日本語ページ


คณะกรรมการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

2516

พิธีเปิดที่ทำการแห่งแรก

ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล อาจารย์โกอิจิ โฮซูมิ และคุณวารี พงษ์เวช ร่วมพิธีเปิดที่ทำการแห่งแรก ณ อาคารอื้อจือเหลียง วันที่ 24 พฤษภาคม 2516

ก่อตั้ง ส.ส.ท.

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ก่อตั้งอย่างเป็นทางการใน วันที่ 24 มกราคม 2516 จากความร่วมมือร่วมใจ และความเสียสละของกลุ่มผู้เคยไปศึกษาและดูงานโดยทุน ABK & AOTS ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นประธานคณะกรรมการก่อตั้ง และสำเร็จด้วยความช่วยเหลืออย่างดี จาก อาจารย์โกอิจิ โฮซูมิ อดีตประธานกรรมการ สมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น-ไทย (JTECS) โดยได้รับความช่วยเหลือทางด้านเงินทุนจาก กระทรวงการค้าระหว่างประเทศ และอุตสาหกรรม (METI) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไม่มีพันธะผูกพันใด ๆ


2516 -2525

ในปี พ.ศ.2518 ส.ส.ท. ได้ย้ายที่ทำการมายัง ซอยสุขุมวิท 29

ทศวรรษแรก

ส.ส.ท. บุกเบิก 4 กิจกรรมแรกได้แก่ สอนภาษาญี่ปุ่นให้คนไทย และสอนภาษาไทยให้ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยในประเทศไทย แปลและผลิตตำราด้านเทคนิคจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย ออกวารสารด้านเทคโนโลยี และจัดอบรมสัมมนา และต่อมาได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

  • นำแนวคิด กิจกรรมกลุ่ม QC (QC Circle) มาเผยแพร่ในประเทศไทย
  • เปิดโครงการเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม
  • เปิดโครงการเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน

2526 -2535

จัดงาน "มหกรรมคิวซีเซอร์เคิล" ครั้งแรกในประเทศไทย

ทศวรรษที่สอง

ส.ส.ท. ขยับขยายกิจกรรมบริการเพื่อสังคมเพิ่มเติม และได้เริ่มเปิดกิจกรรมใหม่ๆ ได้แก่

  • เปิดศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม
  • เปิดโครงการ QC และจัดประกวด QC Prize
  • เปิดโครงการคอมพิวเตอร์
  • และเปิดศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยี
  • เปิดศูนย์การศึกษาทางไปรษณีย์
  • เปิดโครงการบำรุงรักษาทวีผล
  • เปิดโครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน
  • เปิดโครงการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • เปิดบริการห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม

2536-2545

ในปี พ.ศ.2541 ส.ส.ท. ได้ขยายเพิ่มที่ทำการแห่งใหม่ ถนนพัฒนาการ ซอย 18

ทศวรรษที่สาม

ส.ส.ท. ขยายกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดสาขาที่ทำการแห่งใหม่ และริเริ่มกิจกรรมเพิ่มเติม ได้แก่

  • จัดการแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์ ในระดับอุดมศึกษาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยทีมชนะเลิศเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันการประดิษฐ์หุ่นยนต์นานาชาติที่ประเทศญี่ปุ่น (Robocon)
  • เปิดโครงการเทคโนโลยีและการจัดการ
  • ออกวารสาร For Quality
  • เปิดศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม
  • เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ หลักสูตรภาษาจีน
  • เปิด TPA Book Centre
  • เปิดโครงการพัฒนาระบบวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shin-Dan) และพัฒนานักวินิจฉัยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
  • เปิดสำนักพิมพ์ ส.ส.ท. เยาวชน
  • เปิดโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สาขารังสิต (ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต ชั้น 2)
  • จัดประกวด Thailand 5S Award

2546-2555

ในปี พ.ศ.2550 เปิดสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

ทศวรรษที่สี่

ส.ส.ท. ได้จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และยังคงปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และขยายกิจกรรมเพิ่มเติม ได้แก่

  • เปิดสำนักพิมพ์เพื่อนนักอ่าน
  • เปิดโครงการผลิตอัตโนมัติ
  • จัดการประกวด TPA Kaizen Award
  • ออกนิตยสาร Creative & Idea Kaizen
  • จัดประกวด Thailand Lean Award
  • ออกนิตยสาร Technology & INNOMag และนิตยสาร For Quality Management

ในปี พ.ศ.2556 ส.ส.ท. ได้รับรางวัลเจแปนฟาวน์เดชั่น

เข้าสู่ทศวรรษที่ห้า

พ.ศ. 2556ส.ส.ท. ได้รับรางวัลเจแปนฟาวน์เดชั่น ประจำปี 2013 ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรในวงการการศึกษาภาษาญี่ปุ่น อันเป็นการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนระหว่างไทยและญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง
ส.ส.ท. ร่วมกับ JIPM (Japan Institute of Plant Maintenance) โดย ส.ส.ท. เป็น Certified Organization ประจำประเทศไทยในการเผยแพร่ความรู้ จัดอบรมและให้คำปรึกษาด้าน TPM ตามแนวทาง JIPM
พ.ศ. 2557ส.ส.ท. ร่วมกับ JIPM (Japan Institute of Plant Maintenance) จัดการสอบ Monodzukuri Test ครั้งแรกในประเทศไทย
เปิดโครงการผลิตสื่อและมัลติมีเดีย เพื่อให้บริการออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อมัลติมีเดีย รวมรับผิดชอบดูแลผลิตนิตยสารในเครือ ส.ส.ท. และผลิตสื่อมัลติมีเดีย TPA Official ผ่าน Youtube
เปิดบริการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ อาทิ Patient Bedside Monitor, Oxygen Flow Meter, etc.
พ.ศ. 2558โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ส.ส.ท. ได้รับเกียรติบัตรรางวัลโรงเรียนที่มีระบบการประกันคุณภาพภายในอยู่ในระดับดีมาก ประจำปี พ.ศ.2558 จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
ส.ส.ท. ได้ร่วมกับ HIDA และ NECA ประเทศญี่ปุ่น ริเริ่มจัดอบรมหลักสูตร ผู้ประเมินความปลอดภัยเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม 3 ระดับ ได้แก่ Safety Basic Accessor (SBA), Safety Sup Accessor (SSA), Safety Assessor (SA)
พ.ศ. 2559ส.ส.ท. ได้รับการรับรองเป็น "องค์กรรับรองสมรรถนะของบุคลากรตามมาตรฐานอาชีพ" จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
  1. สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัด (ด้านมิติ)
  2. สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา อาชีพครูฝึกในสถานประกอบการ
ส.ส.ท. ได้รับการรับรองให้เป็นศูนย์ประเมินความรู้ ความสามารถ จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตาม พรบ.การส่งเสริมการพัฒนาฝึมือแรงงาน พ.ศ.2545 สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร
พ.ศ. 2560จัดตั้งสถาบันการจัดการธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น (Thailand-Japan Management Institute) มีหน้าที่และบทบาทในการพัฒนาองค์ความรู้และการเชื่อมโยง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับสถานประกอบการ หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่ต้องการขยายตลาด หรือสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจไทย และธุรกิจญี่ปุ่นให้เติบโตและก้าวไกลไปสู่สากล
จัดตั้งหน่วยงาน TARII: TPA Automation Robotics & IoTs เพื่อความร่วมมือด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และ IoTs โดยร่วมกับองค์กรในประเทศเทศ ได้แก่ กระทรวอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์และระบบ อัตโนมัติ (CoRE) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ METI JTECS Japan Robot Association (Jara) และ Japan Association for Automation for Advancement (JAAA)
ส.ส.ท. ร่วมกับ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จัดทำโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ให้เป็นคณะที่ปรึกษา ดำเนินการจัดทำมาตรฐานอาชีพผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ เพื่อสร้างมาตรฐานและเป็นกลไกในการพัฒนาผู้สอนภาษาไทย
พ.ศ. 2561จัดทำสตูดิโอพร้อมอุปกรณ์มาตรฐานในการจัดทำรายการ บันทึกวิดีโอ ประจำสำนักงานใหญ่ ซอยสุขุมวิท 29
ส.ส.ท. ร่วมกับ ญี่ปุ่น จัดทำโครงการ Thailand & Japan Collaboration Business Meeting Program
ส.ส.ท. ร่วมกับ ญี่ปุ่น จัดทำโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program
พ.ศ. 2562โครงการ Smart Monozukuri Support Team for Thailand สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งไทยและญี่ปุ่น ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIP), กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI), The Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships (AOTS), สมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทย (JTECS) และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไข (Kaizen) และช่วยเหลือการนำ IoT/หุ่นยนต์มาใช้ โดยมีทีมผู้สนับสนุนอุตสาหกรรมจากญี่ปุ่นให้การสนับสนุน รวมทั้งถ่ายทอดระบบที่สามารถพัฒนาให้บุคลากรนั้นๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมไทยก้าวรุดหน้าในระดับที่สูงขึ้น
โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สำนักพิมพ์ และผลิตสื่อมัลติมีเดีย ร่วมกันผลิตสื่อการเรียนรู้และเปิดหลักสูตรผ่านช่องทาง TPA DOT ได้แก่
  1. หลักสูตรการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย
  2. หลักสูตรอบรมครู สพฐ. ร่วมกับ Japan Foundation

คณะกรรมการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)


  • ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล
  • นายธนุส อมรลิลิต
  • นายแพทย์เกียรติพงศ์ ศรีมนูญผล
  • นายสุพงศ์ ชยุตสาหกิจ
  • นางปัทมาวดี (วงศ์สายัณห์) นาร์ซิโซ

โดยได้รับการสนับสนุนจาก อ. โกอิจิ โฮซูมิ


อ. โกอิจิ โฮซูมิ

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ได้ถือกำเนิดมาด้วยความตั้งใจดีของคนไทยทุกฝ่าย ข้าพเจ้าตั้งใจอย่างมากว่า สมาคมนี้จะเจริญก้าวหน้าไม่หยุดยั้ง เพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทยประชาชนคนไทยทั้งปวง

ข้าพเจ้ามีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะเห็นชาวเอเชียร่วมแรงกันจรรโลงชาติ โดยยึดถือหลักการว่า ชนชาติทั้งหลายในโลกและมนุษย์ทุกผู้ทุกคนจะอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาคและเสรี

อ. โกอิจิ โฮซูมิ

อดีตประธานคณะกรรมการสมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทย (JTECS)
ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล

ขอให้รักษาเจตนาอันบริสุทธิ์ และความสามัคคีที่มีอยู่ในการจัดตั้งสมาคมไว้ตลอดไป ในการดำเนินการให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ดีงามของสมาคม

ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล

ประธานคณะกรรมการก่อตั้ง

คณะกรรมการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

  1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสมาชิกและเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ
  2. ส่งเสริมด้านการศึกษา และพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี โดยการเปิดอบรมสัมมนา การเรียนการสอน การให้การบริการคำปรึกษาในสาขาต่าง ๆ การรับรองความรู้และความสามารถของบุคลากร การถ่ายทอดและการวิจัยเทคโนโลยี และภาษาต่าง ๆ รวมทั้งดำเนินกิจการโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หน่วยงาน องค์กรหรือมูลนิธิ ด้านเทคโนโลยีและวิชาการที่เกี่ยวข้อง
  3. ดำเนินกิจการรวบรวม เรียบเรียง แปล และพิมพ์หนังสือทางวิชาการ ออกวารสารของสมาคมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี รวมทั้งเผยแพร่ให้แก่สมาชิก และประชาชนทั่วไป
  4. ดำเนินกิจการบริการด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งจัดตั้งศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม ศูนย์ทดสอบ และให้บริการคำปรึกษาด้านอุตสาหกรรม และการบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
  5. ร่วมมือกับสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งการลงทุนหรือร่วมทุนดำเนินกิจการที่มีวัตถุประสงค์ในทำนองเดียวกับสมาคม ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

คณะกรรมการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
ประจำปี 2564-2567

ผศ. ประยูร เชี่ยววัฒนา
ผศ. ประยูร เชี่ยววัฒนา
นายกสมาคม
ศ.กิตติคุณ ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
ศ.กิตติคุณ ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
อุปนายก (ด้านกิจการภายนอก)
รศ. ปราณี จงสุจริตธรรม
รศ. ปราณี จงสุจริตธรรม
อุปนายก (ด้านพัฒนาองค์กร)
ดร. พิชัย ตั้งสถาพรพาณิชย์
ดร. พิชัย ตั้งสถาพรพาณิชย์
อุปนายก (ด้านการตรวจสอบ)
คุณยงเกียรติ์ กิตะพาณิชย์
คุณยงเกียรติ์ กิตะพาณิชย์
เลขาธิการสมาคม
คุณวสันต์ จันทร์สัจจา
คุณวสันต์ จันทร์สัจจา
เหรัญญิก
ผศ.ดร. ดัชกรณ์ ตันเจริญ
ผศ.ดร. ดัชกรณ์ ตันเจริญ
รองเลขาธิการ
ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี
ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี
กรรมการบริหาร
ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ
ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ
กรรมการบริหาร
ดร. ธีระวัฒน์ ลิมปิบันเทิง
ดร. ธีระวัฒน์ ลิมปิบันเทิง
กรรมการบริหาร
ดร. อนงค์ภัทร์ กูลมงคลรัตน์
ดร. อนงค์ภัทร์ กูลมงคลรัตน์
กรรมการบริหาร
คุณพรชัย ยงวัฒนสุนทร
คุณพรชัย ยงวัฒนสุนทร
กรรมการบริหาร
ดร. ก้องกิจ วรพุทธพร
ดร. ก้องกิจ วรพุทธพร
กรรมการบริหาร
ดร. สุจิต พงษ์นุ่มกุล
ดร. สุจิต พงษ์นุ่มกุล
กรรมการบริหาร
คุณวิวัฒน์ พันธ์สระ
คุณวิวัฒน์ พันธ์สระ
กรรมการบริหาร
รศ. รังสรรค์ เลิศในสัตย์
รศ. รังสรรค์ เลิศในสัตย์
กรรมการบริหาร
(อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
ดร. สุพจน์ ชินวีระพันธุ์
ดร. สุพจน์ ชินวีระพันธุ์
กรรมการและผู้อำนวยการสมาคม

หมายเหตุ
รศ. กฤษดา วิศวธีรานนท์ กรรมการบริหาร (อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น) (ม.ค. 2565 ถึง ม.ค. 2566)
ดร. สุทธิพงษ์ สุวรรณสุข กรรมการบริหาร (มิ.ย. 2564 ถึง ม.ค. 2566, เม.ย. 2566 - พ.ย. 2566)


Download เอกสารจรรยาบรรณของกรรมการบริหารฯ


รายชื่อคณะกรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ชุดก่อนหน้า


คณะกรรมการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

คณะกรรมการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

คณะกรรมการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

Video แนะนำสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

เพลงของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

มาร์ช ส.ส.ท.

ส.ส.ท. ของเรา

แสงเทียน ส.ส.ท.


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter