วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 661144 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


เป็นโควิดแล้วเป็นอีกได้ไหม อาการ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหลังติดซ้ำ

เป็นโควิดแล้วเป็นอีกได้ไหม

เมื่อสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังดูไม่มีท่าทีว่าจะจบลง แถมยังมีการกลายพันธุ์ออกมาเป็นสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีคนจำนวนมากมีความวิตกกังวลในการใช้ชีวิตประจำวัน และเกิดคำถามมากมายขึ้นเกี่ยวกับโควิด-19 

หนึ่งในคำถามยอดนิยมที่คนส่วนใหญ่อยากรู้มากที่สุด คือ ถ้าหากคนที่เคยเป็นโควิดแล้วเป็นอีกได้ไหม? ถ้าได้รับเชื้อโควิดอีกรอบจะมีผลกระทบต่อร่างกายมากแค่ไหน? ทำไมบางคนติดโควิด แต่บางคนก็ไม่ติดทั้งๆที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเหมือนกันเพราะอะไร? 

บทความนี้จะตอบทุกข้อสงสัยที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับการติดโควิดซ้ำ ใครเคยติดโควิดแล้ว และอยากที่จะป้องกันตนเองให้ปลอดภัย ที่นี่มีคำตอบให้คุณ 


เป็นโควิดแล้วเป็นอีกได้ไหม

เริ่มจากคำถามยอดฮิตที่ทุกคนอยากรู้ว่า เป็นโควิดแล้วเป็นอีกได้ไหม ตอบได้อย่างแน่นอนเลยว่า “สามารถเป็นโควิดซ้ำได้” ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

เมื่อเราได้รับเชื้อโควิด-19 ในสายพันธุ์ทั่วไปจนรักษาหายดีแล้ว ภายใน 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ร่างกายของเราจะมีภูมิต้านทาน จึงทำให้ระยะดังกล่าวไม่มีการได้รับเชื้อซ้ำอีก แต่เมื่อผ่านระยะดังกล่าวไปแล้ว ภูมิต้านทานภายในร่างกายของเราจะค่อยๆลดลง จนเทียบเท่ากับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เรามีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีกครั้งนั่นเอง

ส่วนเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่อย่างโอมิครอน จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า มีโอกาสที่จะเกิดการได้รับเชื้อซ้ำอีก ภายใน 1-2 เดือนแรก คิดเป็นเปอร์เซนต์อยู่ที่ประมาณ 10-20% เลยทีเดียว  


ทำไมเป็นโควิดแล้วเป็นอีก

โควิดติดแล้วติดอีกได้ไหม

“เพิ่งหายจากโควิด จะติดอีกไหม?” “อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหมือนกัน แต่ทำไมบางคนติด บางคนก็ไม่ติดโควิด” “การติดโควิดซ้ำเกิดจากอะไรกันแน่ ทำไมแต่ละคนไม่เหมือนกัน”

ปัจจัยในการติดโควิดซ้ำ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้

ภูมิคุ้มกันลดลงหลังติดโควิด

หลายๆคน อาจคุ้นหูกับคำว่า “ภูมิคุ้มกันโควิด” มาก่อน และใช่แล้ว นี่คือหนึ่งในสาเหตุหลักที่จะบอกได้ว่า เรามีโอกาสมากหรือน้อยแค่ไหนในการติดโควิดซ้ำอีกครั้ง

เมื่อเราผ่านการได้รับเชื้อโควิด-19 รอบแรกไป ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำงาน โดยแต่ละคน อาจมีภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นในปริมาณที่แตกต่างกันไป บางคนติดโควิดแล้วภูมิคุ้มกันขึ้นเยอะมาก แต่บางคนติดแล้วกลับมีภูมิคุ้มกันขึ้นเพียงนิดเดียว 

เมื่อระยะเวลาผ่านไป ภูมิคุ้มกันเหล่านั้นจะค่อยๆลดลงมาในความเร็วที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ที่ภูมิคุ้มกันลดลงเร็ว สามารถมีโอกาสในการได้รับเชื้อโควิดซ้ำอีกครั้งได้

แล้วแบบนี้ “ติดโควิดแล้วมีภูมิกี่เดือนหล่ะ?” คำตอบก็คือ โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันที่ป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้ประมาณ 3-6 เดือน

ติดโควิดครั้งแรก เชื้อน้อย อาการไม่รุนแรง

อาจเป็นไปได้ว่า ผู้ที่ติดโควิดครั้งแรก แล้วอาการไม่รุนแรง มีความสัมพันธ์กับเชื้อไวรัสภายในร่างกายที่อยู่ในปริมาณน้อย ทำให้เมื่อหายจากโควิดในครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่สูงพอ เมื่อมีโอกาสที่ไปสัมผัสกับผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19ในปริมาณมาก จึงไม่สามารถต้านทานได้ และก่อให้เกิดการติดเชื้อโควิด-19 อีกรอบนั่นเอง

ติดเชื้อโควิดคนละสายพันธ์ุ

คนที่ติดโควิดแล้วจะติดอีกไหม? คำถามนี้มีความสัมพันธ์กับหัวข้อนี้เป็นอย่างมาก เพราะการติดเชื้อโควิดซ้ำที่มักพบได้บ่อย คือ การติดเชื้อโควิดคนละสายพันธุ์ 

เชื้อไวรัสแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะจำเพาะบางอย่างที่แตกต่างกัน เมื่อเราติดโควิด 1 ครั้ง ร่างกายของเราจะจดจำสายพันธุ์ที่เคยเข้าสู่ร่างกาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นในยามที่มีสายพันธุ์เดิมเข้ามาอีกครั้ง จึงจะต้านทานได้บ้าง 

เมื่อไวรัสต่างสายพันธุ์เข้าสู่ร่างกาย ถึงแม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง แต่ก็ไม่สามารถต้านทานได้อย่างเต็มที่ เพราะมีบางส่วนที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้บุคคลนั้นมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อโควิด-19ซ้ำอีกนั่นเอง


ใครเสี่ยงติดโควิดซ้ำ

แน่นอนว่าสำหรับคำถาม ติดโควิดแล้วติดอีกได้ไหม ก็ได้ตอบไปข้างต้นแล้วว่า สามารถมีโอกาสติดซ้ำอีกครั้งได้ โดยกลุ่มเสี่ยงที่จะมีโอกาสติดโควิดซ้ำ ได้แก่…


ติดโควิดซ้ำอาการเป็นอย่างไร

โควิดเป็นแล้วเป็นอีกได้ไหม

หลังจากที่เรามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโอกาสในการติดโควิดซ้ำไปแล้ว ต่อมาเราจะมาดูเรื่องของอาการกันว่า หากเราเคยติดโควิดไปแล้ว และเกิดติดโควิดซ้ำอีก อาการจะเป็นอย่างไรบ้าง?

เมื่อเราเคยผ่านการติดเชื้อโควิด-19แล้ว ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อโควิดเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง เมื่อมีการติดโควิดครั้งถัดไปเกิดขึ้น จึงทำให้อาการโควิดมีระดับความรุนแรงที่น้อยลงกว่าครั้งแรก ซึ่งแน่นอนว่า ในครั้งถัดๆไป ความรุนแรงของอาการก็จะลดลงไปเรื่อยๆตามลำดับ

จากการศึกษาข้อมูลวิจัยของประเทศกาตาร์ ที่มีการเปรียบเทียบกลุ่มคนที่ติดโควิด-19 ในรอบแรก จำนวน 6,520 คน กับกลุ่มคนที่ติดโควิด-19 ในรอบ 2 จำนวน 1,304 คน พบว่า กลุ่มคนที่ติดโควิด-19 ซ้ำในรอบที่ 2 มีการเข้าโรงพยาบาล ห้องฉุกเฉิน หรือการเสียชีวิตน้อยกว่ากลุ่มที่ติดโควิด-19 ในครั้งแรก


พึ่งหายโควิดแล้วติดเชื้อซ้ำอีก ทำอย่างไร

พึ่งหายจากโควิด ติดอีกได้ไหม

หากสิ่งที่กำลังวิตกกังวลอยู่เกิดขึ้นจริง อย่างการที่ต้องติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำอีกครั้ง จะต้องทำอย่างไรบ้าง? 

สิ่งที่ควรจะต้องทำหลังจากตรวจพบแล้วว่า ติดเชื้อโควิด-19 ก็จะมีความคล้ายคลึงกับการติดเชื้อโควิด-19 ในรอบแรก โดยหากคุณต้องการกักตัวในที่อยู่อาศัย (Home Isolation) ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้


แนวทางการป้องกันการเป็นโควิดซ้ำ

ฉีดวัคซีนโควิด

“เป็นโควิดแล้วเป็นอีกได้ไหม?” หากไม่อยากติดเชื้อโควิดซ้ำ ควรป้องกันเพิ่มเติมจากวิธีปกติด้วยวิธีการดังต่อไปนี้


ติดโควิดแล้วติดอีก ส่งผลเสียต่อร่างกาย

อาการลองโควิด

แน่นอนว่า การได้รับเชื้อโควิด-19 ในรอบถัดๆไป อาจมีระดับความรุนแรงที่น้อยกว่ารอบแรก จนทำให้เราไม่กลัวที่จะใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่ดี 

แต่อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำ ไม่ได้มีเพียงแค่ระดับความรุนแรงของอาการเพียงอย่างเดียว เพราะการได้รับเชื้อโควิด-19 ซ้ำ อาจส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายมากกว่าที่เราคิด เช่น การเกิดอาการปวดหัวบ่อยๆ ผมร่วง มีปัญหาด้านการนอนหลับ ความจำแย่ลงกว่าเมื่อก่อน ฯลฯ โดยเฉพาะภาวะลองโควิด ที่คนส่วนใหญ่มักต้องเผชิญหลังจากการติดเชื้อโควิด-19

ฉะนั้น หากรักษาอาการโควิดหายดีแล้ว สิ่งสำคัญที่ควรจะทำต่ออาจเป็นการเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อเช็คภาวะลองโควิดว่าเกิดขึ้นหรือไม่? หรือควรรักษาอย่างไรต่อไป

ตรวจสุขภาพเพื่อเช็คอาการลองโควิด

การตรวจสุขภาพเพื่อเช็คอาการลองโควิด สามารถเข้ารับการตรวจได้ตามสถานพยาบาลทั่วไปที่มีโปรแกรมตรวจสุขภาพลองโควิด(Long Covid) โดยสถานพยาบาลที่ควรเลือกเข้ารับบริการ ควรจะต้องมีความน่าเชื่อถือ สะอาด ได้รับการบริการจากแพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังควรต้องเป็นโปรแกรมที่มีราคาสมเหตุสมผลกับการตรวจต่างๆ ซึ่งการตรวจสุขภาพเพื่อเช็คอาการลองโควิด ยกตัวอย่างเช่น…


ข้อสรุป

“การเป็นโควิดแล้วเป็นอีกได้ไหม?” อย่างที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นว่า เรามีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำอีก หากเรามีภูมิคุ้มกันในขณะนั้นลดลง ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อโควิดในปริมาณที่มาก หรือเราได้รับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆที่ไม่เคยติดมาก่อน 

ฉะนั้น ถึงแม้ว่าการได้รับเชื้อในรอบถัดๆไปจะมีระดับความรุนแรงที่น้อยลง แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายในระยะยาว หรือที่เรียกกันว่าภาวะลองโควิดได้ ด้วยเหตุนี้ พวกเราควรที่จะดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพเช็คภาวะลองโควิดหลังจากรักษาอาการโควิดหายดีแล้ว เพื่อที่จะได้รับรู้ ป้องกัน และเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะสายเกินไป หากมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นนั่นเอง


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที