อ.สมิต

ผู้เขียน : อ.สมิต

อัพเดท: 01 ก.ย. 2008 08.39 น. บทความนี้มีผู้ชม: 293521 ครั้ง

การประสานงาน หมายถึง "การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ไม่ทำให้งานซ้อนกัน ขัดแย้งกัน หรือเหลื่อมล้ำกัน ทั้งนี้เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายขององค์การนั้นอย่างสมานฉันท์ และมีประสิทธิภาพ"


ตอนที่ 3 การประสานงานกับการสร้างความร่วมมือ

การประสานงานกับการสร้างความร่วมมือ

 

การประสานงานต้องการความร่วมมือ ร่วมใจในการปฏิบัติงานให้เรียบร้อย และสอดคล้องกลมเกลียวกันในจังหวะเดียวกันเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

การประสานงานมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอยู่อีกคำหนึ่งคือ ความร่วมมือ  ข้อแตกต่างคือความร่วมมือเป็นการช่วยเหลือด้วยความสมัครใจแม้จะไม่มีหน้าที่โดยตรง อาจจะทำเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลาก็ได้  แม้กระทั่งอาจให้ความร่วมมือทำบางเรื่องบางเวลา  แต่การประสานงานต้องประสานจิตใจ ความสามารถ กำลังงานในเวลาเดียวกันเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันด้วยการแบ่งหน้าที่กันทำ และต้องการความร่วมมือจนกว่างานจะบรรลุผลสำเร็จ 

ความหมายของความร่วมมือ

          การประสานงานกับความร่วมมือ มีส่วนเกี่ยวข้องกัน แต่ความหมายแตกต่างกัน   มีนักบริหารและนักวิชาการให้ความหมายของความร่วมมือ ไว้ดังนี้

          ความร่วมมือ   หมายถึง ความเต็มใจของแต่ละคนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          ความร่วมมือ   หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่ทำร่วมกัน หรือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่

เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง

          ความร่วมมือ   หมายถึง การทำงานร่วมกับคนอื่นในทางต่าง เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของ

องค์การหรือหน่วยงาน

          ความร่วมมือ   หมายถึง บุคคลในหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งทำงานช่วยเหลือซึ่งกัน ด้วยความเต็ม

ใจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

 

ลักษณะของการประสานงาน

จากความหมายของการประสานงานที่กล่าวถึงข้างต้น  เราจะเห็นได้ว่าการประสานงานมีลักษณะ ดังนี้

1.    การประสานงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดให้งานสอดคล้องกันโดยปราศจากการขัดแย้ง

2.    การประสานงาน เป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวกับความร่วมมือของผู้นำ และผู้ปฏิบัติงานทุกฝ่าย

3.    การประสานงานเป็นเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ในทางจัดการ

4.    การประสานงานเป็นการติดต่อสื่อสาร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อสื่อสาร 2 ทาง  ( Two-  

Way Ccommunication )  จะช่วยให้มีความเข้าใจตรงกัน

5.    การประสานงานมีอยู่ทุกระดับชั้น  ของสายการบังคับบัญชาทั้งในรูปที่เป็นทางการและไม่เป็น

ทางการ

6.    การประสานงานมีได้ทั้งระหว่างหน่วยงานต่างๆ  ระดับเดียวกัน และระหว่างหน่วยงานที่อยู่ต่างระดับกัน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที