ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987882 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 10 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)"5S , Fish Bone Diagram , Pareto Chart , Check Sheet "

ตอนที่ 32

วันที่ 10

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) (2)

"5S , Fish Bone Diagram , Pareto Chart , Check Sheet "

 

          ในวันที่ 10 นี้เป็นการทบทวนการทำงานและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรผ่านกระบวนการของ…. QCC , TQM โดยใช้…ระบบ /เครื่องมือ / อุปกรณ์ที่มีอยู่…ควบคู่กันไปกับการทำงานตามหน้าที่หลักของโรงงาน /บริษัท / องค์กร ….ที่ใดยังไม่ได้ใช้กระบวนการเหล่านี้ สามารถ….simulate….นำไปทดลองใช้กับส่วนที่มีปัญหา…หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหา….โดยมีการใช้ 5S ควบคู่กันไปด้วย !

 

1. QC Techniques / QC Tools :  Fish Bone Diagram , Pareto Chart  and Check Sheet                                                

1.1 ผังก้างปลา หรือผังแสดงเหตุผล (Fish bone / Cause and Effect Diagram)

ขั้นตอนง่ายๆของการใช้ผังก้างปลาในการแก้ปัญหา : ……เขียน PDCA กำกับที่หน้าหัวข้อ……ต้องอยู่ภายใต้นโยบายขององค์กร !
P: 1. ให้กำหนดหัวข้อของปัญหา…สิ่งที่ผิดปกติซึ่งทำให้เป็นสาเหตุของปัญหา อย่างชัดเจน…ตัดสาเหตุที่ไม่จำเป็นออก
    
2. จัดกลุ่มที่เป็นสาเหตุของปัญหา ให้ถูกต้องและชัดเจน………..…ลำดับความเร่งด่วนและความสำคัญของปัญหา มองถึงที่มาและที่เป็นผลของปัญหา
D: 3. ผู้เกี่ยวข้อง / ไม่เกี่ยวข้อง รับรู้  โดยระดมความคิด เพื่อหาสาเหตุของแต่ละปัญหา…….……ถ้ายังหาสาเหตุนั้นไม่ได้ ต้องกลับไปเก็บข้อมูล…..และดำเนินการซ้ำอีกจนพบ
    
4. ค้นหาสาเหตุหลักของปัญหา………ต้องหาวิธีแก้ไข / พร้อมวิธีป้องกัน
C: 5. เลียงลำดับความสำคัญของสาเหตุ……แล้วกำหนดวิธีการแก้ไข  ต้องมีผู้รับผิดชอบ   มีจุดเริ่มต้นและ  ระยะเวลาสิ้นสุด…..พร้อมทั้งประเมินสถานการณ์
A: 6. มีการปรับปรุงในส่วนที่จำเป็น…..…ผลที่ได้ต้องนำมาประเมิน  และวิเคราะห์ผลลัพธ์ ของงานที่ทำ….เราสามารถกลับไปเริ่มต้นที่ข้อหนึ่งข้อใดตามที่เราจะพิจารณา……จากผลที่ได้รับ…และควรมีตัวเลขอ้างอิงที่สามารถวัดได้…!

ต้องอยู่บนพื้นฐานของ 5S :...........ในข้อใดข้อหนึ่งหรือตามความเหมาะสม

5S : 1.Seiri (เซริ) = สะสาง  2.Seiton (เซตง) = สะดวก  3.Seiso (เซโซ) = สะอาด   4.Seiketsu (เซเคทซึ)  = สุขลักษณะ   5.Shitsuke  (ซิทซึเคะ)  = สร้างนิสัย

“ เพราะบางปัญหาเราสามารถแก้ไขได้โดยเพียงใช้หลักของ 5S …. เท่านั้น! ”

“ ผู้บริหารต้องประกาศ นโยบายของโรงงาน / บริษัท / องค์กร เป็นสำคัญ…..ตัวอย่าง เช่นเมื่อต้องการแก้ปัญหา ค่าขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงมาก ตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงของน้ำมันเชื้อเพลิง…..ให้แผนกขนส่ง…ช่วยหาวิธี….ลดต้นทุนส่วนนี้ลง…ภายใต้นโยบายคือ……..ต้องส่งของ….ทันเวลา…..และปลอดภัย ”……เมื่อผู้บริหารกำหนด นโยบายแล้วก็ต้องหาผู้รับผิดชอบทำโครงการนี้ และให้แผนก จัดกลุ่มทำงานทันที ….ตาม 6 ขั้นตอนที่ได้ วางไว้……ทดลองเขียน ผังก้างปลาดูครับ !

 

1.2 ผังพาเรโต (Pareto Chart)

ขั้นตอนของการใช้ผังพาเรโต : ……เขียน PDCA กำกับที่หน้าหัวข้อ……ต้องอยู่ภายใต้นโยบายขององค์กร !
 จากโครงสร้างหลักของแผนผังพาเรโต : คือประกอบด้วยกราฟแท่ง , กราฟเส้น  อยู่บนแกนตั้ง Y และแกนนอน X….พร้อมทั้งมี แกนแสดงข้อมูลสะสมเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ทางด้านขวามือของแผ่นกราฟ   การจัดเรียงความสูงของแท่งกราฟให้เริ่มจากมาก ไปหาน้อย…และจากซ้ายไปขวา…ยกเว้นข้อมูลที่แยกกลุ่มอิสระออกมา จะวางไว้ที่ท้ายสุด…ของแกน X

ขั้นตอนการสร้าง ผังพาเรโต
P: 1. เลือกหัวข้อของปัญหา ให้ตรงกับความต้องการ / ที่เกิดในสถานการณ์จริง /ออกแบบตารางเก็บข้อมูล

D: 2. เก็บข้อมูลโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามแกน X และ Y …..โดยให้แกน X ให้แสดงถึง  ผลกระทบต่อปัจจัยหลัก….( คน/เครื่อง/การบริหาร/ วัสดุ ) ที่เกิดปัญหา / ของเสีย …ลักษณะของปัญหา / ของเสียที่เกิด ….และจุดที่เกิดปัญหา / ของเสีย…….และให้แกน Y แสดงถึง  จำนวนปัญหาที่เกิด /จำนวนชิ้น …คิดเป็นมูลค่า=?....จำนวนครั้งที่เกิดปัญหา……ข้อมูลที่เก็บต้องเป็นไปตามแผ่นตารางเก็บข้อมูลโดยมีวิธีการ…และกำหนดเวลาที่เก็บ

C: 3. นำข้อมูลมา จัดกลุ่ม เรียบเรียง และวิเคราะห์ตามเหตุและผล     

A: 4. สรุปเขียนแผนผังพาเรโต และติดตามผล ตามโครงการโดยถ้ากราฟที่เขียนมาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง….ก็แสดงให้เห็นว่า….ข้อมูลที่ได้มายังไม่สมบูรณ์ให้กลับไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อปรับผังใหม่
ต้องอยู่บนพื้นฐานของ 5S
:...........ในข้อนี้มีความสำคัญมากเพราะเมื่อผ่านขั้นตอนการเก็บข้อมูลแล้ว จะไม่สามารถเห็นสภาพของปัญหาอีกได้เลย….ซึ่งจะต้องผ่านขั้นตอนของ    การสรุป / จัดหมวดหมู่ / สร้างกราฟ    จะรู้อีกครั้งหนึ่ง  เมื่อได้กราฟที่ไม่เป็นไปตามปัญหาจริงๆที่เกิด ….หรือเกิดความ เบี่ยงเบนไป นั่นเอง

 

1.3 แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)

ขั้นตอนของการใช้แผ่นตรวจสอบ : ……เขียน PDCA กำกับที่หน้าหัวข้อ……ต้องอยู่ภายใต้นโยบายขององค์กร !
การออกแบบแผ่นตรวจสอบ :  แผ่นตรวจสอบ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก คือ 1. กระดาษบันทึก  2.ตารางแสดงเครื่องหมาย / ความถี่ / แบบสอบถาม   3. ตารางรวบรวมตัวเลข  4. ตารางแบบอื่นๆ มีขั้นตอนของการออกแบบดังนี้:-

“ ในแต่ละแบบของแผ่นบันทึกต้องมีเนื้อหาครอบคลุมขั้นตอนต่างๆให้ครบถ้วน ”

P : 1. กำหนดชื่อแผ่นตรวจสอบให้ตรงกับวัตถุประสงค์ .....มีวัตถุประสงค์ของการใช้แผ่นตรวจสอบ

      2. ต้องมีปัจจัยหลักครบถ้วน ( บุคคล /วัตถุดิบ/ทุน / การบริหาร)…..ครอบคลุมและ….ง่ายในการบันทึก
      3. กำหนดเครื่องหมาย /สัญลักษณ์/เพื่อออกแบบ….ต้องทำการบันทึกให้มากที่สุดเพื่อไม่ให้ข้อมูลผิดพลาด
D : 4. ทดลองนำไปใช้ในการบันทึก เพื่อเก็บข้อมูล….ต้องมีความสะดวก / อ่านค่าต่างๆได้ง่าย / เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป
      5. ให้ใช้แผ่นตรวจสอบโดยให้มีความสันพันธ์กับ 5W 1H…..ก่อนใช้งานจริงต้องให้ดำเนินการตามข้อ 4 ก่อน เพื่อการปรับปรุง
      6. ให้นำข้อมูลจากแผ่นตรวจสอบมา บันทึกลงใน แบบฟอร์มของ…ข้อมูลดิบ และในแบบฟอร์มสรุปผล…..เพื่อเตรียมการวิเคราะห์ต่อไป

C : 7. เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์…พร้อมสรุป….เตรียมการปรับปรุงแก้ไข / ประสิทธิภาพของงาน

A : 8. ให้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อสรุปพร้อมติดตามผลอย่างต่อเนื่อง .….ถ้าจำเป็นที่ต้องเพิ่มในรายละเอียดของขั้นตอนใดๆให้กลับไปทำในข้อนั้นๆ ….แล้วสรุปผลใหม่ทันทีเพื่อเก็บข้อมูลเป็นสถิติและใช้งานต่อไป
ต้องอยู่บนพื้นฐานของ 5S :...........ในข้อนี้สามารถทำพร้อมๆกับขั้นตอนทั้ง 8 ที่กล่าวมา   
บทส่งท้ายของตอนที่ 32 :   ขอให้ทดลองเขียน ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram ) ตามโจทย์ ในตอนท้ายของหัวข้อ 1.1 ครับ !


///////////////////////////////////////////

5/8/2552


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที