ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987936 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (3)

ตอนที่ 113

วันที่ 29

ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (3)

        

อาจารย์แดน :    ศิษย์ทั้ง 3 ท่าน….พอที่จะเข้าใจหรือยังว่า….ทำไมอาจารย์จึงต้องยก…ค่านิยมขององค์กร และค่านิยมของพลเมืองชาวไทย มากล่าว !.....ปัจจุบันองค์กรแห่งธรรมาธิปไตย…..ถือว่าเป็นองค์กรที่เหมาะสมที่สุด…ในยุคไร้เสถียรภาพทางความคิดและขาดความสามัคคีทางการเมือง!

                          มีแต่การยึดมั่นในความดี ความถูกต้อง และถือปฎิญญาร่วมกับพวกพ้องตนเอง…ว่า…จะพฤติดี ปฏิบัติชอบ ต่อบุคคลในองค์กรและในสังคมของตน….ยังผลให้เกิดความรักพวกพ้องของตน...และมีความสามัคคีเพียงในหมู่คณะเท่านั้น!

                          ความยุติธรรมและความเที่ยงตรง…การปฏิบัติตนอย่างมีเหตุผล….การใช้ธรรมหรือคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักในการดำรงชีวิตเพื่อก่อให้เกิดความผาสุขและการอยู่เย็นเป็นสุข ของสมาชิกในองค์กร….ความสุขของพลเมืองที่ดีของสังคมชาวไทย….น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในเวลานี้….

                          ก่อนที่จะเข้าเรื่อง…ความสุขและวัฒนธรรมในองค์กร…ควรมีการทบทวนความหมายของคำต่างๆที่จะนำมาใช้ต่อไปดังนี้……

1.  ความซื่อสัตย์ (Honesty)  คือการประพฤติ ปฏิบัติ ตนที่ตรงต่อ กาย วาจา ใจ ของตนเองและผู้อื่น มีผลแสดงออกมาให้รู้และเข้าใจ  

2.  ความกตัญญูกตเวที (Gratitude)   คือการมีจิตสำนึก รู้จักบุญคุณของผู้ที่ให้ความช่วยเหลือหรืออุปถัมภ์คำจุนเรามา  

3.  ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion)  คือความรักความสงสารและปรารถนาที่จะช่วยผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์และภยันตรายทั้งปวง พร้อมช่วยส่งเสริมช่วยเหลือให้ผือื่นมีความสุข

4.  ความเสียสละ (Sacrifice)  คือการไม่เห็นแก่ตัว และยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนให้แก่ผู้อื่น จะเป็นสิ่งของ แรงกาย และสติปัญญา รวมถึงการควบคุมอารมณ์ของตนเองให้อยู่ในกรอบจนที่ยอมรับของสังคม       

5.  ความยุติธรรม (Justice) คือ การทำหน้าที่ของตนตามความเป็นจริงด้วยการใช้เหตุและผล อยู่บนพื้นฐานของกฏหมายข้อบังคับของสังคม ด้วยความเที่ยงตรง 

6.  คุณธรรม (Virtue) หมายถึงความดีงามที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ผู้อื่น องค์กร และสังคม คุณธรรมจัดเป็นจริยธรรม ที่สามารถฝึกฝนบนพื้นฐานของความขยันหมั่นเพียร ความพยายาม การเสียสละ ความอดทน และความรับผิดชอบ    มีการกระทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นปกติเรียกว่า…เป็นความประพฤติที่ดีกับจิตใจที่เป็นธรรม

7.  จรรยา  (Etiquette) หมายถึง หลักความประพฤติที่เหมาะสม และสมควรปฏิบัติใน หมู่คณะ องค์กร สังคม เช่น  การแสดงความเคารพ การมีความเมตตากรุณา การรู้จักเสียสละ  เป็นต้น

8.  มโนธรรม  (Conscience) หมายถึง การมีจิตสำนัก และความรู้สึกนึกคิดที่ดี ถูกต้องสมควรปฏิบัติมากกว่าความต้องการของตนเอง  มีความรู้ในที่สิ่งถูก สิ่งที่ผิด  สิ่งที่ดี และสิ่งที่ไม่ดี  ถึงจะฝืนใจก็ต้องทนทำในความดีจนเกิดในจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกที่ดี

9.   จรรยาบรรณ (Code of Conduct) หมายถึง บทสรุปของความประพฤติและข้อปฏิบัติ ของแต่ละงานแต่ละอาชีพที่กำหนดขึ้นมาเพื่อดำรงไว้ซึ่ง ชื่อเสียง สถานภาพ ความเป็นเอกภาพ เช่น  ผู้ประกอบการค้าบ้านจัดสรร ก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า

10.  มารยาท  (Manner) หมายถึง กิริยา วาจา เป็นที่ยอมรับของแต่ละสังคม จนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือเป็นข้อปฏิบัติสืบต่อกันมา

11.  องค์กรธรรมาภิบาล  (Good  Governance Organizations) หมายถึง   องค์กรที่มีการจัดการ และควบคุม กำกับ ดูแล กิจการในระบอบของความเป็นธรรม เป็นการบริหารจัดการที่ดี ใช้ได้กับทุกภาคส่วน…ทั้งรัฐและเอกชน…ธรรมาภิบาล จะช่วยให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพสูงสุดได้….เช่น พนักงานทุกคนทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร มีความซื่อสัตย์สุจริต….ก่อให้เกิดการขยายตัวของกิจการได้อย่างรวดเร็ว....ควบคู่กับการยอมรับจากบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องและสร้างแรงศรัทธาและเชื่อมั่นให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี…มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง….จึงช่วยส่งผลดีต่อเสถียรภาพ และความเจริญก้าวหน้าขององค์กรตลอดไป

12. จริยธรรม (ethics) หมายถึง ธรรมที่พึงปฏิบัติ แสดงให้รู้ถึงความดีงามและการยอมรับจากสังคม องค์กรที่ตนอยู่ร่วมกัน แสดงให้เห็นถึงการมีความคิด และความประพฤติ การแสดงออก ที่ดีงามขององค์กรและสังคม

13. ทาน (height of liberality)  เป็นการให้ และเสียสละ ทั้งทรัพย์สิน สิ่งของและน้ำใจ

14. ศีล (morality) หมายถึง ความประพฤติในทางที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม รักษาความดีงาม ทาง กาย วาจา ใจ  

15. บริจาค (self-sacrifice )  เป็นการให้ด้วยสิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค แก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ มีความเดือดร้อน เพื่อแก้ไขหรือบรรเทาทุกข์นั้นๆ

16. ความซื่อตรง (honesty) คือ  การรักษาความสัตย์ ความจริง ดำรงไว้ด้วยความถูกต้อง

17. ความอ่อนโยน (gentleness) คือ  การมีสัมมาคารวะต่อผู้ที่อาวุโสกว่า หรือผู้อื่น โดยมีการแสดงกิริยา วาจา น่าฟัง ด้วยการพูดอย่างมีเหตุผล เป็นที่น่าเคารพ เชื่อถือแก่คนที่ได้คบและพบเห็น  

18. ความเพียร (endeavor) คือ  ความพยายามทำภาระกิจให้ลุลวงได้ผลสมบูรณ์แบบ ด้วยความอุตสาหะอย่างสม่ำไม่เกิดความย่อท้อใดๆ

19. ความไม่โกรธ (non-anger) คือ  ทำตามเหตุและผลของการกระทำ ไม่คิดมุ่งเน้นทำลาย มุ่งร้าย อาฆาต มาดร้ายผู้อื่น ถึงจะมีการลงทัณฑ์ก็อยู่ภายใต้เหตุผล

20. ความไม่เบียดเบียน (non-violence) คือ  การไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นทุกข์ ผิดไปจากปกติ

21. ความอดทน (patience) คือ การคงไว้ซึ่งอาการปรกติ ทางกาย วาจาและใจ แสดงให้เห็นความเรียบร้อยอยู่ได้

22. ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ  ความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำกิจการใดๆตามหน้าที่ได้รับมอบหมาย หรือตามความรับผิดชอบ กระทำด้วยความพากเพียรและรอบคอบ จนบรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ

23. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ การประพฤติปฏิบัติ ด้วยการใช้ปัญญา   รู้จักพิจารณาไตร่ตรอง และต้องแสดงให้ได้ว่า สิ่งเหล่านั้นถูกต้อง  ไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัว ตัดสินในกรณีใดๆ

24. ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของกฏระเบียบ ด้วยความถูกต้อง เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักจริยธรรม มารยาท  ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม ขององค์กร และสังคม

25. การประหยัด (Thrifty) คือ การใช้ เวลา เงินทอง ทรัพย์สินและสิ่งของ อย่างสมเหตุผล และสมควรกับประโยชน์ที่ได้รับ ไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป ด้วยการระมัดระวัง และรับรู้ความต้องการของตนเองและของผู้อื่น ด้วยความพอดี พอเหมาะ และพอควร

26. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ ความพยายามที่เกิดจากความเข้มแข็งในตัวของเรา  เพื่อทำงานให้ลุล่วงและเกิดผลสำเร็จ

27. ความสามัคคี (Harmony) คือ ความพร้อมเพียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อทำงาน กิจกรรมใดๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี บนพื้นฐานของการไม่เห็นแก่ตัว

ท้ายบทนี้….ศิษย์ทุกคน จงให้นิยามของ ความสุขของคุณ…ที่คุณต้องการเพื่อให้ชีวิตดำเนินได้อย่างปกติในสังคมที่คุณอยู่….อธิบายตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1. ความสุขของคุณคืออะไร?

2. ความสุขในการทำงานคืออะไร?

3. การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมตามนิยามของท่านคืออะไร?

4. วัฒนธรรมขององค์กรที่คุณปรารถนาคืออะไร?

 

////////////////////////////////////////

15/6/2555

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที