ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987907 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (4)

ตอนที่ 120

วันที่ 30

บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (4)

 

อาจารย์ดอน :    การนำหลักธรรมและพลังจิตมาประยุกต์ใช้นั้น….สรุปเพื่อให้เกิดความเข้าใจในศาสตร์ทั้งสองได้ดังนี้….

                หลักธรรมคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็น สัจธรรม หรือแก่นแท้ของทุกชีวิตและทุกสรรพสิ่งบนโลก….มนุษย์ต้องอยู่กับธรรมชาติด้วยการมีหลักธรรม ผู้ที่มีธรรมภาวะก็รู้เรื่องโลกและจัรวาลดีพอๆกับรู้ในตัวตน….ายคือสัจธรรมแห่งสังขารของชีวิตที่มีจิตวิญญาณ….กายและจิตอยู่ในภาวะสมดุลได้ด้วย การดำรงสภาวะของมนุษย์ ที่เป็นปกติทุกขณะที่ใจ ทำหน้ารับรู้อาการทุกสภาวะ/ทุกขณะจิต ที่เป็นธาตุ.….การรู้ถึงสัจธรรม…จัดว่าเป็นจิต ชั้นสูง…ส่วนพลังจิตนั้น…บางส่วนมีอยู่ในหมวด การบริหารงานแบบปล่อยวาง ซึ่งเป็นหลักของการบริหารทรัพยากรมนุษย์…ที่ได้จากปัญญาและความรู้ในความจริงของมนุษย์ของความเป็นปัจเจก..ภายใต้สภาวะเงื่อนไขของงาน และสภาวะที่กำหนดซึ่งยินยอมและเต็มใจกัน!….ก่อให้เกิดเป็น หลักการบริหารที่เข้าใจสังขารธรรมของมนุษย์สามารถถ่ายทอดสู่ผู้ที่ต้องการรับรู้ และปฏิบัติตามกฎ กติกา ของสังคม มีการนำไปใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร

                พลังจิต ที่คู่กับ หลักธรรม คือกำลังของจิต ที่รับรู้ทุกขณะ  เท่าทันอารมณ์ทุกสภาวะของกาย  ด้วยสมองที่มีความนึกคิด ไม่จับยึดกับความเป็นตัวตน รู้จักปล่อยวาง…ปัญญาสร้างด้วยการภาวนา….สิ้นสุดที่การพิจารณาไตรลักษณ์….เพียงพอที่ทำให้สังขานและจิตมีความสุขได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการปรุงแต่ง!....ไตรลักษณ์ หรือ สังขารธรรม ประกอบด้วย… อนิจจลักษณะ คือความไม่เที่ยงของขันธ์….สิ่งที่เกิดกระทบกับขันธ์…อาการ เกิด/คงอยู่/เสื่อม/ดับ ของขันธ์….ทุกขตา เป็นทุกขลักษณะ…..เป็นทุกข์ของขันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ จากปัจจัยปรุงแต่ง ทำให้เกิดความไม่คงที่ของขันธ์…..อนัตตตาเป็นอนัตตลักษณะ….การไม่มีตัวตน ไม่ติดและยึดกับขันธ์  ไม่มีอำนาจ ไม่มีผลประโยชน์ จึงไม่มีทุกข์ใดที่มากระทบขันธ์…                              

                ที่ได้กล่าวไว้ใน….การบริหารบนความว่างเปล่า….ในแต่ละตอนของ วันที่ 26….ได้อธิบายการประยุกต์หลักพุทธธรรม สำหรับ ผู้บริหาร / ผู้นำ พื่อนำไปใช้ในการบริหารองค์กร…..          

 

อาจารย์แดน :  หลักการของพุทธธรรม…..หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงค้นพบแล้ว นำมาเผยแผ่ เป็นหลักธรรม คือ สัจธรรม……ถ้านำหลักพุทธรรทและหลักของพลังจิตมาประยุกต์ก็ต้องเข้าในในคำสอนของพระองค์ก่อนจึงเข้าในในพลังแห่งจิต!

อาจารย์ดอน :  ท่านอาจารย์แดนกรุณาทบทวนข้อสรุปของหลักพุทธรรมพอสังเขปครับ!

อาจารย์แดน :  หลักการของพุทธธรรม…..อย่างง่ายที่สุด คือการเข้าใจในธรรมชาติ ธรรมดาของสิ่ง มีชีวิต/ไม่มีชีวิต การเข้าใจ ตนเอง/ตัวตน ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา…..ทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุและปัจจัย….สัจธรรม….สามารถขัดเกลา เหตุและปัจจัยไม่ให้ยึดติด ตามความต้องการ / ตามความอยาก หรือ ไม่ต้องการ/ไม่อยาก ใดๆ…คือ การคิด  การพิจารณา และการวิเคราะห์ อย่างป็นกลางๆ……จะเป็นอิสระจากสิ่งยึดติดทั้งปวง…. เห็นซึ่งสัจธรรมคือความจริงของชีวิต….เป็นอิสระอย่างแท้จริง…..การหลุดพ้นคือความว่างเปล่า….ในห้วงหนึ่งๆที่เกิด กับกายและจิต เป็นหนึ่งเดียว…..การหลุดพ้นทางจิต เป็นการหลุดจากการบีบการครอบงำ…..ของความอยาก เป็น กิเลส เป็นความทุกข์……….การหลุดพ้นนี้ทำจิต ว่างเปล่า  เบิกบาน และเป็นสุข…….เมื่อจิตรู้ว่าความว่างเปล่าก็เกิดการรู้ซึ่งธรรมดา ธรรมชาติ สุดที่ความว่างเปล่า คือเกิด ปัญญา คือ ตัวตนมี ความบริสุทธิ์/ความจริง…..ปราศจากการครอบงำของ กิเลส  เป็นการรู้ด้วยตนเองผ่านขันธ์ทั้ง5

                   หลักพุทธธรรมอย่างง่ายคือ…..สัจธรรม เป็นความจริงที่เป็นกลาง ตามเหตุของปัจจัยไม่ขึ้นกับผู้หนึ่งผู้ใด เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท……เป็นทางสายกลางที่จริงและพอดีสำหรับชีวิต หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ……ขอยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดคือ…การมองความทุกข์ให้เป็นสุข เป็นการมองเห็นความทุกข์ที่เกิดอยู่ แต่ให้ปฏิบัติตนด้วยความสุข….. พิจารณาทุกข์ที่มีอยู่จริง ด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย  นิโรธ  มรรค…เราต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความทุกข์เพราะเราตั้งใจไม่หนีจากมัน ยิ่งตรึกตรองยิ่งเข้าใจในทุกข์ รู้และเท่าทันทุกข์…..ที่สุดคือความว่างเปล่า ไม่ยึดถือ ยึดติด เป็นมีเสรีภาพ และอิสรภาพ ……จึงเกิดปัญญา  

                จากหลักของพุทธธรรมอย่างง่าย…..นำมาพิจารณารวมกับหลักของพลังจิต ก็จะได้ความหมายของพลังจิตทางพุทธธรรม คือเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง แต่ไม่สามารถแสดงออกมาด้วยรูปธรรมได้นอกจากนามธรรมที่สัมผัสด้วยกระแสการรับรู้ทั้งทางกายและทางจิต……จิตมีพลังงานที่เรียกว่า พลังจิต (Gsychergy)  เป็นพลังงานที่เป็นคลื่นความถี่ของความคิด (Pranic Energy) ……แต่การนำพลังงานจิตมาใช้ต้องเป็น พลังงานแห่งความดีการสร้างสรรค์  เป็นพลังงานบวก หรือ Telepathy  

////////////////////////////////////////

1/5/2556


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที