ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987990 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 11 ศาสตร์ของการบริหารงาน (4)Stiglitz vs E. Porter "QC Story"

ตอนที่ 37

วันที่ 11

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) (4)

(Stiglitz vs E. Porter ) "QC Story"

 

Two Gurus  of   “Two Thai PM”

ดร. ไมเคิล อี.พอร์เตอร์ (Dr. Michael E. Porter)

           ไมเคิล ยูจีน พอร์เตอร์ (Michael Eugene Porter) เกิดในปี พ..2490  ที่เมืองแอนน์ อาร์เบอร์ รัฐมิชิแกน ( Ann Arbor, Michigan) ขณะนี้มีอายุ 62 ปี  จบการศึกษาปริญญาตรีด้านวิศวกรรม การบินและเครื่องกล (aerospace and mechanical engineering) ที่มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน (Princeton University) และในปี พ.ศ.2512  จบ MBA ที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ( Harvard Business School ) และจบ Ph.D.  ด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ( Harvard University ) ในปีพ.ศ.2514  และอีก 2 ปีต่อมา เขาก็ได้มาเป็นอาจารย์ที่ ฮาร์วาร์ด ในส่วนของ HBS (Home Business System) เขาได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ ในเวลาต่อมา               

           พอร์เตอร์ สอนที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นเวลา 7 ปี เขาเริ่มแต่งหนังสือและออกสิ่งตีพิมพ์ ตั่งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา  ที่เด่นๆและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และถือว่าเป็นคัมภีร์ของผู้บริหารและนักธุรกิจทั่วโลก เป็นชุดต่อเนื่องของหนังสือรวม 3 เล่มคือ
           1. Competitive Strategy เป็นหนังสือที่เสนอ “ Five Force Model ” ใช้ในการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน ในอุตสาหกรรม (Techniques for Analyzing Industries and Competitors)  โดยพิจารณาจากปัจจัยภายนอกทั้ง 5 ข้อ เริ่มจาก แรงผลักดันจากนักลงทุนหน้าใหม่ /  แรงผลักดันจากอำนาจการต่อรองจากกลุ่มผู้ซื้อ / แรงผลักดันจากอำนาจการต่อรองของผู้ผลิตและผู้ป้อนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต /  แรงผลักดันจากการใช้สินค้าทดแทน / แรงผลักดันจากจำนวนคู่แข่งที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม  ( New Entrant, Supplier, Buyer, Substitutes ,Industry Competitor ) แล้วสร้างเป็น วิธีการ / แนวทาง / สรุปเป็นกลยุทธ์ เพื่อใช้ให้เหมาะสมตามประเภทของธุรกิจนั้นๆ หนังสือเล่มนี้ออกวางตลาดในปี 2523 โดยแปลเป็นภาษาต่างๆถึง 17 ภาษา และต้องพิมพ์ออกมาถึง 58 ครั้ง

           2.  Competitive Advantage  เป็นหนังสือที่แสดงแนวทางการใช้กลยุทธ์จากที่วางไว้ เพื่อสร้างคุณภาพจากศักยภาพ และปัจจัยภายใน ตามข้อมูลของ ปัจจัยภายนอก (Creating and Sustaining and Superior Performance) โดยให้ผลงานของกระบวนการนั้นส่งผ่านออกมาในรูปของ สินค้า /การบริการ แก่ลูกค้า  การสร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)  โดย การสร้างความแตกต่าง ของสินค้า / การบริการ (Differentiation) ……ความต่างด้านราคาต้นทุน (Cost Leadership)  ลงลึกในรายละเอียด    ( Focus ) ของความถนัดเพื่อระดมกลุ่มธุรกิจ (Cluster) …..ว่ามีจุดแข็งอยู่ที่ไหนโดยวางตลาด (position) ……ของธุรกิจให้เป็นรูปแบบ ( Model ) ของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)…..เริ่มตามประเภทของธุรกิจ (Primary Activities)….ควบคุม / ดูแลลูกค้า / การให้บริการ แก่ลูกค้า โดยมีการสนับสนุนกิจการ ( Support Activities) ทางด้านระบบ…..HR / Account / Managing  หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ 2 พิมพ์ออกมาในปี 2528 โดยพิมพ์ซ้ำจำนวน 34 ครั้ง   

           3. The Competitive Advantage of Nations  เป็นหนังสือที่อธิบาย ถึงการสร้างความได้เปรียบ   ในการแข่งขันระดับประเทศ…ตามที่เราถนัด / มีความพร้อม / ตามปัจจัยภายในประเทศ โดยใช้ โมเดลเพชรพลวัต ( Dynamic Diamond ) ผู้ที่จะมีความสามารถแข่งขันในตลาดโลกาภิวัตน์ ( Globalization ) ได้นั้น ต้องอยู่ภายใต้ของปัจจัยการผลิต ( Factor Condition )….5 M… factor….เราต้องผลิตด้วยจุดแข็งด้านคุณภาพเพื่อตอบสนอง….ต่อความต้องการผลผลิต ( Demand Condition ) คือตลาดที่สามารถรับ..สินค้า / การบริการ ..ของเราได้ทั้งหมด…..กับสายใย / สมาชิก / พันธมิตรการผลิต… ที่สามารถสนับสนุนเราได้อย่างต่อเนื่อง  ( linkage Industries )  ผนวกกับการมี กลยุทธ์ /โครงสร้างทางธุรกิจ / กฎหมายที่เอื้ออำนวยกับ…ระบบ / ระเบียบ….ในการทำการค้าทั้งของ…ตนเอง / คู่ค้า… และของประเทศคู่แข่งขัน  

          ศาสตราจารย์ พอร์เตอร์ เป็นนักวิชาการ และนักเศรษฐศาสตร์ที่มีบทบาทกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ ระดับประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจระดับโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่ เชิงสร้างกลยุทธ์ แข่งขันกัน  เขาเป็นผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์ และขีดความสามารถในการแข่งขัน    เขาได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและทำการศึกษาและวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ให้กับหลายๆ ประเทศ อาทิเช่นแคนาดา โปรตุเกส นิวซีแลนด์ อินเดีย ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้กับ ผู้นำอีกหลายชาติ เช่น สิงคโปร์ เอกวาดอร์ ไต้หวัน และเปรู

          ในปี พ.. 2544 ศาสตราจารย์ พอร์เตอร์ ได้รับการเชื้อเชิญจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาทางการวางแผนกลยุทธ์ด้าน เศรษฐกิจระดับประเทศและก็ได้ถูกนำเอาแนวความคิดของเขา มานำเสนอต่อรัฐบาลและภาคเอกชนไทย นับว่าเป็นการปฏิรูปการบริหารระบบเศรษฐกิจให้สู่ยุคกลยุทธ์อย่างแท้จริง  แต่เพราะเหตุผลนา นับประการที่ถูกนำมากล่าวอ้างโดยเฉพาะอัตราค่าตอบแทน ของเขา จนทำให้ในที่สุดรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรต้องยกเลิกแนวความคิดที่จะจ้างให้เขามาเป็นที่ปรึกษา ในที่สุด  

           ถึงอย่างไรก็ตาม มาในปีที่ พ.. 2546  ศาสตราจารย์ พอร์เตอร์  ก็ได้รับเชิญจากบริษัทเอกชน จัดโดยสถาบันศศินทร์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)  เพื่อมาแสดงปาฐกถาเรื่อง "Thailand’s Competitiveness  and  Creating the Foundation for Higher Productivity"  ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2546 ณโรงแรมรีเจนท์ กรุงเทพฯ และเขาก็ได้มีโอกาสเข้าพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร   นายกรัฐมนตรี ที่บ้านพิษณุโลก….จากคำกล่าวของนายกทักษิณ ว่า…."พอร์เตอร์ต้องการให้ภาคเอกชนของไทยเข้มแข็งและฟิตมากขึ้น ไม่ใช่อะไรก็ต้องรอรัฐบาลอย่างเดียว และรัฐบาลก็ต้องปลุกเร้าให้ภาคเอกชนปรับปรุงเรื่องของศักยภาพในการแข่งขันของตัวเอง รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข"                                                                                                               

           จากกลยุทธ์การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (Compettitive Adventage) ของ พอร์เตอร์  ให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้อง……ประสานความร่วมมือกันโดยการ เอานำรูปแบบ ของการรวมกลุ่มทางอุตสาหกรรมที่สามารถเอื้อประโยชน์และเกื้อหนุนกันได้ ที่เราเรียกว่า…..Clustering…. มาใช้ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม…..ทั้งระดับ….จุลภาค…และ…มหภาค…อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน…สร้างความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาว ต่อเศรษฐกิจของประเทศได้…โดยมีผลเป็นรูปธรรมจากการที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ริเริ่ม….โครงการพันธมิตรอุตสาหกรรม …Cluster Development Project…. ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา

           พอร์เตอร์ ได้แสดงความเห็นว่า….ประเทศเล็กๆในภูมิภาคอาเซียน จะต้องสร้างความต่อเนื่องและเชื่อมต่อเป็น พันธมิตรระหว่างภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ…การขยายตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศนั้น…..ย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจภายในมีการขยายตัว เพราะมีการใช้ภายใน และการส่งออกไปภายนอก เพิ่มมากขึ้น…. ทุกส่วนจะขยับไปพร้อมๆกันได้โดยเฉพาะภาค                          อุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ….มีการจ้างแรงงาน และเสริมสร้างรายได้กระจายลงไปทุกระดับของพลเมืองชาติ….ไทยต้องพยายามลดจุดอ่อนด้อย ไม่ว่าจะเป็นด้านของสถานภาพทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน  รวมถึงตัวคุณภาพประชาชน ทั้งความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมด้วย

          ศาสตราจารย์ พอร์เตอร์ ….ได้กล่าวในปาฐกถาเรื่อง…Thailand's Competitiveness  Creating the Foundations for Higher Productivity….ว่า การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศอยู่ที่การเพิ่มผลผลิต ซึ่งเป็นการสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศอย่างยั่งยืน …..ตามสายตาของ ศาสตราจารย์ พอร์เตอร์ นั้น ประเทศไทยทั้ง ภาครัฐและเอกชนไทยจะต้องร่วมมือกันเพื่อก้าวข้าม วิกฤติการณ์ ที่ยาวนานของระบบเศรษฐกิจของประเทศ และของโลกนี้ไปให้ได้  เขาเสนอแนะ  6 แนวทาง ดังต่อไปนี้ ….1. ไทยจะต้องมีการปฏิวัติเพื่อยกระดับมาตรฐานการประกอบธุรกิจเพื่อเร่งให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่ม…2. ภาครัฐ และเอกชน จะต้องประสานงานร่วมกันเพื่อสร้างพันธมิตรอุตสาหกรรม …คลัสเตอร์ (Cluster )…หรือกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อเชื่อมเครือข่ายระหว่างอุตสาหกรรมย่อย และอุตสาหกรรมหลัก…. 3. ไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับองค์กร และหน่วยงานเอกชน เช่น เพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และเพิ่มผลิตภาพการผลิต….4. ภาคเอกชน และรัฐบาลจะต้องเดินหน้าไปด้วยเป้าหมายเดียวกัน โดยนโยบายของเอกชน กับความช่วยเหลือจากรัฐบาลส่งเสริม และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มผลิตภาพในองค์รวมของประเทศ ….5 ต้องมีการกระจายอำนาจการบริหารของภาครัฐลงไปสู่ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่แท้จริง….6.ไทยต้องสร้างกลยุทธ์เพื่อผนึกกำลังกับประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะพันธมิตร…คลัส เตอร์ (Cluster )

           พอร์เตอร์ แนะจุดแข็งของไทยว่า…ควรมุ่งไปที่…….การสร้างมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอาหาร…..ไทยควรสร้างแบรนด์ “ปิกอัพ” ของประเทศ…….ไทยเป็นเสมือน “ไอร์แลนด์” แห่งเอเชีย เพราะมีความเป็นศูนย์กลาง…..คือมีจุดแข็ง 5 ประการ ได้แก่ 1. ไทยมีความมั่นคงทางการเมือง และเศรษฐกิจในระดับมหภาคมากกว่าประเทศจีน เกาหลี มาเลเซีย และอินโดนีเซีย…(ข้อนี้ต้องใช้ดุลพินิจกันเองครับ !)…2. ไทยมีขนาดของตลาดภายในประเทศมากกว่าสิงคโปร์ และฮ่องกง…3. ไทยมีความโปร่งใส และเปิดรับการแข่งขันมากกว่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีน…4. คนไทยมีระดับการศึกษา และมีโครงสร้างพื้นฐาน มีประสิทธิภาพในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ได้ดีกว่าจีน เวียดนาม พม่า และลาว…5. ไทยมีแนวทาง / วิธีของการรวมกลุ่ม….ของอุตสาหกรรมมากกว่า (ยกเว้นอุตสาหกรรมไฮเทค) ไต้หวัน และสิงคโปร์

          “ ไอร์แลนด์เป็นศูนย์กลางของยุโรป แต่ไทยนั้นเป็นศูนย์กลางของภูมิอาเซียน…มีความพร้อมด้วยภูมิภาคและศักยภาพในการสร้างผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมกับ….มีแนวโน้มที่จะสร้างความร่ำรวยมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านจากการเป็นศูนย์กลางนี้ได้…..ที่น่าสังเกต…ไอร์แลนด์…สามารถสร้างความสำเร็จของการเป็นศูนย์กลางได้ภายในระยะเวลาเพียง….15 ปีเท่านั้น ! ”

          “ศาสตราจารย์ พอร์เตอร์ มีผลงานเป็นหนังสือ สิ่งตีพิมพ์ และบทความที่น่าสนใจของนักธุรกิจและนักวางแผนทางกลยุทธ์ระดับประเทศและเป็นที่ยอมรับในอารยประเทศนับเป็น 100 ผลงาน ”                        

บทส่งท้ายของตอนที่ 37 :   ความเหมือนของ 2 กูรู….ที่มีมุมมองต่อการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ของไทยคือ….การปฏิรูปกระบวนการจัดระบบความพร้อมภายในตั้งแต่…จุลภาค…จนถึง…มหภาค…เน้นจุดแข็งของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน…..หลักการคิด / สร้างฐานความรู้ให้คนในประเทศให้รู้จักคิดว่า….เราควรจะอยู่ในประเทศนี้ด้วยวิธีการดำเนินชีวิตแบบ…..เรียบง่าย / หรือต้องมีกลยุทธ์ …..เพื่อต่อสู้กับใคร…..?  ความต่าง….ก็ตรงที่จะเอาสินค้าที่ผลิต / งานบริการ / ทรัพยากรที่มีอยู่ ….ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ (ยุโรป /อเมริกา )…..หรือให้มีการพึ่งตนเองภายในประเทศ / ในภูมิภาคเดียวกัน …..มัน…เป็นแนวนโยบายที่ต่างกัน…..การบริหารงานโดยการสร้างกลยุทธ์เพื่อส่งสินค้าออกไปทุกๆภูมิภาคที่เป็นตลาดของเรานี้หรือ!…..ผู้นำประเทศต้องเลือกแนวทางที่เหมาะสมตามที่เดินมาแล้ว…..เพื่อให้เกิดการกินดีอยู่ดีของคนในประเทศต่างหากมิใช่หรือ…!....ประเทศของเรากำลังพัฒนามี…..นโยบายของเราที่ดีสมควรนำมาใช้ได้ตลอดไปคือ…sufficiency economy ..…พร้อมๆกับ…good government…..แล้วความสำเร็จตามความเห็นของท่านกูรูทั้ง สองคงจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้านี้….เป็นแน่ครับ !

Personal Opinion :

ระดับ CSR ของ Dr. Michael E. Porter : มีความเป็นคนของสังคมดี  แนวคิดเพื่อสังคมส่วนรวม / เพื่อนร่วมงาน / ร่วมโลกใบนี้….ดี !

ระดับ CSR ของ Joseph E. Stiglitz : มีความรับผิดชอบต่อสังคมดีระดับหนึ่ง….มีใจช่วยเหลือผู้อื่นในระดับความคิดส่วนตัว …ดีมาก…..การจะทำตามแบบ / อย่าง….ก็ได้แต่ต้องปรับมากที่เดียว !......รวมๆแล้ว….ดีมาก !

 

///////////////////////////////////////////

2/9/2552


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที