วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 14 มี.ค. 2024 02.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 913 ครั้ง

พิธีการต่างๆ เช่น พิธีการหมั้น พิธีแต่งงาน


พิธีหมั้น พิธีสำคัญที่ไม่แพ้พิธีแต่งงาน

อยากจัดพิธีหมั้นให้เรียบง่าย มีลำดับขั้นตอนในพิธีอย่างไรบ้าง รวบรวมไว้แล้วที่นี่ จัดเองง่าย ๆ ไม่ต้องใช้งบเยอะ


พิธีหมั้น

การแต่งงานอาจเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน แน่นอนว่าก่อนแต่งงานเราก็ต้องผ่านพิธีหมั้นก่อน และบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าทำไมต้องผ่านพิธีหมั้นก่อน แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้เราได้รวบรวมคู่มือเกี่ยวกับพิธีหมั้นทั้งหมดมาให้เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวอย่างการหาฤกษ์แต่งงานพิธีหมั้น หรือการเตรียมขันหมากงานหมั้น เพื่อให้คู่รักที่กำลังจะกลายเป็นว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวได้ศึกษาและเตรียมตัวก่อนเข้าพิธี


พิธีหมั้นคืออะไร?

พิธีหมั้นคืออะไร?

พิธีหมั้นเป็นอีกหนึ่งพิธีสำคัญก่อนการแต่งงาน ถือเป็นการตกลงจับจองกันทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะฝ่ายเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว โดยจะมีการมอบของพิธีหมั้นกันก่อนเป็นเหมือนคำสัญญาของทั้งสองฝ่าย ในสมัยก่อนจะไม่นิยมจัดวันเดียวกันกับวันแต่งงานเหมือนในสมัยนี้ หากมีการมอบของหมั้น ก็จะเป็นอันรู้กันว่าทั้งสองบ้านได้ตกลงปลงใจกัน และบ้านอื่นก็จะไม่มีสิทธิ์มาสู่ขอหรือไปสู่ขอบ้านไหนอีก 

ปัจจุบันเพื่อเป็นการประหยัดเวลา จึงนิยมจัดไว้ในวันเดียวกัน โดยจะจัดขึ้นในตอนเช้า และมีเพียงญาติสนิทเท่านั้นที่จะได้ร่วมพิธีหมั้น ซึ่งหลาย ๆ คนจะจำว่าคืองานหมั้นเช้าหรืองานแต่งงานแบบไทยนั่นเอง


พิธีหมั้นนิยมจัดในช่วงเวลาไหน?

พิธีหมั้นมักจะได้รับความนิยมจัดกันในช่วงเช้า เพราะตอนบ่ายหรือเย็นจะได้จัดพิธีแต่งงานต่อในวันเดียวกันได้เลย ซึ่งพิธีหมั้นก็จะมีลำดับขั้นตอนประมาณ 6 ลำดับคือ 

  1. พิธีสงฆ์หรือพิธีทางศาสนา 
  2. พิธีแห่ขันหมากและกั้นประตู 
  3. พิธีสู่ขอ
  4. พิธีสวมแหวน
  5. พิธีรับไหว้
  6. พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ประสาทพร 

แต่ถ้าหากใครอยากจัดพิธีหมั้นง่าย ๆ ก็สามารถตัดพิธีการบางพิธีออกได้ โดยส่วนมากพิธีหมั้นแบบง่าย ๆ ก็จะเหลือขั้นตอนดังต่อไปนี้เท่านั้น

1. พิธีมอบขันหมาก

เมื่อถึงฤกษ์งามยามดี ผู้ใหญ่หรือเถ้าแก่ของฝ่ายชายจะเป็นผู้มอบขันหมากหมั้นหมายให้กับญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง โดยจะทำการตัดพิธีแห่ขันหมากและกั้นประตูออกเพื่อให้มีความเรียบง่ายที่สุด

2. พิธีสู่ขอ

เมื่อมอบขันหมากหมั้นเรียบร้อยตัวแทนผู้ใหญ่ฝ่ายชายก็จะเป็นผู้ทำการเจรจาสู่ขอ โดยผู้ที่เป็นตัวแทนฝ่ายชายมักจะเป็นผู้ที่แต่งงานแล้ว ไม่มีประวัติหย่าร้าง ชีวิตคู่มีแต่ความสุขเพื่อถือเป็นสิริมงคลให้กับคู่บ่าวสาวในอนาคต

3. พิธีสวมแหวนหมั้น

เมื่อรับของหมั้นเรียบร้อยแล้วว่าที่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวในอนาคตก็สามารถสวมแหวนหมั้นให้กันและกัน หลังจากนั้นก็เป็นอันเสร็จสิ้นการจัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย


รายการของสำคัญที่มักใช้ในพิธีหมั้น

ถึงแม้จะทำการตัดพิธีการต่าง ๆ แต่รายการของในพิธีหมั้นบางอย่างก็ยังจำเป็นอยู่ ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เราได้รวบรวมไว้ให้แล้ว สามารถเตรียมตามนี้ได้เลย 

จำนวนเงินตามแต่ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน

ปัจจุบันนิยมใช้แหวนวงเดียวกับแหวนแต่งงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว

หมากดิบ 8 ลูก ฝานก้นและใบพลูตัดก้าน 8 ใบทั้งสองอย่างนำมาป้ายชาดหรือปูนแดง นำมาเรียงกันให้สวยงาม เป็นสัญลักษณ์ของการหมั้นหมาย 

ไว้ใช้วางของหมั้นไม่ว่าจะเป็นแก้วแหวนเงินทองที่เตรียมไว้วางไว้บนใบเงิน ใบทองและใบนาก นอกจากนี้ยังมีของมงคลอย่าง ถั่วเขียว งาดำ ข้าวเปลือกและข้าวตอก เตรียมใส่ถุงเงินถุงทองอย่างละ 1 ถุง 

หากเลือกจัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย ขันหมากโทอย่างขนม ต้นกล้วย หรือต้นอ้อยก็สามารถตัดออกได้เพราะเป็นหมากที่ใช้ในการแห่นั่นเอง


สรุปเกี่ยวกับพิธีหมั้น

สำหรับการจัดพิธีหมั้นก็เหมือนเป็นการเตรียมพร้อมก่อนการแต่งงานใช้ชีวิตคู่ เป็นสัญญาใจที่ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายรับรู้ก่อนการแต่งงานแบบเป็นทางการอย่างการจดทะเบียนสมรส การเตรียมพิธีหมั้นนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ยิ่งคู่ไหนที่ต้องการจัดงานหมั้นแบบเรียบง่ายแล้ว ก็จะลดทอนพิธีการออกไปได้มากถึงครึ่งเลยทีเดียว และในบางภูมิภาคพิธีหมั้นก็จะมีเพียงแค่การผูกข้อมืออวยพรจากญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายว่าจะสบายใจอย่างไร


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที