วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 17 ม.ค. 2024 14.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 613 ครั้ง

Smart Living สิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตคุณมีคุณภาพมากขึ้น แล้ว Smart Living คืออะไร ข้อดี-ข้อเสียของ Smart Living พร้อมยกตัวอย่าง Smart Living ในปัจจุบัน


Smart City เมืองอัจฉริยะ เพื่ออนาคตที่ดียิ่งกว่า

เมืองอัจฉริยะ Smart City แนวคิดที่ให้สังคมพึ่งพาเทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อสร้างประโยชน์ที่คนอาจไม่คาดคิด โดยบทความนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดนี้มากยิ่งขึ้น

 

ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จุดประสงค์ คือ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นแง่ของความสะดวกสบายที่มากขึ้น เพื่อลดการใช้ทรัพยากร ไปจนถึงรักษาสภาพแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น แต่เทคโนโลยีที่กล่าวมาจะเกิดประโยชน์ เมื่อมันถูกนำมาใช้ในวงกว้าง


แนวคิด Smart City เพื่อผลักดันให้คนในสังคมหันมาใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มี มาสร้างผลลัพธ์ที่ดีในแง่ต่าง ๆ สำหรับกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน โดยในบทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ คืออะไร เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์และความจำเป็นว่า ทำไมเราถึงหันมาใช้แนวคิด Smart City
 

Smart City


Smart City คืออะไร ? 

Smart City คือ แนวคิดที่ผลักดันส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาสร้างความเจริญ ความสะดวกสบาย และประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่คนในสังคม โดยเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นก็มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิด ระบบไฟจราจร ระบบขนส่งโดยสาร ระบบไฟฟ้า ซึ่งระบบต่าง ๆ ก็มีเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่าย


นวัตกรรมเหล่านี้เปลี่ยนให้เมืองธรรมดา กลายเป็น Smart City หรือเรียกอีกชื่อว่าเมืองอัจฉริยะ ซึ่งหากนวัตกรรม เทคโนโลยีถูกนำมาใช้ได้จริงจะช่วยให้การ ดำเนินชีวิตของคนในสังคมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


5 องค์ประกอบสำคัญของ Smart City

เพื่อให้เข้าใจถึงภาพรวมของแนวคิด Smart City ให้มากยิ่งขึ้น เรามาดู 5 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เมืองถูกเรียกว่า Smart City ได้ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบต่าง ๆ ก็มีรายละเอียดดังนี้


องค์ประกอบสำคัญของ Smart City


1.Smart People (พลเมืองอัจฉริยะ)

แม้ว่าจะมีเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ล้ำสมัยขนาดไหน แต่หากขาดผู้ใช้ เทคโนโลยีเหล่านั้นก็ไม่สามารถสร้างประโยชน์ได้ ดังนั้นองค์ประกอบข้อแรกของ Smart City ซึ่งเรียกได้ว่าสำคัญที่สุด ก็คือ Smart People ซึ่งการทำให้เกิด Smart People เพื่อมาขับเคลื่อน Smart City นั้น จำเป็นต้องให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียม ไม่จำกัดชนชั้น ระดับการศึกษา


เพราะหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีต่าง ๆ คือ อินเทอร์เน็ต หากประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ การเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นจึงควรมีการผลักดันอินเทอร์เน็ตให้เข้าถึงที่ต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นชุมชน หรือสถานศึกษา และให้การศึกษาเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็น และใช้อย่างถูกวิธี เพื่อให้ทุกคนมีส่วนช่วยผลักดันแนวคิด Smart City

2.Smart Living (การดำรงชีวิตอัจฉริยะ)

เมื่อประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แล้ว สิ่งที่สำคัญ ก็คือการนำไปใช้ได้จริง เราเรียกว่า Smart Living โดย Smart Living คือ การดำรงชีวิตอัจฉริยะ ประชาชนสามารถนำเทคโนโลยีที่มีไปใช้ได้ แม้ว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ จะมีจุดประสงค์เพื่อช่วยสร้างประโยชน์ให้กับสังคม แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้พัฒนาต้องทำการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถเข้าใจได้ง่าย และสามารถนำไปใช้งานได้จริง 


เพราะประชาชาแต่ละคนมีการศึกษา และพื้นฐานความเข้าใจในเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้นความท้าทายของผู้พัฒนาว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไร ให้ทุกคนเข้าใจและนำไปใช้ได้ เพราะหากออกแบบมาให้ใช้งานได้ยาก เทคโนโลยีเหล่านั้นก็จะถูกวางทิ้งไว้ ไม่ได้นำไปใช้งาน และทำให้แนวคิด Smart City ไม่ได้รับการผลักดัน

3.Smart Mobility (การสัญจรอัจฉริยะ)

สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่ทุกประเทศ ทุกเมือง ล้วนให้ความสำคัญคือการจราจร การคมนาคม เมืองที่น่าอยู่ คือ เมืองที่มีการจราจรไม่ติดขัด ประชาชนสามารถเดินทางสัญจรไปที่ต่าง ๆ ได้ง่าย มีระบบขนส่งมวลชนเพียงพอทั่วถึง การนำแนวคิด Smart City มาประยุกต์ใช้กับการจราจร ถูกเรียกได้อีกชื่อว่า Smart Mobility


หากประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านการจราจร จะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางรถติด และระบบขนส่งมวลชน สามารถถูกอัปเกรดได้ ข้อมูลการเดินของรถสายต่าง ๆ ช่วยสร้างความสะดวกสบายให้ประชาชนสามารถเดินทางได้ง่าย ซึ่งเทคโนโลยี Smart Mobility ที่เห็นได้ชัด ก็คือ แอปพลิเคชันแผนที่ต่าง ๆ 

4.Smart Energy (พลังงานอัจฉริยะ)

ปัจจุบันพลังงานเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปตามครัวเรือน ยังคงจำเป็นต้องพึ่งพลังงานอยู่ ซึ่งแนวคิด Smart City ที่นำมาประยุกต์ใช้กับพลังงานเรียกอีกชื่อว่า Smart Energy ซึ่ง Smart Energy คือ แนวคิดการสร้างพลังงานไฟฟ้าเพิ่มอีกช่องทาง ให้ทุกบ้านสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าของตนเอง โดยใช้พลังงานสะอาดเป็นตัวขับเคลื่อน


อย่างไรก็ตามพลังงานเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่จะดีกว่าหรือไม่ หากเราสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ส่งผลเสียต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

5.Smart Environment (สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ)

การรณรงค์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดปริมาณการสร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อม

แนวคิดนี้กำลังกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น ซึ่งแนวคิดของ Smart City ก็มีครอบคลุมถึงข้อนี้เช่นกัน Smart Enviroment หรือการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆ มาสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดน้ำเสีย การรีไซเคิล หรือกระบวนการลดการสร้างควันเสียในอุตสาหกรรม


ประวัติของ Smart City

Smart City อาจจะดูเป็นแนวคิดใหม่สำหรับหลายคน แต่แท้จริงแล้วแนวคิดของ Smart City มีมาตั้งแต่ปี 

ค.ศ.2001 ประเทศเกาหลีใต้ เมือง Songdo ถูกขนาดนามว่าเป็น Smart City รุ่นแรก ๆ ของโลก โดยเมือง Songdo เป็นส่วนหนึ่งของ Incheon Economic Zone มันถูกออกแบบตั้งแต่ปี ค.ศ.2001 และเริ่มดำเนินการสร้างปี ค.ศ.2005


จากเดิมเมือง Songdo เป็นพื้นที่โล่ง ๆ ที่มาจากการทะเล แต่ในปัจจุบันเมือง Songdo ได้กลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยตึกขนาดใหญ่ ที่อัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ มีทั้งผู้อาศัย และผู้เข้ามาทำงานอย่างคับคั่ง โดยเมือง Songdo ถูกออกแบบด้วยหลักการ Smart City


ซึ่งนวัตกรรมต่าง ๆ ของเมือง Songdo ก็จะมีกล้องตรวจจับทุกจุดในเมือง เพื่อให้เจ้าหน้าที่เทศบาลคอยสอดส่องสถานการณ์ต่าง ๆ บนท้องถนน รวมถึงการจราจร เน้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพิ่มกระบวนการรีไซเคิล และขยะและของเสียทั้งหมดในเมือง Songdo จะถูกคัดแยกอัตโนมัติด้วยกระบวนการพิเศษและส่งไปผลิตเป็นพลังงานให้กับเมือง ซึ่งเทคโนโลยีทั้งหลายถูกพัฒนาด้วยบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง CISCO


ตัวอย่างโครงการ Smart City ในต่างประเทศ

นอกจากเมือง Songdo ประเทศเกาหลีใต้ที่กล่าวไว้ข้างต้น ในโลกนี้ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่นำแนวคิด Smart City ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม โดยตัวอย่างโครงการ Smart City ในต่างประเทศมีดังนี้
 


ตัวอย่าง Smart City


โครงการเปลี่ยนตู้โทรศัพท์ของ New York

ในเมือง New York สหรัฐอเมริกา มีตู้โทรศัพท์สาธารณะตั้งอยู่หลายแห่ง แต่การมาของโทรศัพท์มือถือ ทำให้ความสำคัญของตู้โทรศัพท์สาธารณะค่อย ๆ หายไป แต่เมือง New York ได้มีแผนพัฒนาเปลี่ยนตู้โทรศัพท์สาธารณะเหล่านั้นให้กลายเป็นจออัจฉริยะ เพื่อคอยรายงานข่าวสาร เหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และช่วยให้เข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตสำหรับทุกคน

โครงการหมู่บ้าน Eco-village ของ Panasonic

สำหรับประเทศที่มีนวัตกรรมก้าวล้ำอย่างญี่ปุ่น ไม่มีทางพลาดที่จะนำแนวคิด Smart City มาใช้ โดยทาง Panasonic ได้มีการสร้างหมู่บ้านแบบ Eco-village ซึ่งห่างไปจากโตเกียวไม่กี่ไมล์ ซึ่งหมู่บ้านเหล่านี้มีเป้าหมายที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้หมดไป หันมาใช้พลังงานทดแทน ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน และระบบอัจฉริยะต่าง ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้คนในบ้าน


อุปสรรคของ Smart City

การผลักดันแนวคิด Smart City อาจสร้างประโยชน์ให้คนมากมายแต่ การผลักดันให้มันสามารถนำไปใช้ได้จริงก็ยังคงมีอุปสรรคต่าง ๆ อยู่ โดยสิ่งที่จะไปขัดขวางการพัฒนาสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ Smart City มีดังนี้
 


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Smart City

อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อ Smart City ไหม

หลักการของ Smart City คือ ระบบทำงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการเชื่อมโยงกัน ดังนั้นอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับ Smart City หรือแม้กระทั่ง Smart Home ในระดับครัวเรือน

จะเริ่มมีส่วนร่วมกับแนวคิด Smart City ได้อย่างไร

จะเห็นได้ว่าแนวคิดของ Smart City นั้นค่อนข้างกว้าง มีเทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆ มากมายให้สามารถนำไปใช้งาน แต่หากไม่รู้จะเริ่มอย่างไร สามารถศึกษาข้อมูลได้จาก NT Official ซึ่งเป็นบริษัทที่สนับสนุนแนวคิดผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็น Smart City Thailand


สรุปเรื่อง Smart City

Smart City เป็นแนวคิดผลักดันที่ช่วยให้สังคมนั้น ๆ เจริญก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม อย่างไรก็ตามแนวคิด Smart City จะไม่มีทางเกิดขึ้น หากขาดการสนับสนุนจากคนในสังคม ดังนั้นมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยกันเถอะ

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที