วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 08 พ.ค. 2024 04.01 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1949 ครั้ง

เรื่องเกี่ยวสุขภาพ โรคต่างๆ และการรักษา


ยาเบาหวาน แนวทางการใช้ยารักษาเบาหวานให้เหมาะสมกับร่างกาย

ยาเบาหวานเป็นยาที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีทั้งยาเบาหวานแบบฉีดและแบบรับประทาน ซึ่งมีเงื่อนไขการใช้ยาเบาหวานที่แตกต่างกัน

ยาเบาหวาน

ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวนมาก ซึ่งมีการใช้ยาเบาหวานกันอย่างแพร่หลาย เช่น การฉีดอินซูลิน, ยา Metformin และ สมุนไพรแก้เบาหวาน โดยโรคนี้เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ หรือการที่อินซูลินบกพร่องทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ให้เกิดเป็นพลังงาน จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นสาเหตุให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติและเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย การใช้ยาเบาหวานจึงนับเป็นตัวช่วยที่สำคัญมาก

ประเภทของยาเบาหวาน

การใช้ยาเบาหวานเพื่อคุมระดับน้ำตาลในเลือด สามารถทำได้ 2 แบบ คือ 

ยาเบาหวานแบบรับประทาน

ยาเบาหวานแบบรับประทาน ใช้เพื่อคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีทั้งแบบทานก่อนอาหาร และหลังอาหาร โดยยาก่อนอาหารจะช่วยให้ร่างกายพร้อมดึงพลังงานจากแป้งและน้ำตาลออกมา ซึ่งจะกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหลังจากรับประทานอาหาร ปกติจะให้ทานยาเบาหวานก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง 

สำหรับสิ่งที่ต้องระวังในการทานยาเบาหวานก่อนอาหารคือ ต้องทานอาหารหลังทานยาเสมอ เพราะฮอร์โมนอินซูลินที่ได้รับการกระตุ้นให้หลั่งออกมา จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้

ยาเบาหวานแบบฉีด

สำหรับยาเบาหวานแบบฉีดจะมีหลายชนิด เช่น อินซูลิน ยากลุ่ม GLP-1 analogue โดยจะทำการฉีดอินซูลินเข้าใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง หรือช่วงบริเวณต้นขา วันละ 1-4 ครั้ง ก่อนอาหารประมาณ 30 นาที หรือก่อนนอน ควรฉีดในบริเวณเดียวกันแต่เปลี่ยนตำแหน่งแทงเข็ม เข่น เมื่อฉีดบริเวณหน้าท้องให้เปลี่ยนจุดแทงเข็มโดยให้อยู่ในบริเวณเดิม ควรเก็บอินซูลินที่ยังไม่ได้เปิดใช้ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา แล้วค่อยนำออกมาเมื่อจะใช้ โดยคลึงระหว่างฝ่ามือเพื่อปรับอุณหภูมิของอินซูลินให้เท่ากับร่างกายก่อนนำไปใช้ 

เพราะฉะนั้น หากไปรับยาฉีดอินซูลินที่โรงพยาบาล ต้องใส่น้ำแข็งระหว่างเดินทางด้วย เพราะยาเบาหวานตัวนี้หากโดนความร้อนจะเสื่อมสภาพและใช้งานไม่ได้ เมื่อมีการเปิดใช้ยาแล้วสามารถวางไว้นอกตู้เย็นได้หากอากาศไม่ร้อน และต้องใช้ให้หมดภายใน 30 วัน 

อาจกล่าวได้ว่าข้อดีของการฉีดอินซูลิน คือ สามารถนำมาใช้ได้ตลอดเมื่อพบว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และอาจมีข้อบ่งชี้เฉพาะ คือ การตั้งครรภ์ โรคตับ โรคไต การผ่าตัด การติดเชื้อรุนแรง ภาวะกรดคั่งจากคีโตน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง และผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จากการคุมอาหาร และยาเบาหวานชนิดเม็ดที่ช่วยลดระดับน้ำตาล โดยยาเบาหวานผลข้างเคียง คือ ภาวะน้ำตาลต่ำ น้ำหนักเพิ่ม 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาเบาหวาน

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีการแนะนำการใช้ยา คือ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเบาหวาน

ยาเบาหวาน ผลข้างเคียง

อาการข้างเคียงของยาเบาหวานที่ออกฤทธิ์ต้านการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ ยากลุ่มไบกัวไนด์ (Biguanides) เช่น ยา Metformin

อาการข้างเคียงของยาเบาหวานที่ออกฤทธิ์ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) เช่น อะซีโตเฮกซาไมด์ Acetohexamide, คลอร์โพรพาไมด์ Chlorpropamide, โทลาซาไมด์ Tolazamide, ไกลเมพิไรด์ Glimepiride, ยาเบาหวาน Glipizide, ไกลเบนคลาไมด์ Glibenclamide หรืออีกชื่อคือ ไกลบูไรด์ Glyburide

ยาเบาหวานผลข้างเคียงที่ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตในลำไส้ ได้แก่ ยาเบาหวานกลุ่มที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟ่ากลูโคซิเดส/เอนไซม์ยับยั้งการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตในลำไส้ Alpha - glucosidase inhibitor เช่น อะคาร์โบส Acarbose, โวกลิโบส Voglibose, ไมกลิทอล Miglitol

การดูแลตัวเองควบคู่กับการใช้ยารักษาเบาหวาน

หลักในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวาน โดยมากจะเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาโรคนี้ ต้องปรับเปลี่ยน และควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง รวมถึงอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ต้องออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และใช้ยาเบาหวานช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งยาทาน การฉีดอินซูลิน หรือยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน โดยผู้ป่วยควรมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนทานอาหารที่ 90-130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และระดับน้ำตาลในเลือดหลังทานอาหารน้อยกว่า 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 

เมื่อลืมทานยาเบาหวาน

เมื่อลืมทานยาเบาหวาน ควรทำอย่างไร

หากลืมทานยาเบาหวานก่อนอาหาร ไม่ควรนำมาทานหลังอาหาร และไม่ต้องทานเพิ่มในมื้อถัดไป เพราะตัวยาจะออกฤทธิ์ในช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลลดต่ำลงไปกว่าเดิมอีก อาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป 

สำหรับยาเบาหวานหลังอาหาร หากลืมทานสามารถนำมาทานได้ทันที แต่ถ้าใกล้มื้ออาหารถัดไปแล้ว ควรเก็บไว้ทานหลังอาหารตามปกติโดยไม่ต้องทานเพิ่ม

สรุปยาเบาหวาน ตัวช่วยสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับโรคนี้ ไม่ใช่การทานยาเบาหวาน แต่เป็นการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพราะโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติมากที่สุด การใช้ยาเบาหวานเท่าที่จำเป็น ทั้งแบบรับประทานและแบบฉีดอินซูลินเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับผู้ป่วยในการระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที