วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 11 พ.ย. 2023 00.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 92 ครั้ง

ปัสสาวะเล็ด ทำความเข้าใจสาเหตุและรู้วิธีการป้องกันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อช่วยให้คุณรู้เท่าทันอาการและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม


ปัสสาวะเล็ด ไม่ใช่เรื่องเล็ก ต้องทำความเข้าใจและรู้วิธีป้องกัน

ปัสสาวะเล็ด

ปัสสาวะเล็ดอาจเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ควรทำอย่าง ลืมการเข้าห้องน้ำ ปวดแต่พยายามอั้นปัสสาวะจนติดเป็นนิสัย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่อระบบปัสสาวะ จนเกิดความผิดปกติในระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อในบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ หรือลำไส้ที่มีผลในการเกิดปัสสาวะเล็ดได้ 

ผู้ที่มีอาการปัสสาวะเล็ดต้องพบกับหลายปัญหากวนใจและเกิดความสบายตัว เช่น ไม่สามารถเดินทางที่ต้องใช้ระยะเวลานานได้เพราะรู้สึกว่าตนอยากเข้าห้องน้ำตลอดเวลา หรือต้องตื่นกลางดึกด้วยอาการปวดอยากเข้าห้องน้ำ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้า พักผ่อนไม่เพียงพอ และในบางรายปัสสาวะเล็ดตลอดทั้งวันต้องใช้ตัวช่วยอย่างผ้าอนามัยหรือแผ่นรองซับ

ปัสสาวะเล็ด คืออะไร

ปัสสาวะเล็ดหรืออาการช้ำรั่ว (Urinary Incontinence) เป็นภาวะที่พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ปัสสาวะเล็ดเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ หรืออุ้งเชิงกราน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุต่าง ๆ และปัสสาวะมักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

เมื่อมีการสูญเสียการควบคุมในการปัสสาวะ ทำให้เกิดการรั่วไหลของปัสสาวะในช่วงเวลาที่เราไม่ต้องการหรือสามารถควบคุมได้ ผู้ที่มีปัสสาวะเล็ดอาจมีการปัสสาวะโดยไม่ต้องการเมื่อทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว หรือในบางรายเพียงแค่ไอแล้วฉี่เล็ดทันทีไม่สามารถห้ามได้

สาเหตุของปัสสาวะเล็ด

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดมาจากหลายปัจจัยที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล รวมถึงปัสสาวะเล็ดชายและปัสสาวะเล็ดผู้หญิงส่วนใหญ่จะมาจากสาเหตุที่ต่างกันในบางปัจจัยซึ่งอาจแบ่งเป็นกลุ่มสาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้

กลุ่มอาการปัสสาวะเล็ด

กลุ่มอาการปัสสาวะเล็ด

ปัสสาวะราด (Urge Urinary Incontinence)

ปัสสาวะราด (Urge Urinary Incontinence; UUI) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะราดออกมาเฉียบพลัน ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้ เมื่อมีความต้องการที่จะปัสสาวะ อาการนี้มีสาเหตุหลักของปัสสาวะราดเป็นไปได้จากความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ เช่น การบีบตัวที่ผิดปกติและไวเกินไป

ปัสสาวะล้น (Overflow Urinary Incontinence)

ปัสสาวะล้น (Overflow Urinary Incontinence; OUI) เป็นหนึ่งในอาการของกลุ่มปัสสาวะเล็ด คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อกระเพาะปัสสาวะมีปัสสาวะที่ค้างและไม่สามารถลดลงหรือไม่สามารถขับออกได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งทำให้ปัสสาวะเกินความจุของกระเพาะปัสสาวะและเริ่มไหลออกมาเกินกำหนด อาจเป็นเพราะกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอหรืออุดตัน จากนั้นปัสสาวะจะไหลออกมาในภายหลัง แม้ว่าคุณจะรู้สึกไม่อยากปัสสาวะก็ตาม

ปัสสาวะเล็ด เนื่องจากการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง (Stress Urinary Incontinence)

ปัสสาวะเล็ด เนื่องจากการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง (Stress Urinary Incontinence; SUI)คือ ช่วงที่เกิดแรงดันสูงในช่องท้องหรือในกระเพาะปัสสาวะ เช่น การไอ การจาม การหัวเราะ การออกกำลังกาย หรือการยกของหนัก ที่ไปเพิ่มแรงดันในช่องท้องซึ่ง SUI เป็นภาวะปัสสาวะเล็ด เนื่องจากการเพิ่มแรงดันในช่องท้องที่พบได้ในผู้หญิงบ่อยที่สุด

ปัสสาวะเล็ดราด (Mixed Urinary Incontinence)

ปัสสาวะเล็ดราด (Mixed Urinary Incontinencel MUI) คือ ภาวะที่ผู้ประสบปัสสาวะเล็ดราดหลังจากมีอาการปวดปัสสาวะเฉียบพลันไม่สามารถควบคุมได้ Urge Urinary Incontinence และผสานกับมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ผู้ป่วยจะมีทั้งอาการปัสสาวะเล็ด Stress Urinary Incontinence ร่วมด้วย

แนวทางป้องกันปัสสาวะเล็ด

แนวทางป้องกันปัสสาวะเล็ดมีด้วยกันหลากหลายวิธี ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม รวมถึงผู้ที่เริ่มมีอาการแล้วหรือผู้ที่ต้องการป้องกันปัสสาวะเล็ด

วิธีรักษาอาการปัสสาวะเล็ด

วิธีรักษาอาการปัสสาวะเล็ด

ปัสสาวะเล็ด เป็นอาการที่สามารถรักษาให้หายขาดได้และดีขึ้นได้ วิธีแก้ปัสสาวะเล็ด เช่น การใช้ยา การผ่าตัด หรือการรักษาทางกายภาพ ซึ่งการรักษาเหล่านี้อาจช่วยให้ปัสสาวะเล็ดหายขาดหรือลดลงได้ แต่อาจต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละรายอาการปัสสาวะเล็ดผู้หญิง หรือปัสสาวะเล็ดผู้ชายวิธีรักษาปัสสาวะเล็ดมีหลายวิธีและจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของอาการของแต่ละบุคคล สามารถแบ่งวิธีการรักษาได้ดังนี้

สรุปเรื่องอาการปัสสาวะเล็ด

ปัสสาวะเล็ดอาจเกิดขึ้นในผู้ชายและผู้หญิงทุกกลุ่มวัย แต่มักพบมากขึ้นในผู้สูงอายุและผู้ที่ผ่านการคลอดลูกมาแล้ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อ หรือปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งการรับรู้ถึงสาเหตุของปัสสาวะเล็ดจะช่วยในการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม

อาการปัสสาวะเล็ดส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย หากคุณมีปัญหาปัสสาวะเล็ดควรพบแพทย์เพื่อให้ได้การประเมินและการดูแลที่เหมาะสมสำหรับคุณเอง และเพื่อหาแนวทางป้องกันหากอาการยังไม่รุนแรง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที