วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 670370 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


วิธีรักษาไมเกรน ทำอย่างไรให้อาการน่าปวดหัวหายไป

ไมเกรนรักษาหายไหม 

หากรู้สึกปวดหัวตุบ ๆ ปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวรุนแรงจนทำงานไม่ได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเป็นไมเกรน ซึ่งเป็นอาการน่าปวดหัวที่สร้างความลำบากให้กับการใช้ชีวิตมากเลยทีเดียว แต่แล้วไมเกรนรักษาหายไหม ต้องทำอะไรบ้างถึงจะแก้ไมเกรนได้ ในบทความนี้มีข้อมูลดี ๆ ที่จะสามารถทำให้อาการปวดหัวน่ารำคาญใจนั้นดีมากขึ้น

โรคไมเกรน (Migraine) คืออะไร

ทำความรู้จักโรคไมเกรน

ไมเกรน ( Migraine) เป็นอาการปวดหัวชนิดหนึ่งที่เกิดจากระดับสารเคมีในสมองมีความผิดปกติ ซึ่งจะไปกระตุ้นก้านสมอง ทำให้หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ เป็นเหตุทำให้เกิดอาการปวดหัวตุบ ๆ เป็นระยะ ๆ ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีวิธีไหนที่รักษาไมเกรนให้หายขาดถาวรได้ แต่สามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวที่เกิดจากไมเกรนได้

ไมเกรนเกิดจากอะไร

ในปัจจุบันแม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดอาการปวดหัวไมเกรนที่ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเชื่อกันว่าเกิดจากอาการอักเสบในระบบประสาท หรือสารเคมีในสมองมีความผิดปกติ แต่ไมเกรนสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้โดยถ้าหากในครอบครัวมีประวัติปวดหัวไมเกรน นอกจากนี้แล้วยังพบผู้มีอาการปวดหัวไมเกรน ที่มักจะเผลอทำพฤติกรรมเสี่ยงที่ไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการ เช่น

อาการไมเกรนเป็นอย่างไร

อาการไมเกรนแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยแต่ละระยะก็จะมีระดับความรุนแรงต่างกัน ดังนี้

1.อาการบอกเหตุ (Prodrome) 

เป็นระยะที่จะมีอาการเกิดขึ้นล่วงหน้าก่อนปวดหัวไมเกรนประมาณ 1-2 วัน โดยจะมีอาการต่าง ๆ เช่น ปวดตึงต้นคอ กระหายน้ำ ปวดปัสสาวะบ่อย มีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น สับสน มึนงง ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น

2.อาการนำ (Aura)

เป็นระยะที่อาจมีอาการความผิดปกติทางด้านประสาทสัมผัส เช่น ร่างกายอ่อนแรง มือเท้าชา พูดหรือเคลื่อนไหวลำบาก ในบางรายอาจมีการมองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นแสงระยิบระยับ เห็นแสงไฟขาวมีขอบหยึกหยัก มองเห็นภาพเบลอ มัว หรือบิดเบี้ยวไปมา แต่ในผู้ป่วยบางรายกลับไม่มีอาการนำเลย

3.อาการปวดศีรษะ(Headache)

เป็นระยะที่มีอาการปวดหัวรุนแรงที่สุด โดยจะปวดหัวไมเกรนตุบ ๆ ข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง จนใช้ชีวิตประจำวันลำบาก ซึ่งอาจมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงยังไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น แสงจ้า กลิ่นฉุน เป็นต้น

4.การหายอาการปวดศีรษะ(Postdrome)

เป็นระยะที่เกิดขึ้นหลังจากมีอาการปวดไมเกรนแล้ว โดยผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น รู้สึกมึนงง สับสน มึนงง เวียนหัว อ่อนเพลีย อารมณ์หงุดหงินฉุนเฉียว ไวต่อสิ่งเร้าเช่นเดียวกันกับระยะปวดศีรษะ

การวินิจฉัยโรคไมเกรน

โดยส่วนมากแล้วจะมีการวินิจฉัยว่าเป็นไมเกรนจากการซักถามประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งการตรวจอื่น ๆ เช่น เจาะเลือด x-ray ตรวจสมอง จะตรวจเมื่อต้องการหาสาเหตุของโรคปวดหัวอื่น ๆ ที่มีอาการใกล้เคียงกับไมเกรน

สมาคมปวดศีรษะนานาชาติ (The International Headache Society: IHS) จัดอาการปวดหัวไมเกรนอยู่ในขั้นปวดศีรษะปฐมภูมิที่เกิดจากหลอดเลือดและเส้นประสาทในสมองมีความผิดปกติ โดยอาการโดยคร่าวประกอบด้วยอาการ 3 ข้อ ดังนี้

  1. มีอาการปวดหัวเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานกว่า 4 ชั่วโมงใน 3 วัน
  2. มีอาการปวดหัวตุบ ๆ ปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้
  3. มีอาการปวดหัวควบคู่กับอาการไวต่อแสง เสียง คลื่นไส้ อาเจียน

วิธีรักษาไมเกรนมีอะไรบ้าง

มีวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนอะไรบ้าง

ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า ไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดอย่างถาวรได้ แต่อย่าเพิ่งกลัวไป แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาหายขาดถาวรได้ แต่ก็สามารถรักษาไมเกรนให้อาการทุเลาลง ให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้

สำหรับวิธีรักษาโรคไมเกรนนั้นจะแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ การรักษาแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น กับการรักษาไมเกรนทางการแพทย์ ซึ่งแต่ละแนวทางก็จะมีจุดเด่น รวมถึงข้อจำกัดแตกต่างกัน 

แนวทางการรักษาไมเกรนเบื้องต้น

หากต้องการรักษาไมเกรนธรรมชาติ โดยที่ทำให้ไม่ต้องใช้ยามากนัก ทางบทความก็มีข้อแนะนำที่จะช่วยบรรเทารักษาไมเกรนด้วยตัวเองง่าย ๆ มาให้ลองปฏิบัติ ดังนี้

1. ปรับพฤติกรรมรักษาไมเกรน

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงอาการปวดหัวไมเกรน ก่อนอื่นต้องเช็คหาสาเหตุก่อนว่าอาการไมเกรนที่เกินขึ้นเป็นเพราะอะไร ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน ได้แก่

เมื่อทราบสาเหตุที่อาจเป็นปัจจัยไปกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน ก็ควรปรับเปลี่ยนหรือหลีกเลี่ยงการกระทำเหล่านั้น เพื่อช่วยลดโอกาสหรือป้องกันการเกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้

2. การประคบเย็นรักษาไมเกรน

ประคบเย็น ประคบร้อนรักษาไมเกรน

การประคบเย็น ประคบร้อน เป็นวิธีรักษาไมเกรนด้วยตนเองที่สามารถทำได้ง่าย เพียงแค่ต้องเตรียม ผ้าขนหนูน้ำเย็น หรือน้ำอุ่น เท่านั้น โดยนำผ้าชุบน้ำเย็นแล้วบิดให้หมาดมาประคบหน้าผาก หรือนำผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบร้อนบริเวณท้ายทอย จะทำให้หลอดเลือดค่อย ๆ หดตัวลง จึงเป็นเหตุช่วยทำให้อาการไมเกรนลดความรุนแรงลง

3. วิธีนวดกดจุดรักษาไมเกรน

 

นวดกดจุดรักษาไมเกรน

การนวดกดจุด เป็นวิธีรักษาไมเกรนเบื้องต้นที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนให้ดีขึ้นได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดเนื้อบริเวณระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมืออีกด้านข้างละประมาณ 5 นาที

4. สมุนไพรรักษาไมเกรน

สมุนไพรใช้รักษาปวดหัวไมเกรน

สมุนไพรรักษาไมเกรนได้มีหลายชนิด เช่น

ขิง - จะช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย เลือดลมไหลเวียนดีมากขึ้น ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย และยังช่วยแก้อาการปวดหัวได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้อย่างดี โดยสามารถเลือกรับประทานขิงได้ทั้งรูปแบบแคปซูล ผงชงดื่ม หรือจะต้มดื่มสด ๆ ก็ช่วยฟื้นฟูร่างกายได้อย่างดี

ว่านหางจระเข้ - ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย จึงเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ช่วยแก้ไมเกรนได้อย่างดี โดยมักจะฝานว่างหางจระเข้บาง ๆ ล้างยางออก แล้วนำไปทาปูนแดง และทาบริเวณขมับ 2 ข้างทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ก็จะทำให้อาการปวดหัวค่อย ๆ ลดลง และยังสามารถนำมาทานเพื่อรักษาไมเกรนได้อีกด้วย 

ใบบัวบก - ช่วยทำให้หลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดงไหลเวียนได้ดีมากยิ่งขึ้น และยังมีส่วนช่วยในการขยายหลอดเลือด ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้อาการปวดหัวลดลง โดยสามารถทานใบบัวบกเป็นรูปแบบน้ำสมุนไพร หรือเป็นรูปแบบแคปซูลได้

สะระแหน่ - ช่วยทำให้สมองปลอดโปร่ง ทำให้ร่างกายมีความผ่อนคลายลดการอ่อนเพลีย และยังช่วยบรรเทาอาการปวดหัวข้างเดียว หรือไมเกรนได้ โดยมักจะนำสะระแหน่มาสกัดและใช้รักษาในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย

หมายเหตุ แม้ว่าการรักษาไมเกรนด้วยวิธีธรรมชาติจะมีข้อดีทั้งในด้านความสะดวกสบาย ไม่ต้องพึ่งยามากเกิน หรือในด้านการประหยัดเงิน แต่ก็มีข้อจำกัดที่ไม่ใช่วิธีรักษาที่มีมาตรฐานเนื่องจากเป็นการรักษาเบื้องต้น หากต้องการให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรได้รับคำแนะนำและเข้ารับการรักษากับทางแพทย์

วิธีรักษาไมเกรนทางการแพทย์

1. ใช้ยาแก้ปวดไมเกรน

กินยาแก้ปวดไมเกรน

การรับประทานยารักษาไมเกรน เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไมเกรนที่ไม่รุนแรงมาก โดยยาที่สามารถทานได้ คือ ยาพาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาที่มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ได้ แต่ในกรณีที่มีอาการปวดหัวรุนแรงอาจจะต้องพิจารณายากลุ่มอื่นๆ เข่น

ยากลุ่ม NSAIDs - ibuprofen หรือ naproxen ที่จะออกฤทธิ์ได้เร็ว แต่อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร จึงควรทานหลังอาหารทันที

ยากลุ่ม Triptan - eletriptan หรือ sumatriptan มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้ดีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า NSAIDs แต่ในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ สมอง และขา ควรรับประทานตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ยากลุ่ม Ergot alkaloids - Cafergot มีประสิทธิภาพในการรักษาดี แต่มีอาจผลข้างเคียงหากรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น เส้นเลือดตีบ นิ้วดำ เป็นต้น

2. ฉีดยารักษาไมเกรน

ฉีดยารักษาไมเกรน

การฉีดยารักษาไมเกรน เป็นการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวเรื้อรัง และไม่สามารถทนกับผลข้างเคียงของยารักษาไมเกรนตัวอื่นได้ แม้ว่าผลข้างเคียงจากการรักษาประเภทนี้จะน้อยมาก แต่ก็อาจจะมีอาการชาบริเวณหนังศีรษะเล็กน้อย

3. ฝังเข็มรักษาไมเกรน

ฝังเข็มรักษาไมเกรน

การฝังเข็มรักษาไมเกรน เป็นวิธีการรักษาแบบแพทย์แผนจีนที่ใช้รักษาผู้ที่มีอาการปวดหัวมาอย่างยาวนาน โดยจะใช้เข็มฝังตามจุดต่าง ๆ เพื่อเปิดทางให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีมากยิ่งขึ้น จึงทำให้อาการปวดหัวไมเกรนลดลง โดยจำนวนครั้งการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แต่เนื่องจากเป็นการรักษาที่ค่อนข้างเฉพาะทางจึงควรเข้ารับการรักษาจากผู้ที่มีประสบการณ์เพื่อให้การรักษาปลอดภัยด้วยดี

4. โบท็อกรักษาไมเกรน

 

ฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน

หลายคนคงจะเข้าใจว่าการฉีดโบท็อกเป็นการฉีดเพื่อบำรุงหน้าให้มีความสวยงาม แต่ที่จริงแล้วการฉีดโบท็อกสามารถรักษาไมเกรนได้ด้วย โดยจะฉีดบริเวณคิ้ว หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า เพื่อไปยับยั้งปลายประสาท ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว อาการปวดหัวก็จะบรรเทาลง และนอกจากนี้แล้วการฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนบังช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการไมเกรนที่อาจเกิดขึ้นได้

รักษาไมเกรนให้หายขาดได้ไหม

ไมเกรน เป็นอาการปวดหัวเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดอย่างถาวรได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถรักษาไมเกรนให้อาการทุเลาลงหรือดีขึ้นได้เลย โดยผู้ป่วยส่วนมากจะเข้ารับการรักษาไมเกรนเพื่อลดความรุนแรงของอาการไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงรักษาเพื่อลดโอกาสเกิดอาการไมเกรน

วิธีป้องกันโรคไมเกรน

แนะนำวิธีป้องกันโรคไมเกรนง่าย ๆ แต่ได้ผลจริง

หลังจากที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีรักษาไมเกรนแล้ว ทางบทความก็มีวิธีป้องกันมาแนะนำเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดไมเกรน รวมถึงช่วยลดความรุนแรงของอาการให้ลดลงได้โดย

การออกกำลังกายเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย ช่วยป้องกันไมเกรน และยังช่วยทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย โดยการออกกำลังกายสามารถทำได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายที่ดีนั้นไม่ควรฝืนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องโดยไม่พัก รวมถึงควรสำรวจร่างกายและเตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บ และสำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรนนั้นอาจจะถูกกระตุ้นให้รุนแรงขึ้นได้

การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันไมเกรนที่ดีมากอย่างหนึ่ง โดยปัจจัยที่มักจะไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการนั้นมักจะมาจากการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อยู่ในที่มีแสงจ้า แดดร้อน หรือมีเสียงดังเกิน อาการ ความเครียด การทานอาหารบางชนิด เป็นต้น

ดังนั้นผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนเป็นประจำจึงควรหมั่นสังเกตุตนเองว่าได้ทำพฤติกรรมเสี่ยงที่ไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการ หรือไปทำให้อาการปวดหัวรุนแรงขึ้นหรือไม่ เพื่อลดความถี่ของไมเกรน

สำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรนอยู่ ควรหยุดพักอย่างน้อย 20-30 นาที เพื่อให้อาการทุเลาลง โดยนั่งพักในห้องมืดที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ร้อนจนเกินไป และไม่มีเสียงรบกวน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาไมเกรนต่อไป

การพบแพทย์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันอาการของโรคไมเกรนไม่ให้รุนแรงมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

รักษาไมเกรนที่ไหนดี

หากต้องการให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยดี ควรพิจารณาหาข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์รักษาไมเกรนที่ต้องการเข้ารับการรักษาอย่างละเอียด ซึ่งสถานที่รักษาที่ดีควรประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้

ข้อสรุป

ปวดหัวไมเกรน เป็นอาการปวดหัวเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดถาวรได้ โดยมีอาการตั้งแต่ปวดหัวเล็กน้อยจนถึงปวดหัวรุนแรงจนเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้

ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ก็สามารถปฏิบัติตนโดยหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรครุนแรงขึ้น รวมถึงป้องกันความถี่ ระยะเวลาที่จะเกิดอาการไมเกรนได้ และในกรณีที่มีอาการติดต่อกันนานเกิน 4 ชั่วโมง หรืออาการรุนแรงมากจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการต่อไป


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที