วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 07 เม.ย. 2024 22.22 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1798 ครั้ง

เรื่องเกี่ยวสุขภาพ โรคต่างๆ และการรักษา


โรควิตกกังวล อาการเป็นอย่างไร มีกี่ประเภท และวิธีการรักษาให้หาย

โรควิตกกังวล คืออาการวิตกกังวลเครียดขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

โรควิตกกังวล

คุณเคยกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือไม่ จนอาจจะทำให้คุณเป็นคนคิดแล้วคิดอีก ย้ำคิดย้ำทำเป็นระยะเวลายาวนาน ความวิตกกังวลนั้นเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียด จึงทำให้สามารถหาทางแก้ไขจัดการปัญหากับความคิดของตัวเองได้ เป็นความกังวลในระดับปกติ 

แต่สำหรับคุณที่มีความกังวลใจถึงขั้นรุนแรง ที่ไม่สามารถรับมือกับความวิตกกังวลได้นั้น ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะกลัวไปทุกอย่าง ไม่สามารถหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ จนอาจจะทำให้กลายเป็นโรควิตกกังวล ส่งผลลบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก 

ใบบทความนี้มีข้อมูลที่บอกถึงเกี่ยวกับโรควิตกกังวล สาเหตุ อาการโรควิตกกังวล รวมถึงวิธีการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรควิตกกังวล

 

ทำความรู้จักโรควิตกกังวล คืออะไร

ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลจะมีอาการวิตกกังวลอยู่ในระดับมากกว่าคนทั่วไป โรควิตกกังวลภาวะทางจิตอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยมีความกังวล และความเครียดในด้านอารมณ์ที่มีความรุนแรงเกินกว่าปกติ ผู้ป่วยโรควิตกกังวลถึงแม้จะผ่านพ้นปัญหาเหล่านั้นมาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังกลับไปคิดเรื่องปัญหาซ้ำแล้วซ้ำอีก กลัวการเกิดขึ้นอีกครั้ง 

ซึ่งผู้ป่วยโรควิตกกังวลมีอาการเครียดวิตกกังวล อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และยังส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น นอนไม่หลับ ความอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย และตึงกล้ามเนื้อมักเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะเกิดขึ้นกับสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากปล่อยไว้นานจนถึงขั้นรุนแรง ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เป็นต้น

 

โรควิตกกังวล มีกี่ประเภท

ประเภทของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะของความกังวลและลักษณะอาการของโรคแต่ละประเภท ต่อไปนี้คือการอธิบายแต่ละประเภทของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลทั่วไป (CAD)

เป็นรูปแบบอาการวิตกกังวลเครียดมากกว่าปกติในเรื่องทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน เรียน  คนในครอบครัว และเรื่องสุขภาพร่างกาย  หากผู้ป่วยมีอาการอาการวิตกกังวลเครียดมากเกินไปเป็นเวลา 6 เดือนเป็นต้นไป ไม่สามารถแก้ไขกับปัญหาต่าง ๆ ได้เอง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อน เช่น เหนื่อยล้า นอนไม่หลับ  กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ และปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ 

โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobia)

โรควิตกกังวลที่มีอาการวิตกกังวลกลัวมากจนเกินไป หรือฝังใจเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น กลัวความมืด กลัวที่แคบ กลัวรู กลัวความสูง กลัวเลือด  กลัวสัตว์ต่าง ๆ เมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ในสิ่งที่ตัวเองตัวกลัว จะแสดงอาการทั้งทางร่างกาย และทางอารมณ์ออกมาทันที เช่น วิ่งหนี ร้องไม้ มือสั่น ยืนนิ่ง เหงื่อออก คลื่นไส้  หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และถึงขั้นเป็นลม

โรคกลัวสังคม (Social Phobia)

เป็นโรควิตกกังวลอาการรู้สึกประหม่า เหมือนถูกจ้องมอง ระมัดระวังตัวเองมากจนเกินไป จนทำให้เกิดความเครียดกังวลสะสม กลัวทำในสิ่งที่คนอื่นมองว่าไม่ดี กลัวทำผิด หรือกลัวถูกนินทาหลับหลัง ในสถานการณ์ที่กำลังเจอ เช่น นั่งทำงานในบริษัท  พรีเซนต์งานหน้าห้องเรียน หรือทำงานกลุ่มกับเพื่อน ผู้ป่วยโรควิตกกังวล จะหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม ซึ่งจะทำให้ขาดทักษะในการเข้าสังคม 

โรคแพนิค (PD)

ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค หรือโรควิตกกังวล วิตกกังวลโดยไม่มีเหตุผล จะแสดงอาการออกทางร่างกาย เช่น หายใจถี่ ๆ เหงื่อออก มือสั่น คลื่นไส้ ท้องปั่นป่วน ตัวสั่น มือเท้าเย็น แน่นหน้าออก จะเป็นลม และแสดงออกทางความรู้สึก อึดอัด ไม่สบายใจ เครียด กระวนกระวาย เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ อาการของโรคแพนิคเป็นส่วนหนึ่งของโรควิตกกังวลซึมเศร้า ส่งผลให้ผู้ที่ป่วยเสียสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก อาจจะขึ้นขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

เป็นภาวะอาการ anxiety ผู้ป่วยโรควิตกกังวลจะมีความคิดที่ไม่สามารถตัดสินใจได้เด็ดขาด ต้องคิดซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือทำในสิ่งที่คิดแล้วซ้ำไปมาส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ออกจากบ้านคิดว่าลืมปิดไฟ ต้องเดินกลับมาเช็คอีกรอบ หรือคิดว่าลืมปิดก๊อกน้ำต้องกลับไปเช็คอีกรอบ เป็นรูปแบบความกังวลที่ไม่ส่งกระทบร้ายแรง แต่จะเสียเวลาที่ต้องค่อยทำในสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกสบายใจ

โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (PTSD)

มีอาการโรควิตกกังวล วิตกกังวลอย่างรุนแรงหลังจากที่เจอกับเหตุการณ์ เช่นสูญเสียคนที่รักต่อหน้าต่อตา ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกคุกคามทางเพศ หรืออุบัติถึงขั้นเกือบเสียชีวิต ส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจผู้ป่วยโรควิตกกังวล ซึ่งอาการในช่วงแรกของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นมักจะ ฝันร้าย ฝันเห็นเหตุการณ์ที่พบเจอมา จนไม่สามารถไปในที่เคยเกิดเหตุการณ์ได้ และจะตื่นตัวตลอดเวลาจนนอนไม่หลับ   นอกจากนี้ยังอาจเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า

 

โรควิตกกังวล เกิดมาจากสาเหตุใดบ้าง?

เป็นโรควิตกกังวล เกิดจากอะไร

โรควิตกกังวล หรือโรค anxietyเป็นภาวะทางจิตที่มีสาเหตุหลายประการและมักมีความซับซ้อน สาเหตุของโรควิตกกังวลอาจเป็นผลมาจากปัจจัยทางชีวภาพ เช่น ประสบการณ์ในอดีต ความคิดและอารมณ์ ร่วมถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อม นี่คือสาเหตุที่สามารถเป็นเหตุให้เกิดโรควิตกกังวล

1. ปัจจัยทางชีวภาพ

2. สภาพแวดล้อม การถูกเลี้ยงดูจากคนในครอบครัว ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความกดดัน หรือความรุนแรงในตอนเด็ก และการลอกเลียนแบบจากคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด ต้องพบเจอกับเหตุการณ์วิตกกังวลอยู่ตลอด ส่งผลให้เกิดเป็นโรควิตกกังวล

 

อาการของโรควิตกกังวล สังเกตตนเอง

โรควิตกกังวลเป็นอาการวิตกกังวลที่มากกว่าปกติไม่ว่าจะเรื่องงาน เรื่องเรียน และอื่น ๆ ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมของตัวบุคคล ซึ่งผู้ป่วยโรควิตกกังวล หรือโรคขี้กังวลไม่สามารถระงับจัดการความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง ถ้าหากยังคงปล่อยให้มีอาการนานเกิน 6 เดือน จะส่งผลทำให้เกิดอาการผิดปกติเช่น อ่อนเพลีย กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด และนอนไม่หลับ 

โรควิตกกังวลเป็นสภาวะที่สามารถรุนแรงมากถึงขนาดที่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง และมีผลกระทบต่อการทำงาน ความสัมพันธ์ และความสุขการใช้ชีวิตประจำวัน. หากรู้สึกว่าคุณหรือคนในครอบครัวมีโอกาสที่จะเป็นโรควิตกกังวล, ควรปรึกษาแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและการรักษาที่เหมาะสม 

 

โรควิตกกังวลรักษาหายขาดได้ไหม?

การรักษาโรควิตกกังวลขึ้นอยู่กับประเภทของโรควิตกกังวล วิธีรักษาคือ ทำจิตบำบัด พูดคุยกับแพทย์หรือนักบำบัด เล่าถึงสาเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หลังจากนั้นนักบำบัดจะปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วยโรควิตกกังวล หรือรักษาโดยกินยา ซึ่งตัวกลุ่มยาจะเป็นจำพวกระงับอาการวิตกกังวล เช่น ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน ยาอัลปราโซแลม และยาโคลนาซีแพม 

 

เมื่อเป็นโรควิตกกังวลต้องดูแลตนเองอย่างไร?

ถึงแม้โรควิตกกังวลจะไม่สามารถป้องกันได้ แต่มีวิธีดูแลรักษาโรควิตกกังวลด้วยตัวเอง ดังนี้

สรุปโรควิตกกังวล Anxiety

โรควิตกกังวลเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ที่มีanxiety อาการจากความเครียด ไม่สามารถจัดการความรู้สึกวิตกกังวลที่เกิดขึ้น และต้องเผชิญกับปัญหา เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในการใช้ชีวิตประจำวัน โรควิตกกังวลส่งผลลบทั้งด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้ป่วย 

โรควิตกกังวลรักษาเองไม่ได้ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ หรือนักบำบัด เพื่อวิธีการรักษาที่ถูกต้องตามประเภทของโรคที่ผู้ป่วยเป็น ซึ่งหลัก ๆ แล้วจะเน้นที่การรักษาแบบจิตบำบัดให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก พูดคุยเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและรักษาด้วยยา


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที