ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987931 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 30 บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (5)

ตอนที่ 120

วันที่ 30

บทสรุปความเป็นเลิศของการบริหารองค์กร (5)

อาจารย์ดอน :  ท่านอาจารย์แดน…..การเข้าถึงหลักธรรมเบื้องต้นเพื่อสร้างวิถีทางเดิน ที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต…..เราควรจะเริ่มปฏิบัติที่อะไรก่อนระหว่าง มรรคมีองค์แปด กับ ไตรสิกขา ?                                          

อาจารย์แดน : ทั้งมรรคมีองค์แปดและไตรสิกขาเป็นเนื้อเดียวกัน….เป็นการศึกษาเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของ     การดำเนินชีวิตอันประเสริฐ…..มีหนทางห่างไกลและลุดพ้นจากทุข์ เริ่มที่ ตนเองกับการมีกัลยาณมิตร….เพื่อ         สร้างวัฒธรรมความมีเมตตาและเห็นแสงธรรมแห่งปัญญา…..สร้างการปฏิบัติสู่ โยนิโสนมสิการ เป็นการพิจาณา อย่างละเอียดและถี่ถ้วนภายในเกิดเป็นกุศลธรรม…..เข้าสู่กระบวนการศึกษาเรียนรู้ ของมรรคมีองค์แปด  และสรุปผลเป็นไตรสิกขา                                                                                                                                          

อาจารย์ดอน :  ท่านอาจารย์ ช่วยจัดกลุ่มของไตรสิขาในมรรคแปดด้วยครับ….เพื่อให้ทราบถึงความหมายและวิธี     ปฏิบัติ….และแนทางตามมรรคแปด แบบประยุกต์ใช้กับองค์กร!                                                                                  

อาจารย์แดน : ต้องทำความเข้าใจของมรรคมีองค์แปดก่อน กล่าวคือ….สั มมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง...สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้องสัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้องสัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้องสัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง.....สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง….สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง.....สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง                                                                 
                       มรรคแปดจัดได้ตามการศึกษาองค์รวมเป็น 3 หมวด คือไตรสิกขา…..เป็นหลักเบื้องต้นของการ           ปฏิบัติธรรมได้แก่  ศีล - สมาธิ – ปัญญา…สามารถประยุต์ตามหลักการบริหารองค์กร เป็นสองกระบวนการคือกระบวนการปฏิบัติ ที่มีอยู่ ที่ทำอยู่ และที่เป็นอยู่ อย่างนั้น เช่นนั้น…..และกระบวนการพัฒนาที่ต้องทำ ต้องกำหนดและต้องดำเนินการ  เช่นนี้ ขณะนี้ เดี๋ยวนี้…. เพื่อให้มนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในองค์กรนั้นๆ สามารถบูรณาการ เพื่อปฏิบัติการ  โดยการพิจารณาตามสิ่งที่แวดล้อมอยู่ในขณะนั้น เวลา และเหตุการณ์นั้นๆ                                          

อาจารย์ดอน :  เมื่อพิจารณาในเชิงกลยุทธ์องค์กร ก็ต้องมีทั้ง ตามสภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก !                     

อาจารย์แดน : ข้อนี้เป็นประเด็นที่สำคัญ คือส่วนใหญ่การประยุกต์ หลักพุทธธรรมเพื่อใช้ในองค์กร ของสังคม ใดๆก็ตาม มักแยกแยะไตรสิกขา เพียงแค่หลักของการปฏิบัติไม่ลงลึกถึงต้นกำเนิดที่เป็นฐานแห่งไตรสิกขา….ดังนี้คือ

     ศีล…..เป็นหลักปฏิบัติเพื่อการพัฒนาให้เกิดความสัมพันธ์…กำเนิดจากตนเป็นพฤติกรรมที่กายภาวนาพัฒนาเป็นภาวิตกาย และพฤติกรรมกับสังคมแวดล้อมเกิดจากศีลภาวนาพัฒนาเป็นภาวิตศีล                                            

     สมาธิ…. เป็นหลักปฏิบัติเพื่อการพัฒนาจิต….เพื่อให้เกิดสมรรถภาพและประสิทธิภาพในการคิด พิจารณา ตัดสินใจ ในการกระทำสิ่งใด….กำเนิดที่จิตภาวนา พัฒนาเป็นภาวิตจิต                                                                     

     ปัญญา…. เป็นหลักปฏิบัติเพื่อการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ….เพื่อให้ รู้ถึงสภาพแห่งความเป็นจริงของสิ่ง  ทั้งหลาย….ตามที่เห็นตามที่เป็นโดยสามารถแยกแยะว่าเป็นจริงด้วยการวิเคราะห์หาสาเหตุผล….กำเนิดที่ปัญญา  ภาวนา พัฒนาเป็นภาวิตปัญญา                                                                                                                                   

อาจารย์ดอน :  เมื่อองค์รวมของมรรคมีแค่ 3 หมวด คือหมวด ศีล หมวดสมาธิ และหมวดปัญญา…..ที่ว่ามัชฌิมาปฏิปทา หรือดำเนินทางสายกลางที่มักกล่าวกันในการใช้ชีวิตประจำวัน ก็เป็น มรรค สายกลาง ที่ไม่ตึงไม่หย่อนและพอเหมาะในการดำเนินชีวิตของของคนในองค์กร!                                                                             

อาจารย์แดน :  ครับ!...ไตรสิกขาเป็นอริยมรรค……คือแนวทางดำเนินอันประเสริฐ…..ของชีวิตทั้งกาย วาจา          และใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์…..เป็นข้อปฏิบัติที่ไม่อ่อนจนทำให้อำนาจ กิเลส มาครอบงำ จนเกิดทุกข์ และ        ก็ไม่แข็งจนทำให้เกิดความอึดอัดทรมานทั้งทางกายและใจจนเกิดทุกข์ …..แต่ความสุขทางกายและใจ ที่มาจาก            ความพอดีด้วยความยินดีและเต็มใจเฉพาะตนนั้นก็นับเป็นมรรคเฉพาะตน เฉพาะคนๆนั้น กล่าวคือ เป็นความ            ไม่ตึง ไม่หย่อน  แต่มีความพอเหมาะพอดี เมื่อพบเห็น สามารถสัมผัสได้ด้วยความ เป็นกลางและได้รับการ                       ยอมรับด้วยสังคมของตนและองค์กร……….หมวดของมรรคแปดจัดตามกลุ่มของไตรสิกขาได้ดังนี้…..           

     ศีล…..มีการเจรจา  การปฏิบัติ และการเลี้ยงชีพ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และ.สัมมาอาชีวะ                   

     สมาธิ….เกิดจากการตั้งใจมั่นที่ถูกต้องมีความพากเพียร การระลึกที่เป็นคุณแก่ปัญญา และการตั้งใจทำเพื่อดำเนินชีวิต คือ สัมมาวายามะ  สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ                                                                                             

     ปัญญา….มีความเข้าใจ และความใฝ่ใจที่ให้พ้นจากทุกข์ตามเหตุและผล  คือ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ         

 “ ท่านอาจารย์ดอนจะสรุปการประยุกต์หลัก ของไตรสิกขามาใช้กับองค์กร ในตอนหน้า ”        

///////////////////////////////////////

24/5/2556


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที