ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987895 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


"วันที่ 2 ศาสตร์ของการบริหารงาน (-2-)"

ตอนที่15

วันที่ 2

ศาสตร์ของการบริหารงาน

(Science of Managament)

(..2..)

                                                                                                                                                                                         3.3  P.S.O. (Thailand  International Public  Sector  Standard  Management  System and Outcoms)      

       P.S.O. เป็นระบบมาตรฐานคุณภาพ / การประกันคุณภาพ………ด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของหน่วยงานภาครัฐ (Thailand International Public Sector Standard Management System and Outcomes : P.S.O.)  เป็นมาตรฐานสากลที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบราชการไทย และเป็นมาตรฐานแรกของโลกที่ภาครัฐระดับประเทศนำมาใช้งานจริง……แบ่งเป็น 2 อนุกรม…คือ มาตรฐานด้านการจัดการและมาตรฐานด้านสัมฤทธิ์ผลครอบคลุมระบบย่อยๆถึง 11 ระบบ…ได้แก่ อนุกรม1101 คือระบบข้อมูล…อนุกรม1102

คือระบบการสื่อสาร…อนุกรม1103 คือระบบการตัดสินใจ…อนุกรม1104 คือระบบการพัฒนาบุคลากร…อนุกรม 1105คือระบบการตรวจสอบถ่วงดุล…อนุกรม1106 คือระบบมีส่วนร่วม…อนุกรม1107 คือระบบการบริการภาคเอกชนและประชาชน…อนุกรม 1108คือระบบประเมินผล…อนุกรม1109 คือระบบการคาดคะเนและแก้ไขวิกฤต…อนุกรม1110 คือระบบวัฒนธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ…..ส่วนระบบสุดท้ายเป็นมาตรฐานด้านสัมฤทธิ์ผล คืออนุกรม 2201…เป็น ผลงาน/ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลลัพธ์บั้นปลายและระบบป้องกันผลลัพธ์บั้นปลายที่ไม่พึงปรารถนา

       เราได้อะไรจากระบบP.S.O.: หน่วยงานของภาครัฐจะได้รับ…..ความเชื่อมั่นคืนมาจากผู้ใช้บริการ..คือประชาชน..โดยเฉพาะจะช่วยล้างภาพพจน์เก่าๆของคำว่า…เช้าชามเย็นชามได้ในระดับหนึ่ง…ซึ่งก่อให้เกิดค่านิยมใหม่ๆของผู้ที่มีความตั้งใจในการทำงานรับใช้ประชาชน….ในอาชีพข้าราชการนี้…ซึ่งในสมัยก่อนนั้นได้ชื่อว่า…เป็นผู้ที่มีทั้งเกียรติและศักดิ์ศรีมากและยากต่อการที่จะได้เข้ามาเป็นข้าราชการ….ประการที่สำคัญด้วยจุดแข็งของระบบจะเป็นเสมือน…..re-engineering…ระบบ ทำให้เกิดความใกล้ชิดขึ้นระหว่างคนในหน่วยงานเดียวกันและต่างหน่วยงานกัน…เกิดความเข้าใจในงานแต่ละฝ่ายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพขององค์กรนั้นๆในการทำงานโดยเฉพาะ…จะได้รับการประสานงานจากทุกๆฝ่ายซึ่งก่อให้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกันนำมาซึ่งความเข้าใจที่ดีต่อกันและก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ……การรู้จักหน้าที่และยอมรับฟังความคิดเห็นจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร….ย่อมช่วยให้มีการพัฒนาทางด้านจิตใจควบคู่กันไปด้วย….. ทำให้คนในองค์กรมีความขยันขันแข็ง..ความมุ่งมั่น..ความอดทนไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาชีพอื่นๆ……..

         ผู้รับการบริการอย่างประชาชนจะได้รับ…ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า….การมีมาตรฐานในการทำงานจะช่วยให้….ผู้รับบริการ…ประชาชนพึงพอใจทั้งด้านการรับการบริการ และทางด้านจิตใจ…..การได้รับความเป็นธรรมจากสังคม…เป็นข้อแรกๆที่ต้องเริ่มจากการให้…ได้รับการบริการสาธารณะจากภาครัฐอย่างทั่วถึง…ด้วยความเสมอภาคในสิทธิที่พึงมี….มีคุณภาพชีวิตตามสวัสดิการที่พึงจะได้รับ…..และมีคุณภาพของการดำรงชีวิตตามสิทธิภายใต้กฎหมายของบ้านเมือง…..ทั้งความปลอดภัย…การแสดงออก…และการมีส่วนร่วมกับภาครัฐที่ยื่นโอกาสให้กับประชาชน

        หน่วยงานที่ได้รับการรับรอง: สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน….สำนักงานจังหวัด…สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด…สำนักงานประกันสังคมจังหวัด…สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด…สำนักงานคลังจังหวัด…สำนักงานพาณิชย์จังหวัด…สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด…สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด…สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด…สำนักงานสรรพกรจังหวัด…สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง…สำนักงาน ก.พ…สำนักงานที่ดินจังหวัด…สำนักงานโยธาธิการจังหวัด…สำนักงานผังเมืองจังหวัด…สำนักงานป่าไม้จังหวัด/เขต…สำนักงานขนส่งจังหวัด…ที่ทำการปกครองอำเภอ…สำนักงานพัฒนาที่ดิน…สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล…สถานีตำรวจภูธร…และโรงพยาบาล

 

3.4   TLS (Thai Labor Standard)  

        TLS 8001 เป็นระบบมาตรฐานแรงงานไทยหรือ มรท.8001-2546 ประกาศใช้โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เมื่อ 22 มิถุนายน พ.. 2546 เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของแรงงานสากลเป็นการจัดระบบการจัดการเพื่อใช้ปฏิบัติต่อแรงงานด้านสิทธิและการคุ้มครอง…..เป็นการเปิดโอกาสให้กิจการที่ต้องการเข้าสู่เวทีการค้าโลก มีสิทธิแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศได้……เหมาะสำหรับธุรกิจที่ส่งสินค้าออก……เมื่อได้รับการรับรองมาตรฐานแล้วคือ…มรท.8001-2546 ช่วยให้มีการใช้แรงงาน ถูกต้องตามหลักสากล…ไม่มีการละเมิดหรือบังคับให้ทำงาน…มีความปลอดภัยและได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐานครบถ้วนโดยได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมและมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นได้…ตามมาตรฐานที่เป็นระบบที่ยืนยาวและได้รับการรับรอง…แสดงว่าเป็นสถานประกอบการ ที่สามารถทำการประกอบธุรกิจได้มาตรฐานด้ารแรงงานสากล…ทัดเทียมอารยประเทศ

        SA 8000 (Social Accountability) เป็นระบบมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยกำหนดขึ้นเพื่อทำการตรวจและประเมิน…สภาพการใช้…แรงงาน…การจ้างแรงงาน…สุขอนามัย และความปลอดภัย………..สภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงาน…SA8000 อยู่ภายใต้ข้อกำหนด 9 ข้อด้วยกันได้แก่…ข้อกำหนดว่าด้วยแรงงานเด็ก…การใช้แรงงานบังคับ…ความปลอดภัยและสุขภาพของคนทำงาน…สิทธิและเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น และการมีส่วนเข้าร่วมเจรจาต่อรอง…ข้อกำหนดที่ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติงาน…ข้อกำหนดที่ว่าด้วยการลงโทษทางวินัย…ข้อกำหนดที่ว่าด้วยเวลาในการทำงาน…ข้อกำหนดที่ว่าด้วยผลตอบแทน…และสุดท้ายคือข้อกำหนดที่ว่าด้วยระบบการจัดการ

3.4  OHSAS (Occupational Health and Safety Assessment Series)                                                                                                                                                      

        OHSAS18001 เป็นระบบมาตรฐาน การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการทำงาน มาจาก OHSAS Project Group ของประเทศอังกฤษ…..ประเทศไทยได้นำมาประยุกต์ใช้เป็น…มอก. 18001:2542…TIS  18001:1999…และถือว่าทั้ง…OHSAS 18001..และ…มอก.18001…เป็นมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ใช้กำหนดมาตรฐาน ในการทำงานของสถานที่ประกอบการ ได้ทั้งสองระบบ…… และOHSAS 18001:1999 สามารถใช้ร่วมกับ ISO 14001 และ ISO 9001 ได้…..สาระส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องสุขภาพของผู้ทำงานในองค์กรและผู้ที่เป็นตัวแทนขององค์กร รวมถึงผู้มาติดต่อกับสถานที่ภายใต้การดูแลขององค์กรด้วย  มีการประเมินความเสี่ยงบนพื้นฐานของการเสื่อมของสุขภาพจิต  และอันตรายที่จะเกิดขึ้นในองค์กร  ส่วนเรื่องความเสียหายด้านทรัพย์สินถือว่าเป็นอันดับรองลงมา  แต่ก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของการควบคุมและสถานะการณ์…OHSAS…มีทั้งversion 18001 และ18002

3.5  HACCP (Hazard Analysis and Critical  Control Point)   

       HACCP เป็นระบบมาตรฐานด้านคุณภาพความปลอดภัยในการผลิตอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากอันตรายที่จะเกิดขึ้น….จากเชื้อจุลินทรีย์…สารเคมี…และสิ่งเจือปนที่ไม่พึงประสงค์ทุกชนิด…ภายใต้มาตรการควบคุมกระบวนการผลิต…..เริ่มตั้งแต่คัดเลือกวัตถุดิบ....เข้ากระบวนการผลิต….และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค…..แต่จะเน้นการป้องกันอันตรายในกระบวนการ….มากกว่าการทดสอบที่ผลิตภัณฑ์…ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ผลิตและผู้บริโภค  เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันโดยมี….FAO / WHO (Codex Alimentarius Commission) เป็นผู้กำหนดหลักการของระบบ HACCP….เพื่อนำไปใช้ได้อย่างจริงจังในทุกๆประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหาร กับทั้งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมทางด้านอาหารอย่างในประเทศไทยเพื่อบริโภคและส่งออก…...ในปัจจุบันได้มีการประกาศใช้เป็นทางการแล้ว….สรุปว่า…HACCP หรือแฮซเซป….เป็นการวิเคราะห์อันตราย ของจุดควบคุมวิกฤต โดยมี มาตรการป้องกันอันตราย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน ของกระบวนการผลิต พร้อมทั้งมีการดำเนินงานด้านตรวจวัด/วิเคราะห์(LAB) เพื่อป้องกันไว้ล่วงหน้า กับมีการควบคุม และเฝ้าระวัง ให้แน่ใจว่า มาตรการป้องกันเหล่านั้น มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา ในทุกขณะที่ทำการผลิต                                                      

          เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคของการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปอย่างเต็มตัวแล้ว…ทำให้มีความจำเป็นของการใช้ระบบ HACCP เพื่อการควบคุมคุณภาพสินค้าอาหารแบบระบบองค์รวม  โดยมีข้อดีกล่าวคือ….เป็นการป้องกันปัญหาตามหลักการของการควบคุมและประกันคุณภาพ…..เป็นการควบคุมอันตรายจากสิ่งเจือปนทุกชนิด อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เกิดความสิ้นเปลืองใดๆ…..ช่วยป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เกิดความสูญเสียจากการปนเปื้อนใดๆตามข้อกำหนด…..สามารถสร้างศักยภาพของสินค้าไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ โดยเป็นที่ยอมรับทางสากล ว่ามีความปลอดภัยสูง…….และมีจุดแข็งที่สำคัญของ HACCP คือเป็นระบบที่ใช้ร่วมกับระบบคุณภาพอื่นๆได้  ( โดยจะขอการรับรองระบบHACCP เพียงอย่างเดียวหรือจะใช้ควบไปกับระบบบริหารตาม มาตรฐาน ISO9001:2000 และ GMP Codex ) …..อุตสาหกรรมที่จำเป็นและสมควรมีระบบนี้ได้แก่…อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร…..อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์….อุตสาหกรรมห้องเย็นและการขนส่ง…….อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร…..ห้างสรรพสินค้าและร้านขายอาหาร
                                                                                                                                                                        3.6  GMP (Good Manufacturing Practices )                  

       GMP เป็นการจัดสภาวะแวดล้อมขั้นพื้นฐานที่ดีให้กับกระบวนการผลิตเพื่อเตรียมตัวเข้า ระบบ HACCP นั่นเอง…...จะเน้นการควบคุมปัจจัยทั้งระบบของกระบวนการผลิต……เริ่มจากสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน…..องค์ประกอบเครื่องจักรที่ใช้ผลิต…..สถานที่ใช้ทำการผลิต…..โรงงาน/อาคารที่ตั้งทำการผลิต…..พาหะนำโรคต่างๆทั้งสัตว์และแมลง….. และเป็นการจัดการด้านการผลิตอาหารเบื้องต้น(Food Safety Management System) เพื่อให้ระบบหลัก คือ…HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) …มีการจัดการด้านการควบคุม และกระบวนการผลิต…โดยจะทำการวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์(LAB)พร้อมกับประเมินอันตรายในขั้นตอนของการผลิตทั้งหมด …เริ่มจากการตรวจรับวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต จนในที่สุดได้มาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภคต่อไป
ปัจจุบัน……คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ GMP ที่ว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไปเป็นกฎหมายบังคับใช้ตั้งแต่ ปี พ..2544  เป็นต้นมาพร้อมกับการแนะนำให้สถานประกอบการนำเอาระบบ HACCP ไปใช้ในการควบคุมกับการผลิตด้วย ส่วน….สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ….ได้ออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 7000-2540) ด้านระบบการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตในการควบคุม การผลิตอาหารและให้คำแนะเพื่อนำไปใช้ ควบคูกับเอกสารชุดคู่มือของ Codex Alimentarius Supplement to Volume 1B_1997; Annex to CAC/RCP-1 (1969), Rev. 3 (1997) Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System And Guidelines For Its Application.  

3.7  GLP (Good Laboratory Practice )                

       GLP เป็นมาตรฐานของการปฏิบัติการในการทำการทดลองตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ ตามมาตรฐานจากระยะเริ่มต้นเป็นการพัฒนากระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนายาหรือสารเคมี….ให้มีความปลอดภัย (Safety)…..ตรวจสอบความเป็นพิษ (toxicity)  ซึ่งเป็นการควบคุมจากฝ่ายนโยบาย….ของการขึ้นทะเบียนยา โดย GLP ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบ…ทางห้องปฏิบัติการทั้งในกรณีการวิจัย….การให้การบริการด้านการประกันคุณภาพ…..เพื่อการพัฒนาเข้าสู่ระบบ…..มาตรฐานสากลและได้ผลงานแสดงต่อองค์การนานาชาติต่างๆได้…..ว่ามาตรฐานของห้องปฏิบัติการสามารถ….เพิ่มศักยภาพของการทำการวิจัยและการพัฒนายา……ทั้งระดับห้องทดลอง….โรงพยาบาล…สถานศึกษาทางการแพทย์….และในระดับคลินิก(clinical) เป็นต้น………เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นใจในข้อมูลว่ามาตรฐานในระดับ GLP จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง…น่าเชื่อถือ…และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในระดับสากล

“รายละเอียดของระบบมาตรฐาน ในอนุกรม ISO9001:2000…ระบบHACCP เ และ GMP Codex ) ….จะขอกล่าวในตอนที่ว่าด้วยระบบมาตรฐาน ISO9001”

บทส่งท้าย:……………ตอนที่15                                                                                                                                        เขากล่าวว่า….. “ ความเชื่องช้าในวัยเด็กของเขาทำให้เขามีเวลาที่จะคิด…..มากกว่าเด็กคนอื่นๆคิดสารพัดคิด…คิดจนกระทั่งอยากจะวิ่งไล่ตามแสงอาทิตย์ด้วยความเร็วเท่ากับแสง….จะเกิดอะไรขึ้น….คิดได้ทั้งในแง่ฟิสิกส์และตรรกศาสตร์……..และเขาคือ…..อัลเบิร์ตไอน์สไตน์ ”

ชอฟแวร์……. “ ช่วยให้สังคมที่ไม่ทัดเทียมกัน….ทัดเทียมกัน….คนที่ไม่มีโอกาสก็ได้มีโอกาส……ประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องไม่ปิดกั้นโลกของการเรียนรู้……ช่วยเปิดตลาดให้เป็นตลาดเสรี…บิลล์ เกตส์ ”

ขอจบตอนที่15ไว้เพียงเท่านี้…..และจะฝากเรื่องของอัจฉริยะก้องโลกผู้ซึ่งมีทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นผู้ที่ไม่มีวันตาย(ในความทรงจำ) อย่าง…อัลเบิร์ตไอน์สไตน์…และบิลล์ เกตส์ในบทแทรกของตอนที่ 15                                

//////////////////////////////////////////////////////////////////////

          3  พฤษภาคม 2552


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที