Meditate

ผู้เขียน : Meditate

อัพเดท: 09 ส.ค. 2010 16.40 น. บทความนี้มีผู้ชม: 540113 ครั้ง

ธรรมทาน เป็นทานอันสูงสุด

ขอทำหน้าที่นี้ อีก คน เพื่อ ปัจจัย แห่งการรู้

การมีสติ ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น ที่สนใจ


วิธีนอนเจริญฌาน..โดยพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส ) (ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

วิธีนอนเจริญฌาน..โดยพระอริยคุณาธาร
(เส็ง ปุสโส ) (ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๙ : วิธีนอนเจริญฌาน
โ ด ย : พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส ) (ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนกวาง อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น


วิธีนอนเจริญฌานมี ๒ อย่าง คือนอนพักผ่อนร่างกาย กับนอนเพื่อหลับ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติต่าง

กันดังนี้


๑. นอนพักผ่อนร่างกาย คือ เมื่อเจริญฌานในอิริยาบถทั้ง ๓ มาแล้ว เกิดความมึนเมื่อยหรือ

อ่อนเพลียร่างกาย ก็พึงนอนเอนกายเสียบ้าง นอนในท่าที่สบายๆ ตามถนัดจะหลับตาหรือ

ลืมตาก็ได้กำหนดใจอยู่ในกรรมฐานข้อใดข้อหนึ่ง หรือเอาสติควบคุมใจให้สงบนิ่งอยู่เฉยๆ

ก็ได้

๒. นอนเพื่อหลับ การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่จำเป็นของร่างกาย ใครๆก็เว้นไม่ได้ แม้แต่

พระอรหันต์ก็ต้องพักผ่อนหลับนอนเช่นเดียวกันกับปุถุชน ที่ท่านว่าพระอรหันต์ไม่หลับเลย

นั้น ท่านหมายทางจิตใจต่างหาก มิได้หมายทางกาย การหลับนอนแต่พอดี ย่อมทำให้

ร่างกายสดชื่นแข็งแรง ถ้ามากเกินไป ก็ทำให้อ้วนเทอะทะ ไม่แข็งแรง ถ้าน้อยเกินไปก็ทำให้

อิดโรย อ่อนเพลีย ความจำเสื่อมทรามและง่วงซึมประมาณที่พอดีนั้น สำหรับผู้ที่ทำงานเบา

เพียง ๔ - ๖ ชั่วโมง เป็นประมาณพอดี แต่สำหรับผู้ที่ทำงานหนัก ต้องถึง ๘ ชั่วโมงจึงจะ

พอดี ในเวลาประกอบความเป็นผู้ตื่น ( ชาคริยานุโยค ) นั้น ทรงแนะให้พักผ่อนหลับนอน

เพียง ๔ ชั่วโมง เฉพาะยามท่ามกลางของราตรีเพียงยามเดียว


เวลานอกนั้นเป็นเวลา ประกอบความเพียรทั้งสิ้น และทรงวางแบบการนอนไว้เรียกว่า

"
สีหไสยา" คือนอนอย่างราชสีห์ การนอนแบบราชสีห์นั้นคือนอนตะแคงข้างขวา เอนไป

ทางหลัง ให้หน้าหงายนิดหน่อย มือข้างขวาหนุนศีรษะ แขนซ้ายแนบไปตามตัว วางเท้าทับ

เหลื่อมกันนิดหน่อย พอสบาย แล้วตั้งสติ อธิษฐานจิตให้แข็งแรงว่า ถึงเวลานั้นต้องตื่นขึ้น

ทำความเพียรต่อไปก่อนหลับ พึงทำสติอย่าให้ไปอยู่กับอารมณ์ภายนอก ให้อยู่ที่จิต ปล่อยวาง

อารมณ์เรื่อยไป จนกว่าจะหลับ ถ้าให้สติอยู่กับอารมณ์ภายนอกแล้ว จะไม่หลับสนิทลงได้


ครั้นหลับแล้ว ตื่นขึ้น พึงกำหนดดูเวลา ว่าตรงกับอธิษฐานหรือไม่ ? แล้วพึงลุกออกจาก

ออกจากที่นอน ล้างหน้า บ้วนปาก ทำความพากเพียร ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากนิวรณ์สืบไป

ถ้าสามารถบังคับให้ตื่นได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ไม่เคลื่อนคลาด เชื่อว่าสำเร็จอำนาจบังคับ

ตัวเอง ขั้นหนึ่งแล้ว พึงฝึกหัดให้ชำนาญต่อไป ทั้งในการบังคับให้หลับ และบังคับให้ตื่นได้

ตามความต้องการ จึงจะชื่อว่า มีอำนาจเหนือกายซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปฏิบัติอบรม

จิตใจขั้นต่อๆไป


 ที่มา www.palungjit.com

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที