเกิดสิวเพื่อที่จะสามารถรักษาอาการได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น


ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นสิว

หากเป็นสิว ควรปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการอักเสบที่อาจทำให้เกิดรอยสิวได้ดังนี้


แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดสิว

แนวทางป้องกันการเกิดสิวแบบเบื้องต้นเพื่อลดโอกาสการเกิดสิวอักเสบ มีดังนี้


ข้อสรุป

สิว คือ สิ่งที่เกิดจากการอุดตันใต้ชั้นผิว หากมีสิ่งกระตุ้นเพิ่มเติมก็อาจทำให้เกิดเป็นการอักเสบขึ้นเป็นสิวอักเสบที่บวมแดงได้ ซึ่งการรักษาสิวมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน หากเรารู้ถึงสาเหตุของการเกิดสิวของตนเองก็จะทำให้การรักษาสิวเป็นได้ได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น


หากทำการรักษาเบื้องต้นด้วยการทายาหรือกินยาไม่หาย ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการสิวของตนเองเพื่อที่จะสามารถหาสาเหตุและรักษาสิวให้หายดีได้อย่างถูกวิธี

 


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที