editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 23 เม.ย. 2010 08.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 70179 ครั้ง

บทสัมภาษณ์บุคคลพิเศษ
โดยทีมงาน tpa.or.th


สัมภาษณ์ผู้นำรุ่นใหม่ ผู้นำพลังงานทางเลือก มาใช้ในการพัฒนาประเทศไทย คุณภาณุ คีติสาร Managing Director, Prapai Technologies Co., Ltd.

Executive Interview

บทสัมภาษณ์

คุณภาณุ คีติสาร

Managing Director, Prapai Technologies Co., Ltd.

สัมภาษณ์ผู้นำรุ่นใหม่ ผู้นำพลังงานทางเลือก มาใช้ในการพัฒนาประเทศไทย

พระพาย เทคโนโลยี ก่อตั้งมา 2 ปีโดยที่เป็นบริษัทลูกแตกตัวมาจาก บริษัท โซลูชั่นเทคโนโลยี จำกัดซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำหน้าที่ทางด้านไฟฟ้าสื่อสาร ระบบสลับกระแสไฟฟ้า และระบบสำรองไฟฟ้า ซึ่งก่อตั้งมาประมาณ 9 ปี และได้จำหน่ายและพัฒนาระบบโซล่าเซลได้มาประมาณ 5 ปี จนมาวันหนึ่ง ก็มองเห็นว่า ลมเป็นโอกาสทางธุรกิจ จึงเริ่มตัดสินใจศึกษา และบวกกับได้ทำงานวิจัยร่วมกันกับทางคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี (คลอง6) ที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านพลังงานลม และกังหันลม จนได้ Product ที่เหมาะสมกับสภาพลมในประเทศไทยออกมา โดยประเทศไทยมีความเร็วลมค่อนข้างต่ำ กังหันลมจากยุโรป หรือจากต่างประเทศที่มีอากาศเย็น ซึ่งเอาเข้ามาใช้ในประเทศไทยดูแล้วจะไม่เหมาะสม ปีแรกของการตั้งบริษัท หมดไปกับการสร้างและพัฒนา Product และการเริ่มทำตลาด ในปีนี้บริษัทมีงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการสร้างอยู่ประมาณ 70 กว่าล้านบาท ที่ได้รับมาปี 2552

คุณภาณุ  คีติสาร Managing Director, Prapai  Technologies Co., Ltd.

ทีมงาน : วิสัยทัศน์ของท่านผู้บริหารทำไมถึงมาตั้งบริษัทเกี่ยวกับ Energy

คุณภาณุ โอกาสทางตลาด ก็คือ ย้อนกลับเมื่อทิศทางของตลาดมันเข้ากลุ่ม Green Energy ย้อนไปประมาณสัก 5 ปีที่แล้วซึ่งเราเองก็ได้เริ่มมาตั้งแต่ตอนนั้น แต่ที่จะเข้ามาตลาดนี้ ก็คือ โอกาสทางการตลาดที่บังเอิญทางเราได้รู้จักกับคนที่มีความรู้ และก็ได้มีโอกาสสัมผัสกับคนที่ความต้องการ

ทีมงาน : แต่เดิมไม่ได้อยู่ในวงการนี้มาเลยใช่ไหมครับ

เราไม่ได้อยู่ในวงการ wind มาก่อนwind มันก็ไม่ได้แตกต่างก็เป็นพลังงานทางเลือกอีกตัวหนึ่ง กลับไปดูวิสัยทัศน์ก่อนนะครับว่ามีโอกาสทางการตลาดและ เราเองก็มองว่ามีบุคลากร มี Product ที่เหมาะสม เราถึงกล้าที่จะทำแล้วก็ประกอบกับทีมงานมีความตั้งใจ และมันก็คือโอกาสทางธุรกิจอันที่หนึ่งก็คือสังคมตอบรับในเรื่องของพลังงานทางเลือก 2.บริษัทได้ทำธุรกิจที่ช่วยเหลือช่วยลดภาวะโลกร้อน

คุณภาณุ  คีติสาร Managing Director, Prapai  Technologies Co., Ltd.

ทีมงาน : ในการกำหนดเป้าหมายขององค์กรไม่ทราบว่าปัจจุบันเราตั้งมา 2 ปี เรามองว่าภายใน 5 ปีนี้ เป้าหมายที่เราจะไปถึง คือด้านไหนบ้าง

คุณภาณุ

  1. เราจะเปลี่ยน Low wind speed Wind Manufacture ที่มีชื่อเสียงในตลาดโลก
  2. เราจะทำให้ประเทศไทยมีกังหันลมอยู่ทั่วทุกที่ของประเทศ

ทีมงาน : กังหันมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

คุณภาณุ เรามีอยู่ 3 จำพวก

  1. มีรุ่นที่นำเข้ามาที่เราไม่ผลิตเพื่อไปทับแบบเขาแล้วเราก็เป็นตัวแทน Distributor
  2. เป็นรุ่นของเราก็จะเป็นรุ่นที่ชาร์ตแบตกับ อีกรุ่นคือต่อเข้า Gird ก็คือจ่ายเป็น 220 เข้าไฟบ้านเลย

ทีมงาน : การไฟฟ้ายอมให้ต่อเข้า Gird ได้โดยตรงเลยใช่ไหม

คุณภาณุ ยอมอยู่แล้วครับเพราะเราทำในบ้านแต่ถ้าเกิดเราจะทำเพื่อขายไฟต้องไปขออนุญาติก่อน

ทีมงาน : คือไม่ได้กลัวว่าช๊อต สมมุติว่าถ้าเกิดช๊อตถ้ามองในแง่ของคนที่ไม่ได้ไฟฟ้าแล้วไปทำระบบใหญ่มันพังอันนี้จะมีปัญหาไหม

คุณภาณุ ศักย์ของไฟฟ้าของเราไม่ได้เพียงพอที่ไปทำให้ระบบใหญ่พัง มันแค่ 5 กิโลวัตต์ คือมันจะมีอุปกรณ์ที่เราจะเอาต่อเชื่อมกับการไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว

คุณภาณุ  คีติสาร Managing Director, Prapai  Technologies Co., Ltd.

ทีมงาน : ตรงนี้ในโบชัวร์เราสามารถดูประเภทของสินค้าได้ใช่ไหมครับ

คุณภาณุ ครับดูในเว็บไซต์ได้เลย

ทีมงาน :แล้วมีแบบที่ 3 คืออะไร

คุณภาณุ คือรุ่นต่อเข้า Grid ครับ

ทีมงาน :ตอนนี้ขนาดใหญ่ที่สุดคือ 5 กิโลวัตต์ใช่ไหมครับ

คุณภาณุ 6 กิโลวัตต์ รุ่นใหญ่กว่านั้นอีกสักครึ่งปีคงจะออกมา 50 กิโลวัตต์

ทีมงาน :ตอนนี้คิดว่าเรามีจุดแข็งอะไรตั้งมา 2 ปีที่คิดว่าคนอื่นไม่อาจจะตามเราทัน

คุณภาณุ

  1. เรามี Engineering เรารู้เรื่องกังหันลมค่อนข้างสูงซึ่งศาสตร์ด้านนี้เดิมทีคิดว่าง่ายแต่ไม่ง่าย
  2. มีความรู้เรื่อง airrow dynamic เรื่องของการออกแบบของ windmill เราค่อนข้างที่จะดี
ถามว่าเราแข่งกับเมืองนอกแล้วเป็นยังไง หนนี้เราไม่ได้ไปแข่งในรุ่นใหญ่เราก็ตอบไม่ได้ เราแข่งกับจีนดีไหมเราแข่งได้ในเรื่องของการตอบรับจากลูกค้า พอดีเราไม่เคยแข่งกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย

ทีมงาน :คิดว่าส่วนแบ่งทางการตลาดในเรื่องกังหันลม ทางบริษัทได้กี่ % ของตลาด

คุณภาณุ 1% เพราะว่าจริง ๆ เราขายไปวันนี้เราขายได้ 40 กว่าต้น ต้นละ 5 กิโลวัตต์ รวม 200 กิโลวัตต์ ในตลาดตอนนี้มีอยู่ประมาณ 4 เมกกะวัตต์ ถ้ารุ่นเดียวกัน 100%

ทีมงาน :Market share

คุณภาณุ ถ้านับระนาบเดียวกันรุ่นเดียวกันเราน่าจะอยู่ประมาณ 80% ที่เหลือเป็นจีน กังหันลมของบริษัทเราต้องเป็น 1 ในการผลิตของโลก พูดง่าย ๆ คือ ประเทศใดที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร บวก ลบ ขึ้นมาไม่เกินประเทศไทยเหมาะกับกังหันลมของเรา

คุณภาณุ  คีติสาร Managing Director, Prapai  Technologies Co., Ltd.

ทีมงาน : ถ้าต่ำกว่าเส้นศูนย์สูตร ลงมาจะเป็นอย่างไร

คุณภาณุ ไม่สามารถตอบได้เพราะ พริบตาเดียวก็ไม่ทราบว่าเป็นเท่าไหร่ ๆ แต่ที่มั่นใจได้ว่า ให้กำหนดประเทศไทยจะเป็นจุดศูนย์สูตร รอบโลก เส้นศูนย์สุดเหมือนกันหมด เพราะว่า จากที่เราค้นหาข้อมูล ไม่ใช่เราพูดตรงนี้ไม่มีดำเนินเรื่อง ไม่มีพื้นฐานข้อมูล เราก็ดูคู่แข่ง ดูตลอดเวลา มอนิเตอร์ตลอดเวลา ก็ยังไม่มีใครที่สามารถทำ สเป็คที่เป็น low wind ที่ใกล้เคียงกับเรา เราสามารถควบคุมนี้ได้ ต้นทุน low wind ของบริษัทจะแพงกว่าชาวบ้านกว่า 30 % เนื่องจากเราจำเป็นจะต้องใช้ intelligent controller ซึ่งรองรับสภาวะ ลมที่ low และ turbulence และเป็น hybrid ได้

ทีมงาน : พอดีว่าผมเคยไป เดนมาร์ค เห็นกังหันลมใหญ่ ๆ ในทะเลเรียงเป็นตับเลยเหมือนเป็นความสูงใช้หรือไม่

คุณภาณุ ไม่ครับต้องเรียกว่าเป็น ความเร็วลมเฉลี่ยที่อยู่ระดับ 13 เมตรต่อวินาที ขณะที่ของประเทศไทยอยู่ระดับที่ 4-6 เมตร ซึ่งมีอยู่ที่ที่ดีที่สุดตอนนี้คือ หัวไทรและ จ.ปัตตานี อยู่ 6-7 เมตรต่อวินาที

ทีมงาน : แล้วสำหรับที่ ภูเก็ต ละครับ

คุณภาณุ จ.ภูเก็ต นั่นเป็นงานทดลอง ตั้งจริงก็หมุนน้อย ถ้าไปดูจริง ๆ คือกังหันไม่หมุน แม้กระทั่งที่ตั้งปัจจุบัน 2 ต้น ก็ไม่หมุน หมุนเพียงแค่ 10 % เท่านั้น

ทีมงาน : 10% หมายความว่าอย่างไร

คุณภาณุ หมายความว่า ไม่เหมาะสมที่จะนำ high wind machine มาตั้งในประเทศไทย
ถามว่าทำไมยังคงการลงทุนในภาครัฐถึงต้องสร้างกังหันลมใหญ่ ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่คุ้มทุนก็เนื่องจากเพื่อให้มันเกิดกับความกระแสตามที่ได้ เพื่อให้เกิดเป็นการศึกษา ซึ่งให้คนมองดูว่า เรามีศักยภาพที่ดี แต่ความเป็นจริงแล้ว ถ้าไปขอเช็คจริง ๆ แล้วจะบอกได้เลยว่า ไม่เวิร์ค ไม่เหมาะสมกับประเทศไทย แต่กลับจะส่งเสริมให้ซื้อกังหันที่เป็น low wind speed แล้วนำมาพัฒนาให้เหมาะสมกับประเทศไทย

ทีมงาน : ตอนนี้นอกจากพลังงานทางเลือกอื่นนอกจากลมแล้วทางบริษัทศึกษาเรื่องอะไรไว้บ้าง

คุณภาณุ ไบโอดีเซล

ทีมงาน : ตอนนี้ทำหรือยังครับ

คุณภาณุ ทำอยู่ครับตอนนี้กำลังหาเงินในการลงทุน

คุณภาณุ  คีติสาร Managing Director, Prapai  Technologies Co., Ltd.

ทีมงาน : ในส่วนของโซล่าเซลที่เป็นตัวตั้งต้นของบริษัทยังทำอยู่หรือไม่ครับ

คุณภาณุ ยังทำอยู่ครับ เรายังไม่สามารถผลิตแผงโซล่าเซลได้ เราต้องรับซื้อแผง และติดตั้งให้กับลูกค้าตามเกาะ ตามต่างจังหวัด ที่ห่างไกลชุมชน

ทีมงาน : ถ้ามองระหว่าง โซล่าเซล กับ Wind technology แล้วมองว่าส่วนไหนดี

คุณภาณุ โซล่าเซล มีข้อจำกัดสำหรับลูกค้าบางประเภทที่ต้องใช้ไฟฟ้า ไม่อยากใช้ Generator ก็จะมีปัญหาเรื่องพลังงานไม่พอ พื้นที่ติดตั้งมีที่จำกัดมันก็เลยเกิดโปรเจคผสมผสานขึ้นเป็น wind + โซล่า แต่ถ้าเป็น wind technology ถ้าทำขนาดที่ใหญ่เกินก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ อะไร ส่วนลมถ้าไปตั้งกังหันลมในที่อับลม มันก็เป็นอนุเสาวรีย์เราดีๆ นี่เอง

ทีมงาน : ที่บอกว่าตอนนี้เราผลิตโซล่าไม่ได้คำว่าเราคือบริษัทไม่ใช่ประเทศไทยใช่ไหมครับ

คุณภาณุ ถ้าผมพูดง่าย ๆ เรียกว่าประเทศไทยผลิตไม่ได้ ตรงนี้ประเทศไทยผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ไม่ได้ เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตจากประเทศที่มีพลังงานเหลือเฟือ เพราะเครื่องจักรที่จะใช้ผลิตเซลล์ลงทุนเป็นพันล้านตามที่คุยกัน ณ วันนี้มันไม่คุ้ม ส่วนใหญ่บ้านเราผลิตแผงโซล่าเซลล์แต่ไม่ได้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ วันนี้ถ้าพูดถึงระดับคู่แข่งที่สเปคเท่าเราในวันนี้ไม่มี แต่เรามองมุมมองว่าอยากให้มันใหญ่ขึ้นไปอีกนิดนึงเพื่อให้เทียบต่อวันต้นทุน Cost จะได้ถูกลงจะทำให้เกิดกระแสการใช้งานมากขึ้น เราก็จะมองเป็นตัว10k 20k หรือ 50k แล้วเราจะดูว่าสูงสุดจริง ๆ ที่เราจะทำได้เท่าไหร่ เราก็ต้องพูดถึงทางด้านวิศวกรรม ด้านengineering ด้วยว่าถ้าเราพัฒนาตัวใหญ่แต่ลมบ้านเรามันไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ ซึ่งไม่จำเป็นที่เราจะต้องวิจัยตัวนั้นเพราะว่าวันนี้ทางเราก็จะตั้ง wind farm ของเราเอง เพื่อที่จะเป็น Showroom แล้วก็โชว์ของเราด้วย ซึ่งเราก็ไปดูทิศทางเป็นต้น ซึ่งไม่เกิน 50 กิโลวัตต์ ซึ่งเมื่อเราโชว์ว่าเราทำได้จริงแล้วนั้นคือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งตลาดที่เราจะเกิดขึ้น แต่วันนี้เราเหนื่อยในเรื่องของการจะพูดยังไงให้คนเข้าใจว่ากังหันลมที่เหมาะสมบ้านเรามันไม่ใช่กังหันที่นำเข้า มันก็จะมีคำถามว่าทำไมพวกนี้เขาไม่ผลิต low wind เพื่อจะมาขายบ้านเรา เพราะว่ากลุ่มของ low wind ถ้าเราผลิต Controller ทั้ง Design ต้องฉลาดเอาพลังงานไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพนี่คือความยากของมัน แล้วเราจะดีไซน์ใบได้อย่างไรที่ให้เบาแต่ต้องแข็งแรงถ้าเราดีไซน์ใบเบามันจะไม่แข็งแรงควบคู่กันหรือเปล่าตามความเป็นจริง แต่เราจะทำอย่างไรให้เบาเพราะเราต้องใช้ลมแค่นิดเดียวให้ใบมันเคลื่อนได้ นี่คือความยากของเรา เรามีการทดสอบและพัฒนา


ประวัติและความเป็นมา (See more from web site ….www.prapai.com)

พระพาย เทคโนโลยี มุ่งมั่นในการคิดค้นและพัฒนาเพื่อนำพลังงานลมมาประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ กังหันลมผลิตไฟฟ้าความเร็วลมต่ำ ของพระพาย เทคโนโลยี ที่ได้ถูกคิดค้นและออกแบบเพื่อให้สามารถทำงานที่ความเร็วลมต่ำ 3-4 เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นระดับความเร็วลมเฉลี่ยในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า สูงสุด

พลังงานลมเป็นพลังงาน หมุนเวียนชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยอ้อม กล่าวคือพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบในภาคตัดขวางของโลกประมาณ 178,000 ล้านล้านวัตต์ มีเพียง 0.2% เท่านั้นที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของอากาศที่เรียกว่าพลังงานลม และส่วนนี้ก็ยังเป็นผลให้เกิดคลื่นในมหาสมุทรอีกด้วย โดยลมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของคนเรานั้นคือ ลมระดับพื้นผิว ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทตามเหตุที่เกิดและบริเวณที่เกิด คือลมประจำปี ลมประจำฤดู และลมประจำถิ่น