ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987942 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (2)

ตอนที่ 112

วันที่ 29

ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (2)

 

ศิษย์พงศ์คนิน :…..ตามที่ท่านอาจารย์ดอนได้กล่าวถึง…การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล…..ด้วยหลักของการคิดอย่างมีสติรับรู้ทุกขณะด้วยจิตที่ตั้งมั่นด้วยวิจารณญาณ แล้วปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบ….ของสัปปุริสธรรมทั้ง7…..ก็ย่อมทำให้เกิดความสุขในการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้……จากข้อความเหล่านี้ทำให้ผมสงสัยว่า….ความสุขบนโลก….การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข….หรือการปฏิบัติตนในกรอบของสัปปุริสธรรมจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะบรรลุตามสิ่งที่ได้กล่าวมานี้ได้….เช่น การปฏิบัติตนโดยมี สัปปุริสธรรม จำเป็นต้องให้ครบทั้ง 7 ข้อ หรือไม่?......และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขก็ต้องเริ่มจาก  อัตตัญญุตา การ รู้จักตนเอง……..ปุคคลปโรปรัญญุตา การรู้จักบุคคล….ปริสัญญุตา การรู้จักกลุ่มคณะ สังคมและชุมชน  ….และ ธัมมัญญุตา การรู้จักเหตุ…… ทั้ง 5 ข้อนี้เพียงพอที่จะใช้เป็นหลักในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้…..หรือไม่?....ครับ!

ศิษย์พิมพ์สุชา :  ที่ท่านอาจารย์ ยกตัวอย่าง การบริหารความสุข ขององค์กรด้วยหลักอธิปไตยของการบริหารองค์กร 3 แบบ คือ ธรรมาธิปไตย อัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตย นั้นหมายความว่า องค์กรเหล่านั้นก็ต้องมีการจัดการ บริหารองค์กรเป็นไปตามแบบใดแบบหนึ่ง และบุคคลในองค์กร ก็ต้องมีแนวทางปฏิบัติเป็นไปในทางเดียวกันกับนโยบายของการจัดองค์กรแบบนั้นๆ…ด้วยหรือคะ!

อาจารย์แดน :    ใช่ครับ!.....เมื่อเราอยู่ร่วมกันในองค์กร…..การที่จะทำให้เกิดความสุขขึ้นได้นั้น….ก็ต้องมีหลักพื้นฐานขององค์กรเพื่อ…เป็นข้อยึดเหนี่ยว หรือสร้างความเชื่อมั่นขององค์กรว่าสิ่งเหล่านั้นจะทำให้การบริหารองค์กรเกิดความราบรื่น และสมาชิกขององค์กรก็จะได้รับความสุข….กันถ้วนหน้า 

                    หลักยึดเหนี่ยวซึ่งเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ในองค์กรก็คือ ค่านิยมขององค์กร จะใช้เป็นแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กร….ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า บุคคลทั้งหมดในองค์กรจะยอมรับหลักการเหล่านั้นเสียทั้งหมด….แต่เป็นเพียงมการยอมรับด้วยเสียงส่วนใหญ่ขององค์กร พร้อมด้วยความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน ตามภาระกิจของตน เพื่อสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรอย่างยั่งยืนเท่านั้น  ซึ่งเพียงพอแล้วสำหรับบางองค์กร!

ศิษย์พงศ์คนิน :…..ผู้ที่เห็นต่างก็คือแกาะดำหรือครับ!.....ต้องฝืนใจทำ แล้วจะเกิดความสามัคคี กันได้อย่างไรครับ!

ศิษย์โดม :   ยอมด้วยความจำใจ….ก็ต้องทำตามเสียงส่วนใหญ่อยู่ดี!ผลสำเร็จที่ได้จากความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกัน ในที่สุดก็จะทำให้เกิด…..พลังของการเปลี่ยนความคิดในไปในทางเดี่ยวกัน!

อาจารย์แดน :   มีหลายองค์กรที่…..มีความแตกต่างทางความคิด….แต่ core value เหนียวแน่น เข้มข้นมาก….ระบบการบริหารงานขององค์กร จึงนำพาความสำเร็จมาสู่องค์กรได้ โดยบุคคลากรส่วนใหญ่มีความสุขในการทำงาน…การบริหารความสุข….จึงเกิดกับกลุ่มที่ต้องการความสุข….กลุ่มที่ถูกอบรมให้ลด ทิฐิลง ก็ย่อมเกิดความสุขตามมาภายหลัง……สอดคล้องกับพฤติกรรมความต้องการของมนุษย์…..ตามความเชื่อของ Maslow ถึงแม้ว่าความปรารถนาของมนุษย์ นำมาซึ่งความพึงพอใจระดับหนึ่งแล้ว บุคคลนั้นก็จะแสวงหาความพึงพอใจอื่นอีก ซึ่งเป็นคุณลักษณะจำเพาะของมนุษย์ ที่มีความต้องการที่จะได้รับสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอๆ

ศิษย์พิมพ์สุชา :  ท่านอาจารย์กำลังจะบอกว่า….ค่านิยมองค์กร กับ ค่านิยมส่วนบุคคลก็ไม่จำเป็นต้องตรงกันแต่ควรสอดคล้องกันเพื่อ ทำให้เกิดความราบรื่น มีแนวความคิด และทัศนคติที่ไม่ต่างกันมากนัก ซึ่งจะช่วยให้…บุคคลนั้นสามารถอยู่ร่วมกับสมาชิกในองค์กรได้!                  

อาจารย์แดน :   ใช่ครับ!.....แต่สุดท้ายก็ต้องอยู่ภายใต้ค่านิยมพื้นฐานของคนไทยที่พึงปฏิบัติ…อยู่ดี!

ศิษย์พงศ์คนิน :…..ค่านิยมพื้นฐานของชาวไทยมีอะไรบ้างครับ!

อาจารย์แดน :  ค่านิยมหรือหน้าทิ่พึงปฏิบัติของชนชาวไทย แยกเป็นข้อๆโดยละเอียดได้ 7 ประการ คือ….1. ต้องมีความรับผิดชอบ…2. ต้องพึ่งพาตนเอง….3. มีความขยันหมั่นเพียร …..4. ต้องรักษากฏหมายและอยู่ในระเบียบวินัย….5. รู้จักประหยัดและเก็บออม….6. ต้องมีคุณธรรม และจริยธรรมตามประเพณีและหลักตามศาสนาที่นับถือ..…..7. มีความสามัคคี รักษาและจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ศิษย์พิมพ์สุชา :   รายละเอียดตั้ง 7 ประการ น่าจะยากที่จะปฏิบัติให้ครบทุกข้อ!

ศิษย์โดม :   ที่ท่านอาจารย์แยกแยะมา เราเลือกปฏิบัติเป็นข้อๆไม่น่ายากนัก ค่อยเป็นค่อยไป!

 

อาจารย์แดน :  อาจารย์แยกมาเพื่อให้สามารถ จดจำและปฏิบัติได้ง่ายยิ่งขึ้นได้ 7 ข้อ….ให้พงศ์คนิน  โดม และพิมพ์สุชา….อธิบายความหมายในข้อ 1 ,2 และ3 มาโดยสังเขปเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน

ศิษย์โดม :  ผมขอตอบข้อ1…..การมีความรับผิดชอบ คือการมีจิตสำนึกต่อตนเองและต่อสังคมว่า….ตนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ อะไร/อย่างไร…ต่อตนเองและต่อสังคม ซึ่งอาจจะเป็นภาระกิจส่วนตัวหรือภาระกิจตามหน้าที่ ที่มีอยู่หรือที่ได้รับมอบหมายภายในองค์กร  โดยมีเป้าหมายว่า…การทำภาระกิจนั้นจะต้องทำจนได้รับผลสำเร็จ……ไม่หลบหลีก หรือละทิ้ง ภาระหน้าที่นั้นไป…..และต้องยอมรับผลของการกระทำของตนไว้ทั้งหมดด้วยครับ!

ศิษย์พิมพ์สุชา :  ต้องสามารถพึ่งตนเองได้….คือเป็นบุคคลที่สามารถทำงานที่ตนมีหน้าที่หรืองานที่ได้รับมอบให้บรรลุเป้าหมายด้วยตนเอง…และทำงานเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น และทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย ค่ะ!

ศิษย์พงศ์คนิน :  มีความขยันหมั่นเพียร…..คือความมีมานะอดทน พากเพียร และพยายามทำงานด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นจนเป็นกิจวัตร  มีสติและปัญญาควบคู่กันขณะทำงานจนทำให้ได้รับความสำร็จ มีการพัฒนาการจนเกิดทักษะในกระบวนการทำงาน ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด มีเวลาว่างเพียงพอเพื่อการพักผ่อน และทำงานอดิเรก ตามที่ตนชอบเพื่อช่วยผ่อนคลายและลดความตึงเคลียด ครับ!

 

อาจารย์แดน :  ทุกวันนี้ส่วนใหญ่มักจะลืมหน้าที่ของพลเมืองดีไปหมดแล้วกระมัง!......ค่านิยมอีก 4 ข้อคือ   ต้องรักษากฏหมายและอยู่ในระเบียบวินัย…...หมายถึงทุกคนพึงปฏิบัติตนเองให้อยู่ภายใต้กฎหมาย   รักษาระเบียบวินัย และประเพณีอันดีงาม ของประเทศ  เพื่อความสงบสุขของสังคม และนำความผาสุขมาสู่ชีวิตของตน

                        ส่วนที่เหลือคือ  การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา…..เป็นการสร้างแรงศรัทธาให้กับชนชาวไทย โดยมีศูนย์รวมแห่งจิตใจเพื่อให้เกิดการปฏิบัติให้อยู่ในกรอบและประเพณีอันดีงานของสังคมไทย…พร้อมด้วยมีความประพฤติดีงามตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ  ความรักชาติ….เป็นการสร้างค่านิยมและความรักแบบไทยๆ   มีความรักเชื้อชาติไทย รักเกียรติภูมิ หวงแหนผืนแผ่นดินเกิด มีจิตสำนึก ภูมิใจในความเป็นไทย รักษาอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น….เช่นรณงค์ช่วยกันใช้สินค้าไทย ส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า และความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของประเทศ  ในข้อที่ว่า…ความรักในสถาบันศาสนา…เป็นการแสดงออกซึ่งความรัก ความศรัทธา ในศาสนาที่ตนนับถืออยู่ หมั่นศึกษาหาความรู้ให้ถึงแก่นแท้ของศาสนาเพื่อยึดถือปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดาและรักษาไว้ซึ่งสถาบันศาสนาของตน  ความรักสถาบันพระมหากษัตริย์…..คือมีความจงรักภักดี มีความศรัทธา รักษาสถาบันไว้เพื่อเป็นศูนย์รวมของจิตใจและสร้างคุณงามความดี  เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของชาวไทยทั้งปวงสืบต่อไป   ข้อสุดท้ายคือการรู้จักประหยัดและเก็บออม….คือการรู้จักใช้เงินให้เป็นประโยชน์ เพียงพอแก่ความจำเป็นในการดำรงชีวิต มีเหลือเก็บออมเป็นทุนทรัพย์ เพื่อสร้างฐานะของตนให้มั่นคง ก่อให้เกิดความเข้มแข็งแก่สังคม และสอนเยาวชนให้รู้จักคุณค่าของเงิน และใช้อย่างมีประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด

////////////////////////////////////////

30/5/2555


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที