วางแผนการเงินมีประโยชน์อย่างไร รูปแบบการวางแผนการเงินแบบใดเหมาะกับเรา จะเริ่มต้นวางแผนการเงินด้วยตัวเองได้อย่างไร ในบทความนี้มีคำตอบด้วย 9 วิธีวางแผนการเงินอย่างก้าวหน้า เพื่อความมั่นคงทางการเงินในอนาคต แม้จะเพิ่งเคยวางแผนการเงินครั้งแรกก็สามารถเรียนรู้ได้
สำหรับใครที่สนใจอยากเริ่มวางแผนการเงินหรือปรับเปลี่ยนการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถอ่านขั้นตอนการวางแผนการเงินให้สำเร็จขั้นตอนต่าง ๆ และหยิบยกวิธีวางแผนการเงินที่เหมาะกับตัวคุณไปใช้ได้เลย
การวางแผนการเงินมีความสำคัญอย่างมากต่อสถานภาพการเงินของเรา ไม่ว่าจะเป็นในปัจจุบันหรือในอนาคต โดยการวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้เราสามารถใช้จ่ายในปัจจุบันได้อย่างคล่องตัว แต่ยังมีเงินเหลือเก็บมากพอที่เราจะไม่ลำบากในอนาคต
โดยการวางแผนการเงินอาจประกอบไปด้วยหลากหลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการเงินโดยคำนึงในส่วนของรายรับ การวางแผนการเงินโดยพิจารณารายจ่าย การวางแผนการเงินโดยการเพิ่มเงินออม หรือการวางแผนการเงินโดยการนำเงินไปลงทุน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อภาพรวมของการวางแผนการเงินของคุณ ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะให้ความสำคัญกับส่วนใดมากกว่า
หลักการวางแผนทางการเงินที่ดีคือการรู้ก่อนว่าเราต้องการวางแผนการเงินไปเพื่ออะไร โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
โดยการวางแผนการเงินสำหรับองค์กรหรือการวางแผนการเงินเพื่อทำธุรกิจจะต้องดูที่ภาพรวมขนาดใหญ่ และต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มากกว่าวางแผนการเงินแบบส่วนบุคคล โดยอาจมุ่งเน้นไปที่การสร้างกำไรเป็นหลัก ในขณะที่การวางแผนการเงินส่วนบุคคล อาจขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแต่ละคน บางคนอาจวางแผนการเงินโดยมีเป้าหมายเป็นการมีเงินออม บางคนอาจวางแผนการเงินโดยมีเป้าหมายคือการนำไปลงทุนประกอบธุรกิจในอนาคตต่อไป
สำหรับใครที่กำลังมองหาการวางแผนการเงินอย่างง่าย ๆ เรามีขั้นตอนการวางแผนทางการเงิน 9 ขั้นตอนที่สามารถเลือกทำตามได้แม้จะเป็นมือใหม่เพิ่งหัดวางแผนการเงินเป็นครั้งแรก ประกอบไปด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนแรกในการวางแผนการเงินคือการกำหนดรูปแบบเสียก่อนว่าเราต้องการจะวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อตัวเราเอง หรือเราต้องการจะวางแผนการเงินเพื่อธุรกิจของเรา เนื่องจากขอบเขตการวางแผนการเงินจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบการวางแผนการเงินก็จะแตกต่างออกไปเช่นกัน หากกำหนดรูปแบบการวางแผนการเงินได้แล้ว จึงจะไปสู่ขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการเงินโดยกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการเงินเพื่อให้มีเงินเก็บ การวางแผนการเงินเพื่อนำไปลงทุนต่อ หรือการวางแผนการเงินเพื่อสร้างผลกำไร โดยในขั้นตอนนี้ควรจะระบุข้อมูลให้ละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นการระบุจำนวนเงิน ระบุว่าภายในช่วงเวลาใด เป็นเดือน เป็นไตรมาส หรือเป็นปี เนื่องจากการกำหนดเป้าหมายจะทำให้เรารู้ว่าควรจัดการกับรายรับรายจ่ายที่เหลือของเราอย่างไร จะต้องเข้มงวดระดับไหน จะต้องเพิ่มลดอะไรบ้างนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 3 ในการวางแผนการเงินคือการทบทวนรายจ่ายต่าง ๆ ว่ามีรายจ่ายส่วนใดที่เป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือมีรายจ่ายใดบ้างที่สามารถลดลงได้ โดยคำนึงถึงเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้อยู่เสมอ เมื่อสามารถลดค่าใช้จ่ายลงไปได้ ก็จะไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ทว่าหากมีรายจ่ายใดที่ไม่สามารถลดได้เลยก็ไม่ต้องกังวล เนื่องจากเรายังมีขั้นตอนอื่น ๆ ในการวางแผนการเงินที่จะช่วยให้คุณทำตามเป้าหมายได้อีก
ขั้นตอนที่ 4 ของการวางแผนการเงินคือการพิจารณาเพิ่มรายรับช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการหางานเสริมพิเศษ การค้าขายสินค้าหน้าร้าน การค้าขายสินค้าออนไลน์ การปล่อยห้องให้เช่า หรือบางคนอาจจะเปลี่ยนงานใหม่ที่ให้เงินตอบแทนเหมาะสมกับการทำงานมากกว่า เนื่องจากในบางครั้งที่เราไม่สามารถลดรายจ่ายได้อีกต่อไป การเพิ่มรายได้เข้ามาจะทำให้เรายังคงไปถึงเป้าหมายตามการวางแผนการเงินที่เราวางไว้ได้
นอกจากนี้หากเรามีการเพิ่มรายรับก็อาจทำให้เราไปถึงเป้าหมายตามการวางแผนการเงินของเราได้เร็วกว่าที่คาดคิดเอาไว้อีกด้วย จึงเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะสามารถเพิ่มรายรับด้วยวิธีการใดได้บ้าง
ขั้นตอนที่ 5 ในการวางแผนการเงินคือการแบ่งเงินเก็บให้ชัดเจน ในกรณีที่เป็นการวางแผนการเงินส่วนบุคคล เมื่อเราได้รับเงินมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนหรือเงินจากการทำงานเสริมต่าง ๆ ให้แบ่งออกมาเป็นส่วนของเงินเก็บทันที เพื่อให้เราไม่เผลอนำไปใช้ฟุ่มเฟือยกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ส่วนกรณีที่เป็นการวางแผนการเงินสำหรับธุรกิจอาจไม่ได้เป็นการแยกเงินเก็บ แต่แยกหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ชัดเจนเพื่อให้สามารถย้อนกลับมาดูรายละเอียดและปรับการวางแผนการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ต่อไป
ขั้นตอนที่ 6 ของการวางแผนการเงินคือการเปิดบัญชีเพื่อการออมเงินโดยเฉพาะ โดยนำเงินที่แบ่งเอาไว้แต่แรกมาเก็บในบัญชีนี้ เนื่องจากจะได้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีปกติ โดยอาจเปิดเป็นบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีประเภทอื่น ๆ ที่ได้ดอกเบี้ยสูง
ขั้นตอนที่ 7 ของการวางแผนการเงิน เมื่อมีการแบ่งเงินค่าใช้จ่ายกับเงินออมเรียบร้อยแล้ว เราสามารถเลือกได้ว่าจะเก็บเงินออมเอาไว้หรือนำเงินออมไปลงทุน โดยคุณควรพิจารณาและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนต่าง ๆ ให้ดีเสียก่อนจึงจะวางแผนการเงินว่าจะนำเงินไปลงทุนเท่าไหร่บ้าง จะแบ่งเป็นเงินออมเท่าไหร่บ้าง ซึ่งการลงทุนสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนกองทุน การลงทุนทำธุรกิจ หรือการลงทุนซื้อหุ้น
ขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการวางแผนการเงิน คือขั้นตอนที่ 8 การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เนื่องจากจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของการใช้เงินทั้งหมดของเรา ได้เห็นผลลัพธ์จากการวางแผนการเงินที่เราทำไป และจะนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุง และบรรลุจุดประสงค์ตามการวางแผนการเงินของเราได้ในที่สุด
ขั้นตอนสุดท้ายของการวางแผนการเงินคือการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 8 มาวิเคราะห์และปรับแผนการเงินของเราให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์มากยิ่งขึ้น
การวางแผนการเงินสำหรับคนในแต่ละช่วงวัยก็จะแตกต่างกันไป โดยตัวอย่างการวางแผนทางการเงินสำหรับวัยต่าง ๆ สามารถแบ่งได้เป็นดังต่อไปนี้
วางแผนการเงินโดยวางแผนการใช้เงินสำหรับนักเรียน นักศึกษา โดยอาจมุ่งเน้นไปที่เรื่องสร้างวินัยทางการเงิน ลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น และทำให้ตนเองมีเงินเก็บประมาณหนึ่งก่อน แต่อาจไม่ต้องเคร่งครัดหรือตั้งเป้าหมายที่ใหญ่มากจนเกินไป
วางแผนการเงินมนุษย์เงินเดือนจะแตกต่างจากการวางแผนการเงินสำหรับนักเรียนตรงที่มีความจริงจังขึ้น มีรายได้มากขึ้น อาจตั้งเป้าหมายเป็นเงินก้อนใหญ่ขึ้นหรือวางแผนการลงทุนต่าง ๆ เพื่อต่อยอดให้มีความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ไม่ได้เป็นการมองภาพรวมวางแผนการเงินในระยะใกล้ ๆ อีกต่อไป
วางแผนทางการเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณ คือการวางแผนการเงินที่มองภาพไปไกลยิ่งขึ้น ซึ่งอาจมีบางช่วงที่ทับซ้อนกับการวางแผนการเงินของมนุษย์เงินเดือนได้ แต่การวางแผนการเงินสำหรับวัยนี้จะคำนึงถึงรายจ่ายที่อาจเกิดขึ้น และพยายามเก็บเงินให้ได้ตรงตามเป้าหมาย เพื่อให้สามารถเกษียณได้ตรงตามที่ตั้งเป้าไว้นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการวางแผนการเงินไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อรู้ขั้นตอนต่าง ๆ แล้วการวางแผนการเงินมือใหม่ก็สามารถทำได้ เพียงแค่ต้องระบุจุดประสงค์ของการวางแผนการเงินของตัวเองให้ชัดเจน จากนั้นทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ไปเพื่อให้สามารถบรรลุจุดประสงค์เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการเริ่มวางแผนการเงินแรก ๆ อาจเริ่มจากการวางแผนการเงินระดับเล็ก ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ ก่อน เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับการวางแผนการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูล และการแก้ไขการวางแผนการเงินของตัวเองให้ดีขึ้นแล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มขอบเขตการวางแผนการเงินต่อไป
ทั้งนี้การวางแผนการเงินสำหรับแต่ละช่วงวัยก็จะแตกต่างกันไปบ้าง ตามจุดโฟกัสที่ต่างกัน เช่นวัยเรียนที่ยังมีรายรับไม่มาก ก็อาจวางแผนการเงินโดยเน้นการควบคุมเรื่องรายจ่ายเป็นหลัก ในขณะที่วัยทำงานจะวางแผนการเงินที่ใหญ่ขึ้น มีการเพิ่มรายได้ มีการลงทุนเพื่อให้มีรายรับมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณในอนาคต
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที