ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987914 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 22 ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)

ตอนที่ 78

วันที่ 22

ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ (Applied Strategy )(1)

 

1.  ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ :

              

             ในวันที่ 22 เป็นต้นไป เป็นภาคของแนวความคิด  และการประยุกต์ใช้ความรู้ตามทฤษฏีต่างๆ ของหลักการบริหารงานภาคปกติและเชิงกลยุทธ์   โดยมีการผสมผสานกับแนวความคิด ของการพัฒนาด้าน ปรัชญาและจิตวิญญาณ  เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด…..และใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ท่ามกลางกระแสสังคมที่มี…..การเอาลัดเอาเปรียบ…..และการแข่งขันกันอย่างสูง

                ทั้งภาคเอกชน  ราชการ และรัฐวิสาหกิจ  จึงต้องมีการปรับ แผน / ระบบ การบริหารงาน เพื่อเข้าสู่การแข่งขัน และให้บริการแก่ประชาชน….โดยต้องมีการหาเทคนิค / เครื่องมือ….ในการจัดการมาช่วยพัฒนาองค์กร/องค์การ…. ทั้ง Strategy Plan… Strategy Map และ BSC…..ประเด็นสำคัญอยู่ที่การสร้างแผนกลยุทธ์ ให้ทุกฝ่ายเข้าถึงและเข้าใจได้โดยง่าย….เพื่อเข้าสู่ระดับปฏิบัติการจริง มีการทดสอบและฝึกอบรมก่อนการใช้งาน….มีการรวบรวมข้อมูล ประเมินผล และสรุปผลการปฏิบัติการของแผน โดยต้องให้ผู้บริหารทุกระดับ….ทุกสายงานเป็นกลจักรขับเคลื่อน และผู้บริหารระดับสูงต้องควบคุมและติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด 

 

2.  การประยุกต์แผนกลยุทธ์…ตามหลักของการบริหาร ความคิดด้านปรัชญาและจิตวิญาณ :

               

                2.1    การนำแผนกลยุทธ์มาประยุกต์ใช้กับหน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจ   

                2.2    การประยุกต์ หลักปรัชญาและจิตวิญาณเพื่อใช้ในแผนกลยุทธ์

                2.3    ความคิด / แนวคิดใหม่ ภายใต้จักรวาล…สู่โลกมิติบริหาร

 

  3.  ปรับความเข้าใจความรู้พื้นฐานเพื่อเข้าสู่ภาคประยุกต์แผนเชิงกลยุทธ์ :

 

                 3.1   Strategic Focus Organization

                 3.2   Strategic Map Focus  

                 3.3   Good Governance

                3.4   HR  Technique

                3.5   Buddhism  and  Scientific  Management

 

4.   ทบทวนเพื่อความเข้าใจหลักพื้นฐานในการนำไปประยุกต์ :

     

                4.1   แนวความคิดและทฤษฏีเบื้องต้นของ……strategy management focus……เริ่มต้นจากการสร้างแผน / ปฏิบัติตามแผน/การควบคุมและประเมินผล….โดยผู้นำ / ผู้บริหาร จะต้องยึดหลัก….C-change….T- transfer….E-encourage….C-continuous tradition….มีการเปลี่ยนแนวความคิดของบุคลากรขององค์กร/องค์การ ให้คิดในแนวสร้างสรรค์ ใช้ core value สร้างความสามัคคีเพื่อนำแผนกลยุทธ์ไปสู่ความสำเร็จ…..โดยมีการถ่ายทอดความรู้เป็นลำดับขั้นในทุกระดับชั้น มีการเชื่อมโยงในสายงานการทำงานให้เกื้อหนุนและสอดคล้องกันทั่วทั้งองค์การ  เพื่อนำแผนไปปฏิบัติงานได้จริง…..มีการเสริมสร้างแรงบันดาลใจ และปลุกใจให้รู้จัก รักในหน้าที่การทำงาน  มีการจูงใจและสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานและเจ้าหน้าที่ทุกคน….ทุกระดับชั้น !........ต้องทำให้ระบบการทำงานเป็นไปอย่าง automatic และกระทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นธรรมเนียมขององค์กร / องค์การ…….มีการพัฒนาไปตามยุกต์และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วย !

สรุปหลักการคือต้องคิดและตอบคำถามได้ว่า :  มีการสร้างวิสัยทัศน์  ให้เกิดความเข้าใจเพื่อนำไปปฏิบัติได้ในกลุ่มผู้บริหารในแต่ละระดับกี่..?...%.....ในระดับพนักงานกี่…?...%....ศักยภาพ / ความสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ทั้งหมด พร้อมปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ขององค์การได้กี่….?...%....ต้องมีเป้าหมายชัดเจนในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ โดยนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด…….การสร้างความเชื่อมโยงของแผนกลยุทธ์กับความสัมพันธ์   ระหว่างเป้าหมายกับผลลัพธ์ของแผน…ต้องสามารถ แปลเปลี่ยนเป็นผลตอบแทนให้กับผู้ดำเนินงานขององค์กร/องค์การ….ทุกฝ่าย/กลุ่ม….ตามระดับของสายการทำงาน….  และต้องมีการจัดสรรงบประมาณของแผน…..ให้ทุกคนเข้าใจและเต็มใจในการผลักดันแผนทั้งหมดให้ดำเนินไปอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง……………..และในที่สุดก็ต้องมีตัวชี้วัดและเครื่องมือในการควบคุมและประเมินผล….BSC….เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางและเตรียมวิธีการแก้ปัญหาไว้

               4.2  มีการสร้างกรอบของแผนที่กลยุทธ์….. frame of strategy map….เพื่อแสดงยุทธศาสตร์ ขององค์กร/ องค์การ…..แสดงถึงเหตุและผลลัพธ์ (Outcome) ที่ได้ขององค์กร / องค์การ  โดยผ่านมุมมองด้านการเงิน  มุมมองด้านลูกค้า  มุมมองกระบวนการภายในและมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนาองค์กร

ซึ่งเป็นไปในแนวทางของ…BSC….เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นกรอบการประเมินผลการบริหารระบบงานได้ทุกองค์กร / องค์การ….ใน 4 มุมมอง ( Perspective ) นั่นอง……ในข้อนี้หน่วยงานของรัฐต้องแปลเปลี่ยนมุมมองทั้ง 4 ให้ตรงกับหน่วยงานตามหน้าของตนที่ให้บริการ…..โดยยึดหลักของ 4 มุมมอง / มิติ ได้แก่……มิติด้านประสิทธิผลตรงตามพันธกิจของเป้าหมายและเป้าประสงค์ตามความพร้อมด้านบุคลากรภายใต้งบประมาณที่กำหนด….มิติการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพต้อง แสดงความสามารถออกมาได้โดยได้รับการยอมรับจากประชาชน….. มิติด้านการพัฒนา  องค์กร/ องค์การ……ต้องฝึกอบรม และมีแผนของการเตรียมความพร้อมตามขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

 

////////////////////////////////////////

18/6/2553


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที