วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 30 มี.ค. 2024 23.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 43837 ครั้ง

ความรู้ทั่วไป การตลาด ประชาสัมพันธ์


SWOT คืออะไร และมีประโยชน์แค่ไหนในการทำธุรกิจ

SWOT คืออะไร? ในวงการธุรกิจหรือการตลาดทั้งหลายคงจะไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินคำว่า SWOT มาก่อนอย่างแน่นอน แต่ก็อาจมีไม่น้อยที่ยังสงสัยว่า SWOT คืออะไร แล้วมันเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับวงการธุรกิจและการตลาดต่าง ๆ ได้อย่างไร 
 

SWOT Analysis คือการวิเคราะห์ปัจจัยทางการตลาดและธุรกิจ เพื่อให้เรานำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม แก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในองค์กรหรือธุรกิจ และลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้การทำธุรกิจนั้นราบรื่นง่ายดายมากยิ่งขึ้น และพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม 

SWOT คืออะไร และมีประโยชน์แค่ไหนในการทำธุรกิจ

SWOT Analysis คืออะไร

SWOT Analysis คือเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยทางการตลาดของธุรกิจใด ๆ โดย SWOT Analysis ประกอบไปด้วยตัวอักษรย่อ 4 ตัวด้วยกัน ซึ่งในแต่ละตัวอักษรจะมีความหมายดังนี้ S (Strengths) จุดแข็ง , W (Weaknesses) จุดอ่อน , O (Opportunities) โอกาส และ T (Threats) อุปสรรค

หลักสำคัญของ SWOT คือวิเคราะห์โดยการประเมินจาก 2 ด้านด้วยกัน ได้แก่ การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน และการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก โดยสภาพแวดล้อมภายในก็คือสิ่งที่ทางองค์กรสามารถที่จะควบคุมได้ ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกก็คือสิ่งที่องค์กรไม่สามารถที่จะควบคุมได้

ซึ่งจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) จะถูกนับเป็นสภาพแวดล้อมภายใน ส่วนโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) จะถูกนับเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก 

SWOT จะส่งผลให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทำให้เราสามารถมองเห็นจุดแข็งจุดอ่อนขององค์กร ในการนำไปพัฒนา แก้ไข ปรับใช้ และหลีกเลี่ยง เพื่อให้องค์กรหรือธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุดและลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
 
โดย SWOT ได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายครั้งแรกในมหาวิทยาลัย Harvard ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเมื่อมีผู้บริหารได้นำ SWOT มาใช้จนส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น อีกทั้ง SWOT ยังสามารถนำมาปรับใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภท จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ SWOT ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก 
 
SWOT Analysis คืออะไร

จุดแข็ง (Strengths)

การวิเคราะห์ปัจจัยภายในขององค์กรว่ามีจุดเด่นอะไรที่เรามีแต่คู่แข่งไม่มี หรือจุดแข็งต่าง ๆ ขององค์กรที่ทำให้เราได้เปรียบคู่แข่ง เพื่อนำมาพัฒนาและส่งเสริมความแข็งแรงขององค์กร 

จุดอ่อน (Weaknesses)

การวิเคราะห์ปัจจัยภายในขององค์กรว่ามีจุดด้อยอะไรภายในองค์กรบ้าง หรือจุดอ่อนต่าง ๆ ขององค์กรที่อาจทำให้เราเสียเปรียบคู่แข่ง เพื่อนำมาปรับปรุงและกำจัดออกไป 

โอกาส (Opportunities)

การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกขององค์กรว่าสถานการณ์ใดบ้างที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลดีหรือสร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เพื่อฉกฉวยโอกาสมาให้ในการสร้างความแข็งแรงขององค์กร 

อุปสรรค (Threats)

การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกขององค์กรว่าสถานการณ์ใดบ้างที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจส่งผลเสียให้แก่องค์กร ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว หรือเตรียมความแข็งแรงขององค์กรให้พร้อมที่จะรับมือ 


ขั้นตอนและตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT 

การวิเคราะห์ SWOT จะมีอยู่หลายขั้นตอนมากมาย โดยในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำขั้นตอนต่าง ๆ พร้อมกับการยก SWOT Analysis ตัวอย่างให้ได้ดูกัน ซึ่งขั้นตอนการวิเคราะห์ SWOT ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้ 

1. กำหนดเป้าหมายในการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน 

ในขั้นตอนการกำหนดเป้าหมายในการวิเคราะห์ SWOT สามารถกำหนดเป็นวงกว้างได้ แต่จะได้ผลดีกว่าถ้าหากเรากำหนดเป็นวงแคบและตรงเป้าหมายมากที่สุด 

ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายในการวิเคราะห์ SWOT เน้นเจาะจงไปที่การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ทางองค์กรก็จะมีการแจ้งถึงสิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับ โดยในตัวอย่างนี้การวิเคราะห์ SWOT จะช่วยในการพิจารณาว่าควรเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือไม่

2. รวบรวมข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ SWOT 

ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ SWOT จำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลที่หลากหลาย และมีความแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดมุมมองที่กว้างไกลมากยิ่งขึ้น โดยการเลือกคนที่มีความเหมาะสมที่สุดในแต่ละตำแหน่งขององค์กรมาประชุมร่วมกัน เพื่อที่จะได้รู้ในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งความเชี่ยวชาญและความรอบรู้ที่แตกต่างกันนี้จะช่วยให้การวิเคราะห์ SWOT เกิดประโยชน์ได้สูงสุดอีกด้วย 

ยกตัวอย่างเช่น พนักงานในบางตำแหน่งที่มีความเข้าใจถึงปัจจัยภายนอก ส่วนพนักงานในฝ่ายขายและฝ่ายผลิตจะมีความเข้าใจถึงปัจจัยภายในซะมากกว่า ก็นำพนักงานที่มีความเข้าใจในปัจจัยที่ต่างกันนี้มาประชุมเพื่อวิเคราะห์ SWOT ร่วมกัน

3. ตั้งคำถามพร้อมจัดหมวดหมู่ในตาราง SWOT Analysis 

เป็นขั้นตอนในการแนะนำไอเดียและออกความคิดเห็นของแต่ละบุคคล เพื่อนำมาตั้งคำถามพร้อมกับการจัดหมวดหมู่ในตาราง SWOT Analysis โดยจะแบ่งออกเป็นการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน และการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก 

  • การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน (Internal Factors )สภาพแวดล้อมภายใน หรือปัจจัยภายในนั้นถือว่าเป็นแหล่งในการหาข้อมูลจุดแข็งและจุดอ่อนสำหรับนำมาวิเคราะห์ SWOT ได้ดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางการเงิน ทรัพยากรบุคคล สินทรัพย์ที่มีตัวตน สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน หรือประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
  • ยกตัวอย่างคำถามเช่น สินทรัพย์ที่แข็งแกร่งที่สุดขององค์กรคืออะไร? หรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพต่ำที่สุดขององค์กรคืออะไร?
  • การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก (External Factors)สภาพแวดล้อมภายนอก หรือปัจจัยภายนอกก็มีความสำคัญต่อการประสบความสำเร็จขององค์กรเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเงิน การเปลี่ยนแปลงของตลาด หรือการเข้าถึงซัพพลายเออร์
  • ยกตัวอย่างคำถาม เช่น จะมีเทรนด์ที่เราสามารถจับตลาดได้หรือไม่? หรือ จะเกิดพิษเศรษฐกิจอะไรในอนาคตหรือไม่? 

4. วิเคราะห์ SWOT 

ในขั้นตอนนี้จะเป็นการร่วมประชุมเพื่อวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่มีการนำเสนอมา และให้องค์มุ่งเน้นไปที่แนวคิดที่ดีที่สุด หรือความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดขององค์กร 

5. ปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์

เมื่อมีการจัดอันดับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปก็คือนำการวิเคราะห์ SWOT มาเปลี่ยนแปลงเป็นแผนกลยุทธ์ 

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดการโต้เถียงเรื่องการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ อาจระบุว่าเป็นผู้นำตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ และมีโอกาสที่จะขยายไปสู่ตลาดใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยต้นทุนวัสดุที่เพิ่มขึ้น และความต้องการในผลิตภัณฑ์ที่คาดเดาไม่ได้ ก็อาจมีมากกว่าจุดแข็งที่มีอยู่ จึงจำเป็นที่จะต้องทบทวนการตัดสินใจอีกครั้งใน 6 เดือนข้างหน้า โดยหวังว่าต้นทุนวัสดุจะลดลง และความต้องการในตลาดจะชัดเจนมากขึ้น 


ทำไมธุรกิจควรมีการวิเคราะห์ SWOT 

การวิเคราะห์ SWOT นั้นทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นจริง อีกทั้งยังสามารถนำมาปรับใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภท จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ SWOT ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยข้อดีหรือประโยชน์ในการวิเคราะห์ SWOT มีอยู่มากมาย ได้แก่ 

  • สามารถใช้โอกาสจากจุดแข็ง (Strength) ขององค์กร
  • ได้เห็นจุดอ่อน (Weaknesses) ขององค์กร เพื่อที่จะแก้ไขหรือกำจัดออกได้
  • สามารถลงทุนในโอกาส (Opportunities) เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร
  • สามารถหลีกเลี่ยงหรือเตรียมพร้อมในการเผชิญกับอุปสรรค (Threats)
  • ได้ทำความเข้าใจกับองค์กรหรือธุรกิจ
  • สามารถพัฒนาแผนกลยุทธ์ทางการตลาดหรือธุรกิจ เพื่อให้สำเร็จได้ตามเป้าหมาย 

ข้อจำกัดของ SWOT Analysis 

  • ไม่ได้มีการเสนอวิธีการแก้ปัญหาใด ๆ 
  • แม้จะให้ข้อมูลได้เยอะ แต่เป็นเพียงข้อมูลเชิงปริมาณ ไม่ใช่ข้อมูลเชิงคุณภาพ 
  • แม้การใช้ SWOT Analysis จะทำให้ได้ไอเดียค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่สามารถจัดอันดับความสำคัญได้

 


กรณีศึกษา TOWS Matrix 

 

TOWS Matrix คือการนำจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) มาเปรียบเทียบกับ โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) การวิเคราะห์ TOWS Matrix กรณีศึกษาเพื่อดูว่าองค์กรจะเจอกับสถานการณ์เช่นไร และควรที่จะทำอย่างไรภายใต้สถานการณ์นั้น ๆ 

ซึ่ง TOWS Matrix จะประกอบไปด้วย 4 สถานการณ์ ได้แก่ SO (Strengths-Opportunities) ใช้จุดแข็งร่วมกับโอกาส , ST (Strengths-Threats) ใช้จุดแข็งรับมือกับอุปสรรค , WO (Weaknesses-Opportunities) ใช้โอกาสเพื่อลดจุดอ่อน , WT (Weaknesses-Threats) แก้ไขจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงอุปสรรค 

การวิเคราะห์ TOWS แตกต่างจาก SWOT อย่างไร 

กรณีศึกษา TOWS Matrix

การวิเคราะห์ TOWS นับเป็นเครื่องมือในการสร้างแผนกลยุทธ์ โดยจะใช้การยกตัวอย่างสถานการณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาประกอบกับการสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ ส่วนการวิเคราะห์ SWOT จะเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยทางธุรกิจ เพื่อหาจุดแข็ง กำจัดจุดอ่อน เสาะหาโอกาส และหลีกเลี่ยงอุปสรรค 


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ SWOT Analysis 

นอกจากนี้แล้ว หลาย ๆ คนอาจมีความสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ SWOT Analysis ดังนั้นเราจะมาไขข้อสงสัยกัน 

การวิเคราะห์ SWOT เป็นหน้าที่ของใคร? 

การวิเคราะห์ SWOT นั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนภายในองค์กร ในการร่วมกันกำหนดจุดแข็งจุดอ่อนขององค์กร โดยการนำความเห็นของลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือบริการมาร่วมวิเคราะห์ด้วย

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที