ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 987905 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 12 ศาสตร์ของการบริหารงาน (1)(5S -5G- 3M-1J )"QC Story"

ตอนที่ 38

วันที่ 12

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) (1)

(5S -5G- 3M-1J )"QC Story"

 

เกริ่นนำวันที่ 12 : มาถึงวันสุดท้ายของ QC Story แล้วจึงขอสรุป / รวบรวม / ทบทวนจากบทส่งท้ายของตอนที่ 35 , 33 และ 32 ส่วนบททดสอบ กรณีตัวอย่าง และการนำไปใช้งาน…..คงจะต้องรวมไว้ประมาณวันที่ 15 ไปแล้ว เพราะเป็นประมาณการที่จะจบในส่วนที่เป็นทฤษฏีของ……“ ศาสตร์ของการบริหารงาน”

 

1. ความจากบทส่งท้ายของตอนที่ 35 :  เราอาจจะใช้ความรู้ / เครื่องมือ / ขั้นตอนการทำงาน ของ QC Technique / หรือจาก GURU หลายๆท่านนำมา….ประยุกต์เพื่อให้เราสามารถผ่านวิกฤติของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นไปได้ด้วยการเริ่มขั้นตอนง่ายๆ / สั้นๆ แต้ครบด้วยกระบวนการทำงาน พิจารณาจาก...... Short QC Story (5S -5G- 3M-1J )……เป็นการใช้เทคนิคของ 5 S. , 5 GEN , 5 MU  และ 1 JI  มาเป็นหลักการกำหนดแนวทางของการแก้ปัญหาเบื้องต้นนั่นเอง!........ซึ่งเป็นการช่วยให้ขั้นตอนของ QC Story  มีการเล่าเรื่องราวที่กระชับขึ้น…หรืออาจจะหยุดที่ขั้นใดขั้นหนึ่งของ…Short QC Story ( 5S -5G- 3M-1J )…ก็เป็นไปได้ตามที่แสดงในรูปด้านล่างนี้

 

  

90275_Picture-6.png

รูปแสดงผังของ 5S -5G- 3M-1J

4 ขั้นของ Short QC Story ( 5S -5G- 3M-1J ) มีดังนี้ :-

           1. :  5S หรือ5 เป็นพื้นฐานที่เริ่มจากที่บ้าน และนำมาใช้ในที่ ทำงาน ทุกคนเมื่อมีหลักของการจัดการ 5 แล้ว ก็สามารถที่จะเริ่มแผนการทำงานในขั้นต่อไปได้อย่างมั่นคง โดยมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี จิตใจผ่องใสและพร้อมที่จะทำงานภายใต้ระเบียบ 5   ( 5S = Seiri-เซริ-สะสาง, Seiton-เซตง-สะดวก, Seiso-เซโซ-สะอาด, Seiketsu-เซเคทซึ-สุขลักษณะ, Shitsuke-ซิทซึเคะ- สร้างนิสัย)

             จุดเชื่อมต่อไปสู่ขั้นที่ 2 คือการมีพื้นฐานที่มั่นคง….พิจารณาจากผลของการจัดพื้นที่ / พฤติกรรม ของการทำงานที่ดีมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

           2. : เราเอาความพร้อมของ….ระบบของ 5 …..ด้วยหัวใจของพนักงานในองค์กรที่มี 5 มาหาความจริงของปัญหาที่เกิดขึ้นจากหลักของ 5 GEN…….ต้องผ่านกระบวนการของ….Brainstroming…..ผ่านกระบวนการของการทำงานภายใต้เป็นความจริง: GENBA  : เก็นบะ   คือ สถานที่จริง/ พื้นที่จริง , GENBUTSU ; เก็นบุทซึ  คือ ใช้ข้อเท็จจริง/วัตถุจริง ,GENJITSU :  เก็นจิทซึ  คือ สถานการณ์จริง ที่เกิดข้อมูลนั้น , GENR :  เก็นริ  คือ มีทฤษฏีมายืนยันข้อมูลได้ผลอย่างถูกต้อง , GENSOKU  : เก็นโซกุ  คือ มีหลักการที่ใช้ในการแก้ปัญหา พร้อมกับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                จุดเชื่อมต่อไปสู่ขั้นที่ 3 คือการค้นหาปัญหาระดับ…ระดมสมอง / ทุกคนมีส่วนร่วม / ผ่านขั้นตอน  ที่ทำจริง…รู้ปัญหาจริง…แก้ไขด้วยทฤษฏีที่อ้างอิงข้อมูลอย่างถูกต้องด้วย…วิธีการ แก้ปัญหา ที่มีการติดตามผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง….ปัญหาหลายๆปัญหาสิ้นสุดที่ขั้นตอนนี้ !

           3. : เมื่อปัญหาที่มีความลึกซึ้ง / ซับซ้อน / และเกี่ยวพันธ์กับคน / กระบวนการทำงานที่ต้องคำนึงถึงเวลา ที่เป็นวินาทีในการเคลื่อนไหวของคนแล้ว……จึงต้องดำเนินตามกระบวนการของ…..MURA : มูระ  คือ ความไม่สม่ำเสมอ :  การผลิตหรือปริมาณการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ , MURI : มูริ คือ การฝืนทำ : ภาระเกินความสามารถของบุคคลและอุปกรณ์ ,  MUDA :มูดะ  คือ ความสูญเปล่า : การที่พนักงานมี การเคลื่อนไหวทำให้เสียเวลาในการทำงาน                 

               จุดเชื่อมต่อไปสู่ขั้นที่ 4 นั้นอยู่ที่การสร้างคน / ระบบ / กระบวนการ / ให้ทำงานได้โดย อัตโนมัติลด / กำจัดข้อบกพร่อง / ผิดพลาดทั้งหมด /ป้องกัน /สร้างเป็นแผนกลยุทธ์ ที่ยั่งยืน โดยมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา          

          4. : JIDOKA : จิโดกะ   คือ การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ :  กระบวนการต้องมีการ ควบคุมคุณภาพ เพื่อไม่ให้เกิดการผลิตที่ผิดพลาด ซึ่งอาจทำให้หยุด สาย / กระบวน การผลิต

           การเดินระบบของ 5S -5G- 3M-1J จนครบทุกขั้นตอนถือว่าเป็นแผนกลยุทธ์ของกระบวนการแก้ปัญหาอีกวิธีหนึ่ง……!

2. สรุปผลตามแผน 5S -5G- 3M-1J  :  จะเป็นผลก็ต่อเมื่อต้องการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการตั้งแผนกลยุทธ์ว่า……เพื่อป้องกัน / ค้นหาปัญหา / หาวิธีการแก้ / วางมาตรการป้องกัน…..ผลโดยรวมมี 3 ข้อดังนี้ :-

1. เพื่อสร้างความสำคัญของ….พฤติกรรมมนุษย์ ต้องเข้าใจความหมายของ 5 S  โดยทำเป็นกิจวัตประจำวัน จนกลายเป็นสิ่งสอดแทรกในหน้าที่ประจำ( daily routine ) การที่จะเสริมสร้างให้มีมูลค่าเพิ่มในการทำกิจกรรมในขั้นต่อไป ก็จะสามารถกำหนดกรอบของ การทำงานได้โดยไม่ยากนัก!

2. ลดการสูญเสีย / กำจัดสิ่งสูญเสีย / ป้องกันสิ่งสูญเสีย แปลงค่าเป็นดัชนีชี้วัด….ของระบบงานโดยรวมขององค์กรได้….ซึ่งจะนำผลมาจัดการในขั้นตอนของการทำงาน….การเคลื่อนไหวของคนในกระบวนการ…… พฤติกรรมของ พนักงาน / เจ้าหน้าที่ / ในตำแหน่ง / ที่จำกัดด้วย…พื้นที่ และเวลาที่…ทำ / หรือให้บริการ

3. เมื่อเราทราบว่าดัชนีชี้วัด มีผลออกมาในทางใดแล้วเราก็สามารถนำมาปรับเพิ่ม…..ศักยภาพในระบบการทำงานที่จะป้องกัน…..การสูญเสีย / สูญเปล่าในการทำงาน…..รวมๆก็เป็นความสูญเปล่าทั้งระบบบริหารงานนั่นเอง

 

/////////////////////////////////////////

6/9/2552


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที