ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987911 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(5)

ตอนที่ 108

วันที่ 28

การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล (5)

 

ศิษย์พิมพ์สุชา :  ท่านอาจารย์ค่ะ!.....จากบทส่งท้ายของวันที่ 25 ตอนที่ 93  ….กล่าวไว้เกี่ยวการมีภาวะผู้นำ….ภาวะผู้นำ ต้องมาจากผู้นำที่มีคุณสมบัติ….เป็นข้อๆดังนี้…

1.มีพลังงานและแรงขับเคลื่อน มีพลังเสริม (High energy and empowerment)              

2.การมีลักษณะเด่นและมีความเชื่อมั่นสูง  (Dominance and self -confidence)

3.การมีอารมณ์มั่นคงและน่าเชื่อถือ (Stable and integrity )

4.มีวิสัยทัศน์ร่วมและทำงานเป็นทีม  (Shared vision and team work)

5.มีสติปัญญาและความว่องไวต่อผู้อื่น (Intelligence and sensitive to others)

6.มีความไว้วางใจ และความยืดหยุ่น (Trusting and flexibility)

7.มีการสื่อสารติดต่อที่ดี และมีการติดตามผล  (Effective communication and follow up) 

 “ คำถามมีอยู่ว่า…ภาวะผู้นำที่มาจากคุณสมบัติ 7 ข้อนี้…มีความเกี่ยวพันธ์กับ…ความสุขบนโลกของจักรวาลที่ท่านอาจารย์กำลังบรรยายอยู่นี้อย่างไร?....และจะสร้างความเข้าใจได้อย่างไร?”

อาจารย์ดอน :   ภาวะผู้นำ คือความสามารถของบุคคลที่จะทำให้บุคคลอื่นคล้อยตาม เพื่อที่จะทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง….ทำร่วมกันไปจนบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้…ผู้ทำตามผู้นำเรียกว่า…ผู้ตามหรือผู้ร่วมกระบวนการ….แรงจูงใจที่ผู้นำมีอยู่ อาจมาจากแรงสรัทธาในตัวผู้นำ…หรือได้รับอำนาจจากการแต่งตั้งตามหน้าที่….แต่ในที่สุดผู้นำที่มีภาวะผู้นำต้องมีการบริหารจัดการที่ดีจึงจะนำพา….ผู้ตามในองค์กรไปได้ตลอดรอดฝั่ง….การบริหารการจัดการที่ดีของผู้นำจะสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ…มีความเข้มแข็ง และมีประสิทธิผลได้สูงสุด…คุณสมบัติของผู้นำทั้ง 7 ข้อนี้ก็เป็นส่วนสำคัญของการทำให้ผู้นำมีภาวะผู้นำขึ้นมา….ด้วยวิธีการฝึกฝน การได้รับการอบรม…ความขยันศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง…ประกอบกับการมีทุนมนุษย์อยู่แล้ว…ก็จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

 

ศิษย์โดม :  ท่านอาจารย์ครับ!.....ที่ว่า “ Not all leaders are managers…Not all managers are leaders ” นั้นหมายความว่า ผู้นำกับผู้บริหารต่างกันแต่ก็สามารถเป็นคนๆเดียวกันได้ใช่ไหมครับ?

อาจารย์ดอน :  ทั้งผู้บริหาร/ผู้นําในยุคโลกาภิวัตน์…จำเป็นต้องใช้หลักทางธรรม มาผนวกกับหลักทางโลกท่ามกลางโลกที่มีสภาวะพลวัตสูง…ย่อมต้องการ ผู้บริหาร/ผู้นำ ที่สามารถสร้งวิสัยทัศน์  

ในการนำพา องค์กร/การ ไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์นั้นๆ ประกอบกับต้องมีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม สามารถกำหนดโครงสร้างของ องค์กร/การ และแผนงานบริหารที่มีประสิทธิภาพ…โดยมีการติดตามผลของการปฏิบัติงาน มีการตรวจสอบดูแล พร้อมทั้งปรับแก้แผนงานดังกล่าว..ให้ทันต่อเหตุการณ์ และเหมาะสมกับ องค์กร/การ อยู่เสมอ….พอสรุปได้ว่า ผู้นําที่ประสบความสำเร็จและสามารถนำพา  องค์กร/การ ในยุคโลกาภิวัตน์ไปสู่เป้าหมายได้นั้น…ต้องมีการประยุกต์ภาวะผู้นําตามแนวคิดตะวันตก และหลักพุทธธรรม….ได้เป็นอย่างดี…...“ผู้นำสามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้…ในขณะที่ผู้บริหารที่ดีก็สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้เช่นเดียวกัน”

ศิษย์โดม :  หลักธรรมที่ใช้กับ ผู้บริหาร/ผู้นำ….นั้น ควรจะแยกเป็นกี่ประเภทครับ!

อาจารย์ดอน :   หลักธรรมที่ใช้ประกอบกับหลักบริหารของ…ผู้บริหาร/ผู้นำ….แบ่งเป็นหลักใหญ่ๆได้ 3 หมวดคือ…1.หลักธรรมเพื่อใช้ปกครองตนเอง….2. หลักธรรมเพื่อใช้ปกครองบุคคลขององค์กร….3. และหลักธรรมเพื่อใช้ปกครองงานหรือบริหารองค์กร

ศิษย์พิมพ์สุชา :  หลักรรมที่ใช้ปกครองบุคคลขององค์กร….คือหลักการดูแลทิศเบื้องต่ำและสังคหวัตถุ 4 ใช้ไหมค่ะ!

อาจารย์ดอน :  ใช่!...มีอยู่ 4 หมวดย่อยๆ….ประกอบด้วยคือ…. “เหฏฐิมทิศ”…..“พรมวิหาร…..“สังคหวัตถุ 4”…..และ“อิทธิบาทธรรม 4”

ศิษย์โดม :  หลักธรรมที่ใช้กับการปกครองตนเอง นั้นใช้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่น…เพื่อทำหน้าที่ของตนให้ดีทึ่สุด…ถูกกาลเทศะตรงตามหน้าที่การงาน…ของตนที่มีอยู่/ได้รับมอบหมาย….เราดำรงตนให้มีกัลยาณมิตร…ก็น่าจะเพียงพอแล้วใช่ไหมครับ?........หมั่นปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา  พร้อมด้วย วิริยะ ศรัทธา สุตะ จาคะ   

อาจารย์ดอน :   ศีล เป็นการถึงพร้อมด้วย…..ความประพฤติดีทางกายและวาจา พร้อมับการปฏิบัติเพื่อควบคุมกายและวาจา ในการรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย  ตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม มีชีวิตที่เป็นปกติตามระเบียบวินัยของสังคม

                          สมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต....ยังผลให้มีความแน่วแน่ต่อการกำหนดรับรู้ในสิ่งของ และอารมณ์ เป็นที่ตั้ง…สามารถกำหนดความสนใจแล้ว เพ่งไปยังสิ่งที่ทำให้เกิดความสำเร็จ              

                          ปัญญา  คือความรู้ที่มีเหตุผล สามารถแยกแยะออกมาได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด สิ่งใดเป็นโทษเป็นบาป…สิ่งใดเป็นคุณเป็นบุญ    คนมีปัญญาจึงละเว้นความชั่ว ทำแต่ความดี…ครองตนอยู่ใน ธรรม…ย่อมเป็นผู้รู้รอบ

ศิษย์โดม :  ส่วน….วิริยะ คือความเพียรพยายาม ในการปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น….ศรัทธา คือความเชื่อ อย่างมีเหตุผลด้วยปัญญา….สุตะ คือการตั้งใจรับฟัง หมั่นศึกษาเรียนรู้ ….จาคะ คือ  ความเสียสละ สามารถตัดใจจากของชอบได้…ไม่ยึดมั่นถือมั่น กล้าที่จะยกกรรมสิทธิ์ของตน ให้แก่ผู้อื่นได้….มีความเสียสละทางวัตถุและอารมณ์

อาจารย์ดอน :  ดีมากโดม!....ต่อไปนี้มาสรุปหลักธรรมที่ใช้ประกอบกับหลักบริหารของ…ผู้บริหาร/ผู้นำ….ทั้ง 3 หมวด….. “ อาจารย์จะเริ่มในข้อแรกก่อน…คือ…หลักธรรมเพื่อใช้ปกครองตนเอง”…... “โดม เป็นข้อที่สองหลักธรรมเพื่อใช้ปกครองบุคคลขององค์กร”…และ “พิมพ์สุชา เป็นข้อที่สาม…หลักธรรมเพื่อใช้ปกครองงานหรือบริหารองค์กร”

หลักธรรมเพื่อใช้ปกครองตนเอง….สรุปเป็น 2 หลักคือ 1. หลักธรรมปฏิบัติต่อตนเอง…2. หลักปฏิบัติต่อผู้อื่นในสังคม

หลักธรรมปฏิบัติต่อตนเอง….คือวางตนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม มีคุณสมบัติกัลยาณมิตร และมีกัลยาณมิตรธรรม….กัลยาณมิตร คือ มิตรแท้ ที่คอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน…มีความจริงใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน... มีคุณสมบัติของกัลยาณมิตร คือหมั่นเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา  ถึงพร้อมด้วย วิริยะ ศรัทธา สุตะ จาคะ   มีกัลยาณมิตรธรรม….เป็นคุณธรรมของมิตรที่ดี 7 ประการ ประกอบด้วย 1. เป็นครูผู้สอน ผู้ให้ความรู้(ครุ)…2. เป็นผู้ที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีความเมตตากรุณา(ปิโย)…3. เป็นผู้อดทน อดกลั้น ต่อคำถากถาง ติฉินนินทา ต่อการซักถามต่อรองใดๆ(วจนักขโม)…4. พูดจาอธิบายความและเล่าเรื่องได้อย่างละเอียด รอบคอบ ถูกต้อง( คัมภีรัญ จะ กะถัง กัตตา)…5. พูดจามีเหตุมีผลและมีหลักการเป็นที่น่าเชื่อถือ(วัตตา)…6. ดำรงตนอยู่ในฐานะเป็นที่น่า ยกย่อง นับถือ เป็นผู้ปฏิบัติดีต่อสังคม(ภาวนีโย)และ…7. หลีกเลี่ยงทางแห่งอบายมุขทั้งปวง(โน จัฏฐานะ นิโยชะเย)

ศิษย์โดม :  หลักธรรมเพื่อใช้ปกครองบุคคลขององค์กร…มี 2 ข้อคือ….1. หลักคุณธรรม 8 ประกอบด้วย…พรหมวิหาร 4 และสังคหวัตถุธรรม 4….หลักครองทิศทั้ง6 ในข้อทิศเบื้องล่างหรือ…เหฏฐิมทิศ…คือ นายจ้างบำรุงลูกจ้างและลูกจ้างอนุเคราะห์นายจ้าง….

อาจารย์ดอน :  หลักการครองทิศเบื้องล่าง/ทิศเบื้องต่ำ….หรือ เหฏฐิมทิศประกอบด้วยหน้าที่พึงปฏิบัติของทั้ง 2 ฝ่ายกล่าวคือ….นายจ้างพึงบำรุงลูกจ้างด้วย สถาน 5  คือ…. 1. จัดงานให้ทำตามความสามารถและกำลัง...2. จัดค่าจ้างและรางวัลตามความสมควรงาน…3. ช่วยจัดสวัสดิการและรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้….4. แบ่งปันสิ่งของให้กิน/ใช้ ตามเวลาอันควร…5.  มีวันหยุดพักผ่อนตามโอกาสที่เหมาะสม…ลูกจ้างผู้ใต้บังคับบัญชา  พึงปฏิบัติอนุเคราะห์แก่ นายจ้าง/เจ้านาย…ผู้บังคับบัญชาด้วยสถาน 5  เช่นกัน คือ

 1. รับสนองงานด้วยความเต็มใจมาทำงานก่อน นายจ้าง/เจ้านาย…2. มีความขยันขันแข็งเลิกงานทีหลัง…3.ซื่อสัตย์ จงรักภักดี เอาแต่ของที่นายให้…4. หมั่นพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งๆขึ้น….5. รู้จักคุณงามความดีของนายจ้าง และนำความดีของนายไปสรรเสริญ ยกย่อง

ศิษย์โดม :  หลักคุณธรรม 8 ประกอบด้วย…พรหมวิหาร4 และสังคหวัตถุธรรม4  หรือหลักของมนุษยสัมพันธ์อันประกอบด้วย…พรหมวิหารธรรม 4  ประการ ได้แก่ … เมตตา  คือ ความรัก ปรารถนาที่จะให้และเห็นผู้อื่นมีความสุข….กรุณา  คือ ความสงสาร ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งปวง …มุทิตา  คือ ความพลอยยินดี ที่เห็นผู้อื่นได้ดี ไม่คิดอิจฉาริษยา….อุเบกขา คือ ความวางเฉย  มีปัญญาด้วยการปล่อยวาง เมื่อเห็นผู้อื่นมีความทุกข์ ความวิบัติ  โดยที่ช่วย อะไรไม่ได้  ตนต้องอยู่ในภาวะปล่อยวาง….สังคหวัตถุธรรม 4 ประการ  คือทาน  รู้จักแบ่งปัน สิ่งของ ของตน  แก่ผู้อื่นตามสมควรของฐานะ…ปิยวาจา  พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน กล่าวแต่คำสุภาพอ่อนโยน…อัตถจริยา  มีความประพฤติสิ่งที่ดี เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคม….สมานัตตตา  รู้จักตนเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ถือตัว อวดดี อวดเก่ง

 

อาจารย์ดอน :  คุณธรรมทั้ง 8 ประการนี้  เปรียบเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจตนเอง และผู้อื่น ก่อให้เกิดความรักใคร่ สามัคคี กลมเกลียว เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ให้ความรักต่อกัน

 

////////////////////////////////////////

9/4/2555

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที