อ.สมิต

ผู้เขียน : อ.สมิต

อัพเดท: 12 ธ.ค. 2007 09.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 135159 ครั้ง

ปัญหาของสถานประกอบการแทบทุกแห่ง ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรจึงมีปัญหาเรื่องคนแฝงอยู่ด้วยเสมอ และเป็นปัญหาพื้นฐานที่นำไปสู่ปัญหาด้านต่าง ๆ ตามมา

บทความเรื่องเทคนิคบริหารคน นี้สามารถเป็นเรื่องราวส่วนหนึ่งที่ช่วยคุณได้


สอนให้พนักงานรู้จักค้นปัญหาเพื่อยุติปัญหา

สอนให้พนักงานรู้จักค้นปัญหาเพื่อยุติปัญหา
        
                                                                             สมิต สัชฌุกร
         
         การตั้งคำถามให้พนักงานตอบและสอนให้วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงนั้นเพื่อที่จะได้ฝึกให้พนักงานหาทางออกในการแก้ปัญหาด้วยการกำหนดทางเลือกไว้ให้มากพอและพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดนำไปแก้ที่สาเหตุมิใช่แก้ที่อาการของปัญหา
         
         หัวหน้าต้องทำความเข้าใจกับความหมายของปัญหา อธิบายให้พนักงานรู้ว่าสิ่งใดที่เบี่ยงเบนจากเป้าหมายหรือมาตรฐาน ถือว่าเกิดปัญหาจากนั้นจึงให้แนวทางการค้นหาปัญหาอย่างถูกวิธี โดยแยกให้ออกว่าสิ่งใดเป็นปัญหา สิ่งใดไม่เป็นปัญหาและปัญหาอยู่ที่อะไร 
         
ปัญหาคืออะไร?
         ในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เราจะพบสิ่งที่เป็นปัญหาตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องร้ายแรง ทั้งในปัญหาส่วนตัวและปัญหาส่วนรวม ซึ่งหากมิได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีปัญหาเหล่านั้นก็จะคงอยู่และทำความยุ่งยากแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวของเราเอง
         การมองไม่เห็นปัญหาหรือความเคยชินที่มีอยู่กับปัญหา จะทำให้เกิดความรู้สึกเสมือนหนึ่งไม่มีปัญหา ทั้งที่ใคร ๆ ก็เห็นอยู่ตำตาหรือค้นพบได้โดยไม่ยาก หลายครั้งที่เราพบว่ามีความยุ่งยากที่จะต้องได้รับการแก้ไขและเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์จะได้ดำรงอยู่ แต่เราก็อาจจะบอกไม่ถูกว่าปัญหาคืออะไร เพียงแต่ระบุอาการของปัญหาว่าเป็นผลให้เกิดความติดขัดไม่เป็นอย่างที่ควรจะเป็น
         มีผู้ให้ความหมายของคำว่า ปัญหา ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง คือ การหันเหไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น หรืออีกนัยหนึ่งคือ ความแตกต่างระหว่างสภาวะที่เกิดขึ้นจริง ๆ กับสภาวะที่เราตั้งเป้าหมายไว้หรือสิ่งที่ควรจะเป็น (a problem is a deviation from standard or what it should be)
         
ลักษณะของปัญหา
         เราจะเห็นว่า ปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีสาเหตุบางประการมาทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นไม่สามารถดำเนินไปตามที่ควรจะเป็น
        องค์ประกอบสำคัญของปัญหา
1. มีมาตรฐานหรือเป้าหมายที่แน่นอน (standard, objective or should)
2. มีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น (change)
3. มีการหันเหออกจากวิถีทางที่ควรจะเป็น (deviation)
         เราคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า เมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล หรือในทางกลับกัน เมื่อมีผล (effect) ก็ต้องมีเหตุ (cause) ดังนั้น เราอาจจะสรุปเสียชั้นหนึ่งก่อน ณ ที่นี้ว่า สาเหตุของปัญหานั้นมักจะเกิดเพราะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างเกิดขึ้น จึงมีผลให้เกิดความหันเหออกจากวิถีทางที่กิจการงานหรือการทำงาน

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที