ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987896 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(3)

ตอนที่ 107

วันที่ 28

การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล (3)

 

อาจารย์ดอน :  ใช่!.....มนุษย์เรามีต้นทุนทางสังคมต่างกัน…..แต่ต้นทุนทางสติปัญญา…ทางมโนธรรมนั้นเท่ากัน เพราะสามารถเรียกร้อง ขอร้อง ใฝ่หา เสาะแสวงหา การเรียนรู้ ความพยายามที่จะหาด้วยสิทธิและเสรีภาพที่พึงมีในระบอบ…..การปกครองของประเทศนั้นๆ……ความรู้ สติและปัญญา ก็ทำให้เกิดความแตกต่างของทุนเหล่านี้ได้….แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นในหลายกรณี

ศิษย์โดม : กรุณาทบทวนคำว่า…“ทุน”…ที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวมาอย่างคร่าวๆด้วยครับ!

อาจารย์ดอน :  เอาหล่ะ….ฟังและคิดตามเพื่อให้เกิดการจำได้นานๆ!                                                                

มโนธรรมทุน (Conscience capital) หมายถึง การมีความรู้สึก..ผิด..ชอบ..ชั่ว..ดี และมีความรู้สึกว่า..สิ่งใดควรทำ..สิ่งใดไม่ควรทำ   มนุษย์ทุกคนจะต้องมีมโนธรรม จิตสำนึกและจิตใต้สำนึก….จะบอกซึ่ง…ความขัดแย้งระหว่างกันแบบต่างขั้ว….ในบางเวลาที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปโดยทั้งๆที่รู้ว่า….มันไม่ใช่สิ่งที่ตนคิดและได้มุ่งหวังไว้….มโนธรรมทุนไม่สามารถตีราคาเป็นมูลค่าเงินได้…..แต่บอกได้ด้วยจิตและกายสำผัส….เป็นทุนที่ให้ความสุขตลอดระยะเวลาปฏิบัติ                                                                                                             

ทุนทางปัญญา (Intellectual  capital)  หมายถึง ความสามาถในการคิดและวิเคราะห์จนสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บุคคล…เป็นความสามารถเฉพาะตัวบุคคล….ที่เกิดจากประสบการณ์และการอบรมเรียนรู้…ทุก องค์การ/องค์กร….ต้องจัดให้เกิดการสร้างทุนนี้ขึ้นมาเพื่อ…..ให้เกิดการฝึกฝนในการทำงานด้วยระบบ…พร้อมกับฝึกการเจริญสติและปัญญาควบคู่ไปกับ….การทำงาน….ในที่สุดก็สามารถเสริมสร้างทุนทางปัญญานี้ให้แก่บุคคลในองค์การได้                                                                               

ทุนทางสังคม (Social capital)  เป็นผลที่ได้จากการรวมตัวของคนดีๆ…มีคุณภาพในสังคม…สร้างสรรสังคม หล่อหลอมประเพณีที่ดีงาม…เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านบุคคล ครอบครัว และสังคมส่วนรวมก่อให้เกิดความสามัคคี การกินดีอยู่ดี  จนสิ่งดีงานเหล่านั้นกลายเป็นวัฒนธรรม ธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา…..ทุนทางสังคมจึงประกอบด้วย….ทุนมนุษย์ คือความมีคุณค่าเฉพาะตัว ได้แก่ความมีสติปัญญา ความดีงาม คุณธรรม จิตใจคิดดี มีความรับผิดชอบสูงต่อตนเองและสังคม….ทุนทางปัญญา และทุนที่เป็นองค์กร/องค์การ/สถาบัน…ซึ่งทุนทางปัญญาจะรวมถึงวัฒธรรม คุณธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การรักษาระเบียบ วินัย และการทำงานเพื่อส่วนรวม….ส่วนทุนที่เป็นองค์กร/สถาบันนี้จะเป็นทุนที่ขับเคลือนที่สำคัญเพื่อให้สังคมเดินไปข้างหน้าได่อย่างมั่นคง

ศิษย์โดม :  โอ้โห!....ทุน…ก็ยังรวมถึงสิ่งที่เราจับต้องไม่ได้ก็สามารถกลายป็นทุนได้ซิครับ?

อาจารย์ดอน :  เลือกนำมาใช้เฉพาะ….ความดีงามเท่านั้น…..และความหมายของรากศัพท์ใหม่ๆที่บัญญัติ ขึ้นมาก็ยังต้องมีการปรับแก้ไขต่อไป….ซึ่งมาไวไปไวมาก….ธรรมาภิบาลก็ถือว่าเป็นทุนขององค์การ/ของสถาบัน….และของประเทศชาติที่เราพยายามไปให้ถึงจุดนั้น!....อย่าสับสนคำว่าทุนในช่วงนี้เลย…เพราะมักจะใช้กันมากขึ้น….เมื่อบรรยากาศนิ่ง….เราก็จะรู้ว่าอะไรคือทุนทางสังคมอย่างแท้จริง!                                 

ศิษย์โดม :  นานไหมครับ!....และคำว่า…มโนธรรมและจริธรรมสัมพันธ์กันอย่างไรครับ?

อาจารย์ดอน : น่าจะอีกสักหลายปีนี้….คงจะได้เห็นความเบ่งบานของ..คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลกันอย่างแน่นอนและเต็มที่!........ จริยธรรม” คือความต้องการของสังคมเพื่อให้คนในสังคมประพฤติ ภายใต้ขอบเขตของระบอบการปกครอง และนำไปปฏิบัติในกรอบของ “มโนธรรม”….ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเป็นอยู่ที่สงบสุข  และความเจริญรุ่งเรืองถาวร ของสังคมประเทศชาติต่อไป

เดี๋ยว…กลับมาที่….โดมว่า ตอนที่ 2 - 6  ได้กล่าวถึงนิยามของภาวะของ“ ผู้นำ(Leader)” ….และคุณธรรมไว้ว่าอย่างไร….ในตอนที่ 2 กล่าวถึง ภาวะผู้นำ 5 ประการ ได้แก่

1.ต้องเป็นผู้รู้จักใช้คน

2.ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ :- ต้องให้ทุกคนอิ่มท้องก่อน                                                                      

3.ต้องเป็นผู้มีความสามารถครองใจคน :-ด้วยความรู้,ความคิด,ความดี และการจัดการดี 

4.ต้องมีศีลปะในการพูด :- พูดให้คนรักได้     

5.ต้องอยู่เหนือดวง :- ด้วยหลักธรรม 

…..ส่วนในตอนที่ 6 กล่าวถึง หลักธรรมง่ายๆไม่ซับซ้อนอันพึงปฏิบัติของ

“ผู้นำ”  ต้องมีโลกบาลธรรม…..คือมีหิริ และโอตตัปปะ…..มีสติ…มีสมาธิ…และมีปัญญา…… โลกบาลธรรม คือ ธรรมที่คุ้มครองโลก ช่วยให้โลกดำเนินไปอย่างมีความสุข  ช่วยปกครองและควบคุมจิตใจมนุษย์ให้อยู่ในความดี ไม่ให้ละเมิดศีลธรรมและให้อยู่ร่วมกันด้วยความเรียบร้อย สงบสุข ไม่สับสน และวุ่นวาย

หิริ : ความละอายต่อการกระทำ.......ผิด/บาป

โอตตัปปะ : ความเกรงกลัวต่อการกระทำ…..ผิด/บาป

สติ :  คือความคิดได้ ระลึกได้  ความระมัดระวัง ในทุกขณะของการกระทำ 

สมาธิ :  คือแน่วแน่ในสิ่งเดียว  อารมณ์อันเดียว เพื่อทำสิ่งที่ดีๆก่อให้เกิด  ปัญญา  การพิจารณาสมาธิเรียกว่าปัญญา สมาธิที่แน่วแน่  พิจารณาอะไรก็แน่วแน่อยู่ในสิ่งเดียวนั่น…….เรียกว่ามีปัญญา  ปัญญา : การมีสติ ทำให้เกิดมีสมาธิ  การมีสมาธิก็ทำให้เกิด ปัญญา เป็น ความรู้จริงเห็นจริงในการดำเนินชีวิต

การฝึกสมองให้รู้จัก…คิด…ในสภาวะที่มี….สติ….มีความแน่วแน่ในการทำงานทุกขณะ…..ด้วยความรู้แจ้งเห็นจริง …….ภายใต้โลกบาลธรรม……ทำให้ผู้นำมีธรรมาภิบาลได้  

////////////////////////////////////////

31/3/2555

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที