ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987978 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 27 การบริหารงานแบบปล่อยวาง (3)

ตอนที่ 102

วันที่ 27

การบริหารงานแบบปล่อยวาง (3)

 

             จากตัวอย่างการทำ workshop ของบริษัทพัฒนากิจออโตพาร์ท เป็นการประยุกต์ Emptiness Management ….จากหลักธรรมะ….ความว่างเปล่า….ปรับมาเป็นการบริหารงานแบบปล่อยวางเพื่อใช้กำหนดเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์การบริหารองค์การ….คุณยงยุทธ์ CEO วางเป้าหมายให้เริ่มที่กระบวนการผลิตชิ้นส่วยอะไหล่รถยนต์ในสายการผลิต A ……เพียงผู้รับผิดชอบในสายทำงานโดยตรง กับผู้บริหารHR…ก็สามารถสร้างระบบการบริหารแบบใหม่ๆที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์การได้ผ่านทางการตกผลึกทางความคิดและถูก….modification….เป็น management model ใหม่ๆขึ้นมาที่เกิดจากประสบการณ์จริงๆในการทำงานโดยสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรเหมาะสมกับชีวิตประจำวันของผู้ทำงาน….และถูกแปลงออกมาเป็นวิธีการปฏิบัติโดยผ่านกระบวนการ….brainstorming and participation….ของผู้ทำงานโดยตรง…..คุณสมชายก็เปิดโอกาสให้ระดับหัวหน้าสายงานและผู้จัดการฝ่าย..ช่วยกันระดมความคิดและรวบรวมแล้ว….นำมากำหนดเป็นแนวนโยบายเบื้องต้นของแผนการอบรม…..ซึ่งคุณสมชายพร้อมกับกลุ่มที่เข้าร่วมกันทำ workshop ในครั้งนี้สรุปมาเป็นหลักปฏิบัติของ…..หลักการบริหารแบบปล่อยวาง….ได้4 ข้อดังนี้                                                    


1.  การกำหนดงานที่ทำให้เหมาะสมกับสังขารและความสามารถของบุคลากร :

     ข้อนี้นำมาใช้ได้กับทุกส่วนขององค์กร/องค์การ….ทำให้คนทำงานมีความยินดีและเต็มใจทำงานตามหน้าที่….พร้อมที่จะทุ่มเทกำลังกายและสติปัญญาให้กับองค์กร/องค์การอย่างสุดความสามารถ…..การปล่อยวาง จะช่วยไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบแรงงานและเป็นผู้ที่มีมนุษยธรรม….!

2.   มีหลักธรรมะในการบริหารงานในข้อ…. สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายา…"สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น"….เมื่อปล่อยวางก็เกิดความสงบและเป็นสุข :

       ข้อนี้ทำให้เกิดการทำงานด้วยความมานะ พยายาม และอดทนเพื่อความสำเร็จ ขององค์กร/องค์การเมื่อตนเองสำเร็จองค์กรก็สำเร็จด้วยการปล่อยวางที่ยึดธรรมะขั้นต้น จะทำให้เกิดความยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่และได้รับ ไม่อิจฉาริษยาทำความดี ไม่หวังลาภ ยศ รู้จักประมาณตนและรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว

 3.   มีหลักไตรลักษณ์เป็นข้อยึดเหนี่ยว…..อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ….นิพพานัง สุญญัง ทุกสิ่งเป็นธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่มีตัวตนตราบกระทั่งสังขาร/จิต ดับสูญสู่นิพพาน :

      ข้อนี้อยู่ในขั้นพัฒนาจิต ทำให้รู้จักตัวตนที่แท้จริงมากขึ้นจนกระทั่งรู้ว่าตัวเอง ตนเอง ร่างกาย เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีเกิดขึ้น เจริญเติบโต เสื่อมสลาย และมีการดับสูญ….. การปล่อยวางที่ยึดธรรมะขั้นหลุดพ้นนี้ จะทำให้รู้แน่ว่าทางของการหลุดพ้นคือ อนัตตา คือไม่มีตัวตนจึงไม่มีอำนาจไม่มีผลที่จะมาพึ่งพิงขันธ์ จึงจะหมดทุกข์

4.  รู้จักการฝึกสมาธิเบื้องต้นแบบอานาปานสติกำหนดรู้ลมหายใจ เข้าออก….ภาวนาว่าปล่อยวาง”…. คือ..หายใจเข้าปล่อยวางหายใจออก….ปล่อยวาง ปล่อยวางในทุกสิ่งทั้งปวงไม่ยึดมั่นถือมั่น :   

    ข้อนี้ใช้ในการฝึกตนให้มีสมาธิ เพื่อรักษาคุณธรรมในข้อ 2 และ 3 เป็นการรักษาสภาพธรรมะให้คงอยู่คู่กับตัวเราเป็นการฝึกและเตือนตนให้มีสติและเจริญด้วยปัญญาอยู่ตลอดเวลา….การปล่อยวางที่ยึดหลักเจริญอานาปานสติภาวนา จะสร้างความมุ่งมั่นและเด็ดเดี่ยวในการฝึกสมาธิในชีวิตประจำวันและในชั่วขณะที่ปฏิบัติโดยยึด ไตรลักษณ์ เป็นสรณะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

             เมื่อเริ่มทำ workshop ในตอนที่ 97….คุณวุฒิชัย และคุณสุชาติ…..ได้ศึกษาหลักเบื้องต้นของ Emptiness Management จากการยกตัวอย่างการหาความสัมพันธ์ของทุกข์กับความว่างเปล่าและการนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร/องค์การ…..คุณวุฒิชัย….มีคำถามว่า Emptiness Management เกี่ยวข้องกับการทำงานแบบไคเซ็นอย่างไร?…….ส่วนคุณสุชาติ…..สงสัยว่าจะมีผลกระทบกับการทำ5อย่างไรบ้าง?  

              จากข้อสรุปนิยามของ Emptiness Management….เป็นหลักของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้จากหลักธรรมะที่ต้องใช้ปัญญาและความรู้จริงของประสบการณ์ในงานที่ทำ....ภายใต้เงื่อนไขและสภาวะหนึ่ง….สามารถถ่ายทอดสู่ผู้อื่น และนำไปใช้ในการบริหารงานภายใน...องค์กร/องค์การ..เรียกว่า…“ การบริหารงานแบบปล่อยวาง” …..เป็นการบริหารที่เข้าใจสังขารขันธ์ของมนุษย์….จุดสิ้นสุดของขันธ์คือการดับหรือความตาย และจุดสุดท้ายที่อนัตตา….การไม่มีตัวตนจึงจะเกิดความว่างเปล่าในทางปฏิบัติใช้หลัก 4 ข้อ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น…..และการนำหลักไปประยุกต์ใช้ก็ต้องสอดคล้อกันดังนี้                                          

1.   เป็นระบบการบริหารงานที่ดี….เพราะมุ่งที่คุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่จะต้องทำงานตามหน้าที่โดยพิจารณาตามสังขาร….มอบหมายงานให้ทำพอดี เหมาะสมกับสภาพร่างกาย  ความรู้ และความสามารถ……..ซึ่งร่างกายต้องทำงานด้วยความสุขถึงแม้จะอยู่ภายใต้กฎระเบียบของ องค์กร/องค์การก็ตาม

2.   เป็นระบบการบริหารที่ต้องอาศัยพลังภายในคือจิตเน้นการฝึกฝนและพัฒนาจิตให้….ส่งผลเพื่อส่งเสริมกับสภาพภายนอกคือกาย….จนเกิดความตั้งใจ ตั้งมั่นที่สติและปัญญา….ทำได้โดยการฝึกสมาธิ เพื่อใช้ในการทำงานช่วยไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานเริ่มจากการสื่อสารสั่งงานถูกต้องแม่นยำ มีความเข้าใจในงานอย่างแท้จริงทำงานมีคุณภาพและประสิทธิภาพ……และทุกอย่างสิ้นสุดที่ความว่างเปล่าภายในที่จิตนั่นเอง

3.   เพื่อให้ ผู้นำ/ผู้บริหารเป็นผู้ที่เข้าใจสังขารขันธ์ดีจึงเข้าใจใน ทุกข์ และความไม่เที่ยงของอินทรีย์…..ทำให้ทั้ง ผู้นำ/ผู้บริหารและผู้ตาม ทำงานด้วยหลักของการใช้สติและปัญญา                             

       จะเห็นว่าหลักที่นำไปประยุกต์ใช้ทั้ง 3 ข้อจะสอดคล้องกับหลักปฏิบัติของการบริหารแบบปล่อยวาง ที่กล่าวมา 4 ข้อจึงสามารถหาความสัมพันธ์และตอบปัญหาของคุณวุฒิชัยและคุณสุชาติได้ดังนี้  

1. ในกรณีแนวคิดของไคเซ็น.. Kaizen.. เป็น การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ……Continuous Improvement…..มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานผู้ปฏิบัติงานให้ร่วมกันหาวิธีปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานและสภาพแวดล้อมที่ทำงานให้ดีขึ้นนำมาซึ่งประสิทธิภาพของการทำงาน….เน้นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังทำงานอยู่….เป็นการรักษามาตรฐานการทำงานให้คงที่คงอยู่คู่ องค์กร/องค์การ….ตลอดไป….หลักไคเซ็น ต้องการให้ทุกคนปฏิบัติเพื่อให้ตนเองทำงานด้วยความสบายทั้งกายและใจเป็นขั้นๆในทางตรงกันข้ามถ้าตัวผู้ทำงานไม่มีการปรับปรุงและพัฒนาตัวของเขาเองก็จะได้รับความลำบากมากขึ้นจนกระทั่งเขาทนไม่ได้หลักนี้เน้นที่ตัวผู้ทำงานทุกคนให้เกิดความรักในหน้าที่และเต็มใจทำงาน  ด้วยความพร้อมที่จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง…..

           ไคเซ็นต้องการให้เกิดการกระทำซ้ำๆ (Repetitive)…..ซึมซับเป็นพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ  จนเกิดความเคยชิน….โดยสร้างความสุขในการทำงาน….และการกระทำซ้ำๆกันนี้ก็ต้องนำไปสู่ การพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) :

             จะเห็นว่าเราสามารถนำหลักการปฏิบัติของ การบริหารแบบปล่อยวางมาใช้ได้ทั้ง 4 ข้อ โดยเฉพาะในข้อที่ 1 และ 2…..เป็นการทำให้ผู้นำ/ผู้บริหารมีการมอบหมายงานตามหน้าที่ให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และสภาพร่างกายของผู้ทำงานที่รับได้….ซึ่งแน่นอนเมื่อเกิดความเหมาะสม และความพอดีดังกล่าวแล้วสามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงาน เต็มใจและเข้าใจในงาน เกิดความพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง ระบบของงานของ องค์กร/องค์การ….อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตนเอง…..เกิดความสบายทั้งกายและใจตรงตามหลักของไคเซ็น….และจากหลักการประยุกต์ การบริหารงานแบบปล่อยวาง….ก็สามารถนำมาใช้กับไคเซ็นได้ทั้ง 3 ข้อ….ข้อที่1 ช่วยให้เกิดการมอบหมายงานได้เหมะสมกับผู้ทำงานข้อที่ 2 เป็นการฝึกให้รู้จักการทำสมาธิเพื่อช่วยให้ตนเอง….มีสติและปัญญามีจิตว่างสามารถคิดและแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ…ข้อ3 ส่งเสริมให้ผู้ที่เข้าถึงใน ความไม่เที่ยงของสังขารและตัวตนที่มาของสุขและทุกข์ต่างๆ

             วิธีง่ายๆในการใช้หลัก….การบริหารแบบปล่อยวาง….ผนวกกับหลักไคเซ็นในสายการผลิตA….เริ่มจาก….1. ตรวจสอบดูว่าใน line A มีสิ่งที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า / สูญเสีย ใดบ้างก็ให้หาวิธีตัดทอนเพื่อลดสิ่งเหล่านั้นลง…2. หาทางกำจัดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์/สูญเสีย ต่างๆเหล่านั้น ออกไปจากสายการผลิต A ให้ได้…3. ปรับเปลี่ยนระบบการทำงานที่ทำให้เกิดการสูญเปล่า / สูญเสีย เหล่านั้น….ไปพร้อมๆกับการพัฒนาระบบการทำงานที่ใช้อยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้นและต่อเนื่อง

 

2. หลัก 5 .กับการบริหารแบบปล่อยวาง..... กิจกรรม 5 ส. ประกอบด้วยสะสางสะดวกสะอาดสุขลักษณะสร้างนิสัยมุ่งเน้นเพื่อให้เกิดการทำงานให้มีประสิทธิภาพ….สามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเริ่มจากเรื่องที่เป็นพื้นฐานของ….ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์คือการรักษาความสะอาด….ความเป็นระเบียบเรียบร้อย….ของที่ทำงานทั้งในสำนักงานและภายในโรงงาน….พิจารณาหลักสำคัญของ 5 ส กับหลักการบริหารแบบปล่อยวางควบคู่กันได้ดังนี้

1. การทำ 5 ส เป็นกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนโดยต้องมี  ผู้นำ/ผู้บริหาร….เข้าร่วมทำและเป็นผู้นำแผนโดยให้ความสำคัญ….จัดเวลาและงบประมาณเพื่อสนับสนุนอย่างเต็มที่ :

              หลักการบริหารแบบปล่อยวางช่วยให้มีการกำหนดหน้าที่ไม่เกินกำลัง และความสามารถของแต่ละคน ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม….จากหลักพื้นฐานการบริหารแบบปล่อยวางคือการมีความตั้งใจและใช้สติปัญญาในการทำงานตามหน้าที่อยู่แล้วเพราะฉะนั้นเมื่อได้เข้าร่วมทำแผน 5 ส ก็เท่ากับว่าช่วยให้แผนดังกล่าวเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคงและยืนยาวอย่างแน่นอน….เพราะทุกส่วนที่แสดงออกมาเป็นธรรมชาติที่มาจากภายในจิต….ด้วยความเต็มใจและให้ความร่วมมืออย่างเต็มความสามารถ
2. แผนการปฏิบัติงาน 5 ส คือ..การจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานในองค์กร/องค์การทั่วถึงทุกระดับและต้องมีการสร้างแผนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างแรงกระตุ่นเป็นช่วงๆโดยตลอด….เพื่อไม่ให้เกิดการขาดช่วงการปฏิบัติพร้อมกับการสร้างแรงจูงใจตามความเหมาะสมขององค์กร/องค์การ….เพื่อสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร/องค์การ….ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างระบบมาตรฐานให้กับองค์กร/องค์กา….ด้านร่างกายและสภาวะจิต : 

            การบริหารแบบปล่อยวางช่วยส่งเสริมทางด้านความอดทน การฝึกจิต และการทำสมาธิได้เป็นอย่างดี….โดยไม่เกิดความเบื่อหน่าย จำเจและท้อแท้….แต่กลับทำให้งานที่ทำตามหน้าที่ของตนและงานตามแผน 5   ดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติจนกลาย มาเป็นประเพณีขององค์กรในที่สุด…..ช่วยสร้างความมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของบุคลากรภายในองค์กร

 

////////////////////////////////////////

30/4/2554


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที