ปิยเกียรติ

ผู้เขียน : ปิยเกียรติ

อัพเดท: 15 มิ.ย. 2023 19.14 น. บทความนี้มีผู้ชม: 233 ครั้ง

ในผู้ป่วยโรคเบาหวานกับการเกิดแผล เป็น อาการที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับกลูโคสในพลาสมาได้ จะมีการสะสมของไขมันและกูลโคสที่ไม่ถูกย่อยสลายไปจับกับหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งและหลอดเลือดตีบ ไปจนเกิดการอุดตันได้


การเกิดแผลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การเกิดแผลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โพสเมื่อ : 2023-06-15 | โดย : Marketing

พรีเซนเทชั่น (สร้างจาก Doc ของคุณ)1.png

การเกิดแผลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ในผู้ป่วยโรคเบาหวานกับการเกิดแผล เป็น อาการที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับกลูโคสในพลาสมาได้ จะมีการสะสมของไขมันและกูลโคสที่ไม่ถูกย่อยสลายไปจับกับหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งและหลอดเลือดตีบ ไปจนเกิดการอุดตันได้

ส่งผลให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ เกิดอาการชา ไร้ความรู้สึกที่ปลายมือปลายเท้า จากการทำงานของหลอดเลือดผิดปกติ สารอาหารไปเลี้ยงตามอวัยวะส่วนปลายไม่ได้ เกิดเนื้อเยื้อบาดเจ็บและกลายเป็นแผลขึ้นเองได้

อวัยวะส่วนปลายที่มักเกิดบาดแผลที่พบบ่อยที่สุด คือ เท้า (diabetic foot) ซึ่งเป็นส่วนที่มักเกิดปัญหาขาดเนื้อเยื่อ และหลอดเลือดไปหล่อเลี้ยงมากที่สุด นั้นเอง

วิธีสังเกต หากเกิดแผลเบาหวานด้วยตาเปล่าคือมี ของเหลว มีกลิ่นเหม็น เล็บหนาขึ้นแตกร่อน ผิวหนังบริเวณเท้า หรือนิ้วเท้ามีสีดำ คล้ำ ผิวหนังเท้า นิ้วเท้าอุ่น แดงกว่าปกติ หรือเท้าที่มีแผลจะเย็นกว่าข้างที่ไม่มีแผล เป็นต้น

ผู้ป่วยเบาหวานควรสังเกตด้วยตัวเองทุกวัน เนื่องจากอาการจากระบบประสาทที่ชา ไม่รู้สึกทำให้กว่าจะรู้ว่าเป็นแผล ก็อาจจะลุกลามเป็นแผลเรื้อรังใหญ่ จนต้องตัดเท้าเพื่อรักษาชีวิตจากการติดเชื้อเรื้อรัง

ป้องกันได้ ต้องใส่ใจ

ในเมื่อทราบแล้วว่าในผู้ป่วยโรคเบาหวานมักพบปัญหาแผลที่เท้าจนต้องตัดเท้า หากเราดูแลป้องกัน ไม่ให้เกิดแผลตั้งแต่แรก ปัญหานี้ก็จะพบน้อยลง สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำคือ

“การแช่น้ำร้อนต้องระวัง เพราะผู้ป่วยเบาหวานมีอาการชาที่ปลายมือปลายเท้ากว่าจะรู้ว่าร้อนไป ก็อาจเป็นแผลพุพองแล้ว”

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

วิธีที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมีเพียงวิธีเดียวคือการเจาะหาน้ำตาลในเลือด สำหรับคนปกติ แนะนำให้คนที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ควรเจาะเลือดทุกปี ถ้าหากปกติ ก็ให้เจาะทุก 3 ปี หากมีปัจจัยเสี่ยงก็ควรที่จะเจาะเร็วขึ้น และบ่อยขึ้น คนปกติจะมีค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ 80-100 mg%

การวินิจฉัยโรค โรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 mg% สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 100-126 mg% คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน จำเป็นต้องคุมอาหาร รักษาน้ำหนัก ออกกำลังกาย สำหรับปัสสาวะ ไม่แนะนำ เพราะเราจะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 mg% ซึ่งเป็นเบาหวานไปเรียบร้อยแล้ว

การตรวจเลือดสามารถตรวจได้หลายวิธี

  1. การวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย 8 ชม.(FPG) ซึ่งสะดวกและแม่นยำให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126 mg% สองครั้ง
  2. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส (OGTT) กรณีสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน แต่ระดับกลูโคสในพลาสมาก่อนรับประทานอาหารไม่ถึง 126 mg% ตรวจโดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่ม และหลังดื่ม 2 ชม.วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อ ชม.ที่ 2 ขึ้นไป มีระดับกลูโคสในพลาสมาตั้งแต่ 200 mg%ขึ้นไป หากอยู่ระหว่าง 140-199 mg% ถือว่าความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง และหากต่ำกว่า 140mg% ถือว่าปกติ
  3. การสุ่มวัดระดับกูลโคสในพลาสมา (RPG) โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 200mg% และมีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยมหา หากระดับกลูโคสในพลาสมามากกว่า 200 mg% จะต้องนัดมาเจาะน้ำตาลก่อนอาหาร หรือตรวจการวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส อาจจะใช้ตรวจในรายที่มีอาการเบาหวานมาก จำเป็นต้องรีบให้การรักษา ได้แก่ HbA1C
  4. การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคซัยเลต glycosylate albumin ไม่นิยมใช้ในการวินิจฉัยแต่นิยมใช้เพื่อประเมินผลการรักษา
  5. การหากลูโคสในปัสสาวะ ไม่นิยมเพราะความแม่นยำต่ำ และผิดพลาดได้ง่าย

การรักษาโรคเบาหวาน

จุดประสงค์ของการรักษาเบาหวาน คือการควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ จะทำให้เกิดผลดีหลายประการ

การรักษามักเริ่มด้วยการแนะนำเรื่องการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและการปฏิบัตตัว ถ้าคุมอาหารอย่างเดียวไม่ได้ผล อาจต้องให้ยารักษาร่วมด้วย

ในกรณีที่เป็นไม่มาก หรือชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อาจใช้ยาในการรักษาโดยปรับขนาดเพิ่ม/ลด ตามระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของผู้ป่วย

กรณีใช้ยาชนิดรับประทานไม่ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน หรือในกรณีที่ติดเชื้อรุนแรง ต้องผ่าตัดด้วยโรคอื่นๆ แล้วต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน จะปรับตามขนาดที่เหมาะสมของแต่ละคน

การติดตามผลการรักษา นอกจากการตรวจปัสสาวะแล้วควรนัดให้มาเจาะเลือดเป็นครั้งคราว ทุก 2-3 เดือน ถ้าต่ำกว่า 120mg% ถือว่าคุมได้ดี ระหว่าง 120-180mg% ถือว่าพอใช้ และถ้าเกิด 180mg%ถือว่าไม่ดี

เวลามี แผลเบาหวาน ทำยังไง

wound.jpg

เวลามีแผล ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นรอยขีดข่วน หรือรอยแผลอื่นๆ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ควรล้างทำความสะอาดด้วย น้ำเปล่าหรือน้ำสบู่ ซับให้แห้ง ทาด้วย เบตาดีนเจือจาง (Betadine solution) ปิดด้วยผ้าก๊อซสะอาด แล้วพันด้วยผ้าพันแผล หากมีสิ่งคัดหลั่งไหลออกจากแผล แม้จะรู้สึกไม่เจ็บก็ต้องไปพบแพทย์

อุปกรณ์ในการทำความสะอาดบาดแผล

ชุดทำแผลสำเร็จรูป ปกติหาซื้อได้ทั่วไป รวมถึงสารน้ำ Betadine และ NSS ล้างแผล ในชุดทำแผลปกติจะมีผ้าก๊อซสะอาดอยู่ในชุด แต่ผ้าพันแผลอาจต้องซื้อแยกเพิ่ม

ซื้ออุปกรณ์ทำความสะอาดแผลได้ที่ไหน

สามารถเลือกซื้อในเว็บไซค์ของ เมดิโปร ซัพพลาย mediprosupply เป็นเว็บไซค์จำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการจำหน่ายสินค้าหลากหลาย และสินค้าได้มาตรฐานทุกตัว เชื่อถือได้ และปลอดภัย 100 %

ชุดทำแผล ผ้าก๊อซขนาด 2x2 ผ้าก๊อซขนาด 3x3 ผ้าก๊อซขนาด 4x4 ผ้าพันแผล

อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับผ้าพันแผลเพิ่มเติม คลิกที่นี่

สรุป

การตรวจสุขภาพ และคัดกรองภาวะระดับกลูโคสในพลาสมา ควรทำอย่างเป็นประจำ โดยเฉพาะในกลุ่มครอบครัวที่มีกรรมพันธ์ุเป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารหวานเป็นประจำ การคัดกรองเบื้องต้นอย่างการเจาะน้ำตาลในปัจจุบันก็ทำได้ง่ายๆ แม้กระทั่งสามารถเจาะตรวจด้วยตัวเองที่บ้านได้

และหากถูกวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานแล้ว การควบคุมอาหาร การรับประทานยา ไปจนถึงการฉีดอินซูลินเป็นวิธีการเพื่อควบคุมระดับกลูโคสในพลาสมา ดังนั้นการทำความเข้าใจในโรคเบาหวานจะช่วยให้เราปรับตัวให้ใช้ชีวิตได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป และชะลอการเสื่อมของร่างกายจนถึงลดอาการต่างๆของโรคเบาหวานให้มีน้อยที่สุดได้

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที