MaiMeeSaRa

ผู้เขียน : MaiMeeSaRa

อัพเดท: 18 ก.ค. 2023 15.37 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6966 ครั้ง

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ


วิธี การจับชีพจร ทำได้ง่ายๆไม่ยาก เอาไว้เช็คอัตราการเต้นของหัวใจได้

การจับชีพจร

การจับชีพจร ก็คือการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่อนำไปประเมินสุขภาพว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติหรือไม่ ซึ่งจะช่วยตรวจสอบความผิดปกติของหัวใจ ถ้าหัวใจมีการเต้นที่ผิดปกติไปก็จะบ่งบอกได้ถึงปัญหาสุขภาพที่ตามมา นอกจากนี้การจับชีพจรยังมีข้อดีหลายอย่าง หากจับชีพจรหลังการออกกำลังกาย จะทำให้รู้ว่าระบบหัวใจและหลอดเลือดในร่างกายทำงานได้ดีมากน้อยแค่ไหน และยังทำให้รู้ว่าหัวใจสามารถปรับตัวและตอบสนองความต้องการออกซิเจน และสารอาหารที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่

สามารถจับชีพจร ส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง

1.ด้านข้างลำคอ Carotid Pulse
Carotid Pulse จะอยู่ด้านข้างของลำคอ บริเวณมุมขากรรไกร ข้อดีของการจับชีพจรบริเวณนี้คือ สามารถจับชีพจรได้ง่าย มีความชัดเจนกว่าจุดอื่นๆ ส่วนข้อเสียคือ ความแรงของชีพจร Carotid Pulse ด้านซ้าย และด้านขวาของลำคออาจมีความแตกต่างกัน ซึ่งนั่นก็อาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจที่วัดได้อาจความคลาดเคลื่อน ไม่แม่นยำอย่างที่ควรจะเป็น
 
2.ด้านในของกล้ามเนื้อแขน Brachial Pulse
Brachial Pulse จะอยู่ด้านในของกล้ามเนื้อแขน (biceps) ซึ่งข้อดีในการจากชีพจรจุดนี้คือ จับชีพจรได้ค่อนข้างง่าย มีอัตราการเต้นของหัวใจที่น่าเชื่อถือ และยังเป็นตำแหน่งตรวจจับชีพจรที่ทำให้สามารถประเมินอัตราการเต้นของหัวใจได้อย่างรวดเร็ว ส่วนข้อเสียคือมีความลำบากต่อการจับชีพจร เพราะจุด Brachial Pulse อยู่ในจุดที่มีเสื้อผ้าบดบังอยู่
 
3.ข้อมือ Radial Pulse
Radial Pulse อยู่บริเวณข้อมือด้านใน ใกล้กระดูกปลายแขนด้านหัวแม่มือ เป็นจุดที่นิยมจับชีพจรมากที่สุด เพราะเป็นจุดที่จับชีพจรได้ง่าย ไม่รบกวนผู้ป่วย บอกอัตราการเต้นของหัวใจได้แม่นยำ ส่วนข้อเสียคือไวต่อแรงกด หากใช้แรงกดที่มากเกินไป อาจทำให้หลอดเลือดแดงอุดตัน หรือบีบตัว และคนที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง ก็อาจจะจับชีพจรในจุดนี้ได้ค่อนข้างยาก
 
4.บริเวณขาหนีบ Femoral Pulse
Femoral Pulse อยู่บริเวณขาหนีบ ซึ่งข้อดีของการจับชีพจรบริเวณนี้คือ ข้อดี สามารถประเมินการไหลเวียนของเลือดและความแรงของชีพจรได้อย่างรวดเร็ว และมีความน่าเชื่อถือ ส่วนข้อเสียคือ ไม่เหมาะสม รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย และอาจสร้างความกังวลใจให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดส่วนล่างหยุดชะงัก
 
5.บริเวณข้อพับเข่า Popliteal Pulse
Popliteal Pulse อยู่บริเวณข้อพับเข่า ตรงกลางข้อพับเข่า เมื่อจับชีพจรบริเวณนี้แพทย์จะสามารถประเมินความแรงของชีพจร ความสมมาตร และสภาวะความผิดปกติของผู้ป่วยได้ แต่ข้อเสียคือเข้าถึงได้ยาก คลำหาอาจจะไม่เจอ ผู้ป่วยต้องรอเขาขึ้นถึงจะคลำหาได้ง่าย
 
6.บริเวณขมับ Temporal Pulse
Temporal Pulse คือเส้นเลือดที่ทอดผ่านเหนือกระดูก อยู่บริเวณขมับ เป็นจุดเข้าถึงได้ง่าย สามารถจับชีพจรได้โดยการวางปลายนิ้วเบาๆ บริเวณขมับ ซึ่งการจับชีพจรในบริเวณนี้ก็ค่อนข้างนุ่มนวล มีประสิทธิภาพ ไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว ส่วนข้อเสียคือมีระยะทางที่ห่างจากหัวใจ จึงอาจส่งผลความแม่นยำของการวัดนั้นลดลง
 
7.บริเวณหลังเท้า Dorsalis pedis Pulse
Dorsalis pedis Pulse อยู่บริเวณหลังเท้า โดยจะอยู่ตรงกลางหลังเท้า ซึ่งข้อดีของการจับชีพจรบริเวณนี้คือ เข้าถึงได้ง่าย มีประโยชน์ในการประเมินโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ส่วนข้อเสียคือมีความผันแปรค่อนข้างสูง ผู้ที่มีระบบไหลเวียนโลหิตส่วนปลายอ่อนแอ หรือมีภาวะสุขภาพบางอย่าง อาจไม่สามารถจับชีพจรบริเวณนี้ได้
 

ใช้เครื่องวัดสัญญาณชีพ ช่วยวัดชีพจร เช็คอัตราการเต้นหัวใจ

สำหรับใครที่ต้องการทราบรายละเอียดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือต้องการข้อมูลสัญญาณชีพที่มีความแม่นยำสูง แนะนำให้ใช้ เครื่องวัดสัญญาณชีพจะดีที่สุด เพราะเครื่องวัดสัญญาณชีพเป็นเครื่องมือตรวจวัดสัญญาณชีพโดยเฉพาะ อีกทั้งยังมีวิธีการใช้งานที่ง่าย เพียงแค่กดเปิดเครื่อง จากนั้นติดเซ็นเซอร์วัดสัญญาณชีพเข้ากับร่างกายผู้ป่วย เช่น ข้อมือ ด้านในของกล้ามเนื้อแขน จากนั้นกดปุ่ม เริ่มทำงาน ตัวเครื่องก็จะทำการจับชีพจร พร้อมกับแสดงข้อมูลชีพจร และข้อมูลต่างๆออกมาให้ได้ทราบทันทีผ่านทางหน้าจอ LED บอกเลยว่าใช้ง่ายใช่คล่องแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://rakmor.com/taking-a-pulse/


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที