ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987935 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 10 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)"5S , Fish Bone Diagram , Pareto Chart , Check Sheet "

 

ตอนที่ 31

วันที่ 10

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) (1)

"5S , Fish Bone Diagram , Pareto Chart , Check Sheet "

 

               ผู้บริหารควรจะคำนึงถึงหลักพื้นฐานที่ใช้ในการบริหารงานได้…..ทุกระดับ  และสามารถปรับนำมาใช้ได้กับผู้ทำงาน  ในแต่ละตำแหน่งหน้าที่ ตามสายงานที่ทำนั้นๆได้เป็นอย่างดีด้วย   ในการสร้างระบบมาตรฐาน……ทุกระบบในการทำงานแม้กะทั่ง ระเบียบที่ใช้ในบ้านของเราก็ตาม   หนีไม่พ้น….หลัก 5…….ในหลายองค์กร เมื่อ ได้รับ มาตรฐาน ISO แล้วมักจะมองข้ามจุดเริ่มต้นคือหลัก 5 นี้ไป  และในที่สุดก็ต้องกลับมาตามแก้ปัญหา ณ จุดเหล่านี้อีก คือปัญหาพื้นฐานเดิมๆนั่นเอง     ในเมื่อเรารู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าปัญหาใดๆที่อาจจะหวนกลับมาเกิดขึ้นอีก ถ้าเราสามารถปรับการทำงาน /กระบวนการผลิต /การบริหารองค์กรรวมทั้งระบบ ให้ยังคงอิงหลักพื้นฐาน 5 นี้อยู่ตลอดเวลาได้   ก็เท่ากับว่า เป็นการเสริมฐานรากของระบบการบริหารงานขององค์กร ให้มั่นคงอยู่เสมอ     และเมื่อลงลึกไปในกระบวนการทำงานแล้ว……เราต้องมี…หลักง่ายๆของ…วิธีการ / แนวทางปฏิบัติ / เครื่องมือที่ใช้ …..เพื่อช่วยให้ระบบการบริหารงานทุกระดับ ดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร  และมีการใช้หลักการเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง                   

               แน่นอนครับการเลือก QC Techniques / QC Tools ที่พนักงานสามารถนำมาใช้กับการทำงานได้   จริงๆนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก…..ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญต่อประเด็นนี้… เพราะท่านจะได้พนักงาน….ที่มีความสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกวิธี…รู้จักการวิเคราะห์ และปรับปรุงงานที่ทำได้อย่างแม่ยำ…… เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ เพราะการทำงานระบบนี้ ต้องอาศัยการระดมสมอง ( brainstorm) ควบคู่กันไป เท่ากับว่า….เป็นการป้องกันความผิดพลาด และประการสำคัญจะช่วยให้ระบบมาตรฐานที่เรามีอยู่….ยังคงใช้ปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง  และมีการติดตามผลควบคู่ไปกับระบบการทำงานที่ได้วางไว้….ภายใต้การดูแล….ใส่ใจ…ตรวจสอบ…ในขั้นสุดท้าย…โดยผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั้นเอง                               

                QC Techniques / QC Tools  ไม่ใช่เป็นเพียง เครื่องมือที่ใช้ช่วยแก้ปัญหาของงานด้านคุณภาพในการผลิต เพียงอย่างเดียว แต่สามารถปฏิรูปให้ใช้ได้กับ ทุกๆส่วนขององค์กร  เช่นเดียวกับ Deming cycle กล่าวโดยรวมแล้ว…ก็จะครอบคลุมหลักใหญ่ของ….การวิเคราะห์…หาสาเหตุของปัญหา…ที่มาของปัญหา  …วิธีการแก้ปัญหา…พร้อมทั้งมีแนวทางที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานั้นๆอีก…โดยมีการติดตามผลของระบบที่ทำอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นสุดท้าย….ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหาร                                                           

                 การนำ QC Techniques / QC Tools  มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น  ต้องเลือกใช้ให้ตรงกับประเภทของงาน / ปัญหา   ที่เกิดขึ้น….ต้องมีความชำนาญจนถึงขั้นสุดท้าย ของกระบวนการ…..และต้อง….straight  through process balancing…..in loops of  QCC  and  TQM                             

                QC Techniques / QC Tools …….ประกอบด้วย ผังก้างปลา หรือผังแสดงเหตุผล (Fish bone / Cause and Effect Diagram)….ผังพาเรโต (Pareto Chart) …..แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)…..ฮีสโตแกรม (Histogram)…..แผนภูมิควบคุม (Control Chart)…..กราฟ (Graph)…..ผังการกระจาย (Scatter Diagram)   มีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้:-  

 

 90275_Picture1.png


รูปแสดง ผังก้างปลา

1. ผังก้างปลา หรือผังแสดงเหตุผล (Fish bone / Cause and Effect Diagram).....คือ แผนผังแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างคุณลักษณะของปัญหา(ผล) กับปัจจัยต่างๆ(สาเหตุ)ที่เกี่ยวข้อง…..ใช้เพื่อแสดงและค้นหาสาเหตุของปัญหา โดยมีการจัดเรียงลำดับ และหาแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ….เมื่อต้องการศึกษา และทำความเข้าใจกับกระบวนการของส่วนอื่นๆ…. ให้มีการระดมสมอง เพื่อให้ทุกคนสนใจในปัญหาของกลุ่มซึ่งแสดงโดยหัวปลา

 

90275_Picture2.png

รูปแสดง ผังพาเรโต

2. ผังพาเรโต (Pareto Chart)…คือแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุของปัญหา กับปริมาณความเสียหายที่เกิดจากปัญหา….ใช้เพื่อหาระดับความสำคัญของปัญหาในจำนวนปัญหาทั้งหมด โดยแสดงลำดับความ  สำคัญ…จากมากไปหาน้อย….หา Critical Factor ของปัญหา….เพื่อแยกออกมาจากสาเหตุอื่นๆ..... เมื่อต้องการค้นหาปัญหาและหาวิธีการแก้ปัญหา…..เพื่อยืนยันผลลัพธ์ภายหลังการแก้ปัญหาแล้ว โดยเปรียบเทียบ “ ก่อนทำ ” กับ “ หลังทำ”                                                              

 

แผ่นตรวจสอบ

เป้าหมาย

การใช้งาน

1. กระดาษบันทึก

ข้อมูลเชิงรายงาน

ใช้บันทึกเพื่อเป็นข้อมูล

2. ตารางแสดงเครื่องหมาย/ความถี่/ทำแบบสอบถาม

ใช้ทำเครื่องหมาย /นับจำนวนของเสีย/ความคิดเห็น

แยกข้อมูลเพื่อนำไปทำแผนผังพาเรโต/กราฟ

3. ตารางรวบรวมตัวเลข

นับจำนวนข้อผิดพลาด/ของเสีย /ข้อมูลจากการวัด/การทดสอบ

ใช้ในการทำแผนผังควบคุม ผังการกระจาย /ฮิสโตแกรม /แผนภูมิกราฟ

4. ตารางแบบอื่นๆ

การตรวจสอบหาข้อมูล/วิเคราะห์

เลือกใช้ตาม แบบสอบถาม/หรือลักษณะงานที่ใช้

 

 

 

 








รูปแสดงชนิดของแผ่นตรวจสอบ

3. แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)….คือ แบบฟอร์มที่มีตารางช่องว่างเพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่เราจะนำไปใช้…ให้ถูกต้อง ไม่ยุ่งยาก ในการออกแบบฟอร์มทุกครั้งต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน … เพื่อควบคุมและติดตาม (Monitoring) ผลการดำเนินการผลิต…เพื่อการตรวจสอบ….เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของความไม่สอดคล้อง…จะช่วยให้เราไม่สับสนในการรวบรวมและเก็บข้อมูลที่เกี่ยวได้ทั้งหมด

           “โดยทั่วไปแล้วในหลายๆโรงงาน / บริษัท / องค์กร  มักจะใช้  QC Techniques / QC Tools  ใน 3 หัวข้อหลักที่ได้กล่าวมานี้…….ผู้บริหารต้องเป็นผู้กำหนดว่าควรจะใช้ Techniques / Tools ตัวใดให้เหมาะสมกับความรู้/ ความสามารถ/ความสำคัญของข้อมูล  กับพนักงานในองค์กร  แล้วตนเองต้องเป็นผู้สรุป ข้อมูลเหล่านั้น …….ก่อนการวิเคราะห์ ในกรณีที่…case…นั้นๆจะมีผลเสียต่อองค์กรโดยตรง…..คิดเสมือนว่าเป็นการแบ่งงานบางส่วนมาทำ….แต่ถ้าเป็นงานปกติทั่วไปต้องปล่อยให้ ระบบเป็นกลไกลขับเคลื่อนไปโดยอัตโนมัติให้ได้…..ผู้บริหารเป็นเพียงผู้ตรวจสอบ / ติดตามผลก็พอแล้ว….. เมื่อเรามี Techniques / Tools  ช่วยขับเคลื่อน Deming cycle ก็จะทำให้วงล้อแห่งความสำเร็จไปถึงจุดหมายปลายทางได้…เร็วขึ้น…ดีขึ้น…และสมบูรณ์แบบมากขึ้นด้วย ”

4. แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram)
คือ ผังแสดงค่าของข้อมูล /งาน ที่ได้จากความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว แสดงให้เห็นว่ามีผลกับสิ่งใดเพื่อประโยชน์ในการเอาข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ในขั้นต่อไป

5. ฮิสโตแกรม (Histogram)
คือ กราฟแท่งที่ใช้…แกนตั้งเป็นตัวเลขแสดง “ ความถี่ ” ส่วน…แกนนอนเป็นข้อมูลของ…งาน/สิ่งที่เรา     ต้องการหา / ตรวจสอบ….เริ่มจากค่าน้อยไปหามาก…. สามารถตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในกระบวนการ / การทำงาน  ได้จากการสุ่มตัวอย่าง…แล้วนำมาสร้างรูปร่างของฮิสโตแกรมขึ้นมา…

6. แผนภูมิควบคุม (Control Chart)
คือ แผนภูมิที่แสดงขอบเขตตามข้อกำหนดของ งาน/สิ่งที่จะควบคุม ให้อยู่ในค่าที่ยอมรับได้ เพื่อนำไปเป็นข้อกำหนด....ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน / เพื่อควบคุม โดยการติดตามผล /พร้อมกับตรวจสอบผลที่ได้ว่า….ผิดพลาดไปจาก ขอบเขต /ค่า ที่กำหนดไว้หรือไม่

7. กราฟ (Graph)คือ แผนภาพที่แสดงให้รู้ว่า ข้อมูลที่ต้องการจะสรุปนั้น…ออกมาเป็นปริมาณ เชิงตัวเลข / สถิติ ได้ตามที่ต้องการในระดับใดบ้าง….และต้องใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายและดีขึ้น

 

/////////////////////////////////////////

31/7/2552


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที