ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987964 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


"วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-1-)"

ตอนที่13

วันที่ 2

ศาสตร์ของการบริหารงาน

(Science of Managament)

(..1..)

วันที่2:ศึกษาศาสตร์ของการบริหารงาน (ต่อจากวันที่1 ว่าด้วยเรื่องมาตรฐาน…โดยย่อ)                                                                                                        3.2  TIS (Thai  Industrial Standard)                                                                                                                    

            TIS  หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย  อยู่ภายใต้การดูแล และการควบคุมของสำนักงาน                 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)ในที่นี้ขอกล่าวความเป็นมาและความรู้เบื้องต้นของ สมอ. ส่วนรายละเอียดค้นหาได้ที่….. http://www.tisi.go.th/mok/index.html  หรือที่ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร สมอ. ถนนพระรามที่6 เขตราชเทวี กทม. 10400 โทร. 0-2202-3510 , 0-2202-3515 หรือที่ e-mail: library@  tisi.go.th                                                                                                                                                                        

            สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม….สมอ. เป็นผู้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาห       กรรม ของไทยภายใต้เครื่องหมาย …..มอก.  ซึ่งเป็นเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อยู่ในข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ ตรงตาม คุณลักษณะและวัตถุดิบที่นำมาผลิต โดยผ่านกระบวนการทดสอบที่ได้กำหนดไว้ ตามประเภทของผลิตภัณฑ์นั้นๆ   มีการให้สภาพของการใช้งานจริงเป็นตัวชี้วัด  ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และกำหนดให้มีตราเครื่องหมาย….มอก. กำกับคู่กับผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดด้วย  โดยการให้การอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน….มอก. ตามชั้นรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ 5 แบบได้แก่…....1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป…2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ….3. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย.....4. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม….5. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า                                                                                                                                 

            ในปัจจุบัน  สมอ. กำหนดมาตรฐานสินค้ากว่าสองพันหมวดสินค้า  ครอบคลุมอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันมากมายอาทิ เช่น...ประเภทอาหาร…วัสดุก่อสร้าง… เครื่องใช้ไฟฟ้าและสำนักงาน…ยานพาหนะ…เสื้อผ้าและสิ่งทอ เป็นต้น……ในที่นี้จะกล่าวถึงประวัติความเป็นมาโดยสังเขปและผลงานกว่า50 ปีของ…สมอ. …..เริ่มจาก..ปี พ..2446 – 2506..มีการตราพระราชบัญญัติเงินตรารัตนโกสินทร์ในปี พ..2446 เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์การผลิตเหรียญกษาปณ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ และในปี พ.ศ.2482 กระทรวงอุตสาหกรรมให้บริการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภายในประเทศ  และออกหนังสือ

 

รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้แก่ผู้ผลิตสินค้า ตามระเบียบของทางราชการโดยใช้มาตรฐานต่างประเทศเป็นตัวอ้างอิง…….จนมาในปี พ.. 2506 กระทรวงอุสาหกรรม ได้ออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาเป็นฉบับแรกคือมาตรฐานของถ่านไฟฉาย โดยมีนายชายไหว แสงรุจิ (อดีตเลขาธิการคนแรกของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรม……..

             ปี พ..2508 – 2511 ….. 2508 กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำโครงการมาตรฐานอุตสาหกรรมขึ้น 2 โครงการได้แก่…โครงการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและโครงการพัฒนาวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้าง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ แห่งชาติ   ตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2510-2514 โดยเงินงบประมาณของปี พ..2510 ดำเนินงานตามโครงการมาตรฐานอุตสาหกรรม และได้รับความช่วยเหลือทางด้านวิชาการเป็นทุนฝึกอบรม ดูงานและสัมมนาในต่างประเทศ  และยังได้รับความช่วยเหลือจากสหประชาชาติ เพื่อกำหนดและจัดทำ Industrial Standardization ในเวลา 1 ปี และต่อมาในปี พ.ศ.2511 คณะรัฐมนตรีลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2509  โดยให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสนอวุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาและประกาศใช้ พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 121 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2511ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2512เป็นต้นมา  

             ปี พ.ศ.2512 – 2516 นับเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางมาตรฐานอุตสาหกรรมมาก มีการจัดตั้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ขึ้นในกระทรวงอุตสาหกรรม  ตามบทพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 และได้เริ่มดำเนินงานตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2513-2514…..มีการออกกฎกระทรวงเพื่อควบคุมการใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอีกหลายฉบับในเวลาต่อมา….

             จนถึงปี พ.ศ.2520 จากความช่วยเหลือขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ทั้งเงินทุนสนับสนุน เครื่องมือ อุปกรณ์การศึกษาและฝึกอบรม มีการกำหนดมาตรฐานของระบบการกำหนดมาตรฐานสินค้าและการออกใบรับรอง ทำให้มีการพัฒนางานด้าน Information, Quality Control, Metrology,  Organization of Standardization Systems in Manufacturing Industries , Mass Media Communication, Industrial Quality Instructor และมาตรฐานของระบบการผลิตและการควบคุมคุณภาพ…..

             จากปี พ.. 2521 – 2529  เป็นระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงและเกิดองค์กรเอกชนที่มาช่วยประสานงานและดูแลงานด้านมาตรฐานสินค้าหลายองค์กรโดย สมอ. ก็ช่วยสนับสนุนด้านความพร้อมเนื่องจากเป็นหน่วยงานของราชการ……ทำให้องค์กรเหล่านั้นทำงานเป็นอิสระและมีคุณภาพตรงตามวัตถุประสงค์ที่ก่อตั้งมาเช่น……สมาคมส่งเสริมการควบคุมคุณภาพ (สคภ.) Quality  Control Assoiation (QCA) ตั้งอยู่ที่อาคารสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก…..เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานทางด้านเทคนิคของการควบคุมคุณภาพทั้งภาครัฐและเอกชน…….สมาคมมาตรฐานไทย (สมฐ.) Thai Standards Association (TSA) ซึ่งทางสมาคมได้ขอจดทะเบียนตั้งสมาคม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2524 โดยมีวัตถุประสงค์ หลัก…เพื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนงานทางด้านเทคนิคของการทำงานให้ได้ตามมาตรฐานของสมอ.                                   

            ในปี พ..2529 …สมอ. เป็นผู้ประสานงานตามโครงการของกลุ่มประเทศอาเซียน และหนึ่งในโครงการนี้ก็คือ จัดสร้างมาตรฐานการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน  มีมาตรฐานการทดสอบ  การประกันคุณภาพ โดยมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานระหว่างประเทศอาเซียนกับกลุ่มประชาคมยุโรป (EEC) ในโครงการมาตรฐานอุตสาหกรรม และการประกันคุณภาพของประเทศอาเซียน (ASEAN-EC Industrial Standards and Quality Assurance Programme (ASEAN-EC ISQAP)…….โครงการนี้ สมอ.มีหน้าที่หลักสามประการได้แก่…..Strenghtening…Standards Harmonization…และ Coordination
             ปี พ..2530 – ..2540 …UNDP/ UNIDO ให้ความช่วยเหลือตามโครงการพัฒนา อุตสาหกรรมผลิตอาหารให้ได้ตามมาตรฐาน (Development of Food Industry through Standardization) มีการฝึกอบรมบุคลากร ประจำห้องปฏิบัติการอาหาร และด้านควบคุมสุขลักษณะการผลิต/ประกอบอาหาร ได้จัดตั้ง ห้องปฏิบัติการ….เคมีและจุลชีวะ…และห้องทดสอบด้วย ประสาทสัมผัส (sensory test) โดยร่วมกับ TUV ESSEN GROUP เพื่อให้บริการผู้ผลิตของไทยให้มีโอกาส ใช้เครื่องหมายรับรองความปลอดภัย ของรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน…..และต่อมา ทาง IEC (International Electrotechnical Commission) ให้สมอ. เป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2534 โดยมีบทบาทในการกำหนดมาตรฐาน สาขาไฟฟ้าและอิเลคทรอเทคนิคส์ของIEC   ทำให้เกิดผลดีกับอุตสาหกรรมส่งออก ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเลคทรอเทคนิคส์.….ต่อมาองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO ได้กำหนดมาตรฐาน ISO 9000 series : Quality System ขึ้นมา….. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ในฐานะสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ   ก็กำหนด อนุกรมมาตรฐาน มอก.9000  มีเนื้อหาเช่นเดียวกับมาตรฐาน ISO 9000   และมาตรฐานยุโรป EN 29000 ทุกประการ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2534  
               

             ในปี พ..2536…สมอ.เป็นเจ้าภาพ จัดสัมมนาระดับภูมิภาคระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประชาคมยุโรป (EC)……..เรื่อง Gatt Agreement on Technical Barriers to Trade (Gatt TBT Code) และได้สมัครเข้าเป็นภาคี Gatt TBT เมื่อ 31 สิงหาคม 2536 มีการลงนามรับรองความตกลงดังกล่าวเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2536  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2536     โดยมีพันธกรณีที่จะต้อง ดำเนินการในฐานะประเทศภาคี 2 ประการคือ…1. เป็นศูนย์ตอบข้อซักถาม (Enquiry Point) ในด้านกฎระเบียบให้แก่สมาชิกและแจ้งให้ประเทศภาคีทราบผ่านสำนักงานพาณิชย์ ณ นครเจนีวา……2. แจ้งให้คณะกรรมการทราบถึงอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าและระเบียบ ตามมาตรการของ มาตรฐานสินค้า ……..และมีการ ลงนามความร่วมมือด้านการมาตรฐานกับสถาบันมาตรฐานแห่งชาติมาเลเซีย (Standards and Industrial Research Institute of Malaysia - SIRIM) เพื่อพัฒนางานมาตรฐานโดย มีการฝึกอบรม ในเรื่องการกำหนดมาตรฐาน ตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA) มีการกำหนดกรอบความร่วมมือกันทางวิชาการ การใช้มาตรฐาน และการยอมรับซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการทดสอบและการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ 

             ในปี พ..2537  มีการจัดรับรองระบบคุณภาพ ISO 9000 โดยให้ภาคเอกชนร่วมงานด้านการรับรอง (Certificate)ระบบงาน  และห้องปฏิบัติการทดสอบ (Lab Accreditation)

             ในปี พ..2538  ปรับเปลี่ยน…..คณะกรรมการพิจารณากิจกรรมมาตรฐานเพื่อการส่งออกไปยังประชาคมยุโรป….เป็น….คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงานด้านการมาตรฐาน (National Accredition Council -NAC) ตามที่ ISO ได้กำหนดมาตรการและวิธีการเกี่ยวกับระบบงานการรับรองความสามารถหรือรับรองวิทยฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้การรับรองวิทยฐานะแก่หน่วยงานต่างๆ

             ในปี พ..2539  สมอ. ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. จัดทำโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพส่วนราชการโดยดำเนินการจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Performance Measurement)
            
ในปี พ..2540 กระทรวงอุตสาหกรรม มีการ จัดตั้ง…..สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน(สรบ.) และ…..สถาบันรับรองมาตรฐาน ไอเอสโอ(สรอ.)….. มีหน้าที่รับรองมาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000   และมอก.18000  เพื่อรองรับการโอนงานรับรองมาตรฐานISO 9000 ISO 14000 และมอก.18000 ของสมอ. ในอนาคต และปรับเปลี่ยนบทบาทของ สมอ. เป็นหน่วยรับรองระบบงาน และในปี 2541 มีการจัดตั้ง…สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(สฟอ.) และสถาบันยานยนต์(สยย.) เพื่อรองรับการโอนงานทดสอบด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และด้านยานยนต์ของ สมอ.ในอนาคต  ปี 2542 สมอ. มอบหน้าที่ รับคำขอรับรองระบบงานตามมาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 และ มอก. 18000 ให้แก่สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (ISO) เพื่อถ่ายโอนงานรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 และ มอก. 18000                 

             ในปี พ..2544  สมอ. ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. จัดทำโครงการ การพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Base Management - RBM) ในสำนักงาน สมอ. และแต่งตั้งคณะทำงานกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จและตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและคณะทำงานพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์………….สมาคมมาตรฐานไทย (สมฐ.) และสมาคมส่งเสริมการควบคุมคุณภาพแห่งประเทศไทย (สคภ.) ได้รวมตัวกันและเปลี่ยนชื่อเป็น ………สมาคมมาตรฐานและคุณภาพแห่งประเทศไทย (ส.ม.ค.ท.) หรือ The Standards & Quality Association of Thailand : SQAT ซึ่งทางสมาคมได้ขอจดทะเบียนตั้งสมาคมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2544 ที่ตั้งอยู่ที่อาคาร สมอ.

             ปี พ.ศ.2545 สมอ.ทำโครงการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในปี2547  ปรับระบบการเงินการคลังของสมอ.  ตามโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ สู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์   หรือ     GFMIS :   Goverment   Fiscal   Management Information System โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์เพื่อปรับกระบวนการดำเนินงานและการจัดการภาครัฐ และวันที่ 13 - 16 ตุลาคม 2548 ได้จัดงานมหกรรมสินค้าคุณภาพมาตรฐาน …….36 ปี สมอ. 36 ปี การมาตรฐานไทย………
ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร………
………………………………

 

ข้อมูลได้จากพัฒนาการ ความเป็นมากว่า 50 ปี ของ สมอ. เพื่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย…….ผู้บริหารควรที่จะทราบถึงความเป็นมาขององค์กรที่สำคัญนี้……และขอจบบทความในตอนที่13ไว้เท่านี้..ครับ ……….ส่วนในตอนหน้า เป็นตอนจบของ…วันที่2: ศึกษาศาสตร์ของการบริหารงาน

 

ของ..ฝากท้ายบท: ความจากเจ้าแม่ ไลฟ์สไตล์ (life style) อย่าง มาร์ธา สจ๊วร์ต (Martha Stewart )…….หญิงแกร่ง วัย 68 ปี..ชาวโปรแลนด์…มาตั้งรกรากที่อเมริกา…เรียน Barnard College ที่เมือง Manhattan….และต้องทำงานเป็นนางแบบโฆษณาเพื่อหาเงินเรียนหนังสือ…….สุดท้ายมาแต่งงานอายุเพียง 19 ปี…มีลูกสาวชื่อ Alexis ….….เริ่มมาทำงานโบรกเกอร์ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก….……..และย้ายมาอยู่ที่มลรัฐ Connecticut เมือง Westport เพื่อทำธุรกิจ….และเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตเธอคือมาทำ….ธุรกิจอาหารและจัดเลี้ยงนอกสถานที่ จนโด่งดัง….และเธอมีโอกาสได้ออกหนังสือชื่อ.. Entertaining..ซึ่งขายดีมาก….ต่อมาก็ได้ผลิตนิตยสารบ้านและสวนชื่อ..Martha Stewart Living..กับ Time Warner และเป็นที่มาของความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ โดยเริ่มจัดรายการทีวีเป็นของตัวเอง…..ลักษณะรายการจะมีการจำหน่ายสารพัดผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับบ้านและสวนภายใต้…Brand…Martha Stewart.. จนโด่งดังทั้งในอเมริกาและญี่ปุ่น….ในปี ค.. 1999 เธอได้นำบริษัทของเธอชื่อ… Martha Stewart Living Omnimedia…เข้าตลาดหลักทรัพย์ที่นิวยอร์ก….จนกลายเป็นเจ้าแม่หุ้นพันล้าน…….ต่อมาในปี 2001 เพราะความลืมตัวของนักค้าหุ้นทำให้เธอผิดพลาดให้ความเท็จกรณีเทขายหุ้น…ImClone… โดยใช้ข่าว…Insider Trading….ซึ่งผิดกฎหมายการค้าหุ้นของประเทศสหรัฐอเมริกาจนในปี 2004 ต้องมารับโทษและใช้ชีวิตในคุกก่อนจะพ้นโทษในเวลา  5 เดือนเต็ม……………….วันแรกที่เป็นอิสระ…. Alexis….มารับเธอเพื่อมาเริ่ม……..ทำงาน reality show กับ Apprentice เวอร์ชั่น Martha Stewart ซึ่งปรับปรุงจากรายการ…Martha Stewart Living…และมีรายการ talk show กับมีรายได้เดิมจาก…..Martha Stewart Living Omnimedia  อีกจำนวนมาก

คำถามส่งท้ายตอนที่13:

1. สืบเนื่องจากตอนที่11 (Management Guru)…….คำถามตามทฤษฎีแบบของพลาโต้ “ความดี” คืออะไร…?    ตอบตามความคิดเห็นส่วนตัวท่านเอง                                                                                                                                       2. ทฤษฎีที่ว่าด้วยข้อจำกัด……มีผลกับการบริหารงานขององค์กรของเราอย่างไร….?                                                   ตอบตามความเข้าใจของตัวท่านเอง                                                                                                                              3. ระบบการทำงานที่มีมาตรฐานช่วยในการบริหารงานได้อย่างไร….?

4.  เราได้คติอะไรจากเรื่องของมาร์ธาบ้าง……?

กิจกรรมส่งท้ายตอนที่ 13

ในวันที 1

 

ภาคปฏิบัติในวันที่1

ในวันที่ 1 ของการทบทวนความเป็นผู้นำ/ผู้บริหาร ของท่านขอให้ท่านเข้าภาคปฏิบัติดังนี้ครับ………

1.   จงสรุปคะแนนทั้งหมดตามที่ท่านได้ทำตามหัวข้อในตอนที่…3,4,5

2.   จาก 10 CEO ของไทย ขอให้ท่านเรียงลำดับที่ตรงตามแนวความคิดและการทำงานของท่านมากที่สุด (บางท่านอาจใกล้เคียงก็ได้) และเขียนหลักของ GURU โลกที่ท่านชอบนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในตอนที่11ก็ได้ (ตรง/ใกล้เคียง)

3.   บันทึกหลักการบริหารงานและเวลาของท่านเองภายหลังจากได้อ่านบทความวันที่ 1ไปแล้ว (ตอนที่ 11,12) ดังนี้………….บันทึกตามอัธยาศัย…..จะละเอียดเท่าไรก็ได้(ใช้กระดาษขาว A4  1 แผ่นเขียน,ที่ว่างในกระดาษ….เสมือนที่ว่างในสมองของท่าน)

4.   บันทึกความดี 1 อย่าง(หรือมากกว่า)ที่ทำในวันนั้น(เฉพาะวันที่จดบันทึก….ครับ)

5.   นั่งนิ่งๆ 1……5 นาที เพื่อ…..ทบทวนความคิดที่มีสติ…และทำสมาธิ

 

 

 

สิ่งที่ท่านจะได้รับในวันนี้:

1. การรับการถ่ายทอดจากการอ่าน…..การทำความเข้าใจระดับเบื้องต้น

2. การจัดเรียงลำดับในการทำงานและการจัดเอกสาร

3. ความคิดเชิงปรัชญาและสร้างสรรค์

4. ความคิดเชิงกลยุทธ์และแก้ไขปัญหา

5. เป็นการฝึกจิต/สมาธิเบื้องต้น

6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง/สามารถพัฒนาให้ป็นผู้มีสัจจะและเสียสละได้

7. เป็นข้อสำคัญ…..รู้ว่าต้นเองเป็นคนประเภทใหน……และให้หาจุดที่เขียนผิดพลาดในประโยคในข้อนี้……ให้พบในฐานะผู้บริหาร/ผู้นำ…...?

 

//////////////////////////////////////////////////////

26  เมษายน 2552


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที