Smart Hospital โรงพยาบาลอัจฉริยะ ที่จะเข้ามาช่วยระบบสาธารสุข หรือระบบต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลให้มีคุณภาพ และรวดเร็วมากขึ้น
ระบบสาธารณสุขในโรงพยาบาลปัจจุบัน อาจมีความล่าช้าในแต่ละที่ เนื่องจากจำนวนประชากรที่เข้ามาใช้บริการนั้น มีจำนวนเยอะ จึงทำให้การจัดการระบบต่าง ๆ เกิดความผิดพลาด หรือการจัดระบบที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ทุกอย่างดูล่าช้าไปหมด Smart Hospital ระบบโรงพยาบาลอัจฉริยะ จะเข้ามาช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนให้ลดลง มีความรวดเร็วมากขึ้น มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถที่จะรองรับจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการได้เยอะมากขึ้น เป็นต้น
สำหรับวันนี้เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับ Smart Hospital คืออะไร สามารถที่จะช่วยเหลือระบบสาธารณสุขของโรงพยาบาลได้อย่างไร พร้อมตัวอย่างของโครงการ Smart Hospital ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
Smart Hospital หรือระบบโรงพยาบาลอัจฉริยะ คือ ระบบที่จะเข้ามาปรับปรุง และพัฒนาการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล โดยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ มีจุดประสงค์ในการเน้นช่วยเหลือในเรื่องของกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน ไม่มีประสิทธิภาพ โดยการลดกระบวนการที่ซับซ้อนลงให้ได้มากที่สุด พร้อมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น
นโยบาย Smart Hospital มาจากกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้กำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือระบบโรงพยาบาลต่าง ๆ เช่น ระบบจัดการคิว ระบบลงทะเบียน ระบบยืนยันตัวตนก่อนการรักษา และระบบต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถที่จะรองรับผู้เข้าใช้บริการในจำนวนมากได้
สำหรับการจัดการระบบต่าง ๆ ของโรงพยาบาลด้วยการใช้Smart Hospital จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบต่าง ๆ ให้ดีขึ้น มีความรวดเร็ว สามารถที่จะรองรับผู้ที่เข้ามาใช้บริการจำนวนมากได้ นับว่าเป็นระบบที่เข้ามาช่วยเหลือปัญหาในโรงพยาบาล ที่ยังคงมีให้เห็นกันในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดย Smart Hospital มีข้อดีดังต่อไปนี้
ตัวชี้วัดของ Smart Hospital ที่จะช่วยบริหารระบบต่าง ๆ ในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขั้นตอนต่าง ๆ ที่ซับซ้อนลง เพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้เข้าใช้บริการ โดยมีตัวชี้วัดต่าง ๆ ดังนี้
ตัวชี้วัดของ Smart Hospital ได้แก่ Smart Place/Infrastructure คือ การผ่านเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลที่เรียกได้ว่าเป็น Green and Clean & Digital Look โดยโรงพยาบาลต้องมีการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม มีการจัดการ และป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงการตกแต่งสถานที่ให้ดูสวยงาม และมีความทันสมัยมากขึ้น
ตัวชี้วัดของ Smart Hospital ได้แก่ Smart Tools คือ การจัดการระบบต่าง ๆ ของโรงพยาบาลโดยการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ความสะดวก และความถูกต้องแม่นยำเพิ่มมากขึ้น เช่น ระบบจัดการคิว ระบบการลงทะเบียน ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อความรวดเร็วและลดความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดพลาดได้
Smart Service คือ การจัดการด้านบริการต่าง ๆ ในโรงพยาบาล เช่น การจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EMR : Electronic Medical Records) , การใช้ใบสั่งยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ , การลดระยะเวลารอคอยรับบริการ โดยการจัดกลุ่มผู้รับบริการให้ไม่เกิดการเหลื่อมเวลากัน หรือการจัดกลุ่มผู้รับบริการให้มีเวลาที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ตัวชี้วัดของ Smart Hospital ได้แก่ Smart Outcome คือการนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้เพื่อตอบสนองต่อการบริหารจัดการระบบสารสนเทศให้ได้อย่างรวดเร็ว การจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ การจัดการระบบทรัพยากรภายในโรงพยาบาล เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด Smart Hospital คือ การจัดการของโรงพยาบาลที่มี Unit Cost ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สามารถนำไปเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นได้ การป้องกันความเสี่ยงที่ดีในทุก ๆ ด้าน รวมถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพลังงานอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างของโครงการ Smart Hospital จากทางกระทรวงสาธารณสุขที่ได้มีการนำมาใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่
โครงการ Smart Hospital จากทางโรงพยาบาลศิริราช โดยการนำเอาเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และคลาวด์ AI มาพัฒนาการบริการให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วยิ่งขึ้น สร้างประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ป่วย อีกทั้งยังเป็นต้นแบบ Smart Hospitalให้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ ในประเทศอีกด้วย
โครงการพัฒนา Digital Transformation เป็นโครงการที่จะช่วยปรับเปลี่ยนกระบวนการต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล โดยการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลเข้ามาช่วย ร่วมกับระบบสารสนเทศแบบเดิม ลดภาระ หรือการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนของบุคลากรให้ลดลง เพิ่มความรวดเร็วและความปลอดภัยให้กับผู้เข้าใช้บริการ
ปัญหาของระบบโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่สร้างความล่าช้า และประสิทธิภาพที่ลดลง จากการที่มีจำนวนผู้เข้าใช้บริการที่มากขึ้น จนทำให้ระบบเกิดความผิดพลาด ส่งผลให้การบริการล่าช้า Smart Hospital ระบบจากกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้ามาช่วยเหลือระบบต่าง ๆ ของทางโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ช่วยให้การบริการต่าง ๆ เข้าถึงผู้ป่วยได้อย่างทันถ่วงที ทันสมัย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยการทำ Smart Hospital สามารถเลือกใช้บริการได้กับบริษัท NT National Telecom ที่พร้อมให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบ Smart Hospital โดยนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาพัฒนาระบบในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถรองรับผู้เข้าใช้บริการจำนวนมากได้
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที