สายตาเอียง เป็นภาวะที่ทำให้เห็นภาพซ้อน เบลอ เห็นภาพมีเงา เกิดจากความโค้งกระจกตาไม่เท่ากัน โดยสามารถรักษาได้จากการใส่แว่น คอนแทกเลนส์ หรือผ่าตัด
เมื่อพูดถึงสายตาเอียง สำหรับผู้ที่เพิ่งเคยได้ยินคำนี้เป็นครั้งแรก อาจจะเข้าใจว่าสายตาเอียง คือ การที่มองเห็นสิ่งต่างๆเอียงใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วสายตาเอียงไม่ได้ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆเอียงอย่างผิดปกติแต่อย่างใด ถ้าอย่างนั้นแล้วเรามาทำความเข้าใจกันค่ะ ว่าสายตาเอียง คืออะไร เกิดจากอะไร เมื่อมีอาการสายตาเอียงแล้ว จะมีการตรวจสอบและรักษาอย่างไร
สายตาเอียง คือ ภาวะที่สายตามีการมองเห็นอย่างผิดปกติ โดยที่ความโค้งของเลนส์ตาหรือกระจกตาแต่ละแนวไม่เท่ากัน จึงทำให้มีการมองเห็นสิ่งต่างๆผิดปกติ โดยจะเห็นสิ่งต่างๆเป็นภาพซ้อน ภาพมีเงา เบลอ หรือมองภาพที่มีสีเข้มหรือขนาดเล็กได้ยากนั่นเอง ซึ่งเป็นภาวะที่มักเกิดร่วมกันกับสายตาสั้นหรือสายตายาว
สายตาเอียง เกิดจากกระจกตามีรูปร่างผิดปกติ หรือความโค้งของกระจกตาแต่ละแนวไม่เท่ากัน ส่งผลให้แสงที่กระทบส่วนตาเกิดการหักเหตกลงบริเวณจอตามากกว่า 1 จุด หมายความว่าตาของเราจะไม่สามารถโฟกัสไปที่จุดเดียวได้ จึงทำให้มีการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดปกติ
การที่ร่างกายมีภาวะสายตาเอียงตั้งแต่กำเนิดนั้นมีสาเหตุเกิดจากเปลือกตาด้านบนที่ไปกดทับลูกตา ทำให้ดวงตามีความโค้งแนวตั้งมากกว่าแนวนอน ซึ่งสายตาเอียงตั้งแต่กำเนิดนั้นถือว่าเป็นภาวะปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน นอกจากนี้แล้วกรรมพันธุ์ก็มีส่วนทำให้เป็นภาวะสายตาเอียงแต่กำเนิดได้ด้วยเช่นกัน โดยในกรณีที่มีคนในครอบครัวมีภาวะสายตาเอียงได้
แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดภาวะสายตาเอียงได้อย่างแน่ชัด แต่โดยส่วนมาก ภาวะสายตาเอียงมักจะเป็นภาวะที่มักเป็นโดยกำเนิด แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะนี้ได้ เช่น
ผู้ที่มีภาวะสายตาเอียง จะมีอาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะ โดยจะพบอาการทั่วไป มีดังนี้
หมายเหตุ กรณีที่ผู้มีภาวะสายตาเอียงนี้อ่านหนังหรือจ้องหน้าจอคอม จะมีอาการปวดหัวง่ายกว่าคนทั่วไป เพราะสายตาจะไม่จับภาพต่างๆหรือภาพที่เคลื่อนไหวได้เร็ว
ในความเป็นจริงแล้ว ส่วนมากจะเจอผู้มีภาวะสายตาเอียงควบคู่กับปัญหาสายตาทางด้านอื่น ๆ โดย สามารถจำแนกประเภทของสายตาเอียงได้ 3 ประเภท ดังนี้
สายตาเอียงเป็นภาวะที่สามารเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยบางคนอาจจะไม่มีอาการใดๆแสดงออกมาให้เห็นเลย ดังนั้นจึงควรเข้ารับการตรวจค่าสายตาอย่างสม่ำเสมอเพื่อทดสอบว่าร่างกายมีภาวะสายตาเอียงหรือไม่ ในกรณีที่พบว่าร่างกายมีภาวะสายตาเอียง จึงควรรับการรักษาเพื่อรักษาอาการสายตาเอียงอย่างเหมาะสม โดยเมื่อพบแพทย์ จะมีนักตรวจวัดสายตาวินิจฉัยว่าการมองเห็นมีปัญหาหรือมีโรคที่เกี่ยวกับตาหรือไม่ และจะมีจักษุแพทย์ทำการรักษาอาการความผิดปกติของสายตา
เป็นการวัดความสามารถการมองเห็นว่ามีปัญหาทางด้านการมองเห็นหรือไม่ โดยจะให้อ่านตัวอักษรหรือตัวเลขที่อยู่บนชาร์จ ในการทดสอบ ผู้ทดสอบสายตาจะต้องอ่านว่าตัวอักษรที่ชี้คือตัวอะไร ซึ่งขนาดของตัวอักษรหรือตัวเลขนั้นจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ
เป็นวัดการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบบนกระจกตาเพื่อวัดว่าความโค้งของกระจกตามีความผิดปกติหรือไม่ โดยทางผู้เชี่ยวชาญจะนำเครื่องเคอราโตมิเตอร์ส่องไปที่กระจกตา
เป็นการวัดความหักเหของแสงที่เข้ามายังดวงตาโดยใช้เครื่องวัดการหักเหของแสง ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญจะทำการทดสอบผู้ที่ตรวจสอบสายตาโดยให้อ่านแผนภูมิผ่านการมองเลนส์ที่มีจุดแข็งแตกต่างกันในเครื่องวัดสายตา
ในกรณีที่ไม่สะดวกเข้าพบแพทย์เพื่อทดสอบว่าสายตาของตนเองมีปัญหาหรือไม่ สามารถทดสอบด้วยตนเองแบบเบื้องต้นว่ามีภาวะสายตาเอียงหรือไม่ โดยจะมีขั้นตอนทดสอบสายตาเอียงดังนี้
หมายเหตุ การใช้แบบทดสอบสายตาเอียงเบื้องต้น สามารถเช็คได้คร่าว ๆ ว่า มีภาวะสายตาเอียงหรือไม่ ซึ่งในบางคนที่มีอาการสายตาเอียงน้อยมาก อาจจะมองเห็นเส้นบนแผ่นทดสอบปกติ ดังนั้น ในกรณีที่ต้องการเช็คสายตาอย่างละเอียดควรเข้าพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการทดสอบสายตา
สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงน้อยมากจนไม่ส่งผลกระทบกับการมองเห็น อาจไม่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงซึ่งส่งผลกระทบกับการมองเห็น สามารถเข้ารับการรักษาได้ โดยมีวิธีดังนี้
การใส่แว่นตา เป็นวิธีแนะนำสำหรับผู้ที่มีสายตาเอียงในระดับไม่เยอะมาก เพราะเป็นวิธีที่มีการรักษาง่ายและมีความปลอดภัยกับดวงตามากที่สุด เนื่องจากการใส่แว่นจะไม่มีส่วนไหนที่เข้าไปสัมผัสกับดวงตาโดยตรง โดยเลนส์แว่นที่ใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาเอียง จะเป็นเลนส์ที่คอยช่วยปรับการหักเหของแสงให้ตกกระทบบนจอตา ทำให้สามารถตาของเราสามารถโฟกัสไปที่จุดเดียวเลยมองสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การใส่แว่นตาเพื่อแก้ปัญหาภาวะสายตาเอียงนั้นไม่ได้เหมาะสมกับทุกค่าสายตา ดังนั้นการตัดแว่นสายตาเอียงจึงเหมาะกับผู้ที่เริ่มมีปัญหาทางด้านการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อนหรือเบลอ ซึ่งถ้าหากค่าสายตาเอียงไม่เยอะมาก เช่น ค่าสายตาเอียง 50 อาจไม่จำเป็นต้องใส่แว่นตาถ้าหากไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แต่สำหรับผู้ที่มีค่าสายตาเอียงมากเกินปกติอาจจะต้องพิจารณาทางเลือกอื่นแทน
การใส่คอนแทคเลนส์ เป็นการนำแผ่นเลนส์ใสใส่เข้าไปบริเวณดวงตา ซึ่งสามารถใส่และถอดออกได้ตามความสะดวก คอนแทคเลนส์จะคอยปรับความโค้งของกระจกตาชั่วคราวซึ่งทำให้แสงเกิดการหักเหตกกระทบบนจอตา เป็นเหตุให้มีการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับการสวมใส่แว่นตา
คอนแทคเลนส์แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ แบบแข็งและแบบนิ่ม
แบบแข็ง - เลนส์มีความแข็งกว่าแบบนิ่ม มีราคาถูกและมีความคงทนมาก
แบบนิ่ม - ใช้งานง่าย มีรูปแบบการใช้งานหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการใส่แบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี หรือแบบใส่ต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์
ทั้งนี้ การใส่คอนแทคเลนส์ ตัวเลนส์จำเป็นต้องสัมผัสกับดวงตาโดยตรง ดังนั้น เมื่อใส่คอนแทคเลนส์ควรระมัดระวังเรื่องความสะอาด ไม่ควรใส่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และถ้าหากเกิดอาการผิดปกติกับดวงตาขณะที่ใส่คอนแทคเลนส์ควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน
การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะสายตาเอียง เป็นสิ่งที่จักษุแพทย์อาจแนะนำเมื่อสายตามีความผิดปกติอย่างมาก โดยมีวิธีผ่าตัด เช่น
การผ่าตัดมีความเสี่ยง หากต้องการรักษาสายตาด้วยการผ่าตัด ควรหาสถานที่รักษาที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา
แม้ว่าสายตาเอียงจะเป็นปัญหาสายตาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสายตาเอียงรุนแรงมากขึ้นได้ เพราะฉะนั้นจึงควรปฏิบัติดูแลตนเอง ดังนี้
ภาวะสายตาเอียง เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน สำหรับบางคนที่มีภาวะนี้ไม่มากร่างกายอาจจะไม่แสดงความผิดปกติอะไร แต่สำหรับบางคนที่มีอาการส่งผลต่อการมองเห็น หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ควรเข้ารับการปรึกษาจากจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำและรักษาสายตาด้วยวิธีการที่เหมาะสม
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที