ในยุคปัจจุบันนั้นจะเห็นได้ว่าการ ฝากไข่ ถือเป็นที่นิยมมากสำหรับคู่รักที่นิยมแต่งงานกันช้าขึ้นด้วยสาเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ต้องการวางแผนครอบครัวให้มั่นคง ใช้เวลาในการเรียนรู้กับคู่ชีวิต ความพร้อมในด้านต่าง ๆ ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องผ่อนชำระ มีงบประมาณพร้อมสำหรับการดูแลลูก ช่วงเวลาในการแต่งงานนั้นมีอายุมากทำให้ไข่ของผู้หญิงจะเริ่มฝ่อลงอย่างรวดเร็วและเหลือเพียงเล็กน้อยส่งผลกระทบทำให้ประสบปัญหาการมีลูกยากและมีลูกช้าเพราะช่วงอายุที่ฝ่ายหญิงเหมาะสำหรับการเจริญพันธุ์มีจำนวนไข่ที่มากและแข็งแรงก็คืออายุ 25-28 ปี หรืออายุไม่เกิน 35 ปี
รวมไปถึงการวางแผนที่จะตั้งครรภ์มีลูกแต่ด้วยสถานการณ์ที่ยังไม่พร้อมจะตั้งครรภ์ในขณะนี้เนื่องจากรอให้ครอบครัวมีความมั่นคงมีทุกอย่างที่ดี ให้ความสำคัญทุ่มเทกับการทำงานมีการเดินทางอยู่ตลอดเวลา และมีพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำคือการใช้ชีวิตอิสระ ชอบการท่องเที่ยว
นอกจากนี้มีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิงประจำเดือนมาไม่ปกติและผู้ชายจำนวนสเปิร์มน้อย อ่อนแอ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ หนองในแท้ โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรงเบาหวาน โรงทางพันธุกรรม เป็นต้น การฝากไข่จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมมีลูกโดยเร็วจึงเก็บไข่ให้คงสภาพและมีประสิทธิภาพของเซลล์ไข่ไว้เหมือนเดิมเพื่อใช้ในอนาคต
การฝากไข่ (Egg Freezing) คือ การแช่แข็งเซลล์ไข่โดยที่ผู้หญิงนำเซลล์ไข่ที่มีสภาพดีและอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ออกมาจากรังไข่ของตนเองมาเก็บรักษาแช่แข็งในห้องปฏิบัติการด้วยการใช้ไนโตรเจนเหลวที่มีอุณหภูมิประมาณ -196 องศาเซลเซียสไว้ก่อน เมื่อพร้อมมีลูกก็นำไข่ผู้หญิงที่แช่แข็งไว้มาละลายและนำไปปฏิสนธิกับอสุจิของผู้ชาย
ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) คือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเจริญพันธุ์โดยการนำไข่ผู้หญิงและอสุจิมาปฏิสนธิผสมกันภายนอกร่างกายที่ห้องปฏิบัติการทำให้เกิดตัวอ่อนแล้วนำตัวอ่อนเข้าไปในโพรงมดลูกให้ฝังตัวเพื่อเกิดการตั้งครรภ์ และการทำอิ๊กซี่ (ICSI) คือ การคัดเลือกอสุจิเพียง 1 ตัว ฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่ผู้หญิงเพื่อเพิ่มอัตราการปฏิสนธิและทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ เหมาะสำหรับกรณีที่ฝ่ายชายมีน้ำเชื้อน้อยหรือคุณภาพของอสุจิน้อยกว่ามาตรฐานทำให้มีความเสี่ยงที่ไข่จะไม่ได้รับการปฏิสนธิ
การฝากไข่หากเริ่มฝากไข่ในช่วงอายุ 20-30 ปี อัตราการรอดของไข่ผู้หญิงหลังละลายเมื่อต้องการที่จะมีลูกแล้วอยู่ที่ประมาณ 80-90 % จำนวนไข่ผู้หญิงที่ควรฝากไข่สำหรับการตั้งครรภ์ 1 ครั้ง ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี เก็บไข่อยู่ที่ประมาณ 10-15 ฟอง หากมีอายุเพิ่มขึ้นจำนวนการเก็บไข่ก็ต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การฝากไข่สามารถเก็บไข่ได้นานมากกว่า 10 ปี ระยะเวลาในการฝากไข่แต่ละครั้งประมาณ 3 สัปดาห์ วิธีการเก็บไข่ควรแช่แข็งแบบผลึกแก้ว เป็นวิธีการเก็บไข่ที่ได้ผลดีที่สุด เป็นการใช้สารรักษาความเย็นเข้ามาแทนที่น้ำในเซลล์และลดอุณหภูมิขณะแช่แข็งเซลล์ไข่ได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็งในเซลล์ไข่ผู้หญิงทำให้อัตราการรอดของไข่หลังละลายสูงขึ้น
การฝากไข่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ไม่พร้อมจะตั้งครรภ์ในช่วงอายุวัยที่เซลล์ไข่แข็งแรงสมบูรณ์ แต่ยังมีความต้องการที่จะตั้งครรภ์มีลูกในภายหน้า เนื่องจากยังอยากใช้ชีวิตโสดหรือชอบความอิสระและยังเป็นช่วงวัยที่กำลังหมกมุ่นกับการทำงานเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตในอนาคต
รวมไปถึงปัญหาสุขภาพและกระบวนการรักษาที่มีผลต่อการเจริญพันธุ์ เช่น รังไข่เสื่อมเร็ว การผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ ใช้ยาคุมกำเนิด มะเร็งปากมดลูก ซีสที่มดลูก ซึ่งอยู่ในกระบวนขั้นตอนการรักษาที่ต้องฉายแสงหรือการทำเคมีบำบัด เพราะจะทำให้ทำลายเซลล์สืบพันธุ์ และครอบครัวเคยมีประวัติประจำเดือนหมดเร็วส่งผลทำให้มีระยะเวลที่สามารถตั้งครรภ์สั้นกว่าคนอื่น ๆ
เมื่อเราต้องการที่จะฝากไข่อยากได้ไข่ที่สภาพดีและแข็งแรงควรเตรียมตัวดังต่อไปนี้
1.ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเรื่องขั้นตอนการเก็บไข่เพื่อให้แพทย์ได้ซักถามประวัติทั่วไป เช่น ประวัติเบื้องต้น น้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว ประวัติปัญหาสุขภาพ ประวัติการตั้งครรภ์ การมาของรอบประจำเดือน
2.ก่อนการฝากไข่แพทย์จะทำการอัลตราซาวด์และตรวจเช็คฮอร์โมน นับจำนวนฟองไข่ในรังไข่ เช็คดูสภาพและคุณภาพของรังไข่ ดูตำแหน่งไข่ตก รวมไปถึงการตรวจคัดกรองโรคติดต่อที่แม่จะแพร่ต่อลูกได้ เช่น การตรวจโรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซิฟิลิส ธาลัสซีเมีย เพื่อแพทย์จะนำผลตรวจไปประเมินก่อนเก็บไข่และคำนวณปริมาณยาที่ใช้ในการกระตุ้นไข่ผู้หญิง
3.ทานอาหารอ่อน ๆ จำพวกโปรตีน เช่น ไข่ขาว ปลา และควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดอาหารจำพวกของหมักดองทุกชนิด
4.งดทำกิจกรรมหนัก ๆ หรือกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ อย่างการกระโดดเชือก ยกของหนัก แต่ควรทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกาย จิตใจผ่อนคลาย เช่น เล่นโยคะ ช็อปปิ้ง อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ และการพักผ่อนให้เพียงพอไม่ต่ำกว่าวันละ 8-9 ชั่วโมง
5.ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยหรือมีไข้ก่อนการเก็บไข่
ขั้นตอนในการฝากไข่มีดังนี้
1.ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางการเก็บไข่ผู้หญิงเพื่อแพทย์จะทำการซักประวัติทั่วไป ให้ข้อมูลและแนะแนวทางการวางแผนเกี่ยวกับขั้นตอนการเก็บไข่ จากนั้นตรวจร่างกายเช็คดูความพร้อมและสภาพของรังไข่ระดับฮอร์โมนต่าง ๆ
2.เริ่มวิธีการกระตุ้นไข่ โดยแพทย์จะฉีดฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่ที่มีขนาดและจำนวนปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอต่อการเก็บไข่ โดยฉีดตรงบริเวณหน้าท้อง แพทย์จะฉีดปริมาณฮอร์โมนตามความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคน บางคนอาจได้ฮอร์โมนมาฉีดเองที่บ้านเพิ่มเติมซึ่งการฉีดฮอร์โมนเองที่บ้านต้องทำตามขั้นตอนที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดและฉีดให้ตรงเวลา ในขั้นตอนการกระตุ้นไข่จะใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน
3.จากนั้นแพทย์จะนัดมาอัลตราซาวด์ติดตามผลการกระตุ้นไข่เป็นระยะ ๆ เพื่อดูว่ารังไข่มีการตอบสนองอย่างไรบ้าง
4.เมื่อแพทย์ประเมินว่าไข่มีการเจริญเติบโตเหมาะสมมีขนาด 18 มิลลิเมตรขึ้นไปพร้อมที่จะได้รับการเก็บไข่แล้ว ก็จะทำการฉีดยากระตุ้นให้ไข่ทุกฟองสุก หลังจากนั้นประมาณ 36 ชั่วโมง แพทย์ก็จะนัดเก็บไข่ในห้องผ่าตัด วิธีการเก็บไข่จะใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอดและใช้อัลตร้าซาวด์ช่วยบอกทิศทาง ไม่มีแผลผ่าตัด แพทย์จะให้ยาสลบเพื่อระงับความรู้สึกเจ็บปวดขณะทำขั้นตอนการเก็บไข่ และใช้เวลาในการเก็บไข่ไม่เกิน 20-30 นาที หลังการเก็บไข่แล้วต้องพักฟื้นดูอาการต่าง ๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
5.เซลล์ไข่ผู้หญิงจะถูกนำไปเก็บแช่แข็งที่ห้องปฏิบัติการมีนักวิทยาศาสตร์คอยดูแล วิธีการเก็บไข่จะจัดเก็บในไนโตรเจนเหลว ที่มีอุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ไปจนกว่าวันที่พร้อมต้องการนำเซลล์ไข่ออกมาใช้ปฏิสนธิกับอสุจิ
ข้อดีของการฝากไข่ คือ สามารถเก็บไข่สภาพดีแข็งแรงไว้สืบพันธุ์เมื่อตอนอายุมากและมีความพร้อมมั่นคงที่จะมีลูก ป้องกันแก้ไขปัญหาการมีบุตรยาก ช่วยลดโอกาสที่ลูกจะมีภาวะผิดปกติเป็นดาวน์ซินโดรมหรือโรคต่าง ๆ หากเกิดตอนที่คุณแม่มีอายุมากแล้ว
ข้อจำกัดการฝากไข่ คือ ขั้นตอนการฝากไข่ราคาค่อนข้างสูงในการเก็บใครแต่ละครั้ง และฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในร่างกายอาจมีผลข้างเคียงสำหรับบางคนทำให้เกิดอาการท้องอืด อารมณ์แปรปรวน นอกจากนี้เซลล์ไข่ที่นำออกมาจากร่างกายแล้วจะไม่สามารถนำเข้าไปใส่ในมดลูกได้อีก หากพร้อมที่จะมีลูกต้องใช้การปฏิสนธิภายนอกเท่านั้น
หลังจากทำการฝากไข่ไม่ควรขับรถกลับเอง หลีกเลี่ยงการใช้แรงมากเกินไป ไม่ทำงานหนักหรือยกของหนัก การออกกำลังกายอย่างหักโหม ควรนอนพักผ่อนให้เต็มที่ รวมถึงงดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 สัปดาห์ ทานอาหารที่มีประโยชน์และควรรับประทานไข่ขาวต้มวันละ 2-4 ฟอง ประมาณ 5 วัน งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และคาเฟอีน นอกจากนี้ต้องคอยสังเกตอาการหลังการฝากไข่ หากมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์เฉาะทางและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ห้ามซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด
หลังการฝากไข่มักพบอาการที่จะเกิดขึ้นดังนี้
1.อาการปวดท้องและมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย ให้รับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง อาการเหล่านั้นจะหยุดไปเองภายใน 3-4 วัน
2.อาการหลังจากที่ใช้ยาหรือฮอร์โมน เช่น การฉีดฮอร์โมนกระตุ้นไข่ จะทำให้บางคนเกิดอาการท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง และมีอารมณ์แปรปรวน
3.อาการแทรกซ้อนจากการฝากไข่ การติดเชื้อในช่องท้อง ผลกระทบต่ออวัยวะข้างเคียงในขั้นตอนการเก็บไข่ เช่น ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ
โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการฝากไข่ราคาค่อนข้างสูงขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลแต่ละที่ วิธีที่เลือกใช้การเก็บไข่ประกอบกับสภาพร่างกายของแต่ละคน และจำนวนไข่ที่ต้องการเก็บ ค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการฝากไข่ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 80,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 150,000 บาท นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายบริการรับฝากไข่รายปี ประมาณปีละ 1,500-5,000 บาท
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที