日本語ページ

สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เปิดโครงการให้คำปรึกษาเพื่อลดความสูญเปล่าด้วยระบบการผลิตแบบลีน (Waste Reduction by Lean Production)
(กิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว)

สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ร่วมกับ
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)


โครงการให้คำปรึกษาเพื่อลดความสูญเปล่าด้วยระบบการผลิตแบบลีน
(Waste Reduction by Lean Production)

ลีน คืออะไร (What is Lean ?)
Lean ตามพจนานุกรม หมายถึง “ผอม” หรือ “เนื้อไม่มีมัน” การผลิตแบบลีน Lean Production คือ “การใช้หลักการชุดหนึ่งในการระบุและกำจัดความสูญเปล่า เพื่อส่งมอบสินค้าที่ลูกค้าต้องการ และทันเวลา”
       หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ลีน คือ ปรัชญาในการผลิต ที่ถือว่า ความสูญเปล่า เป็นตัวทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น และควรมีการนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการกำจัดความสูญเปล่าเหล่านั้นออกไป หรือ อีกนัยหนึ่งคือ Lean เป็นระบบการผลิตที่มุ่งเน้นการกำจัดต้นทุนสูญเปล่า ซึ่งผลก็คือ กำไรจะตามมาในทันที

Waste Reduction by Lean Production



การปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุน
ด้วยแนวทางการผลิตแบบลีน (Lean Production)

ต้นทุนในการดำเนินการที่แท้จริงของบริษัทเป็นเท่าใด  คุณทราบคำตอบนี้หรือไม่?

ต้นทุนโดยปกติที่แสดงให้เห็นนั้น มักจะเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ในขณะที่ต้นทุนโดยส่วนใหญ่มักจะมองไม่เห็นหรือไม่ได้รับความสนใจ
มุมมองของลีน คือ เผยให้เห็นต้นทุนเหล่านั้น เพื่อดำเนินการแก้ไข และขจัดต้นทุนเหล่านั้นออกไป

Waste Reduction by Lean Production



การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยหลักการของลีนทำอย่างไร
เป้าหมายของการผลิตแบบลีน (Lean Production) มุ่งเน้นที่จะกำจัดความสูญเปล่า 7 ประการ ( 7 Wastes) ที่มักเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารลูกค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ การติดต่อกับ ผู้ผลิต หรือ การบริหารภายในโรงงานเอง  ได้แก่

Waste Reduction by Lean Production1. ผลิตมากเกินไป (Over Production)
2. มีกระบวนการมากเกินไป (Over Processing)
3. การขนย้าย (Conveyance)
4. สินค้าคงคลัง (Inventory)
5. การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)
6. การรอคอย (Waiting)
7. การเกิดของเสีย (Defect )



ซึ่งการลดความสูญเปล่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการลดต้นทุนในการดำเนินการของธุรกิจใดๆ เพื่อสร้างกำไรให้กับองค์การโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า การดำเนิน การเพื่อลดความสูญเปล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องฝึกอบรมพนักงานให้มีความเข้าใจอย่างแท้ จริงว่า กิจกรรมใด เพิ่มคุณค่าให้กับงาน (Value Added) และ กิจกรรมใดไม่เพิ่มคุณค่าให้กับงาน


กิจกรรมหลักในการปรับปรุง
1. กำหนดคุณค่า (Value) ของผลิตภัณฑ์
2. เขียนแผนผังคุณค่าของผลิตภัณฑ์หลัก (Value Stream Mapping)
3. ทำให้การผลิตไหลลื่น (Flow)
4. สร้างกลไกการดึงงาน (Pull) เพื่อลดการผลิตมากเกินไป
5. พัฒนาสู่ความสมบูรณ์แบบ (Perfection)

ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. มีผลการปรับปรุงเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างน้อย 10% เช่น เพิ่มผลผลิต 10% ลดต้นทุน 10% ลด Breakdown 10% และลด Lead time 10% เป็นอย่างน้อย
2. กระบวนการผลิตมีความยืดหยุ่น ตอบสนองต่อลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น
3. ต้นทุนการผลิตอยู่ภายใต้การควบคุม
4. เสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรในองค์การสู่ความเป็นเลิศในการผลิต

ขอบข่ายการดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินโครงการประมาณ 9 เดือน  โดยมีจำนวนวันทั้งหมด 15 วัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การดำเนินการ

สถานที่

1. ตรวจประเมิน (Lean Assessment) และจัดทำ Proposal 1 วัน

บริษัท

2. ฝึกอบรมเครื่องมือหลักของลีน (Lean Tools) 1 วัน

บริษัท

3. ให้คำปรึกษาเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิต (Consulting) 11 วัน

บริษัท

4 จัดเสนอผลงาน ภายในบริษัท 1 วัน

บริษัท

5. จัดเสนอผลงานรวมทุกบริษัท 1 วัน และแจกหนังสือเล่ม (Pocket Book) รวมผลงานดีเด่นของแต่ละบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ


คุณสมบัติเบื้องต้นของบริษัทที่ร่วมโครงการ
บริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการ ควรเป็นสมาชิกสมาคมต่อไปนี้ 
       1.สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย 
       2.สมาคมอุตสาหกรรมหล่อโลหะไทย
       3.สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย 
       4.สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย
       5.สมาคมเครื่องจักรกลไทย     
       6.สมาคมสมองกลฝังตัวไทย
       7.สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
       8.สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก
       9.สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจวัตถุอันตราย  
       10.สมาคมไทยลอจิสติกส์และการผลิต
       11.กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการสื่อสาร
       12.โรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ

ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ
ค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้ง 15 วันตลอดโครงการประมาณ 9 เดือน  รวมทั้งสิ้น 140,000 บาท  (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)   สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ออกให้ครึ่งหนึ่ง คือ 70,000 บาท  และบริษัทเสียค่าใช้จ่าย 70,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ
1. กรอกใบตอบรับส่งมาที่สมาคมฯ ทางโทรสารหมายเลข 0-2719-9489-90
2. สมาคมฯ จะดำเนินการพิจารณาคัดเลือกบริษัทเข้าร่วมโครงการ
3. ที่ปรึกษาเข้าทำการ Assessment ที่บริษัท และจัดทำ Proposal เสนอบริษัท
4. บริษัทเห็นชอบและลงนามในสัญญากับสมาคม
5. ที่ปรึกษาเข้าดำเนินการโครงการตามแผนงานใน Proposal

บริษัทที่สนใจกรุณากรอกรายละเอียดในแบบตอบรับสมัครเข้าร่วมโครงการ
ส่งมา ภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2550
สมัครด่วนรับจำนวนจำกัด เพียง 19 บริษัทเท่านั้น
 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ


โทรศัพท์ 0-2717-3000-29 โทรสาร 0-2719-9489-90
คุณสมปอง  ต่อ  631  sompong@tpa.or.th



Download  ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ
Download  โบวชัวร์




ดูกิจกรรม/โปรโมชั่นทั้งหมด


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter