วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 28 เม.ย. 2024 17.16 น. บทความนี้มีผู้ชม: 132056 ครั้ง

Chiller (ชิลเลอร์) ระบบทำความเย็น เครื่องทำความเย็น และชิลเลอร์ในทางอุตสาหกรรม


Continuous Emission Monitoring System

Continuous Emission Monitoring System หรือ CEMs ช่วยในเรื่องตรวจสอบมลพิษทางอากาศจึงมีความสำคัญกับสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

CEMs คืออะไร 

Continuous Emission Monitoring System หรือ CEMs มีความสำคัญกับโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมาก เพราะช่วยในเรื่องตรวจติดตามผลการตรวจวัดมลพิษทางอากาศเพื่อให้มีการกำกับดูแลและควบคุมการปล่อยปลดมลพิษทางอากาศ ดังนั้นหลาย ๆ โรงงานจึงต้องมีระบบ CEMs

โดยในบทความนี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับ CEMs ให้มากขึ้นว่า CEMs คืออะไร มีกี่ประเภท ประกอบได้ด้วย และช่วยเรื่อง pm 2.5 ได้อย่างไร


อะไรคือ CEMs

CEMs คืออะไร ? ระบบการตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรมแบบต่อเนื่อง หรือชื่อภาษาอังกฤษ Continuous Emission Monitoring System คือระบบที่ติดตั้งไว้สำหรับตรวจสอบมลพิษทางอากาศ การเก็บบันทึกข้อมูล และการรายงานผลการตรวจวัด ในพารามิเตอร์โดยมีความเกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้แก่

ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx as NO2) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO), ก๊าซออกซิเจน (O2) และค่าความทึบแสง (Opacity) 

นอกจากนั้นเพื่อกำกับดูแลและควบคุมการปล่อยปลดมลพิษทางอากาศจึงจำเป็นต้องใช้ CEMsเพื่อตรวจสอบค่าการระบายมลพิษจากปล่องระบายอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

CEMs มีกี่ประเภท

CEMs ที่นิยม มีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ

1. ระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ (Extractive System) ทำงานโดยการดึงตัวอย่างออกจากปล่องเพื่อนำไปวิเคราะห์

2. ระบบวิเคราะห์ที่จุดเก็บตัวอย่าง (In-Situ System) ทำงานโดยการวิเคราะห์ตัวอย่างจากปล่องโดยตรง

ระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ (Extractive System)

ระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ (Extractive System) คือเครื่องมือ CEMs ซึ่งใช่ตรวจวัดแบบแรกที่ถูกพัฒนาโดยสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดจากโรงงานต่าง ๆ โดยระบบนี้ก๊าซจากปล่องจะถูกดึงจากในปล่อง จากนั้นจะถูกส่งไปยังเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อทำการวัดความเข้มข้นของมลพิษ

ระบบวิเคราะห์ที่จุดเก็บตัวอย่าง (In-Situ System)

In-Situ System คือเครื่องมือ CEMs ใช้เพื่อตรวจวัดมลพิษทางอากาศ โดยเครื่องมือนี้จะถูกติดตั้งอยู่ในสภาพบรรยากาศทั่วไป ดังนั้นจึงทำให้เสียหายได้ง่ายและซ่อมแซมค่อนข้างยาก แต่การบำรุงรักษาจะง่ายกว่าแบบระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ เพราะมีส่วนประกอบน้อยกว่าจึงมีค่าซ่อมที่ไม่แพง


CEMs ประกอบไปด้วย

CEMs ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ

1.ส่วนการเก็บและส่งตัวอย่าง (Sampling Interface/Sampling Delivery System)

2.ส่วนการวิเคราะห์ (Analyzer)

3.ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Acquisition System)

ส่วนการเก็บและส่งตัวอย่าง (Sampling Interface/Sampling Delivery System)

ส่วนการเก็บและส่งตัวอย่าง (Sampling Interface/Sampling Delivery System) คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บก๊าซเพื่อส่งนำไปวิเคราะห์ โดยอุปกรณ์นี้มีหลายแบบ ได้แก่ โพรบสำหรับดูดก๊าซออกจากปล่องที่สามารถทำความร้อนได้ 180°C ช่วยให้ก๊าซตัวอย่างไม่เกิดการควบแน่นและมีฟิลเตอร์สำหรับกรองฝุ่น รวมถึงสามารถต่อ air purge ได้ อีกทั้งตัวโพรบถูกผลิตมาจากวัสดุคุณภาพดีซึ่งเหมาะกับสภาวะของปล่องและอุณหภูมิของก๊าซตัวอย่าง เช่น Stainless steel SS316Ti, Hastelloy C4, Ceramic, etc.

ส่วนการวิเคราะห์ (Analyzer)

ส่วนการวิเคราะห์ (Analyzer) คืออุปกรณ์สำหรับใช้วิเคราะห์ก๊าซ โดยจะมีตัวอย่างอุปกรณ์ ได้แก่ เครื่อง Siemens รุ่น ULTRAMAT 23 ซึ่งผลิตจากประเทศเยอรมนี เป็นเครื่องวิเคราะห์ก๊าซคุณภาพสูงสำหรับระบบ CEMs แบบ Extractiveที่ได้มาตราฐานสากลทั้ง UV และ NDIR ทำให้สามารถวิเคราะห์ก๊าซได้อย่างแม่นยำสูงและเครื่องก็มีความทนทาน 

โดยวัดก๊าซได้มากถึง 4 ชนิด ได้แก่ CO, NO, SO2, O2 หรือจะเลือกวัดก๊าซอื่น ๆ เช่น CO2, CH4, H2S ก็ทำได้เช่นกัน อีกทั้งยังมีช่วงการวัดให้เลือกสามารถเลือกได้ตั้งแต่ต่ำไปจนถึงสูงเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน และเลือกติดตั้งเซนเซอร์ออกซิเจนเพื่อให้เหมาะกับการวัดออกซิเจนในปล่องระบายได้อีกด้วย

ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Acquisition System)

ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Acquisition System) คือระบบที่ใช้สำหรับเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษระยะไกล โดยมีตัวอย่างระบบดังนี้ POMS (Pollution Online Monitoring System) โดยเป็นระบบที่ใช้แทนระบบ CEMs/OPMS เดิม ระบบนี้สามารถช่วยให้แต่ละโรงงานเชื่อมข้อมูลเข้าระบบ POMS เพื่อดูผลการตรวจวัดจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น CEMs, COD/BOD อีกทั้งระบบนี้ยังใช้งานกับ Website และ Mobile Application ได้


CEMs ช่วยเรื่อง pm 2.5 อย่างไร

CEMs ช่วยเรื่อง PM 2.5

PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนซึ่งฝุ่นนี้เกิดจากการทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และการก่อสร้าง โดย CEMs สามารถช่วยแก้ปัญหาด้านลดมลพิษทางอากาศได้ เนื่องจาก CEMs จะตรวจติดตามผลการตรวจสอบมลพิษทางอากาศทำให้สามารถควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศได้ อีกทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการประกาศให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องติดตั้ง CEMs เพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอีกด้วย


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที