วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 16 ก.ย. 2023 12.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 252 ครั้ง

คีโม คืออะไร มีวิธีการให้คีโมอย่างไรบ้าง หลังจากการให้คี โมเสร็จแล้ว เราจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง เราไปดูกัน


คีโม (ยาเคมีบำบัด) หนึ่งในทางเลือกของการรักษาโรคมะเร็ง

คีโม

หลาย ๆ คน เมื่อนึกถึงโรคมะเร็ง ก็จะนึกถึงคำว่า “คีโม” เป็นคำต่อมา แล้วก็เพียงว่า คีโม คือ การรักษารูปแบบหนึ่งของโรคมะเร็ง แต่คีโมมีลักษณะเป็นอย่างไร ต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้าง มีกระบวนการในการรักษาอย่างไร น้อยคนนักที่จะทราบและเข้าใจ โดยบทความนี้ จะพาทุกคนไปรู้จักว่า คีโม คืออะไร มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร จะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานหรือไม่ เพื่อให้เรารู้และเข้าใจการทำคีโมกันมากขึ้น

คีโม คืออะไร ช่วยได้อย่างไร

ยาเคมีบำบัด หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า คีโมเทอราปี (Chemotherapy) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “คีโม” โดยคีโม คือ สารเคมีหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ ต้านหรือทำลายเซลล์มะเร็ง ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งในระยะต่าง ๆ โดยตรง และอาจจะส่งผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติของร่างกายได้ด้วย

การให้คี โมหรือยาเคมีบำบัดนี้ สามารถแบ่งออกเป็นได้หลายชนิด ได้แก่

  1. ยาชนิดรับประทาน (Oral Chemotherapy) เป็นลักษณะของยาเม็ด แคปซูล และยาน้ำ
  2. การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous : IV)
  3. การฉีดยาเข้าหลอดเลือดแดง (Intra-arterial : IA) เป็นการให้ยาโดยผ่านหลอดเลือดแดง 
  4. การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) บริเวณสะโพก หรือต้นแขน
  5. การฉีดยาเข้าทางช่องท้อง (Intraperitoneal : IP)
  6. การฉีดยาเข้าทางไขสันหลัง (Intrathecal) โดยการฉีดยาเข้าสู่บริเวณช่องว่างระหว่างชั้นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง
  7. ยาทาที่ผิวหนัง (Topical) เป็นลักษณะรูปแบบครีม

ซึ่งยาเคมีบำบัด หรือ คีโมนี้ นำมาใช้ในการรักษามะเร็ง เพื่อขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของวงจรชีวิตเซลล์ ทำให้เซลล์มะเร็งตาย โดยผู้ป่วยบางคนก็สามารถรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างเดียว แต่บางรายก็อาจจะต้องรับการรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย

สาเหตุที่ต้องทำคีโม

คีโม คือ

การให้คี โม คือ หนึ่งในแนวทางการรักษาโรคมะเร็ง เพราะโรคมะเร็งนั้น มีความหลากหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดโลหิต มะเร็งเต้านม มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งลูกอัณฑะ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด เป็นต้น ดังนั้น มะเร็งในแต่ละส่วนจึงต้องมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน โดยมะเร็งบางประเภทสามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดหรือคีโมเพียงอย่างเดียว เช่น มะเร็งลูกอัณฑะ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดโลหิต เป็นต้น

แต่สำหรับโรคมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ ปอด และมะเร็งอื่น ๆ ที่มีการผ่าตัด ก็อาจจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยคีโมเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มโอกาสให้หายขาด อีกทั้งยังเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังเล็ดลอดจากการผ่าตัดอีกด้วย หรือแม้แต่ในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ ก็อาจจะมีการให้คี โมก่อนการผ่าตัด เพื่อช่วยลดขนาดของก้อนมะเร็งลงก่อน จนสามารถผ่าตัดได้ง่ายขึ้น

แต่ทั้งนี้ โรคมะเร็งบางประเภทก็จะใช้การฉายรังสีเป็นหลัก เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งโพรงหลังจมูก เป็นต้น แต่อาจจะให้คีโมเสริมเข้าไปด้วย เพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้น นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของโรคมะเร็งไปมากแล้ว จะมีการให้คี โมเพื่อควบคุมไม่ให้โรคลุกลาม ให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้น อาการจากโรคลดลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำคีโม

สำหรับวิธีการให้คีโมหรือขั้นตอนการให้คีโมของแต่ละคน จะเริ่มจาก

  1. แพทย์จะทำการสอบถามประวัติผู้ป่วย โดยมีการตรวจปัสสาวะ การทำงานของตับ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง โดยยาเคมีบางชนิดจำเป็นต้องตรวจการทำงานของหัวใจก่อนให้ยาด้วยเช่นกัน รวมถึงการตรวจภาพรังสี เพื่อดูระยะของโรคมะเร็งก่อนให้ยา เพื่อใช้ประเมินผลการรักษาก่อน-หลังให้ยาคีโม
  2. แพทย์จะแจ้งผลการตรวจและร่วมวางแผนการรักษากับผู้ป่วย รวมถึงแจ้งผลดี ผลเสีย และผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยมีการตัดสินใจในการเลือกใช้คีโมร่วมกัน แต่ในส่วนของปริมาณการใช้ยา วิธีการให้ยา ความถี่ในการให้ยา และระยะเวลาในการให้คี โมจะอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

การปฏิบัติตัวเมื่อทำคีโม

วิธีการให้คีโม

แนวทางในการปฏิบัติตัว เมื่อทำคีโมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราควรจะต้องดูแลตัวเองให้ดี โดยปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้

  1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  2. เฝ้าสังเกตอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น แล้วแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนวันนัดทำคีโม
  3. คอยสังเกตผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ว่า มีความรู้สึกปวด บวม แดง หรือสงสัยมียารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด จะต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที
  4. ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยขับสารเคมีที่อาจตกค้างในร่างกายออกทางปัสสาวะ
  5. ควรพักผ่อนร่างกายให้มีเวลาพักฟื้น ก่อนที่จะกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ

กินอย่างไรเมื่ออยู่ระหว่างการทำคีโม

ในระหว่างที่ทำคีโม เราควรจะต้องระมัดระวังในหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและอาจจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ ดังนี้

ระยะเวลาในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

ระยะเวลาในการรักษาด้วยคีโมขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่

การรักษาคีโมจะมีลักษณะเป็นรอบ หรือเป็นชุดตามช่วงระยะ เช่น การให้คี โม ประมาณ 1 - 5 วัน คือ 1 ชุด แต่ละชุดห่างกัน 3 - 4 สัปดาห์ โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับคีโมเฉลี่ยที่ 6 - 8 ชุด ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของแพทย์และปัจจัยต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวไป โดยผู้ป่วยควรมารับยาตามนัดทุกครั้ง เพื่อผลการรักษาที่ดี

ยาเคมีบำบัด (คีโม) มีผลข้างเคียงไหม

การให้คีโม

ยาเคมีบำบัดหรือคีโมนั้น มีผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ตามชนิดของสูตรยาเคมีบำบัด ขนาดของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ วิธีการให้ยาเคมีบำบัด การใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน ยาเคมีบำบัดที่ได้รับ สภาพร่างกายของผู้ป่วย และความพร้อมทางด้านจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบัน มีการผลิตคีโมที่ทำให้มีผลข้างเคียงบางอย่างลดน้อยลง โดยปกติแล้ว คีโมจะมีผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้

ทั้งนี้ ผลข้างเคียงดังกล่าว เกิดจากการทำคีโมเพียงชั่วคราว หรือในบางรายก็อาจจะไม่เกิดผลข้างเคียงเลยก็เป็นได้ แล้วเมื่อหมดฤทธิ์ยา อาการต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยผลข้างเคียงดังกล่าว เป็นผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ และมีโอกาสเกิดขึ้นโดยทั่วไป แต่ก็มีผลข้างเคียงอีกบางประการที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็พบได้น้อยมาก คือ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที