วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 13 พ.ค. 2024 22.35 น. บทความนี้มีผู้ชม: 732424 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


ข้อควรรู้ในการใช้ยาแก้ปวดหัว ใช้อย่างไรไม่ให้เป็นอันตราย ?

ผู้ที่มีอาการปวดหัวเป็นประจำควรรู้ เกี่ยวกับวิธีการรับประทานยาแก้ปวดหัวที่ถูกต้อง พร้อมวิธีการบรรเทาอาการปวดหัวเบื้องต้นด้วยตัวเอง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาแก้ปวดหัว 

อาการปวดหัวเป็นอาการที่สามารถเกิดได้กับทุกคน โดยมีหลายเหตุตั้งแต่ความผิดปกติของระบบประสาท หรือเกิดจากความเครียด เป็นอาการที่สามารถหายได้เองได้ หรือการใช้ยาแก้ปวดหัวเป็นวิธีการแก้ปวดหัวที่หลาย ๆ คนเลือกใช้มากที่สุด แต่ก็ยังมีข้อระวังเพราะว่ายาแก้ปวดหัวเมื่อมีการใช้งานปริมาณที่มาก ๆ อย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวที่เกิดจากการใช้ยามากเกินไปได้ โดยในวันนี้จะขอแนะนำให้ทุกท่านให้ได้รู้จักกับวิธีบรรเทาอาการปวดหัว และการใช้ยาที่ถูกต้อง 


ยาแก้ปวดหัว คือ 

ยาแก้ปวดหัว ถือเป็นยาแก้ปวดชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดหัวได้ดี โดยยาแก้ปวดหัวมีส่วนผสมของตัวยาหลายชนิดที่เป็นตัวแบ่งประเภทของยาแก้ปวดหัว กับยาแก้ปวดหัวไมเกรน เช่น พาราเซตามอล(paracetamol), แอสไพริน(aspirin), นาพรอกเซน(naproxen), คีโตโปรเฟน(ketoprofen) เป็นต้น 


ประเภทของยาแก้ปวดหัว 

ยาแก้ปวดหัวมีกี่ประเภท

อาการปวดหัวนั้นมีระดับความรุนแรงหลายระดับ ส่งผลให้ต้องมีการแบ่งประเภทของยาแก้ปวดหัวให้เหมาะสมกับระดับความรุนแรง โดยที่ยาแก้ปวดหัวมีทั้งชนิดปกติที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน ไปจนถึงยาแก้ปวดหัวชนิดรุนแรงที่จะสามารถใช้ได้จากคำสั่งของแพทย์เท่านั้น ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. ยาแก้ปวดหัวแบบรับประทาน

ยาแก้ปวดหัวชนิดเม็ดรับประทานสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทหลัก ๆ คือ

  1. ยาแก้ปวดหัวประเภท Paracetamol เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดหัวเล็กน้อย ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 6 เม็ด และรับประทานต่อเนื่องไม่เกิน 7 วัน
  2. ยาแก้ปวดหัวประเภทไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) เหมาะกับผู้ที่มีการปวดหัวปานกลาง ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคติดตัวเช่น โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือด, โรคไต เป็นต้น
  3. ยาแก้ปวดหัวประเภทอนุพันธ์ของฝิ่น เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดหัวรุนแรง ที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
  4. ยาแก้ปวดหัวประเภทที่มีส่วนผสมของ Ergotmaine และ Caffeine เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาปวดหัวไมเกรน เป็นยาแก้ปวดหัวไมเกรนชนิดเฉียบพลัน เป็นยาชนิดรุนแรงที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์
  5. ยาแก้ปวดหัวประเภท Triptan เหมาะสำหรับแก้ปวดหัวไมเกรน เป็นยาที่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ, หลอดเลือด, ความดันโลหิต, โรคตับ

2. Occipital Nerve Block

เป็นเทคนิคการรักษาโดยการฉีดยาแก้ปวดหัวไมเกรน หรือการฉีดยาสกัดเส้นประสาทออกซิพิทอล(เส้นประสาทบริเวณท้ายทอย) ที่มีส่วนผสมสเตียรอยด์ชนิดแขวนตะกอน ไปบนเป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ป่วยปวดหัวไมเกรนชนิดรุนแรง ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาแก้ปวดหัวชนิดรับประทานได้ โดยต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

3. Migraine Cocktail

เป็นเทคนิคการรักษาโดยการฉีดยาที่มีส่วนผสมของวิตามินต่าง ๆ เข้าที่หลอดเลือดดำโดยตรง หรือก็คือการให้วิตามินทางหลอดเลือด เพื่อช่วยลดความเครียด และบรรเทาอาการปวดหัว เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาปวดหัวเรื้อรัง หรือปวดหัวไมเกรนบ่อย ๆ และผู้ที่รับประทานยาแก้ปวดหัวแล้วไม่หาย


วิธีการรับประทานยาแก้ปวดหัวที่ถูกต้อง 

เมื่อมีอาการปวดหัวหลาย ๆ คนก็มักจะนึกถึงยาพาราเซตามอลอย่างแน่นอน เป็นยาแก้ปวดสามัญประจำบ้านที่สามารถรักษาอาการปวดได้หลายชนิด แต่การรับประทานยาพาราที่มากเกินไป หรือรับประทานผิดวิธีอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ซึ่งในหัวข้อนี้จะขอแนะนำวิธีรับประทานยาแก้ปวดหัวที่ถูกต้อง ให้กับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าควรรับประทานอย่างไรดี

ข้อแนะนำสำหรับการรับประทานยาแก้ปวดหัวชนิดยาพาราเม็ดขาวขนาด 325 มิลลิกรัม โดยคิดจากน้ำหนักตัว

ข้อแนะนำสำหรับการรับประทานยาแก้ปวดหัวชนิดยาพาราเม็ดขาวขนาด 500 มิลลิกรัม โดยคิดจากน้ำหนักตัว


ข้อห้าม และ ข้อควรระวังเกี่ยวกับยาแก้ปวดหัว

ข้อระวังในการใช้ยาแก้ปวดหัว

ยาแก้ปวดหัวชนิดยาพาราถือเป็นยาแก้ปวดที่ให้ผลดีมาก ช่วยรักษาอาการปวดได้หลายอย่างเช่น ปวดหัว, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดข้อ และยังช่วยในการลดไข้อ่อน ๆ ได้อีกด้วย ยาพาราจึงได้รับความนิยมจนกลายเป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถหาซื้อได้ง่าย  แต่ก็ยังมีข้อระวังต่าง ๆ เกี่ยวกับยาชนิดนี้ที่หลาย ๆ คนควรรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียกับสุขภาพ ดังนี้


วิธีป้องกันอาการปวดหัวที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง 

อาการปวดหัวเป็นอาการที่สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการดูแลตัวเอง โดยจะขอแนะนำวิธีการป้องกันที่ได้ผลดี สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวบ่อย ๆ และวิธีบรรเทาอาการปวดหัว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องพึ่งพาการใช้ยาแก้ปวดหัวบ่อย ๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาหลังจากการใช้ยาปริมาณมาก ๆ 

1. ดูแลสุขภาพร่างกาย

การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ก็มีส่วนช่วยป้องกันอาการปวดหัว และลดโอกาสการใช้ยาแก้ปวดหัวได้เป็นอย่างดี โดยมีข้อแนะนำดังนี้

  1. การพักผ่อนให้เพียงพอมากกว่า 7-8 ชั่วโมงต่อวัน จะช่วยให้สมองได้พักผ่อนได้เต็มที่ ลดการเกิดอาการปวดหัวระหว่างวันได้ดี
  2. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน และแอลกอฮอล์เพราะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ระบบประสาททำงานหนัก
  3. การดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เพราะการที่ร่างกายขาดน้ำก็เป็นสาเหตุของอาการปวดหัวได้ ในผู้ชายควรดื่มน้ำวันละ 3.7 ลิตร และผู้หญิงควรดื่มน้ำวันละ 2.7 ลิตร 
  4. การออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย นอกจากจะช่วยให้สุขภาพดี ยังมีส่วนช่วยในการลดความเครียดได้ดี เมื่อได้ออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเพื่อน ๆ หรือครอบครัว

2. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ลดความเครียด

อาการปวดหัวส่วนใหญ่ มักเกินขึ้นเวลาที่ต้องใช้ความคิดที่ก่อให้เกิดความเครียด พยายามสังเกตตัวเองว่าทำอะไรแล้วเครียดก็ควรออกห่างสักพัก เพื่อให้จิตใจสงบ ถ้าหากไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำ และรับยาแก้ปวดหัว เพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น

3. ไม่ควรใช้ยาแก้ปวดหัวปริมาณมาก ๆ 

การใช้ยาแก้ปวดหัวบ่อย ๆ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และยังส่งผลให้ปวดหัวกินยาไม่หายอีกด้วย และอาจส่งผลให้อาการปวดหัวรุนแรงมากขึ้น ซึ่งต้องควรระวังเป็นอย่างมาก ควรมีการเลือกใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งถ้าหากมีอาการปวดหัวมาก ๆ ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนที่จะซื้อยามาใช้เอง


สรุป

ยาแก้ปวดหัวไม่ว่าจะเป็นยาพารา หรือยาแก้ปวดหัวไมเกรน หากมีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม นอกจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายแล้ว ยังอาจส่งผลทำให้ปวดหัวมากกินยาไม่หายได้ ซึ่งวิธีการใช้ยาที่เหมาะสมสามารถทำตามคำแนะนำต่าง ๆ ได้ไม่ยาก และสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวบ่อย ๆ หรือปวดหัวไมเกรน ควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดหัวเกิดขึ้นได้ 


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที