วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 672523 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


อาการของการเป็นต้อเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาอย่างไร

การเป็นต้อคืออะไร อาการของการเป็นต้อเป็นอย่างไร การเป็นต้อมีกี่ประเภท สามารถรักษาได้หรือไม่ รวมถึงดูแลตัวเองเมื่อเป็นต้ออย่างไร

ตาเป็นต้อ

ดวงตา เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะใช้สำหรับมองสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเพื่อป้องกันอันตราบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากเกิดปัญหาขึ้นกับดวงตา ก็จะส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันยากขึ้นตามไปด้วย

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับดวงตาคือ ตาเป็นต้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดปกติที่ไม่มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ เพราะเนื่องจากการเรียกความผิดปกติกลุ่มนี้ว่าต้อ มีแค่ในภาษาไทยเท่านั้น แล้วดวงตาเป็นต้อนี้คืออะไร มีอาการอย่างไร รวมถึงมีกี่ประเภท มาหาคำตอบกัน

ทำความรู้จักกับการเป็นต้อ

ตาเป็นต้อ เป็นความผิดปกติที่ใช้เรียกสิ่งปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตา ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ย่อย ๆ อยู่ 4 ประเภท ได้แก่

ตาเป็นต้อแต่ละประเภท ก็จะมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้งานดวงตามากเกินไป ถูกแสงแดด ฝุ่นควัน มลภาวะ รังสียูวีมากเกินไป ใช้ยาผิดประเภทกับดวงตา สารเคมีกระเด็นเข้าตา สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เกิดตาเป็นต้อได้

อาการของการเป็นต้อ

โดยอาการของการเป็นต้อ จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภทของตาเป็นต้อนั้น ๆ เช่น

• ตาเป็นต้อลม

  1. มีอาการระคายเคืองดวงตาเป็นประจำ ร่วมกับอาการคันตา น้ำตาไหล เจ็บ และเหมือนมีเม็ดทรายอยู่ในดวงตา
  2. มีก้อน ปุ่มนูน หรือแผ่น สีขาวเหลืองที่บริเวณหางตาหรือหัวตา
  3. เมื่อทำการขยี้ตา จะรู้สึกว่าตาแดงและมีอาการอักเสบมากกว่าปกติ
  4. ตาขาวมีอาการบวมแดง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีก้อนเนื้อนูนอยู่

• ตาเป็นต้อหิน

  1. จะรู้สึกว่ามีการสูญเสียการมองเห็นอย่างช้า ๆ จนอาจทำให้ตาบอดถาวร อาจจะใช้เวลามากถึง 5-10 ปี 
  2. การมองภาพจะแคบลงเรื่อย ๆ แต่ภาพตรงกลางยังเป็นปกติ ทำให้อาจคิดว่าไม่เป็นอะไร จนส่งผลให้การรักษาไม่สามารถทำได้แล้ว เพราะไม่ได้รับการดูแลที่ดีในระยะแรก

• เป็นต้อเนื้อ 

  1. มีอาการระคายเคืองดวงตาเป็นประจำ ร่วมกับอาการคันตา น้ำตาไหล เจ็บ และเหมือนมีเม็ดทรายอยู่ในดวงตา เช่นเดียวกับเป็นต้อลม
  2. ถ้าหากต้อเนื้อลามเข้าไปในบริเวณตาดำ จะทำให้สายตาเอียง หรืออาจจะมองไม่เห็นได้

• เป็นต้อกระจก

  1. ตาเป็นฝ้าขาว มองภาพไม่ชัด ซึ่งเริ่มจากตามัวแล้วค่อย ๆ พร่าขุ่นขึ้นเรื่อย ๆ จนมองเห็นได้ยาก
  2. รูม่านตาเป็นสีขาวขุ่น ในช่วงแรกจะเห็นไม่ชัด เมื่อเวลาผ่านไปจะเห็นความขุ่นชัดเจนขึ้น
  3. สายตาสั้นเพิ่มขึ้น จนค่าสายตาเปลี่ยนบ่อยทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นเป็นระยะ
  4. มองภาพไม่ชัดในที่สว่างจ้า เห็นชัดขึ้นในที่สว่างน้อย และสามารถเห็นสีได้น้อยกว่าปกติ
  5. อาจเกิดภาพซ้อนจากสายตาเอียง

ประเภทของต้อ

ตาปกติ กับตาเป็นต้อลมและต้อเนื้อ

ตาเป็นต้อมีอยู่หลัก ๆ 4 ประเภท ได้แก่

1.ต้อลม (Pinguecula)

ต้อลม คือความผิดปกติทางตาที่มีมักจะปรากฏเป็นก้อนเล็ก ๆ สีเหลืองหรือสีขาวบนเยื่อบุลูกตา โดยทั่วไปจะอยู่ด้านข้างที่ใกล้กับจมูกมากที่สุด มักอยู่ใกล้ขอบกระจกตา แต่ส่วนมากจะไม่ขยายไปถึงกระจกตา

เกิดจากการได้รับแสงอัลตราไวโอเลต (UV) เป็นเวลานาน โดยเฉพาะจากแสงแดด ซึ่งการได้รับแสง UV พร้อมกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อมที่แห้งและมีฝุ่นมาก สามารถทำให้เป็นต้อลมได้ 

2.ต้อหิน (Glaucoma)

ต้อหิน คือความผิดปกติทางตาที่ทำลายเส้นประสาทตา ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างตากับสมอง มักเกิดจากความดันภายในลูกตาที่เพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่าความดันในลูกตา (IOP) ตาเป็นต้อหินสามารถนำไปสู่การค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็น และหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจทำให้ตาบอดถาวรได้ในที่สุด

เกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น มีประวัติคนในครอบครัวว่าตาเป็นต้อหิน โรคต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ หรือการบาดเจ็บที่ตา เป็นต้น

ตาปกติ กับตาเป็นต้อกระจก

3.ต้อเนื้อ (Pterygium)

ต้อเนื้อ คือความผิดปกติทางตาที่พบได้บ่อยโดยมีลักษณะการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อบนเยื่อบุตา ซึ่งเป็นเยื่อใสที่ปกคลุมส่วนสีขาวของดวงตา มักเกิดที่ด้านข้างของตาใกล้กับจมูก และอาจค่อย ๆ ขยายไปยังกระจกตา

สาเหตุของการเกิดไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดจากการได้รับแสงอัลตราไวโอเลต (UV) เป็นเวลานาน สภาพแวดล้อมที่แห้งและมีฝุ่นมาก และการระคายเคืองตาเรื้อรังเชื่อว่ามีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาเป็นต้อเนื้อได้

4.ต้อกระจก (Cataract)

ต้อกระจก คือความผิดปกติทางตาทั่วไปที่มีลักษณะขุ่นของเลนส์ในดวงตา ซึ่งนำไปสู่การมองเห็นที่ลดลง บดบังเลนส์ที่อยู่ด้านหลังส่วนที่เป็นสีของดวงตา (ไอริส) ที่ช่วยโฟกัสแสงไปที่เรตินาเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน

เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การได้รับแสงอัลตราไวโอเลต (UV) เป็นเวลานาน เป็นโรคเบาหวาน สูบบุหรี่ กินยาบางชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ เกิดการบาดเจ็บที่ตา เกิดความดันโลหิตสูงหรือโรคอ้วน เป็นต้น

การรักษาอาการเป็นต้อ

ตาเป็นต้อรักษายังไง ขึ้นอยู่กับประเภทของต้อนั้น ๆ ได้แก่

• ตาเป็นต้อลม ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เว้นแต่จะเกิดการอักเสบหรือทำให้รู้สึกไม่สบายอย่างมาก สามารถใช้ยาหยอดตาหล่อลื่นเพื่อบรรเทาอาการแห้งหรือระคายเคืองที่เกิดขึ้นได้ ในบางกรณีที่อาจเกิดอาการถาวรหรือส่งผลต่อการมองเห็น อาจพิจารณาการผ่าตัดออก อย่างไรก็ตามต้องไว้สำหรับกรณีที่รุนแรงเท่านั้น

• ตาเป็นต้อหิน ไม่สามารถรักษาให้หายได้ถาวร แต่การรักษามีเป้าหมายเพื่อควบคุมอาการและป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม เช่น 

  1. การใช้ยาหยอดตาและรับประทานยาเพื่อลด IOP โดยการลดและระบายน้ำออกจากดวงตา 
  2. การรักษาด้วยเลเซอร์ โดยสามารถใช้เลเซอร์ trabeculoplasty หรือเลเซอร์ iridotomy เพื่อเพิ่มการระบายของเหลวหรือเปิดมุมปิดในดวงตา
  3. การผ่าตัด เช่น การผ่าตัด trabeculectomy, การผ่าตัดใส่ท่อผ่าหรือการผ่าตัดต้อหินแบบ MIGS เพื่อปรับปรุงการระบายของเหลวในดวงตา

• ตาเป็นต้อเนื้อ การรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาด ตำแหน่ง และอาการที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต กรณีที่ไม่รุนแรงอาจรักษาได้ด้วยยาหยอดตาเพื่อหล่อลื่นเพื่อบรรเทาอาการ หากต้อเนื้อทำให้รู้สึกไม่สบายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการมองเห็น หรือเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ต้องมีการผ่าตัดเอาออก โดยมีเป้าหมายเพื่อเอาต้อเนื้อออก และอาจเมีการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเยื่อบุตาที่แข็งแรงไปยังบริเวณที่ได้รับผลกระทบเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

• ตาเป็นต้อกระจก มีวิธีรักษาที่ได้ผลเพียงอย่างเดียวคือการผ่าตัดออก โดยการผ่าตัดถอดเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออกและแทนที่ด้วยเลนส์แก้วตาเทียม (IOL) ซึ่งทั่วไปขั้นตอนนี้ปลอดภัยและเป็นหนึ่งในการผ่าตัดที่ใช้กันมากที่สุดในโลก การผ่าตัดต้อกระจกมีอัตราความสำเร็จสูงในการปรับปรุงการมองเห็น

>> อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดต้อชนิดอื่นได้ที่ "ผ่าตัดต้อเนื้อ"

เป็นต้อแล้วไม่รักษาได้ไหม

หากตาเป็นต้อแล้วไม่รักษา อาจส่งผลกระทบดังนี้

เพราะฉะนั้นหากตาเป็นต้อ ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนอาการลุกลาม จนหาทางแก้ไขไม่ได้

วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้เป็นต้อ

ทำความสะอาดดวงตาด้วยการเช็ดตาเบา ๆ หากตาเป็นต้อ

การดูแลตัวเองหากตาเป็นต้อ ต้องศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ เช่น เป็นต้อลมห้ามกินอะไร หรือเป็นต้อหินห้ามกินอะไร เช่น

รวมถึงการปฏิบัติตัวหลังการเข้ารับการรักษา เช่น

หากเป็นต้อ สามารถทำเลสิกได้ไหม

เป็นต้อ ทําเลสิกได้ไหม คำถามที่หลายคนสงสัย โดยการทำเลสิกได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อ และต้องได้รับการยินยอมจากแพทย์ ได้แก่

ข้อสรุปเรื่องเป็นต้อ

ตาเป็นต้อ เป็นโรคเกี่ยวกับดวงตาที่ควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิต รวมถึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจของตาเป็นต้อประเภทต่าง ๆ เพื่อสามารถรักษาและป้องกันดูแลได้อย่างตรงจุด เพื่อให้ดวงตาสามารถใช้งานได้ต่อไป


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที