วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 13 พ.ค. 2024 22.35 น. บทความนี้มีผู้ชม: 716422 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


ตรวจฮอร์โมน ช่วยให้ร่างกายรู้ระดับความสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ

ตรวจฮอร์โมน

ตรวจฮอร์โมน คือ การวัดระดับฮอร์โมนในร่างกาย เพราะหากฮอร์โมนขาดความสมดุล จะส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติ จึงต้องหมั่นตรวจวัดระดับฮอร์โมนเป็นประจำ

ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเองโดยต่อมไร้ท่อ หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังเซลล์และอวัยวะทั่วร่างกาย ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้เป็นปกติ เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุลก็จะส่งผลร้ายต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย จนทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ จนอาจเป็นโรคร้าย ดังนั้น การตรวจฮอร์โมนจะช่วยให้ทราบระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยแพทย์จะวินิจฉัยและรักษาภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


เราควรเริ่มตรวจฮอร์โมนตอนไหนดี?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมจะต้องไปตรวจฮอร์โมน ซึ่งต้องเข้าใจความสำคัญของฮอร์โมนก่อน เนื่องจากฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในหลาย ๆ กระบวนการของร่างกาย ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของฮอร์โมน ได้แก่


ฮอร์โมนที่ควรตรวจมีอะไรบ้าง?

ทั้งนี้ ฮอร์โมนที่สำคัญ หากเกิดขาดความสมดุล แล้วจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย จนจำเป็นต้องคอยตรวจเช็คฮอร์โมน เพื่อให้กลับมาสมดุล ได้แก่

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายของเรา เพราะช่วยควบคุมการเผาผลาญ, การเจริญเติบโตและพัฒนาการ และควบคุมระบบอื่น ๆ หากฮอร์โมนไทรอยด์พร่องไป จะทำให้ร่างกายทำงานช้าลง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หนาวง่าย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ท้องผูก ผิวแห้ง ร่วง ผมร่วง ซึมเศร้า ความจำไม่ดี
  2. ฮอร์โมนต่อมหมวกไต ได้แก่ ฮอร์โมนคอร์ติซอล, ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน และฮอร์โมนอะดรีนาลีน ซึ่งช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อความเครียด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ความดันโลหิต, การอักเสบ, ระบบภูมิคุ้มกัน และควบคุมสมดุลเกลือแร่และน้ำในร่างกาย หากฮอร์โมนต่อมหมวกไตพร่องไป จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ความดันโลหิตต่ำ เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย หมดสติ
  3. ฮอร์โมนเพศเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมลักษณะทางเพศ พัฒนาการทางเพศ อารมณ์ และระบบสืบพันธุ์ แบ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) และฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน) หากฮอร์โมนเพศพร่องไป จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแอ กระดูกเปราะบาง อารมณ์แปรปรวน ความต้องการทางเพศลดลง ร้อนวูบวาบ นอนหลับยาก
  4. Growth ฮอร์โมน หรือฮอร์โมนเจริญเติบโต ผลิตโดยต่อมใต้สมอง มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย โดยเฉพาะในเด็ก หาก Growth ฮอร์โมนพร่องไป จะทำให้เด็ก ๆ เกิดพัฒนาการช้า, กล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีไขมันสะสมมาก ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระดูกเปราะบาง ไขมันสะสมมาก นอนหลับไม่สนิท อารมณ์แปรปรวน และความจำไม่ดี

ดังนั้น การตรวจฮอร์โมนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการตรวจค่าฮอร์โมนเป็นวิธีการวัดระดับฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อแพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล และเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุลจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพ จนเกิดเป็นภาวะต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ ภาวะมีบุตรยาก ภาวะหมดประจำเดือน ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โรคกระดูกพรุน โรคอ้วน และภาวะซึมเศร้า

แล้วบ้างที่ควรตรวจฮอร์โมน ซึ่งการตรวจฮอร์โมนไม่จำเป็นต้องตรวจทุกคน แต่แนะนำให้ตรวจในกลุ่มบุคคลที่มีภาวะดังต่อไปนี้


ข้อแตกต่างระหว่างฮอร์โมนเพศชายกับฮอร์โมนเพศหญิงที่เราควรทราบ

 

ฮอร์โมนชายและหญิง

ในการตรวจฮอร์โมน หนึ่งในฮอร์โมนสำหรับ คือ การตรวจฮอร์โมนเพศ ซึ่งฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) และฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen & Progesterone) เป็นฮอร์โมนสำคัญที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโต ลักษณะทางเพศ และระบบสืบพันธุ์ ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ฮอร์โมนเพศชาย

ในการตรวจฮอร์โมนเพศชาย จะมีแหล่งผลิตในอัณฑะของผู้ชาย ทำหน้าที่ ดังนี้

โดยผลข้างเคียงจากการขาดฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่

ฮอร์โมนเพศหญิง

ในการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง จะมีแหล่งผลิตในรังไข่ของผู้หญิง ทำหน้าที่ ดังนี้

โดยผลข้างเคียงจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่

ทั้งนี้ ระดับฮอร์โมนเพศจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงวัย เพศ และสุขภาพของแต่ละคน ดังนั้น หากสงสัยว่าฮอร์โมนไม่สมดุล ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจระดับฮอร์โมน รับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง


อาการของฮอร์โมนไม่สมดุลมีอะไรบ้าง?

หากฮอร์โมนไม่สมดุล จะส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เกิดเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคไทรอยด์, โรคเบาหวาน, โรคอ้วน, ภาวะมีบุตรยาก หรือโรคทางอารมณ์ ดังนั้น เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อร่างกายมีความผิดปกติ จึงควรเข้าตรวจฮอร์โมนทันที เมื่อร่างกายส่งสัญญาณเตือน

1. อาการทั่วไป ได้แก่ อ่อนเพลีย, นอนหลับยาก, อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย, สมาธิสั้น, น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง, ผิวแห้ง ผมร่วง, กระดูกเปราะบาง, ปวดศีรษะ, เจ็บหน้าอก หรือภาวะมีบุตรยาก

2. อาการเฉพาะเพศ ได้แก่

•   ผู้หญิง คือ ประจำเดือนไม่มา, ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ, ปวดท้องประจำเดือนรุนแรง, ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกกลางคืน, ช่องคลอดแห้ง, อารมณ์แปรปรวน และซึมเศร้า
•   ผู้ชาย คือ สมรรถภาพทางเพศลดลง, อวัยวะเพศไม่แข็งตัว, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, อารมณ์แปรปรวน, ซึมเศร้า และกระดูกพรุน

3. อาการตามช่วงอายุ ได้แก่

•   เด็ก มีพัฒนาการช้า, ตัวเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกัน หรืออ้วนลงพุง
•   ผู้สูงอายุ มีอาการอ่อนเพลีย, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, กระดูกเปราะบาง, ปัญหาการนอนหลับ, อารมณ์แปรปรวน หรือความจำไม่ดี

4. อาการตามโรคประจำตัว เช่น โรคต่อมไทรอยด์, โรคต่อมหมวกไต, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคกระดูกพรุน

ทั้งนี้ อาการและสัญญาณเตือนเหล่านี้ อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นได้ แต่เพื่อความแน่ใจ ควรตรวจฮอร์โมน เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องจะดีกว่า 


วิธีการเตรียมตัวก่อนไปตรวจฮอร์โมน

 

การเตรียมตัวตรวจฮอร์โมน

หากต้องการตรวจฮอร์โมน สิ่งสำคัญ คือ การเตรียมตัวก่อนไปตรวจวัดระดับฮอร์โมนโดยควรเตรียมตัวดังต่อไปนี้


ตรวจฮอร์โมนเสร็จแล้ว ต้องทำอย่างไรต่อบ้าง?

หลังจากที่ตรวจฮอร์โมนเสร็จแล้ว แพทย์จะแจ้งผลตรวจและอธิบายความหมายของผลตรวจ โดยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

1. การรักษาด้วยยา เช่น ยาฮอร์โมน ยาแก้ปวด ยาคลายกังวล หรือยาอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุ
2. การรักษาแบบธรรมชาติ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จัดการความเครียด
3. การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การฝังเข็ม การรักษาด้วยสมุนไพร การใช้วิตามินและสารสกัดจากธรรมชาติ


สรุปเกี่ยวกับการตรวจฮอร์โมน 

ฮอร์โมนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากฮอร์โมนขาดความสมดุล จะทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ หรือเป็นโรคร้ายอื่น ๆ ได้ ดังนั้น จึงควรตรวจฮอร์โมน เพื่อวัดระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย หากฮอร์โมนไม่สมดุล จะได้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ได้ทันท่วงที และปรับฮอร์โมนให้กลับมาสมดุล ด้วยการรักษาที่เหมาะสมและถูกต้อง


References

Thomas Kampfrath. (2023, November 8). Hormone Testing. https://www.testing.com/hormone-testing/

Cathy Wong. (2023, September 19). Types of Hormone Tests for Women and Their Results. https://www.verywellhealth.com/hormone-blood-test-for-women-89722

Jillian Goltzman & Rachael Zimlich. (2024, February 5). The 5 Best At-Home Hormone Tests in 2024. https://www.healthline.com/health/hormone-test-at-home

Sarika Arora. (2023, April 10). Hormone tests for women. https://www.womenshealthnetwork.com/hormonal-imbalance/hormone-tests-and-what-they-mean/


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที