Meditate

ผู้เขียน : Meditate

อัพเดท: 09 ส.ค. 2010 16.40 น. บทความนี้มีผู้ชม: 533270 ครั้ง

ธรรมทาน เป็นทานอันสูงสุด

ขอทำหน้าที่นี้ อีก คน เพื่อ ปัจจัย แห่งการรู้

การมีสติ ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น ที่สนใจ


วิธีอบรมจิตในท่ายืน - ท่าเดิน..โดยพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส ) (ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๘ : วิธีอบรมจิตในท่ายืน - ท่าเดิน
โ ด ย : พระอริยคุณาธาร สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนกวาง


วิธีการอบรมจิตในอิริยาบถต่างๆนั้น ท่านแจงได้ทั้ง ๔ อิริยาบถ แต่สำหรับในสัปดาห์นี้

จะนำเสนอเพียง ๒ อิริยาบถ คือในอิริยาบถยืน กับ เดินท่านแนะนำไว้อย่างนี้ครับ


๑. ยืนอบรมจิต มักใช้ปฏิบัติคั่นในระหว่างการเดินจงกรม เพื่อพักผ่อนร่างกายเป็นระยะๆไป

คือยืนพักขาข้างหนึ่ง โดยผลัดเปลี่ยนกันไป ในเมื่อขาหนึ่งเมื่อยก็เปลี่ยนพักอีกขาหนึ่ง ใน

ขณะที่ยืนนั้นก็ทำการอบรมจิตเรื่อยไป และเมื่อปฏิบัติในอิริยาบถยืนพอสมควรแล้ว ก็ควร

ใช้อิริยาบถอื่นต่อไป


๒. เดินจงกรม คือเดินสำรวมจิตไปมา บนทางที่ทำไว้อย่างดี ราบรื่นสะอาดกว้าง ประมาณ

๒ ศอก ยาวประมาณ ๒๐ ศอก หรือ ๒๐ ก้าว ทางเช่นนี้เรียกว่า ทางจงกรมต้องทำไว้ในที่

เงียบสงัด ไม่เปิดเผยเกินไป และไม่ทึบเกินไป อากาศโปร่ง ถ้ามีที่เหมาะพอทำได้ พึงทำเป็น

ทางเฉียงตะวัน เงาของตัวเองไม่รบกวนตัวเอง แต่ถ้าจะทำที่จงกรมตามลักษณะที่ว่านี้ไม่ได้

แม้ที่เช่นใดเช่นหนึ่งก็พึงใช้เถิด ข้อสำคัญอยู่ที่การเดินสำรวมจิตเท่านั้น วิธีจงกรมนี้ พระ

บาลีไม่ได้แสดงไว้ แต่ที่ปฏิบัติกัน ให้เอามือทั้ง ๒กุมกันไว้ข้างหน้า ปล่อยแขน ลงตามสบาย

ทอดสายตาลงต่ำ มองประมาณชั่ววาหนึ่ง ทำสติสัมปชัญญะควบคุมจิตให้อยู่ในความสงบ

จะเอากรรมฐานบทใดบทหนึ่งมาเป็นอารมณ์หรือไม่ก็ตาม แล้วก้าวเดินช้าๆ ไปจนสุดทาง

จงกรมแล้วหยุดยืนนิดหน่อย จึงกลับหลังหัน ก้าวเดินมาสู่ที่ตั้งต้น ครั้นถึงที่ตั้งต้น หยุดยืน

นิดหน่อยแล้วกลับหลังหัน ก้าวเดินไปอีก โดยทำนองนี้เรื่อยๆไป เมื่อเมื่อยขาพึงยืนพัก ดังที่

กล่าวไว้ในอิริยาบถยืน หรือจะนั่งพักในอิริยาบถนั่ง ซึ่งจะกล่าวต่อไปก็ได้ อานิสงส์ที่ได้จาก

การเดินจงกรมนี้ พระบรมศาสดาตรัสว่า


๑. เดินทางไกลทน

๒. ทำความเพียรทน

๓. เจ็บป่วยน้อย เดือดร้อนน้อย

๔. อาหารที่ดื่มกินแล้ว ค่อยๆย่อยไป ไม่บูดเน่า

๕. สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรม ดำรงมั่นนาน ไม่เคลื่อนง่าย


ส่วนการเดินยืดแข้งยืดขานั้นไม่มีแบบ แล้วแต่อัธยาศัยและความ ถนัดการเดินชนิดนั้นท่าน

เรียกว่า ชังฆวิหาร เป็นการเดินเล่นชนิดเรื่อยเปื่อยไปตามอัธยาศัยนั่นเอง ถึงอย่างนั้นนักปฏิบัติ

ก็ไม่ละโอกาสเหมือนกัน ย่อมมีสติควบคุมจิตใจหรือคิดอ่านอะไรๆ
ซึ่งเป็นเครื่องอบรมใจไปด้วย
ที่มา www.palungjit.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที