พระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน 3 กาล มีความสำัญอย่างยิ่ง อัน พุทธบริษัทควรสนใจพิจารณาเป็นพิเศษคือ ก ปฐมโพธิกาล ได้ทรงแสดงธรรมแก่พระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี เป็นครั้งแรก ปฐมเทศนานี้เรียกว่า ธรรมจักร เบื้องต้นทรงยกส่วนสุด สองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ ขึ้นแสดงว่า ภิกษุทั้งหลาย ส่วนที่สุด สองอย่างอันบรรชิตไม่พึงเสพคือ กามสุขัลลิกา และ อัตตกิลมถา อธิบายว่า กามสุขัลลิกาเป็นส่วนแห่งความรัก อัตตกิลมถาเป็นส่วนแห่งความชัง ทั้ง สองส่วนนี้เป็นตัวสมุทัย เมื่อผู้บำเพ็ญตบะธรรมทั้งหลายโดยอยู่ ซึ่งส่วนทั้งสองนี้ชื่อว่ายังไม่เข้าทางสายกลาง เพราะ เมื่อบำเพ็ญเพียรพยายามทำสมาธิ จิตสงบสบายเต็มที่ ก็ดีใจครั้นเมื่อจิตนึกคิดให้ฟุ้งซ่านรำคาญ ก็เสียใจ ความดีใจนั้นแลคือ กามสุขัลลิกา ความเสียใจนั้นแลคืออัตตกิลมถา ความดีใจก็เป็นราคะ ความเสียใจก็เป็นโทสะ ความไม่รู้เท่าในราคะ โทสะ ทั้งสองนี้เป็นโมหะ ฉะนั้นผู้ที่พยายามประกอบความเพียรในเบื้องแรกก็ต้องกระทบส่วนสุดทั้งสองนั้นแลก่อน ถ้าเมื่อกระทบสองส่วนนั้นถือว่าผิดอยู่แต่เป็นธรรมดาแท้ทีเดียว ต้องผิดก่อนจึงถูก แม้พระบรมศาสดาแต่ก่อนนั้นพระองค์ผิดมาเต็มที่เหมือนกัน แม้พระอัครสาวกทั้งสอง ก็ซ้ำเป็นมิจฉาทิฏฐิมาก่อนแล้วทั้งสิ้นแม้สาวกทั้งหลายเหล่าอื่นๆ ก็ล้วนแต่ผิดมาแล้วทั้งนั้นต่อเมื่อพระองค์มาดำเนินทางสายกลาง ทำจิตให้อยู่ภายใต้ร่มโพธิพฤกษ์ได้ญาณ สอง ใน สองยาม เบื้องต้นในราตรี ได้ ญาณที่ สาม กล่าวคือ อาสวักขยญาณในยามใกล้รุ่ง จึงได้ถูกทางกลางอันแท้จริง ทำจิตของพระองค์ให้พ้นจากความผิดกล่าวคือส่วน สอง นั้น พ้นจากสมมติโคตร สมมติชาติ สมมติวาส สมมติวงศ์ และสมมติประเพณี ถึงความเป็นอริยโคตร อริยชาติ อริยวาส อริยวงศ์ และอริยะประเพณี ส่วนอริยสาวกทั้งหลายนั้นเล่าก็มารู้ตามพระองค์ ทำให้ ถูกอาสวักขยญาณ พ้นจากความผิดตามพระองค์ไป ส่วนเราผู้ปฏิบัติในระยะแรกๆก็ต้องผิดเป็นธรรมดาแต่เมื่อผิดก็ต้องรู้เท่าแล้วทำให้ถูก เมื่อยังมีความรู้สึกดีใจเสียใจในการบำเพ็ญอยู่ ก็ตกอยู่ในโลกธรรม เมื่อตกอยู่ในโลกธรรม จึงเป็ฯผู้หวั่นไหวเพราะความดีใจและเสียใจ นั่นแหละเชื่อว่าหวั่นไหวไปมา อุปปันโน โข เม โลกธรรมจะเกิดที่ไหน เกิดที่เรา โลกธรรมมี แปด เครื่องแก้ก็มีแปด มรรค แปดเป็นเครื่องแก้โลกธรรม แปด ฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา แก้ส่วน สอง เมื่อแก้ส่วน สองได้แล้ว ก็เข้าสู่อริยมรรคตัดกระแสโลกทำใจให้เป็น จาโค ปฏินิสสัคโค มุตติ อนาลโย สละสลัดตัดขาดวางใจหายห่วง รวมความว่า เมื่อส่วน สอง ยังมีอยู่ในใจผู้ใดแล้วผู้นั้นยังไม่ถูกทาง เมื่อผู้มีใจพ้นจากสองส่วนแล้ว ก็ไม่หวั่นไหว หมดธุลีเกษมจากโอฆะจึงว่าเนื้อแห่งธรรมจักรสำคัญมาก พระองค์ทรงแสดงธรรมจักรนี้ ยังโลกธาตุให้หวั่นไหว จะไม่หวั่นไหวได้อย่างไร เพราะมีใจความสำคัญอย่างนี้ โลกธาตุก็มิใช่อะไรอื่น คือ ตัวเรานี้เอง ตัวเราก็คือธาตุของโลก หวั่นไหวเพราะเห็นในของที่ไม่เคยเห็น เพราะจิตพ้นจากส่วนสองธาตุของโลกจึงหวั่นไหว หวั่นไหวเพราะจะไม่มาก่อธาตุของโลกอีกเลย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที