ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987901 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 5 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-3-)"

ตอนที่ 20

วันที่ 5

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management)

"การประยุกต์ใช้ ISO" (-3-)

 

            มาถึงวันที่ 5 แล้ว…เรื่องราวของ…ISO9000 นั้นมีรายละเอียดอีกมาก…ผู้เขียนจะพยายามกล่าวถึงในหลักการใหญ่อีกซัก 2 ตอน…จากนั้นจะสรุปเป็นกระบวนของระบบรวม…ซึ่งทุกฝ่ายในองค์กรจะได้เห็นหน้าที่ของตนเองว่า…ต้องเตรียมตัว / มีหน้า อะไรบ้างในระบบนี้…. “ ขอให้ยินดีที่จะตอบรับและเต็มใจในการปฏิบัติตามระบบนี้เถอะครับ!.......เพราะจะทำให้การบริหารองค์กรของท่านดีขึ้นมาก  ในตอนที่18 ได้กล่าวถึงรายละเอียด  ตามข้อกำหนดในอนุกรม ISO 9001:2000 ใน 4 ข้อหลัก       ซึ่งจะเห็นว่าสามารถ  ครอบ คลุมการทำงานขององค์กรได้กว้างขวางมาก   จึงทำให้….…ถูกเลือกเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารงานในองค์กรมากที่สุด  ในตอนนี้จะกล่าวถึง ขั้นตอนของการจัดทำมาตรฐานเบื้องต้น และหน่วยรับรองผลมาตรฐานที่ออก ใบรับ รองระบบ ISO9000…ได้ตามประเภทของระบบที่องค์กรต้องการ

 

1. ขั้นตอนของการจัดทำ ISO9001:2000เบื้องต้น:

          จากเนื้อหาตามข้อกำหนดใน 4 ข้อหลักตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น…..พอที่จะสรุปเป็น 4 ขั้นตอนของการจัดทำมาตรฐาน…ISO คือ….1. การเลือกประเภทของมาตรฐานการรับรองระบบ ISO….2. การทำแผนและคู่มือในการทำงานและฝึกอบรม…..3.การปฏิบัติการตามแผนงานของระบบ…..4. การตรวจสอบประเมินผลและติดตามผล เพื่อหาทางพัฒนา  ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดีขึ้น…และเพื่อความเข้าใจโดยง่าย พอสรุปเป็นขั้นตอนย่อๆได้ดังนี้:                                                        

          1. การเลือกประเภท ( Kind of  ISO Standard)  การเลือกประเภทของการขอรับรองให้ตรงตามประเภทของกิจการขององค์กร……ซึ่งโดยรวมจะสรุปที่ระบบ ISO 9001:2000 เพราะสามารถครอบคลุมได้แทบจะทุกประเภทของธุรกิจ / หรือทุกๆหน่วยงานตามกิจกรรมในองค์กร…..ตามที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่19                 

                   เป็นขั้นตอนและหน้าที่หลักของระดับผู้บริหารต้องสรุปให้เป็นนโยบายขององค์กร                                                     

                   จัดตั้งคณะทำงานตามระบบมาตรฐาน…ISO 

 

            2. การทำแผนงาน (Timeframe , Work Planning and Quality Manual ) จัดทำแผนปฏิบัติงาน  จัดทำคู่การทำงานควบคู่กับคู่มือคุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบมาตรฐาน  ของทุกฝ่าย   จัดการฝึกอบรมพนักงาน/เจ้าหน้าที่ขององค์กร ให้เป็นระบบ

                    จัดทำแผนงานการดำเนินงานตามมาตรฐานISO

                    จัดแผนให้ทุกคน/ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม…โดยสร้างความเข้าใจ…เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือของ

                    ทุกคนในองค์กร…..ทุกฝ่ายแสดงวิสัยทัศน์  จัดแผนให้ทุกคนมีหน้าที่                  

                    จัดทำคู่มือของการปฏิบัติการตามISO….จัดทำคู่มือคุณภาพ….จัดทำคู่มือฝึกอบรม  

                    หัวหน้าของคณะทำงาน…ทำหน้าที่ช่วยฝึกอบรมพนักงานในส่วนสังกัด ที่ยังขาดความเข้าใจ…

                    ทำให้งานเป็นไปตามแผน

 

            3. การปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพ (Procedure)

                     ทุกส่วนในองค์กรต้องทำตามแผนระบบคุณภาพ

                      ผู้นำขององค์กรติดตามการปฏิบัติงานระหว่างทำแผนอย่างใกล้ชิด

 

             4. การตรวจสอบตามระบบคุณภาพ ( Measuring and Inspection)

                     ต้องมีการตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนงาน และทดสอบระบบคุณภาพ

                     พิจารณาจากแผนงานที่ดำเนินงานว่าจำเป็นต้องปรับปรุงส่วนใดบ้าง…….ต้องแก้ไขทันทีและ

                     ถ้ามีข้อผิดพลาดใดๆเกิดขึ้นอีก…ก็ต้องมีการแก้ไขจนเกิดสภาพคงที่…..พร้อมที่จะเก็บข้อมูล

                     เพื่อเป็นประโยชน์แก่….ระบบหลักในสายการบริหารงาน/ สายการผลิตสินค้าและการ                

                     ให้บริการ   สรุปเป็นแผนงาน….ที่ใช้ในการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับแผนงานหลักขององค์กร 

                      จนเกิด ความคุ้นเคยโดยมีความรู้สึกว่าไม่มีอะไรยุ่งยาก ในการทำโครงการชุดมาตรฐานนี้

                      ต้องติดตามผลโดยบัญญัติเป็นระเบียบการทำงานขององค์กรภายใต้ระบบมาตรฐานคุณภาพ

 

2. หน่วยรับรองผลมาตรฐาน:

     หน่วยรับรองมาตรฐานที่สามารถออก ใบรับรองระบบ ISO9000 …ได้ ตามประเภทของระบบที่

องค์กรต้องการนั้น…..ขอให้เริ่มต้นพิจารณาจาก หน่วยราชการก่อนคือ…สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน (National Accreditation Council :NAC) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้กำหนดนโยบาย และกำกับดูแล ธุรกรรมการรับรองระบบงานมาตรฐาน ของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ได้รับการยอมจากองค์การ ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ….โดยเฉพาะประเทศคู่ค้า และที่สำคัญ NAC จะให้การรับรองระบบงานมาตรฐานแก่…หน่วยรับรอง (Certification Body) และหน่วยตรวจ (Inspection Body) ในสาขาต่างๆ เช่น สาขาการรับรอง…ระบบงานหน่วยรับรองระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001) …สาขาการรับรอง…ระบบงานหน่วยรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และสาขาการรับรอง…ระบบงานหน่วยตรวจ (ISO 17020) ….NAC เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล มีการลงนามกับองค์กรภูมิภาคแปซิฟิค…เรื่องการยอมรับร่วม (Multilateral Recognition Arrangement - MRA) ที่ว่าด้วยการรับรองระบบงาน (Pacific Accreditation Cooperation - PAC) และองค์กรระหว่างประเทศ ที่ว่าด้วยการรับรองระบบงาน (International Accreditation Forum - IAF)
 
            การรับรอง ระบบงานหน่วยรับรอง(Certification Body) ของ NAC ทั้ง 2 สาขา เป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่า เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด  ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบ หรือรับรองซ้ำ เป็นการประหยัด เวลา และค่าใช้จ่ายในการ ที่จะแสดงหรือขอมาตรฐานของระบบนี้   และหน่วยรับรองที่ NAC ได้ให้การรับรอง…สาขาระบบการบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System: QMS) ก็ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของสากลโดยทั่วไป เช่น   สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ , สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ , สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ,บริษัท ทียูวี ไรน์แลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด  ,บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด  , บริษัท เอเจเอ รีจีสตราส์ จำกัด , บริษัท โกลบอล เซอร์ติฟิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด  , บริษัท ทูฟ นอร์ด (ประเทศไทย) จำกัด  ,บริษัท บีวีคิวไอ (ประเทศไทย) จำกัด  และบริษัท ไทยประเมินรับรองสากล จำกัด

              มีหน่วยรับรองที่ได้รับการยอมรับ แบ่งตามประเภทของกิจการ หรือธุรกรรมขององค์กร อีกหลายแห่ง ผู้ประกอบการสามารถหา รายละเอียดจาก website ของแต่ละหน่วยรับรองตามตัวอย่าง ดังนี้  Bureau Veritas Certification  (BVQI) , TUV – NORD , BM  TRADA , URS , NQA , SGS , MASCI , Global Certification , AJA Registras , UKAS QUALITY , LRQA , JQA , TÜV  CERT   เป็นต้น                                                 

(รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ NAC ……http://www. tisi.go.th ……e-mail:thainac@tisi.go.th …..หรือโทร. 02202 3454  4394)              

 

สรุปในตอนที่ 20: การทำความเข้าใจเบื้องต้นของขั้นตอนการจัดทำระบบการบริหารคุณภาพ (QMS) และหน่วยรับรองมาตรฐาน เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ก่อนที่จะดำเนินการในขั้นลงมือปฏิบัติการ เพราะอย่างน้อย ทุกคนในองค์กร…ต้องเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงและตอบรับกับการทำงานที่มีระบบมากขึ้น….. ในตอนต่อไป จะได้กล่าวถึงโครงสร้างขั้นพื้นฐานของ  ISO9001:2000 และการเลือกหน่วยรับรองมาตรฐาน

/////////////////////////////////////////

31/5/2552

 

บทส่งท้ายของตอนที่ 18:  1. ลองมาคิดดูว่าถ้า…. Genius….ทั้ง 2 คน….บิลล์ เกตส์ และไอน์สไตน์ เกิดสลับยุคกัน…..คิดในแง่ ความเป็น genius ของทั้ง 2 คน…..ไอน์สไตน์สุดยอดนักฟิสิกส์อันเรืองชื่อ…..และบิลล์ เกตส์สุดยอด…….reverse engineer   อันโด่งดัง!......ช่วยกัน create กันเต็มที่ครับ!    2. บิลล์ เกตส์  มีหลักบริหารงานต่างจากไอน์สไตน์  อย่างไร ?

จากประวัติของบิลล์ เกตส์….ในช่วงที่เข้าได้รับงานเพื่อพัฒนาซอฟแวร์ให้ IBM  บิลล์ เกตส์ ได้ขอซื้อ ซอฟแวร์ระบบปฏิบัติการ PC- DO…86-DOS จาก Tim Paterson  เจ้าของบริษัท…..Seattle Computer Products ….เพื่อนำมาพัฒนา เป็นซอฟแวร์ ของระบบปฏิบัติการ PC-DOS ……โดยทางบริษัท  Micro-Soft….ได้พัฒนาจนสำเร็จ และขาย ลิขสิทธิ์ให้กับ IBM …..ในเวลาต่อมา    นับว่าเขาเป็นสุดยอด… reverse engineer….เมื่อมาลองคิดในแง่ของ….ไอน์สไตน์….ก็อาจใช้เวลาในการคิดค้นอีกนานก็เป็นได้….จะทันการหรือไม่..?....หรือไม่ก็ในขณะนี้ทั่วโลกอาจจะมี….คอมพิวเตอร์ราคาถูกได้ใช้อย่างทั่วถึงก็เป็นได้

จากประวัติของไอน์สไตน์….ในช่วงที่เขาเป็นสมาชิกของสถาบันค้นคว้าและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์……ของโครงการแมนฮัตตัน เพื่อพัฒนาอาวุธระเบิด ปรมาณู......เขาปฏิเสธที่จะเข้าร่วมพัฒนา….เพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 …….ถ้าเป็น…บิลล์ เกตส์…อาจจะมีพ่อค้าระเบิดปรมาณู มือฉมังของโลกเกิดขึ้นก็เป็นได้…..แล้วไม่รู้ว่าจะเกิดสงครามโลกมาอีกกี่ครั้ง…?.....หรือไม่ก็อาจจะมีรถยนต์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์…วิ่งกันเต็มท้องถนนในปัจจุบันก็เป็นได้

            “เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาตามกาล….เวลา…ก็อาจทำให้…..โลกอยู่ได้ยืนยาวจนถึงปัจจุบันนี้”

 

กิจกรรมท้ายบทของตอนที่19:                                                                                                                                                                                                                                                        1. ในฐานะท่านเป็นผู้บริหารองค์กรในระบบมาตรฐาน…ISO9001:2000…ท่านมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรบ้าง…? ISO 9001 : 2000 จะเน้นบทบาทของผู้บริหาร….โดยให้ความสำคัญกับ…ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า  กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร……ทุกส่วน…ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรม การผลิต หรือการบริการ ทั้งภาครัฐและ เอกชน ท่านต้องเป็นผู้…ช่วย ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการบริการให้เทียบเคียงกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงได้….ด้วยการเป็นผู้ควบคุมและดูแลระบบว่า……ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามข้อกำหนดของระบบหรือไม่!.......และที่สำคัญตัวของท่านเอง จะมีความอดทนได้แค่ไหน? ต่อการรักษาระบบมาตรฐาน……..นี้

  

2. งานสำคัญที่สุดของท่านในการเป็นผู้นำองค์กรที่อยู่ในระบบมาตรฐาน…ISO9001:2000…คืออะไร?       ตอนนี้ให้ท่านเลือก…ระหว่างผู้สั่งการ และผู้ประสานงานที่ดี…! ท่านต้องติดตามผลของระบบทุกวัน!...และอย่าลืมว่า องค์กรจะเดินไปได้เพราะ…พนักงานทุกคนต้องก้าวเดินไปพร้อมๆกันด้วย…โดยจะถึงเป้าหมายได้ก็เพราะ….มีผู้นำอย่างท่านนั่นเองครับ!

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที